ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 32 จากข้อมูลทั้งหมด 32 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | รัฐบาลสหสาธารณรัฐแทนซาเนียเสนอขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สหสาธารณรัฐแทนซาเนียประจำประเทศไทย (นายฟลอเรียน รเวฮุมบีซา ลอเรียน) | กต. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายฟลอเรียน
รเวฮุมบีซา ลอเรียน (Mr. Florean Rwehumbiza
Laurean) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์สหสาธารณรัฐแทนซาเนียประจำประเทศไทย
สืบแทน นายวัฒนา เขียววิมล ซึ่งถึงแก่กรรม ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก (ฉบับที่ ..) | กค. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร
ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก
(ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญในการลดอัตราอากรนำเข้าสำหรับสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้
WTO ในโควตา ตามประเภทย่อย ๑๐๐๕.๙๐.๙๙ รหัสย่อย ๗๑
จากเดิมอัตราในโควตาร้อยละ ๒๐ เป็นอัตราอากรในโควตาร้อยละ ๐
ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยให้แก้ไขถ้อยคำในร่างประกาศให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรติดตามสถานการณ์การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างใกล้ชิด
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเงื่อนไขการสิ้นสุดการผ่อนปรนในกรณีที่มีการนำเข้ารวมกันทุกช่องทางครบ
๑.๒๐ ล้านตัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | รายงานผลการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559 - 2564) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | วธ. | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีรับทราบรายงานผลการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๔) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย (๑)
ภาพรวมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของแผนแม่บทฯ ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑
วางระบบรากฐานการเสริมสร้างคุณธรรมในสังคมไทย ยุทธศาสตร์ที่ ๒
สร้างความเข็มแข็งในระบบการบริหารจัดการด้านการส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นเอกภาพ
โดยได้มีการขยายระยะเวลาของแผนแม่บทฯ ต่อไปอีก ๑ ปี ถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ยุทธศาสตร์ที่
๓ สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมคุณธรรม และยุทธศาสตร์ที่ ๔
ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก และ
(๒) แนวทาง/แผนการดำเนินการต่อไป กระทรวงวัฒนธรรม (กรมการศาสนา) จะเสนอ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรม ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อพิจารณากลั่นกรองก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 4 | พณ. | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑.๑
เห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint
Trade Committee : JTC) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ ๔
ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว ในระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ เมษายน ๒๕๖๕
ณ กรุงเทพมหานคร
โดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนไทยที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาและเสนอประเด็นที่ประสงค์จะผลักดันในการประชุมดังกล่าว
โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น
การหารือแนวทางการเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างกันเพื่อให้การค้าสองฝ่ายบรรลุเป้าหมาย
๒๕,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี ๒๕๖๘
แนวทางการอำนวยความสะดวกนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตร
การพัฒนาความร่วมมือในสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพร่วมกัน แนวทางการพัฒนาความเชื่อมโยงของการขนส่งระหว่างสองประเทศ
และแนวทางการขยายความร่วมมือด้านแรงงาน ๑.๒ หากในการประชุมดังกล่าว
มีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น ๆ
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับเวียดนาม
โดยไม่มีการจัดทำเป็นความตกลงหรือหนังสือสัญญาขึ้นมา
ขอให้กระทรวงพาณิชย์และผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | รายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 | นร.12 | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ โดยเป็นการสรุปบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบจากโควิด-๑๙
ในภาพรวมของส่วนราชการและจังหวัด
ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและให้บริการประชาชนได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพหากเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ เช่น
การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลเพื่อเป็นกลไกที่สำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐในการให้บริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มบริการแบบเบ็ดเสร็จ
และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการทำธุรกรรมกับภาครัฐ
การจัดทำและทบทวนแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบ การให้บริการผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ๒.
เห็นชอบข้อเสนอแนะการบริหารงานและการให้บริการประชาชนกรณีเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้สำนักงาน
ก.พ.ร. ติดตามความคืบหน้าและรายงานต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | การกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล | รง. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา
๑๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
สำหรับลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินวันละ ๑,๕๐๐ บาท
และสำหรับบุคคลในครอบครัวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินวันละ ๑,๑๐๐ บาท ซึ่งสิทธิสำหรับบุคคลในครอบครัวจะต้องเป็นสิทธิที่อยู่เดิม
ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐
สิงหาคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าในการดำเนินการดังกล่าวแต่ละรัฐวิสาหกิจจะต้องคำนึงถึงสถานะทางการเงิน
ผลการดำเนินงานของกิจการ ขีดความสามารถในการหารายได้
และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น
เพื่อมิให้กระทบต่อการใช้จ่ายเงินทุนสำหรับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 รวม 61 วัน (ห้วงที่ 1 - 2) | ตช. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน ๒๔๙,๕๘๙,๕๐๐ บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ (๖๑
วัน) หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงสาธารณสุข ที่เห็นควรสำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้เงินอย่างโปร่งใส
คุ้มค่า และประหยัด รวมทั้งให้มีการรายงานผลการดำเนินงานตามที่ได้ปฏิบัติในห้วงเวลาข้างต้นและการใช้จ่ายงบประมาณต่อสำนักงบประมาณ
ตามนัยข้อ ๑๒ แห่งระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน [Financial Action Task Force (FATF)] | ปปง. | 15/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (Financial Action Task Force : FATF) และให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ซึ่งกำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก
FATF
ตามร่างหนังสือแสดงเจตจำนง ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงบประมาณ
ที่ควรพิจารณาปรับแก้หน้า ๒ วรรคแรก บรรทัดที่ ๗ จาก “ including development of UN Sanctions 1373 ASEAN Guidelines” เป็น “including
development of ASEAN guidelines to implement the United Nations Security
Council (UNSC) Resolution 1373 (2001)”
และจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความจำเป็นเร่งด่วน ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
รวมทั้งผลสัมฤทธิ์จากการใช้จ่ายงบประมาณเป็นสำคัญ ไปดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา (วุฒิสภา) | สว. | 22/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ซึ่งได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านพาณิชย์เพื่อเพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้แก่ผู้ประกอบการ
SMEs ไทยขยายสู่ตลาดต่างประเทศ
มีการจัดคณะผู้แทนการค้าระดับสูง (goodwill mission)
เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนกับประเทศเป้าหมาย
ซึ่งมีผู้แทนหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยร่วมเป็นองค์ประกอบ
การกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่ผู้บริจาคเงินช่วยเหลือโครงการและกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะของหอการค้า
กระทรวงการคลังเห็นว่าอาจจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับการบริจาคกรณีอื่น ๆ
และการวางแผนและการจัดสรรงบประมาณ
หอการค้าจังหวัดสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผน ผ่านกลไกคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
และคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง
ๆ กับหอการค้าจังหวัด โดยการตั้งงบประมาณงบเงินอุดหนุนแก่หอการค้าจังหวัด
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ขอความเห็นชอบกู้ยืมเงินเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย | กษ. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องทางการเงินขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกันจำนวน ๒๕๐ ล้านบาท ระยะเวลา ๑ ปี
นับตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๗/๖๐๓
ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๔) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ นร ๑๑๒๔/๖๗๗๒ ลงวันที่ ๑๗
พฤศจิกายน ๒๕๖๔) ที่จะต้องกระทำด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความคุ้มค่า
ความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะโดยเคร่งครัด
เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | ความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษา | ศธ. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษา (Cooperation Agreement between the Association of
Southeast Asian Nations and the Government of Hungary on Education Cooperation) (ร่างความตกลงฯ) ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน
และประเทศไทยจะต้องแจ้งความเห็นชอบต่อร่างความตกลงดังกล่าวต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน
ณ กรุงจากาตาร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ
ของฝ่ายอาเซียน โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญ เช่น การสานต่อโครงการทุนการศึกษาอาเซียน-ฮังการี
ฮังการีจะให้โอกาสนักเรียนจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาฮังการี
อาเซียนจะให้โอกาสนักเรียนและอาจารย์ฮังการีได้เข้าร่วมโครงการการศึกษาและการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน
เป็นต้น ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย | มท. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
มีสาระสำคัญเป็นการอนุญาตให้คนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการพำนักระยะยาว
(Long-term resident visa : LTR Visa)
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายรัฐบาลและมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้รับข้อสังเกตของรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์)
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าเมื่อได้ประกาศใช้ไประยะหนึ่งแล้ว
สมควรที่จะต้องมีการประเมินผลว่า บรรลุวัตถุประสงค์ในการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้ามาทำงานในประเทศหรือไม่
เพื่อที่จะได้ปรับปรุงประกาศดังกล่าวต่อไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราให้ยึดหยุ่นมากขึ้น และให้หน่วยงานพิจารณาและเสนอการกำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจนในประกาศเพื่อที่คณะรัฐมนตรีจะได้พิจารณาไปในคราวเดียวกัน
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร) กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|