ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 32 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. .... | สช. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
ฉบับที่ ๓ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย
ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ
ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ
และให้รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ
แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 2/2565 | นร.11 สศช | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
(กบส.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕
พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติและรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อนำเสนอคณะกรรมการระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศตามขั้นตอนต่อไป
และเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
รวมทั้งเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ (เรื่อง
ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑)
เพื่อมอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ
National Single Window และกำหนดขอบเขตหน้าที่ของบริษัท
โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ให้เหมาะสม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนการรปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อมาดำเนินการในโอกาสแรก
และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกับ reprocess เพื่อลดกระบวนงานให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและกำหนดกรอบเวลาการพัฒนาระบบ
NSW ให้แล้วเสร็จไว้อย่างชัดเจน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... | นร.01 | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง)
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบและสภาพการณ์ปัจจุบัน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เช่น ในการกำหนดบทนิยามคำว่า
“บุคคลในครอบครัว” ตามข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
ควรบัญญัติบทคำนิยามคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ให้สอดคล้องกับบทนิยามคำว่า
“คู่ชีวิต”
ตามร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วและปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
ข้อคิดเห็นในข้อที่ ๙ ควรพิจารณาเพิ่มข้อความว่า
“ของขวัญนั้นต้องไม่จูงใจให้เกิดการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ควรปรับปรุงร่างข้อ ๑๒ วรรคสาม
โดยใช้คำว่า “บุคคลในครอบครัว” เนื่องจากมีการกำหนดไว้ในบทนิยาม เป็นต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้
รวมถึงการให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับเพื่อให้รับทราบและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
และให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกลไกเพื่อบังคับใช้ร่างระเบียบดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
ปรับหลักเกณฑ์หรือสาระให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔
และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น
และควรนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลบันทึกรายงานเกี่ยวกับการรับของขวัญด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การเสนอให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน | นร.01 | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน ตามมติคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม
๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ปัจจัยสู่ความสำเร็จของเศรษฐกิจฐานราก โดยพิจารณาจากนโยบายการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐและเอกชนตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา | สว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
6 | รายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ครั้งที่ 1/2565 | กษ. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ครั้งที่
๑/๒๕๖๕ โดยมีผลการดำเนินการสรุปได้
ดังนี้ (๑) ความก้าวหน้าการดำเนินการ เช่น มีการรับรองและขึ้นทะเบียนแปลงใหญ่แล้ว
๘,๙๔๕ แปลง
สร้างมูลค่าเพิ่มจากการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต รวม ๗๑,๕๗๕ ล้านบาท (๒) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ เช่น
ผลกระทบจากภัยแล้งทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหาย เครื่องจักรกลทางการเกษตรชำรุด
และเกษตรกรไม่ผลิตตามมาตรฐานสินค้าเกษตร และ (๓) ข้อเสนอแนะ เช่น
ควรสนับสนุนองค์ความรู้ในด้านการซ่อมบำรุง ดูแลรักษาเครื่องจักรกลทางการเกษตร
และการหาตลาดที่สามารถขายสินค้าเกษตรปลอดภัยในราคาที่แตกต่างจากการผลิตทั่วไป
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา | กค. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับ การปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 รวม 61 วัน (ห้วงที่ 7 - 8) | ตช. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ภายในวงเงิน ๑๓๕,๘๗๖,๔๐๐ บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ รวม ๖๑ วัน
หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ ๒. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขอความเห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร บางส่วน เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำห้วยบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุบลราชธานี | กษ. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
บางส่วน เนื้อที่ประมาณ ๔๒ ไร่ ๐ งาน ๕๑ ตารางวา เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำห้วยบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว
จะแจ้งให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ดำเนินการตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒
ในการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร บางส่วน
เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำห้วยบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดอุบลราชธานี ต่อไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ที่เห็นว่าโครงการที่อยู่ห่างแนวเส้นเขตแดนเข้ามาในฝั่งไทยมากพอสมควร
มิได้อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาหรืออาจมีประเด็นด้านเขตแดน ให้กรมชลประทานปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่ได้เสนอไว้ในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
10 | แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายปารเมศ โพธารากุล) | กษ. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายปารเมศ โพธารากุล
เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 รวม 59 วัน (ห้วงที่ 5-6) | ตช. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน ๑๔๖,๙๓๙,๗๐๐ บาท
สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ระหว่างวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ รวม ๕๙ วัน
หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาจัดอัตรากำลังพลในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19)
ให้มีความเหมาะสม
ประหยัดและสอดคล้องกับสถานการณ์การชุมนุมสาธารณะที่มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การให้การยอมรับในข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (Ban Amendment) | ทส. | 06/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการให้การยอมรับในข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด
(Ban Amendment)
และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำตราสารการยอมรับ (Instrument of
Acceptance) และส่งมอบให้เลขาธิการสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไป โดยการแก้ไขอนุสัญญาบาเซลฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑)
ห้ามประเทศตามภาคผนวก VII ได้แก่ ประเทศสมาชิกในกลุ่ม OECD,
EC และลิกเตนสไตน์ ส่งของเสียอันตราย (เช่น
ของเสียจากการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ ของเสียจากการผลิต การผสม หรือการใช้สารเคมี
หมึก เรซิน และของเสียจากการกำจัดของเสียอุตสาหกรรม)
ไปยังประเทศอื่นที่ไม่อยู่ในภาคผนวก VII และเพิ่มเติมภาคผนวก
๒,๘ และ ๙ เกี่ยวกับขยะพลาสติก เช่น โพลีเอทิลีน (PE)
โพลีโพรพีลีน (PP) โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ให้เป็นของเสียอันตรายในอนุสัญญาบาเซลฯ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตราย
และการกำจัด (Ban Amendment)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นว่าข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลฯ
เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่หากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยืนยันว่าสามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญาและไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก็ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
ขยะที่นำเข้ามาต้องสะอาดและไม่มีของเสียอันตรายปนเปื้อน
ควรพิจารณาด้วยความรอบคอบเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งขยะหรือของเสียอันตรายกับขยะพลาสติก
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) กระทรวงอุตสาหกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการขยะพลาสติกในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพื่อให้สามารถนำขยะพลาสติกในประเทศไปใช้เป็นวัตถุดิบรีไซเคิลทดแทนการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น
รวมทั้งช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้ด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (นายมนตรี เนรกัณฐี และนางวัลยา สุวรรณาภิรมย์) | พณ. | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายมนตรี เนรกัณฐี และนางวัลยา สุวรรณาภิรมย์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ขอลาออก ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอ
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ซึ่งตนแทน
|
||||||||||||||||||||||||||||||
14 | รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเสนอขอแต่งตั้งกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ จังหวัดขอนแก่น (นายสมสัก วิไลทอน) | กต. | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายสมสัก วิไลทอน (Mr. Somsack Vilaythone) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ณ จังหวัดขอนแก่น โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดขอนแก่น อำนาจเจริญ บึงกาฬ
บุรีรัมย์ ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ เลย มหาสารคาม มุกดาหาร นครพนม นครราชสีมา
หนองบัวลำภู หนองคาย ร้อยเอ็ด สกลนคร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี
และยโสธร สืบแทน นายสมบัด เพ็งพะจัน (Mr. Sombath Phengphachanh) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
15 | รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ | นร.12 | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ (เรื่อง
รายงานการประเมินผลองค์การมหาชนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๖ มกราคม
๒๕๕๘ เรื่อง การทบทวนความจำเป็นในการมีอยู่ขององค์การมหาชน)
และให้พิจารณาการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ต่อไป
ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอ ๒. ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่ควรเร่งดำเนินการจัดทำข้อมูลในรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่า
ต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
จากการดำเนินการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์
เปรียบเทียบกับการจัดตั้งสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเป็นองค์การมหาชน
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาทบทวนแนวทางในการดำเนินการ
โดยคำนึงถึงภาระด้านงบประมาณของภาครัฐ
และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการอย่างรอบด้าน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการจัดนายทหารติดต่อของกองทัพไทยประจำกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด - แปซิฟิก | กห. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฏกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. 2553) | มท. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการอื่นในพื้นที่บางบริเวณ
ให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้น จาก ไม่เกินร้อยละ ๕ เป็น ไม่เกินร้อยละ ๑๐
ของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และคณะในศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 | อว. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินของแผนอัตรากำลังของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและคณะในศูนย์สุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ จำนวน ๓๕๒,๔๙๘,๘๐๐ บาท
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พิจารณาทบทวนการกำหนดจำนวนอัตรากำลังภายใต้แผนฯ
ให้เหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจเท่าที่จำเป็นและประหยัด
โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้
โดยเฉพาะรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่หรือที่สามารถนำมาใช้จ่ายเป็นลำดับแรก
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกำกับเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น คณะในศูนย์สุขศาสตร์ควรพิจารณาทบทวนกรอบอัตรากำลังที่ขอรับการสนับสนุนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
พิจารณารูปแบบการจ้างงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ควรบูรณาการการทำงาน
และเชื่อมโยงฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพและข้อมูลผู้ป่วยในพื้นที่
ทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงคมนาคมและโทรคมนาคมแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ | ดศ. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างหนังสือเห็นชอบการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวงคมนาคมและโทรคมนาคมแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างหนังสือเห็นชอบการต่ออายุบันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าว
โดยบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างไทย-ฟินแลนด์ในการพัฒนาด้านโทรคมนาคม.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รวมทั้งเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุน
การพัฒนาด้านเทคนิค การขยายการตลาด
และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานของความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน (ร่าง) หนังสือเห็นชอบการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และเทคโนโลยีดิจิทัล
ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงคมนาคมและโทรคมนาคมแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 รวม 62 วัน (ห้วงที่ 3-4) | ตช. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน ๑๖๘,๒๗๗,๘๐๐ บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ระหว่างวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๕ รวม ๖๒ วัน
หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงสาธารณสุข
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และให้มีการรายงานผลการดำเนินงานตามที่ได้ปฏิบัติในห้วงเวลาข้างต้นและการใช้จ่ายงบประมาณต่อสำนักงบประมาณ
ตามนัยข้อ ๑๒ แห่งระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งจะได้นำผลการดำเนินงานไปใช้ประโยชน์กับการพัฒนางานในโอกาสต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|