ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ยธ. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยเพิ่มเติมการคุ้มครองผู้ต้องหาและจำเลยในชั้นสอบสวน
ขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับเงินค่าตอบแทน
ค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย รวมทั้งลดขั้นตอนการดำเนินงาน
ตลอดจนกำหนดให้สามารถยื่นคำขอผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
เพื่อให้ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และจำเลยได้รับการช่วยเหลือเยียวยาที่สะดวก รวดเร็ว
ทั่วถึง และเป็นธรรมยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ๓.
ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เห็นควรบังคับใช้กฎหมายนี้ควบคู่กับการแก้ไขระบบและกระบวนการยุติธรรมในมิติต่าง
ๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น
มีทัศนคติที่ดีต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ
และความไม่เป็นธรรมที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยลง และควรจัดให้มีนักสังคมสงเคราะห์เข้าไปคุ้มครองสวัสดิภาพประชาชน
ครอบครัว และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตกเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาทั้งทางตรงและทางอ้อม
เพื่อให้สามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการและได้รับการดูแลที่เหมาะสม
อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เสียหายต่อไป สำนักงบประมาณ เห็นควรให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรเพื่อรองรับภารกิจเกี่ยวกับการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่เป็นผู้เสียหาย
ผู้ต้องหา และจำเลยในคดีอาญาไว้แล้ว
และ/หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีเพื่อมาดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กก. | 23/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์สำคัญการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน
ครั้งที่ ๒๗ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๖ ฉบับ ประกอบด้วย ๑)
ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ ๒๗ ๒) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม
ครั้งที่ ๒๓ ๓) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-สาธารณรัฐอินเดีย
ครั้งที่ ๑๑ ๔)
ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซียอาเซียน
ครั้งที่ ๓ ๕) ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียน และองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ
(UNWTO) และ ๖)
ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอาเซียน และ
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุมฯ จำนวน ๖
ฉบับ โดยร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
เป็นการติดตามความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน
ปี ๒๕๕๙-๒๕๖๘
และเป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกอาเซียนในอนาคต
ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน
ครั้งที่ ๒๗ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๖ ฉบับ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคมและความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าการดำเนินความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างอาเซียน-อินเดีย
ผ่านการเสริมสร้างความเชื่อมโยงด้านการขนส่งทางอากาศ ทางน้ำ และทางบก กล่าวคือ
ในปี ๒๕๖๖ คณะทำงานด้านการขนส่งสาขาที่มีการดำเนินข้อริเริ่มความร่วมมือกับอินเดีย
อาทิ การจัดทำร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างอาเซียน-อินเดีย
โครงการความร่วมมือถนนสามฝ่าย ไทย-เมียนมา-อินเดีย
และส่วนต่อขยายไปยังลาว-กัมพูชา-เวียดนาม และการจัดทำร่างความตกลงความร่วมมือการขนส่งทางน้ำอาเซียน-อินเดีย
ได้มีมติให้คงการพิจารณาโครงการ/ข้อริเริ่มดังกล่าวไว้ก่อนจนกว่าอินเดียจะมีความพร้อม
และควรให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนที่มีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน
พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๖๘ (ASEAN Tourism Strategic Plan) รวมทั้งผลักดันให้มีมาตรฐานการท่องเที่ยวในระดับกลุ่มภูมิภาคอาเซียน
เพื่อให้การขับเคลื่อนของกลุ่มประเทศสมาชิกเกิดขึ้นอย่างจริงจังและมีความยั่งยืนมากขึ้น
ทั้งในมิติของการสร้างประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย
การสร้างสมดุลระหว่างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|