ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 6 จากข้อมูลทั้งหมด 6 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างคำมั่นของประเทศไทยเนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน | กต. | 04/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างคำมั่นของประเทศไทยเนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๕
ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Right : UDHR) ซึ่งมีกำหนดจัดกิจกรรมระดับสูงเนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปี ของ UDHR
ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๖ ณ นครเจนีวา โดยร่างคำมั่นฯ
ของประเทศไทยที่จะประกาศในกิจกรรมระดับสูงดังกล่าว มีสาระสำคัญ เช่น
ผลักดันความคืบหน้าของพันธกรณีและการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของไทย
ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยในการรับมือกับความท้าทายใหม่ในโลกโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ยกระดับคุณภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพของทุกคน เป็นต้น ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างคำมั่นของประเทศไทยเนื่องในโอกาสครบรอบ
๗๕ ปี ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | คำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า | สขค | 10/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบกรอบวงเงินคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า วงเงินรวม ๔๗๐.๗๐๓๙ ล้านบาท
เพื่อบรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ทั้งนี้
การขอตั้งงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
และรายงานเกี่ยวกับเงินงบประมาณ ตามนัยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
และให้สำนักงบประมาณพิจารณาตามแนวทางการจัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ (สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรพิจารณาเร่งรัดขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ หมุดหมายที่ ๗ ให้ประเทศ ไทยมี SMEs ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้
โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความสำคัญ เช่น
การติดตามสถานการณ์การแข่งขันของตลาดและพฤติกรรมการประกอบธุรกิจอย่างใกล้ชิดเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของรูปแบบธุรกิจและตลาด
โดยเฉพาะธุรกิจภาคการเกษตรและภาคบริการที่มีผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) ประกอบธุรกิจเป็นจำนวนมาก
การเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรมเกี่ยวกับระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า
(Credit Term) กรณีผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมทั้งดำเนินการติดตามและประเมินผลเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงมาตรการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงพาณิชย์
(สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า) ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๓ กันยายน ๒๕๖๖ (เรื่อง การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณ
พร้อมแนวทางการจัดทำงบประมาณและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2566 เพื่อใช้ในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2564 | กษ. | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๖ ในวงเงิน ๑,๐๓๔,๙๘๒,๐๐๐ บาท (เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทอุดหนุนทั่วไป)
สำหรับเป็นเงินอุดหนุนเกษตรกรของโครงการส่งเสริมผลิตข้าวอินทรีย์ ปี ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๗/๑๖๙๘๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๖)
เช่น ควรพิจารณากำหนดมาตรการและแนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์
และสนับสนุนต่อยอดเกษตรกรที่ปัจจุบันทำนาข้าวอินทรีย์อยู่แล้วให้มีความสามารถในการรผลิตข้าวได้ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
โดยการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาระบบ การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพ
รวมถึงการสร้างการรับรู้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคข้าวปลอดสารพิษ
รวมทั้งต้องกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ
ถูกต้องครบถ้วน ไม่ซ้ำซ้อน และบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ตลอดจนจัดทำรายงานการติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์
และประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการดำเนินโครงการ
เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการของภาครัฐที่เหมาะสม
และรายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นสุดโครงการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 | กต. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๔๒ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ เมืองลาบวน บาโจ
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำอาเซียน จำนวน ๖ รายการได้แก่
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๔๒ การหารือผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ ของอาเซียน เช่น สมัชชารัฐสภาอาเซียน
เยาวชนอาเซียน สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน
และคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี ค.ศ. ๒๐๒๕
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
ได้ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน ๑๐ ฉบับ โดยผลการประชุมมีสาระสำคัญ
ได้แก่ ๑) การสร้างประชาคมอาเซียน ๒) ความสัมพันธ์กับภาคีภายนอก ๓)
มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก ๔) สถานการณ์ในเมียนมา ๕)
การหารือกับผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ ของอาเซียน และ ๖) การหารือทวิภาคี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นควรประสานงานร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาและหารือในรายละเอียดร่วมกับคณะทำงานภายใต้กรอบการประชุม
AFMGM และให้ดำเนินการตามกฎหมาย
ระเบียบ
และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบันและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2560) | มท. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(สีฟ้า) บริเวณหมายเลข ๖.๕ และบริเวณหมายเลข ๖.๗ บางส่วน (เฉพาะพื้นที่บนแผ่นดิน)
ให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ได้แก่ บริเวณหมายเลข ๓.๒/๑
หมายเลข ๓.๘/๑ หมายเลข ๓.๑๐/๑ หมายเลข ๓.๑๑/๑ และหมายเลข ๓.๑๓/๑
และแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมในข้อ ๘
วรรคสอง (๙) โดยเพิ่มเงื่อนไขในการประกอบอุตสาหกรรมให้มีระยะห่างจากแนวชายฝั่งตามสภาพธรรมชาติของทะเลไม่น้อยกว่า
๕๐ เมตร และเพิ่มประเภท ชนิด
และจำพวกของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการเฉพาะบริเวณที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมอีก จำนวน ๒๒
ลำดับ ๔๙ ประเภท ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรให้กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินเป็นที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล) ในแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
และมีข้อกำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการหรือสาธารณประโยชน์ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและการพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ให้เพิ่มข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนั้นว่า ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุงป่าไม้
สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ
การพิจารณาการอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และเป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ ๒๕๖๐ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 21 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 24/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|