ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 4 จากข้อมูลทั้งหมด 4 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย | นร.04 | 10/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแต่งตั้ง ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์
เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย
ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๕๕/๒๕๖๖ เรื่อง
แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย
ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
2 | ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการและเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 รายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปกครองนครศรีธรรมราช | ศป. | 14/03/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติให้สำนักงานศาลปกครองเปลี่ยนแปลงรายการเพิ่มวงเงินและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
ตามนัยข้อ ๗ (๓) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้ ๑.๑ จากรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปกครองนครศรีธรรมราช
จำนน ๑๘๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปกครองนครศรีธรรมราช
บริเวณศูนย์ราชการรองนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๔๒๙,๔๔๙,๐๐๐
บาท
และอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายการค่าควบคุมงานก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปครองนครศรีธรรมราช
จำนวน ๓,๐๒๖,๒๐๐ บาท
ไปสมทบในรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปกครองนครศรีธรรมราชได้
โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙-พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวน
๑๓๘,๒๔๖,๙๐๐ บาท
ที่ได้รับอนุมัติเงินจัดสรรและเป็นเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีของสำนักงานศาลปกครองแล้ว
และเงินสมทบของสำนักงานศาลปกครอง จำนวน ๔,๙๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือจำนวน
๒๘๖,๓๐๒,๑๐๐ บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๖๙
โดยขอให้สำนักงานศาลปกครองจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับตามความจำเป็นที่ต้องใช้ในแต่ละปีต่อไป ๑.๒ ขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
จากเดิมปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙-พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙-พ.ศ. ๒๕๖๙
๒.
ให้สำนักงานศาลปกครองรับความเห็นของกระทรวงการคลังที่เห็นควรเร่งดำเนินโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จและถือปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ ของทางราชการ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ไปดำเนินการต่อไปอย่างเคร่งครัดด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 | นร.14 | 24/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
4 | (ร่าง) แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566 - 2570) | กก. | 03/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) โดยแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ ๗ มีสาระสำคัญเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ
ทั้งภาครัฐและเอกชนใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของแต่ละหน่วยงานเพื่อช่วยผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
เพื่อให้การกีฬาเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
ตามที่คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติเสนอ และให้คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ กติกาสากล
รวมถึงการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเล่นกีฬาชนิดต่าง ๆ
ควรพิจารณาถึงประเด็นโภชนาการของนักกีฬาและการหลีกเลี่ยงการใช้สารกระตุ้น
เพื่อเพิ่มสมรรถภาพหรือข้อได้เปรียบทางร่างกายของนักกีฬา
ควรพิจารณากีฬาอีสปอร์ตเพื่อเป็นอีกส่วนหนึ่งช่องทางใหม่ในการเข้าถึงประชาชน
รวมถึงกีฬาพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณากำหนดมาตรการ/แนวทางการดำเนินการสนับสนุนส่งเสริมการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชนในชุมชนและท้องถิ่นต่าง
ๆ ทั่วประเทศให้เพิ่มมากขึ้นและมีความต่อเนื่อง
๓.
ให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการ/แนวทางการดำเนินการสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนได้มีเวลาในการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในแต่ละสัปดาห์มากยิ่งขึ้น
โดยอาจพิจารณาให้สถานศึกษาจัดตั้งชมรมกีฬาประเภทต่าง ๆ
เพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเหมาะสม เพื่อรองรับกิจกรรมดังกล่าวของนักเรียนต่อไป |