ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 38 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 10 | กค. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ (เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio
Guarantee Scheme ระยะที่ ๑๐) ในส่วนของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อเพิ่มอีก
๓,๒๕๐ ล้านบาท
จากเดิม วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็น
วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ ๕๓,๒๕๐ ล้านบาท
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง
(บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทย เช่นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการคลัง
(บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) พิจารณากำหนดกลุ่มเป้าหมายในการจัดสรรวงเงินค้ำประกันสินเชื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือก่อนเป็นลำดับแรก
เช่น ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (Small and
Medium Enterprises : SMEs) ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง
ขนาดย่อม และขนาดย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises :
MSMES) ผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่เมืองรอง
เพื่อส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน (สำนักงาน ก.พ.ร.) | นร.12 | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่อง
ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้แก่ประชาชน ของสำนักงาน ก.พ.ร. ในหัวข้อ “ราชการสะดวก”
ด้วย ๓ ความสะดวกของการให้บริการ ได้แก่ (๑) สะดวก...ใช้บริการ ด้วย Government e-Service Directory (๒)
สะดวก...ติดต่อ ด้วย ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ และ (๓) สะดวก...เข้าถึง
ด้วย แพลตฟอร์ม “บอกเรา ถึงรัฐ” โดยสำนักงาน ก.พ.ร.
จะจัดทำข้อมูลของขวัญปีใหม่ในรูปแบบ Infographic เผยแพร่ผ่าน
๔ ช่องทางหลัก ได้แก่ (๑) ช่องทางของสำนักงาน ก.พ.ร. (๒) ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน
(๓) สำนักโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ (๔) เว็บไซต์ข่าวประชาสัมพันธ์
(ข่าวประชาสัมพันธ์.com) ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 4 | กต. | 19/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนชื่อร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ ๘ เป็นร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
ครั้งที่ ๔
และปรับเปลี่ยนผู้รับรองเอกสารฉบับดังกล่าวจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการประชุมผู้นำฯ
โดยไม่กระทบสาระสำคัญของร่างเอกสารดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบแล้ว
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรส่งเสริมให้ประเทศในอนุภูมิภาคฯ
ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์อาชญากรรมข้ามชาติ
รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ
เพื่อให้ประเทศสมาชิกสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบและบทลงโทษจากการกระทำผิดให้กับประชาชนในพื้นที่
ซึ่งจะส่งผลให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเข้าสู่วงจรอาชญากรรมข้ามชาติ
และเพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกันได้อย่างชัดเจน และควรเน้นย้ำแนวทางการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือดังกล่าวให้สอดประสานกับประเด็นความเชื่อมโยงด้านคมนาคมและการขนส่งที่กรอบความร่วมมืออื่น
ๆ ในพื้นที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว อาทิ อาเซียน
แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ๖ ประเทศ (GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
(ACMECS) เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันและเกื้อหนุนการดำเนินการระหว่างกัน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) | นร. | 04/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีเห็นว่า เพื่อให้การสนับสนุนส่งเสริมการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จึงมีมติมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เร่งพิจารณาปรับปรุงวิธีการและช่องทางในการจัดจำหน่ายและกระจายผลิตภัณฑ์ OTOP
ไปยังผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มีความทันสมัย สะดวก
รวดเร็ว และแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลและส่งเสริมให้ผู้ผลิตสินค้า
OTOP ยังคงรักษาคุณภาพ มาตรฐานและปริมาณการผลิต
รวมทั้งความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและผู้บริโภคได้อย่างเท่าทันสถานการณ์
เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตและวิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวข้องได้อย่างยั่งยืนต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 | รง. | 14/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวน ๑ ฉบับ คือ ร่างประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง
หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน
พ.ศ. .... ออกไปอีก ๑ ปี นับแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม | กษ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเพิ่มเติมว่า
เนื่องจากสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในตลาดโลกรวมถึงค่าบริหารและขนส่งมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้เกษตรกรโคนมรายย่อย (ฟาร์มขนาดเล็ก) ต้องรับภาระต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
จึงเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรโคนมกลุ่มดังกล่าว
แทนการปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบจะเป็นผลดีกับกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า
รวมทั้งจะช่วยผลกระทบกับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม)
โรงเรียนด้วย และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม)
พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาววราภรณ์ รุ่งตระการ) | อว. | 31/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาววราภรณ์ รุ่งตระการ
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านระบบบริหารการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๖
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขอให้พิจารณาประกาศพื้นที่ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา และอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร | กอรมน. | 16/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบสรุปผลการประเมินพื้นที่ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
และอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ประกอบการพิจารณาประกาศพื้นที่ที่ปรากฎเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ ๒. เห็นชอบ ๒.๑ ร่างประกาศ เรื่อง
พื้นที่ปรากฎเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ๒.๒ ร่างประกาศ เรื่อง การให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ๒.๓ ร่างประกาศ เรื่อง
กำหนดลักษณะความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒.๔ ร่างข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๑๘
แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ รวม ๔ ฉบับ
ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | อว. | 03/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมนำเสนอรายการที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐
ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๒๔,๐๓๒,๓๐๔,๙๐๐ บาท เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยรับงบประมาณจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการ จำนวน ๕
โครงการ ดังกล่าว โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ ประมาณการค่าสิ่งก่อสร้าง
สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ รวมถึงการดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า และประหยัด การพิจารณาเป้าหมาย
ประโยชน์ที่จะได้รับ ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ และดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ อย่างเคร่งครัด ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการมีการจัดทำแผนการบริหารจัดการโครงการที่ครอบคลุมแผนการบริหารจัดการกำลังคนที่คำนึงกำลังการผลิตและความต้องการในภาพรวมของประเทศ
แผนการบริหารความเสี่ยงของโครงการ การติดตามประเมินผล
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือและการบริหารจัดการทรัพยากร
การจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ฯลฯ จำนวน 13 ราย) | กค. | 03/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๑๓ ราย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร ๒. นางแพตริเซีย มงคลวนิช ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมบัญชีกลาง ๓. นายพชร อนันตศิลป์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ๔. นายธีรัชย์ อัตนวานิช ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากร ๕. นายชาญวิทย์ นาคบุรี ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๖. นายเกียรติณรงค์ วงศ์น้อย ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๗. นายปิ่นสาย สุรัสวดี ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๘. นายอัครุตม์ สนธยานนท์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ๙. นายธิบดี วัฒนกุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ๑๐. นางสาวขนิษฐา สหเมธาพัฒน์
ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๑. นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๑๒. นายธีรลักษ์ แสงสนิท ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... | สธ. | 29/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท
๓ หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ พ.ศ. .... ของกระทรวงสาธารณสุข มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข
และอัตราค่าธรรมเนียมการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างตำรับยาเสพติดให้โทษประเภท
๓ หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในส่วนของร่างกฎกระทรวงฯ ข้อ ๓ ในกรณีผู้ขออนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมความบกพร่อง
ควรกำหนดให้ผู้อนุญาตมีหนังสือแจ้งเหตุแห่งการคืนคำขอให้ผู้ขออนุญาตทราบ และร่างกฎกระทรวงฯ
ข้อ ๔ ควรกำหนดระยะเวลาการแจ้งผลการพิจารณาทั้งในกรณีที่มีคำสั่งอนุญาตและไม่อนุญาตเป็นภายใน
๗ วัน เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๘ นอกจากนี้
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นคำขออนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
การติดต่อหรือเอกสารหลักฐานใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้นั้นควรกระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
เว้นแต่ผู้ขออนุญาตจะระบุไว้ เป็นประการอื่นในการยื่นคำขออนุญาต
เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าร่างกฎกระทรวงฯ
จะต้องคำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบของประชาชนเป็นสำคัญ
เพื่อป้องกันการนำยาเสพติดไปใช้ในทางที่ให้โทษ และบั่นทอนสุขภาพของประชาชน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... | สธ. | 29/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท
๓ และตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข
และอัตราค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓
และตำรับวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เห็นควรจะต้องคำนึงถึงคุณประโยชน์และผลกระทบของประชาชนเป็นสำคัญ
เพื่อป้องกันการนำยาเสพติดไปใช้ในทางที่ให้โทษ และบั่นทอนสุขภาพของประชาชน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียนและการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้ประชาชนทราบอย่างทั่งถึง
และแจ้งกระทรวงการคลังจัดทำงบประมาณรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
เพื่อใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินงานทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจำทุกสิ้นปีงบประมาณตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558) | มท. | 15/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) บริเวณหมายเลข ๒.๒ บางส่วน ให้เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
(สีม่วง) บริเวณหมายเลข ๑/๑
และเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง)
รวมทั้งปรับปรุงแผนผังและรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
กับตลอดจนนโยบายภาครัฐที่จะรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ. ๒๕๖๒ แล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และเป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภทหรือขนาดของกิจการ และหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ผู้ขออนุญาตจะต้องดำเนินการก่อนการพิจารณาออกใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๑
และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
หลักเกณฑ์ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ๒๕๖๑ และเมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ
ดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อลดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 15 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT) | นร.11 สศช | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมผู้นำ ครั้งที่
๑๕ แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : IMT-GT) เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ โดยประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประธานการประชุม
และได้หารือร่วมกับนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐมาเลเซีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย
เลขาธิการอาเซียน และประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย ในประเด็นความก้าวหน้า
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และทิศทางการดำเนินงานในอนาคตของแผนงาน IMT-GT และเห็นชอบการมอบหมายภารกิจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยตามแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปและมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญ เช่น ความสำเร็จที่สำคัญของแผนงาน IMT-GT ในช่วง ๓๐ ปี ที่ผ่านมา ความก้าวหน้าโครงการความเชื่อมโยงทางกายภาพ
ความก้าวหน้าการดำเนินงานในสาขาความร่วมมือต่าง ๆ ภายใต้แผนการดำเนินงานระยะ ๕ ปี
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ทิศทางการดำเนินงานในอนาคต พิธีเปิดแคมเปญปีแห่งการท่องเที่ยว
IMT-GT พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๘ เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและกระทรวงคมนาคม รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น
ควรพิจารณาเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ กระทรวงคมนาคม กรมการท่องเที่ยว
สายการบิน ภาคเอกชน หน่วยงานทางการท่องเที่ยวและธุรกิจการบิน ภาคการศึกษา
เพื่อศึกษาหาแนวทางและส่งเสริมการขยายเส้นทางการบิน ในพื้นที่อนุภูมิภาค IMT-GT เพื่อเปิดและเชื่อมโยงอนุภูมิภาค IMT-GT ให้เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงง่ายทั้งในการมาเยือนของนักท่องเที่ยว
นักลงทุน ทั้งในและนอกอนุภูมิภาค ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และควรให้การสนับสนุน
เพื่อช่วยขับเคลื่อนความร่วมมือภายใต้แผนงาน IMT-GT
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท พ.ศ. 2560) | มท. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น บริเวณหมายเลข ๓.๔ หมายเลข
๓.๕ เฉพาะฝั่งตะวันตกของคลองส่งน้ำชลประทานทุ่งวัดสิงห์ หมายเลข ๓.๖ หมายเลข ๓.๗
หมายเลข ๓.๑๐ หมายเลข ๓.๑๕ หมายเลข ๓.๑๘ หมายเลข ๓.๑๙ เฉพาะฟากตะวันตกทางหลวงชนบท
ชน.๔๐๕๔ และหมายเลข ๓.๒๐ โดยให้มีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ เมตร จากคลองส่งน้ำชลประทานทุ่งวัดสิงห์
คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาช่องลม และป่าเขาหลัก และแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าเขาราวเทียน ให้สามารถประกอบกิจการโรงงานอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ได้ และเพิ่มเติมการอนุญาตให้ที่ดินบริเวณหมายเลข
๓.๓ หมายเลข ๓.๘ และหมายเลข ๓.๙ สามารถประกอบกิจการโรงแรมได้
และเพิ่มเติมการอนุญาตให้ที่ดินบริเวณหมายเลข ๓.๔ หมายเลข ๓.๕ หมายเลข ๓.๖ หมายเลข
๓.๗ หมายเลข ๓.๑๐ หมายเลข ๓.๑๑ หมายเลข ๓.๑๓ หมายเลข ๓.๑๕ หมายเลข ๓.๑๖ หมายเลข
๓.๑๘ หมายเลข ๓.๑๙ หมายเลข ๓.๒๐ และหมายเลข ๓.๒๑ สามารถประกอบกิจการโรงแรมประเภท ๑
และประเภท ๒ ได้ โดยให้มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันไม่เกิน ๕๐๐
ตารางเมตร รวมทั้งแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) ให้สามารถประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ ๑๐๑ โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (Central
Waste Treatment Plant) เฉพาะโรงงานกำจัดมูลฝอย
ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลหรือได้รับอนุญาตให้ดำเนินการจากหน่วยงานของรัฐดำเนินการได้เพิ่มเติมในท้องที่หมู่ที่
๗ ตำบลหนองมะโมง อำเภอมะโมง จังหวัดชัยนาท
และให้โรงงานบำบัดน้ำเสียรวมดำเนินการได้ และรวมถึงการให้ยกเลิกความในหมายเหตุในโรงงานลำดับที่
๑๐๑
ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยนาท
พ.ศ. ๒๕๖๐ ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม และให้ใช้ความตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการท้ายประกาศนี้แทน
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดที่กำหนดให้เป็น
“ย่านท่องเที่ยวการเรียนรู้ และวิธีชีวิตชุมชน” และมุ่งเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมด้วยการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้วยนวัตกรรมทางการเกษตรสมัยใหม่
รวมทั้งเพื่อประโยชน์สาธารณะและสุขอนามัยของประชากรในจังหวัดชัยนาท
และดำเนินการรวบรวมน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้เคียงมาบำบัด
เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานก่อนนำกลับมาใช้ใหม่หรือปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วย
จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คำนึงถึงกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นด้วย
การดำเนินการจึงต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน และเมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีผลใช้บังคับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อลดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | กรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.12 | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยกรอบแนวทางการประเมินของส่วนราชการ
กำหนดให้กระทรวงมีบทบาทหลักเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณากำหนดตัวชี้วัดและติดตามการประเมินผลการปฏิบัติงานของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดกระทรวงผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง
สำหรับกรอบและแนวทางการประเมินของจังหวัดมุ่งเน้นการบูรณาการการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายระดับชาติและนโยบายสำคัญของรัฐบาลเช่นเดียวกับส่วนราชการ
โดยให้กระทรวงมหาดไทยมีบทบาทหลักในการพิจารณาความเหมาะสม ตัวชี้วัด น้ำหนัก
และค่าเป้าหมาย รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของจังหวัดผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการจังหวัด
ทั้งนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดจากปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ในหัวข้อองค์ประกอบการประเมิน รอบระยะเวลาการประเมิน และกลไกการประเมิน
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีหลังยุบสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา
๑๖๙ (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เป็นการดำเนินการในลักษณะงานปกติตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ไม่ได้เป็นการกำหนดนโยบายขึ้นใหม่
จึงไม่เป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
และให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดสำนักนากยรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ
และสำนักงาน ก.พ. และข้อเสนอแนะของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจในบริบทของแต่ละส่วนราชการเพื่อนำมากำหนดเป็นตัวชี้วัดร่วมกันจะมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากกว่า
ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ให้ ก.พ.ร. กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และกรอบเวลาในรอบการประเมินครั้งที่ ๑ ให้สอดคล้องกับแนวโน้มการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน
เพื่อให้คะแนนการประเมินสามารถสะท้อนผลการดำเนินงานของหน่วยงานได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
และเกี่ยวกับขั้นตอนการประเมินการดำเนินงานของส่วนราชการและจังหวัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ
ซึ่งกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๗
และโดยที่ผลการประเมินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินการปฏิบัติราชการผู้บริหารของส่วนราชการ
ดังนั้น หากมีการเร่งรัดกระบวนการประเมินดังกล่าว
จะทำให้การดำเนินการมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติการผู้บริหารของส่วนราชการ
และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๒ มากยิ่งขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | รายงานผลการดำเนินการกำหนดมาตรการในการควบคุมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล | ตช. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการกำหนดมาตรการในการควบคุมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ประชุมร่วมกับกระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยมีการกำหนดมาตรการเพื่อบูรณาการในการแก้ไขปัญหาผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันโดยตรง
(Peer-to-Peer) ภายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต
และผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามแนวชายแดน
ซึ่งเป็นช่องทางหลักในการโอนเงินที่ได้จากการหลอกลวงประชาชนออกไปยังต่างประเทศ
โดยให้หน่วยงานต่าง ๆ รับผิดชอบ เช่น
ตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่องแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เพื่อกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกันโดยตรง (Peer-to-Peer)
เป็นผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖
มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมที่ต้องสงสัยต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
หากพบว่ามีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด
และให้ดำเนินการประกาศพื้นที่เสี่ยงเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการตรวจสอบและเฝ้าระวังการทำธุรกรรมการโอนไปยังต่างประเทศจากพื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่เสี่ยง
ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | แจ้งผลคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ ฟผ.5/2563 คดีหมายเลขแดงที่ ฟผ.1/2566 ระหว่างนางสาววินินท์อร ปรีชาพินิจกุล กับพวกรวม 26 คน ผู้ฟ้องคดี นายกรัฐมนตรี กับพวกรวม 4 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา | นร 05 | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ในคดีหมายเลขดำที่ ฟผ.๕/๒๕๖๓ คดีหมายเลขแดงที่ ฟผ.๑/๒๕๖๖ ระหว่างนางสาววินินท์อร
ปรีชาพินิจกุล กับพวกรวม ๒๖ คน ผู้ฟ้องคดี นายกรัฐมนตรีกับพวกรวม ๔ คน
ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒)
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายกฟ้องคดี ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. .... | มท. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหนองวัวซอ
จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลหนองวัวซอ และตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท
ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนหนองวัวซอให้เป็นชุมชนเกษตรกรรม
การค้า การบริการทางสังคมส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน
อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ศาสนสถานที่มีคุณค่าทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม
และประวัติศาสตร์ รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ
หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึงกฎ ระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำลำธาร
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
เพื่อให้ระบบระบายอากาศ แสง เสียง ระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
ไม่ก่อให้เกิดมลพิษแก่ผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาพื้นที่ทางเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการประกอบอาชีพของคนในชุมชน
โดยจะส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
และชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้อย่างสมดุลและยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ข้อเสนอแนะการควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน | ปช. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบข้อเสนอแนะการควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
โดยจากการศึกษาพบว่า
ปัญหาการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานของรัฐส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานของรัฐ
เช่น (๑) ควรให้สำนักงาน ก.พ.ร.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ
อนุญาต นำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการให้บริการประชาชน และ (๒)
ควรให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดุลพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกหน่วยงานกำหนดแนวทางและจัดทำคู่มือในการใช้ดุลพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุมัติ
อนุญาต เพื่อมีมาตรฐานในการใช้ดุลพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ ๒.
รับทราบสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งสำนักงาน
ก.พ.ร. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว มีความเห็นในภาพรวมต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ
ป.ป.ช. ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป
|