ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มาตรการภาษีในการสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาทำงานในประเทศ | กค. | 30/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบมาตรการภาษีในการสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาทำงานในประเทศ
โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คนไทย ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศอย่างน้อย ๒ ปี
และวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเพื่อดึงดูดคนไทยที่มีศักยภาพสูงและมีความเชี่ยวชาญในสาขาตามความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายให้กลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยในอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามกฎหมาย
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่าเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิผลของมาตรการควรกำหนดคุณสมบัติที่เป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของทั้งลูกจ้างและนายจ้างในต่างประเทศให้มีความเข้มงวดและมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
เช่น
จบการศึกษาหรือมีประสบการณ์ทำงานในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
เป็นต้น
รวมถึงควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติดังกล่าวด้วย
รวมทั้งภาครัฐควรพิจารณาดำเนินมาตรการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการยกระดับและปรับปรุงทักษะแรงงานไทยที่มีอยู่ให้มีทักษะสอดคล้องตรงตามความต้องการจ้างงานของอุตสาหกรรมเป้าหมายในรูปแบบอื่น
เช่น การให้เครดิตภาษี (Tax Credit) แก่ผู้ที่เข้ารับการอบรม
และการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเป้าหมายส่งเสริมลูกจ้างให้มีการศึกษาต่อหรือฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ
เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้แรงงานไทยมีทักษะและความสามารถตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เห็นว่าร่างพระราชกฤษฎีกาฯ มีถ้อยคำในร่างมาตรา ๓ ไม่สอดคล้องกับถ้อยคำตามกฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ซึ่งมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกอบกับประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง การกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ลงวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ดังนั้น ควรให้หน่วยงานผู้เสนอมาตรการ
ปรับเนื้อหาในร่างมาตรา ๓ ๓. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม เห็นว่าในระยาวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องพิจารณาการจัดสรรค่าตอบแทน
สวัสดิการ และสิ่งจูงใจที่เหมาะสมกับระดับทักษะความรู้ ประสบการณ์การทำงาน
และภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ
เพื่อสร้างหลักประกันที่มั่นคงทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
ให้แก่แรงงานไทยที่มีศักยภาพ สำนักงบประมาณ เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าวรวมถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
|