ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 43 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | ผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | กต. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในฐานะแขกของรัฐบาล
ระหว่างวันที่ ๑-๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ โดยนายกรัฐมนตรีได้หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นทั้งในประเด็นทวิภาคีความร่วมมือในกรอบภูมิภาคและอนุภูมิภาค
ประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ
รวมทั้งนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้เป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงและหนังสือแลกเปลี่ยน
๓ ฉบับ ได้แก่ (๑) ความตกลงว่าด้วยการมอบโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(๒)
หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
และ (๓) หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความช่วยเหลือแบบให้เปล่าของรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้โครงการ
The Programme for COVID-19 Crisis
Response Emergency Support ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามตารางติดตามผลการเยือนไทยฯ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เช่น
การแลกเปลี่ยนข่าวกรองและองค์ความรู้ทางเทคนิค
เพื่อเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ
ความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานหลัก
การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงและการรักษาความปลอดภัยเทคโนโลยีที่อ่อนไหวต่อความมั่นคงแห่งชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | รัฐบาลสาธารณรัฐอาร์เจนตินาเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอาร์เจนตินาประจำประเทศไทย (นายกุสตาโบ อัลแบร์โต มาร์ติโน) | กต. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายกุสตาโบ อัลแบร์โต มาร์ติโน (Mr. Gustavo Alberto Martino) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอาร์เจนตินาประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นางมารีอา อาลีเซีย กุซโซนี เด โซนเซน (Mrs.Maria
Alicia Cuzzoni de Sonschein) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น | พน. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น
๒๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้กรมธุรกิจพลังงาน
โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้อนุมัติและดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน
ผ่านวิธีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแทนกัน
และให้กระทรวงพลังงานดำเนินมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของสำนักงานอัยการสูงสุด | อส. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ของสำนักงานอัยการสูงสุด และอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินทั้งสิ้น ๒๖๕,๘๗๓,๑๐๐ บาท ตามนัยข้อ
๘ และข้อ ๙ (๓) ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ.
๒๕๖๒ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ประกอบด้วย (๑)
รายจ่ายสำหรับค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่ง วงเงิน ๓๒,๙๓๐,๕๐๐ บาท (๒)
รายจ่ายสำหรับค่าตอบแทนกรณีอยู่เวรตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด วงเงิน ๑๙๘,๕๙๖,๐๐๐ บาท (๓) รายจ่ายสำหรับค่าสาธารณูปโภค
รายการค่าโทรศัพท์ วงเงิน ๓๔,๓๔๖,๖๐๐
บาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์) | นร.13 | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2565) | ปสส. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕
ซึ่งพิจารณาเรื่องที่คณะรัฐมนตรีส่งมาให้วิปรัฐบาลพิจารณา ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕
ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพุธที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๕
พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๘
(สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ และพิจารณาระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายธีรลักษ์ แสงสนิท) | กค. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายธีรลักษ์ แสงสนิท ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG | อว. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG วงเงินรวมทั้งสิ้น ๓,๕๖๖,๒๘๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๑/๘๑๕๕
ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแจ้งข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ (Thailand community Big Data : TCD) ที่รวบรวมได้ไปยังกระทรวงมหาดไทย
(ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ศจพ.) ด้วย
เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยนำข้อมูลดังกล่าวไปพิจารณาใช้ประโยชน์ในการดำเนินการแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 172 วรรคห้า และเพิ่มวรรคหก) | ศย. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๗๒ วรรคห้า และเพิ่มวรรคหก) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อให้การพิจารณาและสืบพยานของศาลในกรณีที่เกิดภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อความปลอดภัย
สามารถดำเนินการจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพ
โดยคู่ความหรือพยานอยู่นอกศาลได้ เมื่อจำเลยยินยอมและศาลเห็นสมควร
แต่ต้องไม่เป็นสิ่งที่เสียหายหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อจำเลย ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดและสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ๓.
ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น ให้ความสำคัญกับการวางระบบรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ
เพื่อรักษาความลับของข้อมูลในการพิจารณา และสืบพยานของศาล
ให้ความสำคัญกับประเด็นความเห็นที่ได้จากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นรวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
และควรกำหนดรายละเอียดประเภทของคดีด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ โดยร่างแผนพัฒนาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพลิกโฉมไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า
เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” และมีเป้าหมาย เช่น
การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่
และการเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน โดยได้กำหนดหมุดหมาย จำนวน ๑๓
หมุดหมาย เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน เช่น
หมุดหมายที่ ๑ ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
หมุดหมายที่ ๗ ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง
และสามารถแข่งขันได้ เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุข เช่น คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น
ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม และฐานะทางการคลัง
มีการสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมหมุดหมาย
พิจารณากำหนดค่าเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของเป้าหมายหลักและเป้าหมายในระดับหมุดหมายเป็นรายปี
ไปพิจารณาดำเนินการ แล้วให้นำ (ร่าง) แผนแผนพัฒนาฯ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ
ก่อนกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | รายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564) ของธนาคารแห่งประเทศไทย | กค. | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำครึ่งปี
(กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๔) ของธนาคารแห่งประเทศไทย สรุปได้ ดังนี้ (๑)
เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๖๔ ขยายตัวที่ร้อยละ ๐.๙
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากในช่วงครึ่งแรกของปี การลงทุนภาคเอกชนปรับลดลง
ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐยังขยายตัว
ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในประเทศยังเปราะบาง โดยไตรมาสที่ ๓ ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ที่รุนแรง แต่เริ่มดีขึ้นในไตรมาสที่ ๔ ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ ๑.๕๖
เพิ่มขึ้นจากในช่วงครึ่งแรกของปีที่อยู่ที่ร้อยละ ๐.๘๙
และเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยยังเข้มแข็ง สามารถรองรับความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้
(๒) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการดำเนินการ เช่น การดำเนินนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ย
โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ
๐.๕๐ ต่อปี และประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องแต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้ ภาครัฐมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
การประเมินนโยบายระบบการชำระเงิน พบว่า แนวโน้มการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยอยู่ที่ร้อยละ ๕๔.๓ ส่วนการใช้บริการผ่าน Mobile
Banking/Internet Banking เติบโตขึ้นร้อยละ
๖๗.๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 10 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 มกราคม 2565) | นร.04 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๑๐ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔-๓๑ มกราคม ๒๕๖๕)
ซึ่งสรุปรายงานดังกล่าวเป็นการรายงานผลการดำเนินงานตาม (๑) นโยบายหลัก ๑๒ ด้าน
เช่น การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การทะนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก
การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
เป็นต้น และ (๒) นโยบายเร่งด่วน ๑๐ เรื่อง เช่น
การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การปรับปรุงระบบสวัสดิการคุณภาพชีวิตของประชาชน
มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม การยกระดับศักยภาพของแรงงาน
การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. .... (แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) | คค. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | ร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. .... | ทส. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ
วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ
ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ
วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
เพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงาน หรือการอนุรักษ์ บำรุงรักษา
และฟื้นฟูอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน
สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาทบทวนอัตราการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้
ภายหลังที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับไปแล้ว ๓ ปี ควรทบทวนหลักเกณฑ์
วิธีการแบ่งเงินให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
โดยพิจารณาแหล่งกำเนิดของรายได้ว่าควรจัดสรรให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตามสัดส่วน
และพื้นที่ที่เกิดรายได้ขึ้นจริงแทนวิธีการแบ่งให้แห่งละเท่า ๆ กัน ควรมีกลไกความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
ในการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินค่าบริการและค่าตอบแทนที่แบ่งให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความเหมาะสม
มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควร ควรพิจารณาทบทวนอัตราการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้
ภายหลังที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับไปแล้ว ๓ ปี
ควรกำหนดระยะเวลาในการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้ตามมาตรา ๒๙
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ แก่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล
คำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นที่สนับสนุนภารกิจของอุทยานในลักษณะทั่วไป ควรมีกลไกความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
ในการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินค่าบริการและค่าตอบแทนที่แบ่งให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความเหมาะสม
มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) | กก. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เรื่อง
การเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์
ครั้งที่ ๖ ค.ศ. ๒๐๒๑ จากเดิม
เห็นชอบการเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์
ครั้งที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๒) เป็น ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) และเห็นชอบหลักการในการดำเนินงานการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์
ครั้งที่ ๖ หากจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาจัดการแข่งขันฯ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19)
หรือสถานการณ์ที่ไม่กระทบกับด้านงบประมาณ และกรอบดำเนินงานการจัดแข่งขันฯ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สามารถดำเนินการตามขั้นตอน และแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษกิจและสังคมแห่งชาติและศูนย์ปฏิบัติการ
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่ควรพิจารณาทบทวนการจัดทำแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ต้องใช้ในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันใหม่ให้ชัดเจน
รวมทั้งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการแข่งขัน
และให้มีการพิจารณาติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ในห้วงปี พ.ศ. ๒๕๖๖
อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการจัดการแข่งขันต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป รวมทั้งให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผนบริหารความต่อเนื่องของการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์
ครั้งที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๒)
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ให้เหมาะสม
โดยให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคทั้งในและต่างประเทศในทุกมิติด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 2/2564 | กษ. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ สรุปได้ ดังนี้ (๑) เห็นชอบการบริหารการน้ำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง
มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าว
และแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว ปี ๒๕๖๕ ภายใต้กรอบความตกลงองค์การการค้าโลก
กรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน และกรอบการค้าเสรี (๒)
เห็นชอบการบริหารการน้ำเข้ามะพร้าวผล ตามกรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียนในช่วงแรก
(เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕)
โดยใช้ผลการรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในประเทศของผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีคุณสมบัติและเป็นผู้มีสิทธินำเข้าฯ
ในช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม ๒๕๖๔
มาพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้าให้แก่ผู้มีสิทธินำเข้าในอัตรา ๑ : ๒๕ (นำเข้า ๑ ส่วน
ต่อการรับซื้อมะพร้าวผลในประเทศ๒.๕ ส่วน) ทั้งนี้
การนำเข้าต้องเป็นไปตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ ตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... | มท. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค
เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงบางแค
เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เพื่อขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองพระยาราชมนตรีช่วงจากคลองหนองใหญ่ถึงคลองภาษีเจริญ
เพื่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำอันเป็นกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และกระทรวงมหาดไทยควรประสานกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การบริหารจัดการการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
ลงสู่โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (1. นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ฯลฯ จำนวน 6 คน) | ดศ. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวน ๖ ราย เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบบวาระสี่ปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๑๘ มกราคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้ ๑. นายชัยชนะ มิตรพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ๒. นายอุดมเกียรติ
บุญวรเศรษฐ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ๓. นายพีรเดช ณ น่าน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ๔. นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ ๕. นางสาวภัทรา โชติวิทยะกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารธุรกิจ ๖. นายปกรณ์ นิลประพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | การเลื่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี (วันจันทร์ที่ 24 มกราคม 2565) | นร.05 | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเลื่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเดินทางไปราชการต่างประเทศระหว่างวันที่
๒๕-๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ ดังนั้น
นายกรัฐมนตรีจึงมีบัญชาให้เลื่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรีจากวันอังคารที่ ๒๕ มกราคม
๒๕๖๕ เป็นวันจันทร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๕ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา | สว. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน
วุฒิสภา ซึ่งได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว สรุปว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืชได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายลำดับรองตามมาตรา ๖๔
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ และมาตรา ๑๒๑
แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ เสร็จแล้ว โดยได้ดำเนินกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
และจะนำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าและคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณา
เมื่อผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการแล้ว
จะเร่งรัดจัดทำกฎหมายเพื่อเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบและประกาศเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไป
สำหรับการอนุญาตให้ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
กรมป่าไม้ได้มีการเร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่เป็นโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่ตามที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้เสนอไว้
การจัดทำสัญญาประชาคมจะเกี่ยวพันกับการอนุญาตใช้พื้นที่หวงห้ามในการที่จะเข้าไปสนับสนุนระบบสาธารณูปโภค
ถึงแม้ปัจจุบันได้มีข้อผ่อนผันทางกฎหมายมากขึ้น แต่ทั้งนี้
จะต้องดำเนินการตามระเบียบในการอนุญาตใช้พื้นที่ จึงจะสามารถดำเนินการเรื่องจัดทำสัญญาประชาคมได้ตามลำดับขั้นต่อไป
ในกรณีการสนับสนุนจ่ายไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ดังเช่นหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สามารถจัดทำโครงการเสนอกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา ๙๗ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการประกาศกิจการพลังงาน
พ.ศ. ๒๕๕๐ “เพื่อการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
และเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย” ทั้งนี้
จะให้มี “คณะอนุกรรมการ” ภายใต้ “คณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า”
เพื่อทำหน้าที่พิจารณาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกล
รวมถึงจัดทำแผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาแนวทางดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสำหรับพื้นที่ห่างไกลต่อไป
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|