ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 43 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2563 และประจำปี 2564 | พม. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประจำปี ๒๕๖๓ และประจำปี ๒๕๖๔
ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ และครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม
๒๕๖๕ โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย (๑) ผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฯ ประจำปี ๒๕๖๓
และประจำปี ๒๕๖๔ ของคณะกรรมการ ๓ คณะ ได้แก่
คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เช่น
การปรับปรุงมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน
คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เช่น
รับพิจารณาคำร้องที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
และคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เช่น การจ่ายเงินชดเชย
เยียวยาหรือบรรเทาทุกข์แก่ผู้เสียหายจากการถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศและสนับสนุนโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศให้แก่หน่วยงาน/องค์กรต่าง
ๆ (๒) ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ และ (๓)
ข้อท้าทายและการดำเนินงานในระยะต่อไปเพื่อให้การปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฯ
มีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. .... | นร.09 | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
กระทรวงแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | วธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดย (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
มีสาระสำคัญเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
เพื่อให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ พัฒนาระบบ และการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม
และเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. และข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ควรเพิ่มเติมในเรื่องของนวัตกรรม
ในแนวทางการพัฒนาที่ ๓ ด้วย
เพื่อให้ครอบคลุมการส่งเสริมให้การวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
โดยปรับเป็น “ส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม และพัฒนา...” ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดในการดำเนินการจัดทำแผนจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมในพื้นที่ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร
หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ให้ทุกหน่วยงานจัดกิจกรรมจิตอาสาส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง “Investing in the Core Structure of IOM” ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน และการยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน | กต. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้ประเทศไทยร่วมให้ความเห็นชอบต่อข้อมติเรื่อง “Investing in the Core Structure of IOM” ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนข้อมติฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานกรอบความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
สำหรับค่าบำรุงสมาชิก IOM ที่จะมีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นขันบันไดภายหลังข้อมติฯ
ได้รับการรับรองในที่ประชุมคณะมนตรี IOM สมัยที่ ๑๑๓
ให้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทยดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
โดยหากยังสามารถปรับวงเงินงบประมาณค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่แต่ละประเทศจะต้องจ่ายได้
เห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศเจรจาต่อรองค่าบำรุงสมาชิกดังกล่าวที่จะต้องจ่ายในแต่ละปี
เพื่อให้ประเทศไทยสามารถใช้เงินงบประมาณที่มีอย่างจำกัดมาฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทยต่อไป
โดยให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามอัตราที่ได้รับแจ้งจาก IOM
เป็นรายปีเช่นเดียวกับแนวปฏิบัติที่ผ่านมา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ขออนุมัติเพิ่มวงเงิน และขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการค่าก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดลพบุรี พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ | อส. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานอัยการสูงสุดเพิ่มวงเงินและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
เป็นกรณีเฉพาะราย จากวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันไว้เดิม จำนวน
๒๖๒,๐๘๘,๔๐๐ บาท เป็นจำนวน ๒๗๓,๙๔๕,๕๐๐ บาท และขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จากเดิมปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๖ เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๗ ตามนัยข้อ ๗ (๓)
ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผู้กพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๖ จำนวน ๑๖๘,๗๘๒,๘๐๐ บาท ที่ได้รับอนุมัติจัดสรรและอยู่ในบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
ส่วนที่เหลือ จำนวน ๑๐๕,๑๖๒,๗๐๐ บาท ให้สำนักงานอัยการสูงสุดจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ในการเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับตามความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายในแต่ละปี
ให้ครบวงเงินตามสัญญาจ้างต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่ควรเร่งดำเนินโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
และถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ของทางราชการ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน | ศธ. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารออมสิน (นายธีรัชย์ อัตนวานิช) | กค. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายธีรัชย์ อัตนวานิช
เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารออมสิน แทนประธานกรรมการเดิมที่ขอลาออก
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศขอเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ จังหวัดชลบุรี และแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ณ จังหวัดชลบุรี (นางสาวพจนา พะเนียงเวทย์) | กต. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ดังนี้ ๑.
การเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ณ จังหวัดชลบุรี
โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว
และตราด ๒.
การแต่งตั้ง นางสาวพจนา พะเนียงเวทย์ ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
ณ จังหวัดชลบุรี
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. .... (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) | สผ. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓
เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ. .... โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฎร
เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักการของร่างพระราชบัญญัติฯ บางประการ และคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบและการเร่งรัดการให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา
การพิจารณากำหนดกลไกการกระจายอำนาจการบริหารจัดการการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาให้สมบูรณ์และครบถ้วน
การกำหนดกลไกและมาตรการในการกำกับและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา
การศึกษาความจำเป็นถึงการมีอยู่ของศึกษาธิการภาค
และการพิจารณาทบทวนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ๒.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. .... (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา) | สว. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓
เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ. .... โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฎร
เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักการของร่างพระราชบัญญัติฯ บางประการ และคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบและการเร่งรัดการให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา
การพิจารณากำหนดกลไกการกระจายอำนาจการบริหารจัดการการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาให้สมบูรณ์และครบถ้วน
การกำหนดกลไกและมาตรการในการกำกับและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา
การศึกษาความจำเป็นถึงการมีอยู่ของศึกษาธิการภาค
และการพิจารณาทบทวนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ ๒.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม
แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การกำหนดตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น จำนวน 1 ตำแหน่ง | นร.12 | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติกำหนดตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น
จำนวน ๑ ตำแหน่ง ตามมติที่ประชุมร่วมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ เพื่อรับผิดชอบการบริหารและกำกับดูแลงานในภารกิจที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นภารกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์
นโยบายและแผนระดับชาติ และภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการตามกฎหมาย ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวรับผิดชอบกลุ่มภารกิจที่ชัดเจน
ตามเงื่อนไขที่ประชุมร่วมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
กำหนดโดยเร็ว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ปัจจัยสู่ความสำเร็จของเศรษฐกิจฐานราก โดยพิจารณาจากนโยบายการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐและเอกชนตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา | สว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 2610 (ค.ศ. 2021) เรื่อง การต่อต้านการก่อการร้าย | กต. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและการดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Security Council : UNSC) ที่ ๒๖๑๐ (ค.ศ. ๒๐๒๑) เรื่อง
การต่อต้านการก่อการร้าย และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ
และแจ้งผลการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
หรือข้อขัดข้องหรืออุปสรรคในการปฏิบัติตามข้อมติดังกล่าวให้กระทรวงการต่างประเทศทราบ
เพื่อประโยชน์ในการรายงานต่อ UN ต่อไป โดยข้อยุติ UNSC ที่ ๒๖๑๐ (ค.ศ. ๒๐๒๑)
เป็นการกำหนดให้ประเทศสมาชิกของ UN ดำเนินการตามมาตรการในด้านต่าง
ๆ
เพื่อเป็นการป้องกันและตอบสนองต่อสถานการณ์การก่อการร้ายระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปต่อกลุ่มอัลกออิดะห์
(AL-Oaida) และกลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนท์ (ISIL) และบุคคลหรือกลุ่มก่อการร้ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
การดำเนินการด้านการเงิน การคว่ำบาตรทางอาวุธและการดำเนินการด้านเทคโนโลยี
การห้ามเดินทาง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงคมนาคม
ที่เห็นควรให้เพิ่มการเฝ้าระวังเพื่อการป้องปราบการกระทำที่เกี่ยวกับการก่อการร้าย
และยึดหลักการส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนของทุกคน และให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สินค้าน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน) | กค. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล
และน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกัน ในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ ๐๑.๐๕ รายการน้ำมันดีเซลที่มีกำมะถัน
และรายการน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ ของกรดไขมันผสมอยู่ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรจะสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลที่สะท้อนต้นทุนตามข้อเท็จจริง
เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงภาระการชดเชยต้นทุนส่วนต่าง
ตลอดจนความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์
และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
และกระทรวงการคลังควรเสนอมาตรการจัดหารายได้เพื่อชดเชยการสูญเสียรายได้ที่เกิดจากการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่น
ๆ ที่คล้ายกันให้มีความชัดเจน หรืออาจทยอยปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มที่มีความเปราะบางต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า
เพื่อให้ประชาชนและระบบเศรษฐกิจมีการปรับตัวต่อการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและลดแรงกดดันต่อฐานะการคลังของประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 7 | กต. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และยูเครน | กต. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Letter of Consent to the Accession
to the Treaty of Amity and Cooperation in
Southeast Asia) โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และยูเครน และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างหนังสือยินยอมฯ
โดยร่างหนังสือยินยอมฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงความยินยอมของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ
โดยประเทศต่าง ๆ โดยเป็นหนังสือแสดงความยินยอมฝ่ายเดียว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือยินยอมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | รายงานการขับเคลื่อนแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 | วธ. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการขับเคลื่อนแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ โดยมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
และมีผลการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ จำนวน ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑
การสนับสนุนการผลิตและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับประชาชนทุกกลุ่มและครอบคลุมทุกพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การส่งเสริมความรู้เท่าทันสื่อ พฤติกรรม การใช้สื่อเชิงสร้างสรรค์
เฝ้าระวัง และตรวจสอบสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ เช่น เพิ่มเครือข่ายการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อที่ไม่เหมาะสมผ่านการฝึกอบรมและหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การบูรณาการกลไกการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนผ่านการสื่อสารสาธารณะ
เช่น การเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทุกกลุ่มได้มีเวทีในการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
และยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาและบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
โดยพัฒนาและบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อปลอดภัยให้ทันสมัยและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงได้
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ไทย-ภูฏาน
ครั้งที่ ๔ และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ณ
จังหวัดภูเก็ต และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ
เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับภูฏานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ (๑)
การส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เช่น เป้าหมายทางการค้า ความตกลงสิทธิพิเศษทางการค้า และการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี (๒)
ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การเกษตร หัตถกรรม และการท่องเที่ยว และ
(๓) ประเด็นความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่เห็นว่าประด็นการใช้ประโยชน์ทางภาษีภายใต้โครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดโดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา
ต้องมีการแจ้งตัวอย่างตราประทับของหน่วยงานและตัวอย่างลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
และดำเนินการตามขั้นตอนของกรมศุลกากร ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2569 | อว. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการแผนอัตรากำลังของโรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙
จำนวน ๔๖๗ อัตรา สำหรับงบประมาณรองรับแผนอัตรากำลังดังกล่าว
ให้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ขอรับการจัดสรรงบประมาณโดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงิน
โดยใช้จ่ายจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เป็นลำดับแรก
ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. และข้อเสนอแนะของสำนกงาน ก.พ.ร. เช่น
ควรพิจารณารูปแบบการจ้างงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ควรวางแผนการบูรณาการความร่วมมือด้านการพัฒนาทางการแพทย์ควรวางแผนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนการพัฒนาการทางวิชาการ
บุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข ร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลของเอกชนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้าน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานภายในประเทศ
จากเดิมลิตรละ ๔.๗๒๖ เป็นลิตรละ
๐.๒๐ บาท เป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕
ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.
๒๕๖๐
ที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตได้
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|