ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ |
---|---|---|---|
1 | โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 | กษ. | 16/07/2567 |
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี
(โครงการฯ) ปีการผลิต ๒๕๖๗ ตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.)
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน
Tier 1)
และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน ๒๑
ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม ๒,๓๐๒.๑๖ ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ยกเว้นในส่วนของการกำหนดผู้รับผลประโยชน์กรณีเกษตรกรเป็นลูกค้าสินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) ให้เกษตรกรที่ประสบภัยที่เป็นลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส.
เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน
ตามความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณ ให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธ.ก.ส.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย เช่น กระทรวงการคลัง เห็นว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ
ควรได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน หากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน
อาจทำให้มีเงินทุนลดลงสำหรับการเพาะปลูกรอบใหม่และไม่สามารถพ้นจากภาวะหนี้สินได้
รวมทั้งเห็นควรขยายระยะเวลาการจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัย
เพื่อให้เกษตรกรในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ
และภาคตะวันตก รวม ๖๓ จังหวัด ซึ่งสิ้นสุดการจำหน่ายกรมธรรม์ในวันที่ ๗ กรกฎาคม
๒๕๖๗ มีโอกาสเข้าร่วมโครงการฯ ได้เพิ่มมากขึ้น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ควรเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในวงกว้างให้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการมีหลักประกันภัยเพื่อผลกระทบจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น
ร่วมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยทางการเกษตรให้แตกต่างหลากหลายสามารถตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรได้ตรงจุด
และเร่งรัดพัฒนาระบบการบริหารจัดการและเทคโนโลยีด้านการประกันภัยสินค้าเกษตรให้สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้อย่างถูกต้องและจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ทันต่อความต้องการใช้จ่ายของเกษตรกรเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตหรือการวางแผนเพาะปลูกในรอบการเพาะปลูกต่อไปได้อย่างทันต่อสถานการณ์ |