ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 45 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... | สธ. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท
๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า
หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นว่าการกำหนดระยะเวลาการแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตตามร่างกฎกระทรวงฯ
ข้อ ๑๖ วรรคสอง ควรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นว่าร่างกฎกระทรวงข้อ
๑๖ วรรคหนึ่ง
ซึ่งกำหนดให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
เห็นว่าระยะเวลาสามสิบวันเป็นระยะเวลาที่พอสมควรที่ผู้อนุญาตจะได้พิจารณาคำขอและอนุญาตให้แล้วเสร็จ
แต่ก็มีข้อสังเกตว่าหากผู้อนุญาตไม่สามารถพิจารณาคำขอให้เสร็จสิ้นได้ภายในกำหนดสามสิบวันจะมีมาตรการอย่างไรในระหว่างที่พิจารณาคำขอ
จึงสมควรที่จะกำหนดมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าวด้วย และร่างกฎกระทรวงข้อ ๑๖
วรรคสอง
ที่กำหนดให้ผู้ขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
เห็นว่ากำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิด
ซึ่งในการอุทธรณ์คำสั่งผู้อุทธรณ์จะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการเตรียมข้อมูลในการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
จึงสมควรที่จะเพิ่มกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จากสิบห้าวันเป็นสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ผู้ขออนุญาตได้รับหรือถือว่าได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมมากกว่าตามร่างซึ่งกำหนดให้อุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างคำมั่นของประเทศไทยเนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน | กต. | 04/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างคำมั่นของประเทศไทยเนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๕
ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Right : UDHR) ซึ่งมีกำหนดจัดกิจกรรมระดับสูงเนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปี ของ UDHR
ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๖ ณ นครเจนีวา โดยร่างคำมั่นฯ
ของประเทศไทยที่จะประกาศในกิจกรรมระดับสูงดังกล่าว มีสาระสำคัญ เช่น
ผลักดันความคืบหน้าของพันธกรณีและการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของไทย
ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยในการรับมือกับความท้าทายใหม่ในโลกโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ยกระดับคุณภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพของทุกคน เป็นต้น ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างคำมั่นของประเทศไทยเนื่องในโอกาสครบรอบ
๗๕ ปี ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 (ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ....) | ตช. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแบ่งส่วนราชการในระดับกองบัญชาการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ
โดยตัดส่วนราชการสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ ซึ่งโอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์และพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๖๐ ออก จึงคงเหลือส่วนราชการ จาก ๓๑ หน่วย เป็น ๓๐ หน่วย
และเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของหน่วยงาน และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่นหรือในระดับต่ำลงไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการหรือหน่วยงานอย่างอื่น
หรือในระดับต่ำลงไป และกำหนดหน้าที่และอำนาจ โดยคงจำนวนส่วนราชการดังกล่าวไว้เท่าเดิม
และกำหนดเพิ่มเติมหน่วยงานที่มีระดับต่ำกว่ากองบังคับการ
ที่มิได้ปรากฏอยู่ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเดิมแต่อยู่ในประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติลงไป
รวมทั้งปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานสายการบังคับบัญชา ทั้งนี้
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๔ รวม ๒ ฉบับ
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
โดยให้ตัดบทของร่างกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการของกองบังคับการตำรวจรถไฟ
(ร่างข้อ ๒ (๑๒) (ง) ร่างข้อ ๓ ๒.กองบังคับการ (๑๑) (ง) และบทเฉพาะกาล ร่างข้อ ๗)
ออก เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๖๓ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ | นร.04 | 16/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง รองนายกรัฐมนตรี (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร)
เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การปรับปรุงคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง) | ลต. | 10/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง วงเงินรวมทั้งสิ้น ๕,๗๘๒,๐๘๕,๑๐๐ บาท ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๕,๕๖๒,๐๘๕,๑๐๐ บาท
และกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ๒๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยงรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งรับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุมและกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการด้วย ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๓ กันยายน ๒๕๖๖ (เรื่อง การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณ
พร้อมแนวทางการจัดทำงบประมาณและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การขอความเห็นชอบการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนางสาวรัชดา ไชยคุปต์ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสตรี | พม. | 03/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนางสาวรัชดา
ไชยคุปต์
ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสตรี ต่อไปอีก ๓ ปี (วาระตั้งแต่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๖
ถึงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๙) เป็นวาระที่ ๓ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาของประเทศไทย
มีหนังสือแจ้งเรื่องการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนางสาวรัชดา ไชยคุปต์
ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสตรี ต่อไปอีก ๓ ปี ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน
ในโอกาสแรก ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | มท. | 29/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
ในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
แปลง “ที่เลี้ยงสัตว์เขาบายสี” บางส่วนในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ
จังหวัดชลบุรี
เพื่อให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินใช้เป็นที่ตั้งศูนย์พัฒนาวิชาชีพตรวจสอบของประเทศ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหม ที่เห็นว่าแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ไม่ปรากฎแนวเขตท่อส่งน้ำของฐานทัพเรือสัตหีบกำหนดไว้รวมถึงในหลักการ
เหตุผล หรือเนื้อหาที่กำหนดสงวนแนวเขตท่อส่งน้ำดังกล่าวไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้แต่อย่างใด
จึงขอสงวนพื้นที่แนวเขตท่อส่งน้ำใช้ประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือในร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและกองทัพเรือได้มีการหารือและได้ข้อยุติร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ที่ดินของกองทัพเรือบางส่วนในบริเวณที่ที่จะถอนสภาพ
เพื่อประโยชน์ในการวางท่อส่งน้ำของฐานทัพเรือสัตหีบตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
โดยที่การเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามปกติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแม่บทบัญญัติให้อำนาจไว้
และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ
หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา ๑๖๙ (๑)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๖
(เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร)
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ประจำปี 2565 | สสส. | 29/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานตามมาตรา
๓๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประจำปี ๒๕๖๕
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ผลงานเด่นในปี ๒๕๖๕ เช่น สานพลังสู้ภัย “สิ่งเสพติด”
โดยขับเคลื่อนการคงมาตรการห้ามนำเข้าและห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทย
และเสริมพลังปัญญา สร้างทักษะ “เด็กปฐมวัย”
โดยสนับสนุนการพัฒนากระบวนการสื่อสารส่งเสริมการอ่าน (๒) ผลการดำเนินงานสำคัญตามเป้าประสงค์
๖ ประการ เช่น เป้าประสงค์ที่ ๑ ลดปัจจัยเสี่ยงหลักทางสุขภาพ
โดยพัฒนาองค์ความรู้ประเด็นการควบคุมและป้องกันผลกระทบจากยาสูบ และสนับสนุนการพัฒนาร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ระยะที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ เป้าประสงค์ที่ ๒ พัฒนากลไกที่จำเป็นเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอื่น
ๆ โดยจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ
ซึ่งเป็นภัยด้านสิ่งแวดล้อมที่คุกคามสุขภาพของประชาชน
และสนับสนุนให้คนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนให้สามารถเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการขั้นพื้นฐาน
และ (๓) การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการทำงานในปี ๒๕๖๕
ซึ่งรวมถึงรายงานผลการตรวจสอบงบการเงินของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้วเห็นว่า
ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าน้ำตกพลิ้ว-เขาสระบาป บางส่วน ในท้องที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี พ.ศ. .... | ทส. | 23/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าน้ำตกพลิ้ว-เขาสระบาป
บางส่วน ในท้องที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าน้ำตกพลิ้ว-เขาสระบาป
บางส่วน ในท้องที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองขลุง
จังหวัดจันทบุรี จำนวนเนื้อที่ประมาณ ๘๕ ไร่ ๒ งาน ๕๔ ตารางวา
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และความเห็นชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
และควรดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมหลังการก่อสร้าง และมาตรการป้องกัน
แก้ไข หรือเยียวยาความเดือดร้อน
หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย (1. นายปริญญา ประหยัดทรัพย์ ฯลฯ จำนวน 4 คน) | มท. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย
จำนวน ๔ คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๘ สิงหาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้ ๑. นายปริญญา ประหยัดทรัพย์ ๒. นายมูหมัดลูตฟี อุเซ็ง ๓. นายสมรรถ พุ่มอ่อน ๔. นายมนูญพันธ์ รัตนเจริญ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การกำหนดประโยชน์ตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของคณะกรรมการการบินพลเรือน | คค. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดประโยชน์ตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของ
ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการการบินพลเรือน
โดยให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามอัตรา ดังนี้ (๑) ประธานกรรมการ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท และ (๒) รองประธานกรรมการและกรรมการ
จำนวน ๘,๐๐๐ บาท โดยการได้รับเบี้ยประชุมให้ได้รับเฉพาะเดือนที่มีการประชุม
และผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมจะได้รับเบี้ยประชุมในเดือนใดต้องเข้าร่วมประชุมในเดือนนั้น
โดยถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศ ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ
อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ พ.ศ. ๒๕๕๘ (ประกาศ กค. เรื่อง
กำหนดรายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมฯ พ.ศ. ๒๕๕๘) คือตั้งแต่วันที่
๑๙ มีนาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
เพื่อให้สอดคล้องกับการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือนที่ผ่านมาซึ่งมีความสำคัญกับการกำกับดูแลด้านนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศที่ต้องมีความต่อเนื่อง
ทันต่อเหตุการณ์ ถูกต้อง และครบถ้วนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม (สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรกำชับให้พึงระวังมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในการจ่ายประชุมให้แก่คณะกรรมการการบินพลเรือน
คำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์
เสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย ให้ใช้จ่ายจากเงินรายได้และทรัพย์สินของหน่วยงานเพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของคณะกรรมการการบินพลเรือน
และคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า และประโยชน์ที่จะได้รับ
ไปดำเนินการอย่างเคร่งครัดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... | ลต. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง
เขตเลือกตั้งที่ ๓ แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ่วันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 จำนวน 5 ฉบับ | อว. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๘ จำนวน ๕ ฉบับ ดังนี้ ๑.๑
ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทและชนิดของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดชนิดและประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ๑.๒
ร่างกฎกระทรวงกำหนดสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นสัตว์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดเป็นสัตว์ ๑.๓
ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต
และการขอรับใบแทนใบอนุญาตใช้หรือผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ๑.๔
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการใช้และผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการใช้และผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ๑.๕
ร่างกฎกระทรวงกำหนดงานที่ไม่เป็นงานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดงานที่ไม่เป็นงานทางวิทยาศาสตร์ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรพิจารณาร่างกฎกระทรวงให้มีความชัดเจน ไม่ขัดต่อกฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่าง
ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการลดอุปสรรคหรือช่องว่างในทางปฏิบัติ
โดยเฉพาะประเด็นการกำหนดคำนิยาม “สัตว์ทดลอง” “สัตว์เลี้ยง” และ
“สัตว์จากธรรมชาติ”
ในร่างกฎกระทรวงกำหนดชนิดและประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ....
รวมทั้งพิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม
และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนต่อการนำสัตว์เลี้ยงและสัตว์จากธรรมชาติมาใช้เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งจะเป็นการลดปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายกับประชาชนผู้เลี้ยงสัตว์
ผู้ประกอบการฟาร์มสัตว์ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสัตว์จากธรรมชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายสถาพร เที่ยงธรรม ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | วธ. | 11/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๖๙ (๒) แล้ว ดังนี้ ๑. นายสถาพร เที่ยงธรรม ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายสำรวย นักการเรียน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นางรักชนก โคจรานนท์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | รายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะกรณีการจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ | สม. | 27/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะกรณีการจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ซึ่งได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๕
โดยมีผลสรุปในภาพรวมว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะขอคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในเรื่องดังกล่าวโดยในระยะสั้นการจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะฯ ต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ ๓
ประการคือ (๑) ความปลอดภัย (๒) ความสะอาด และ (๓) ความสะดวกใจของผู้ใช้บริการทุกเพศ
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งหน่วยงานภายในให้จัดให้มีห้องสุขาสำหรับบุคคลหลากหลายทางเพศ
อย่างน้อย ๑ ห้อง ส่วนในระยะยาวเห็นว่า
เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนควรต้องศึกษา วิจัยเพิ่มเติม
ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียแล้ว
โดยเสนอแนวทางต่อคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศพิจารณา ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | รายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน | สกพอ. | 27/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
ประกอบด้วย หลักการแก้ปัญหาการชำระค่าสิทธิ ARL เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
และหลักการแก้ปัญหาเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟแห่งประเทศไทย) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
และสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ เช่น ควรเร่งดำเนินการเพื่อให้โครงการฯ
สามารถดำเนินการได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ
ก็จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนแห่งประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไขและกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒๑ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน เล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... | อก. | 27/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน
เล่ม ๑ ข้อกำหนดทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้า สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
เนื่องจากมาตรฐานบังคับดังกล่าวใช้มาเกิน ๕ ปีแล้ว
เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและมาตรฐานสากลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF1 และ FIDF3 | กค. | 27/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าบัญชีสะสมเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เพิ่มเติม จำนวน ๖,๐๖๒ ล้านบาท ซึ่งจะมีผลให้กองทุนฯ
โอนเงินของกองทุนฯ เข้าบัญชีสะสมฯเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๑ (FIDF1)
และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ (FIDF 3) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
รวมจำนวนทั้งสิ้น ๘,๐๖๒ ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 72 ปี การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... | กค. | 27/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
๗๒ ปี การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล)
ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๗๒ ปี
การท่าเรือแห่งประเทศไทย ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงการก่อหนี้ผูกพันตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รายการค่าเช่ารถยนต์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย | วธ. | 27/06/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเปลี่ยนแปลงรายการและระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ รายการค่าเช่ารถยนต์ ๒ คัน ผูกพันงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙ (๓๒ เดือน)
อัตราค่าเช่าไม่เกิน ๒๔,๗๕๐ บาทต่อคันต่อเดือน โดยยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ โดยให้ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ที่ได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว
และเห็นควรให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณรองรับให้ครบวงเงินค่างานตามสัญญาต่อไป
สำหรับกรณีการเช่ารถยนต์เพื่อใช้ในราชการชั่วคราวไปพลางก่อนจนกว่ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างข้างต้นจะแล้วเสร็จ
ควรพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ
และต่อรองราคาจนถึงที่สุดด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ |