ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 36 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เรื่องสืบเนื่องจากการเยือนญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ของนายกรัฐมนตรี | นร. | 19/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า สืบเนื่องจากการเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น
สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ ๕๐ ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่
๑๕-๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ ได้มีโอกาสหารือกับผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับการขยายความร่วมมือในภูมิภาคในมิติต่าง
ๆ จึงขอมอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ ๑. ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รับไปประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดการดำเนินการส่งออกข้าว
จำนวน ๒ ล้านตัน
ไปยังประเทศอินโดนีเซียให้แล้วเสร็จและเป็นไปตามความประสงค์ของประเทศอินโดนีเซียที่ขอซื้อไว้ ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศเร่งรัดการดำเนินการจัดตั้งสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา
ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา
รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองดูแลคนไทยและอำนวยความสะดวกให้แก่ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามายังประเทศไทยต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 | สผ. | 19/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน และงบกระแสเงินสด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... | ทส. | 28/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกในการบริหารจัดการและควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศในทุกมิติ
กำหนดมาตรการการลดและควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด
กำหนดเขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษทางอากาศ และศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ
เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเชิงพื้นที่
ตลอดจนการมีเครื่องมือหรือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการส่งเสริมอื่น ๆ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น กรณีการสนับสนุนงบประมาณให้แผนปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพอากาศตามร่างของพระราชบัญญัติฯ
มาตรา ๓๙ วรรคท้าย นั้น
เห็นสมควรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลังของรัฐและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
การกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติไว้ในร่างกฎหมายดังกล่าว
อาจจะไม่รองรับกับสถานการณ์ หรือเทคโนโลยีที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
และทำให้เป็นอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายจึงเห็นว่าควรนำรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติดังกล่าว
นำมาจัดทำเป็นกฎหมายลูกบทแทน นอกจากนี้ การกำหนดให้มีระบบคณะกรรมการหลายระดับอาจส่งผลให้การขับเคลื่อนการดำเนินการไม่มีความคล่องตัวและไม่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
จึงเห็นควรพิจารณาปรับปรุงระบบคณะกรรมการให้มีเท่าที่จำเป็น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และเมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามแผนดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับโดยเร็วด้วย ๓. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ปัจจุบันมีกฎหมายที่กำหนดกลไกและมาตรการที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศไว้ในลักษระเดียวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้อยู่แล้ว
ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศจึงไม่ใช่ปัญหาว่าไม่มีกฎหมายบังคับในเรื่องนี้
แต่เป็นกรณีที่การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น
หากทางนโยบายเห็นว่าสมควรมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ก็สมควรที่จะแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ไปพร้อมกันด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (สมรสเท่าเทียม) | ยธ. | 21/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า โดยที่จะมีการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ
ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 (Thailand Biennale,
Chiang Rai 2023) ระหว่างวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖-๓๐ เมษายน ๒๕๖๗
ซึ่งเป็นการจัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินไทยและต่างชาติ ภายใต้แนวคิด : เปิดโลก (The Open World) อันจะเป็นการเปิดมิติทางศิลปะวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเมืองเชียงรายสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก
จึงขอให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐร่วมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การจัดงานมหกรรมดังกล่าวให้แพร่หลายและกว้างขวางออกไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
รวมทั้งเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานดังกล่าว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของประเทศต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๔๓ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง โดยมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายศรัณย์
เจริญสุวรรณ) ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
ซึ่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ เมื่อวันที่ ๕-๗
กันยายน ๒๕๖๖ ในหัวข้อหลัก “อาเซียนเป็นศูนย์กลาง : สรรค์สร้างความเจริญ” โดยผลการประชุมสุดยอดอาเซียนดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำอาเซียนและคู่เจรจาในการขับเคลื่อนความร่วมมือโดยมีอาเซียนเป็นแกนกลาง
ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อหลักของการเป็นประธานอาเซียนของอินโดนีเซีย คือ
"อาเซียนเป็นศูนย์กลาง : สรรค์สร้างความเจริญ" (ASEAN Matters :
Epicentrum of Growth) รวมทั้งได้สนับสนุนประเด็นการเติบโตที่ยั่งยืน
ผ่านการพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า และมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบหลักนำผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าในประเด็นความประสงค์ของอินเดียในการริเริ่มการหารือด้านการเงินประจำปีอาเซียน-อินเดีย
(ASEAN-India Annual Financial Dialogue) เห็นควรให้สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดให้มีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของอาเซียนและอินเดียก่อน
และนำผลการหารือรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน
(ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting) ต่อไป และให้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ
ที่มีอยู่ในปัจจุบันและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | สปสช. | 24/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับเรื่องนี้คืนไปเพื่อพิจารณาทบทวนในรายละเอียดร่วมกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างอนาคตทางพลังงานที่มั่นคง ยั่งยืน และเชื่อมโยงกัน สำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก | พน. | 16/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างอนาคตทางพลังงานที่มั่นคง
ยั่งยืน และเชื่อมโยงกันสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
เป็นผู้ให้การรับรองปฏิญญาฯ ในระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ
ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยร่างปฏิญญาฯ
มีสาระสำคัญที่มุ่งเน้นสนับสนุนการเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่หาซื้อได้
เชื่อถือได้ และยั่งยืนสำหรับทุกคน
ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเอสแคปในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน
ค.ศ. ๒๐๓๐ และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ ๗ (SDG7) ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศ | นร. | 03/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (๑๓ กันยายน ๒๕๖๖) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี
(นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว
(Visa Free)
สำหรับนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐคาซัคสถานเป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว
เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งพิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไขและขั้นตอนการเข้าประเทศสำหรับผู้ที่เข้ามาจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ
นั้น
การขยายเวลาการเปิดสถานบริการในพื้นที่ท่องเที่ยวได้ในบางพื้นที่ตามความเหมาะสมจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่องต่อไปในช่วงฤดูการท่องเที่ยว
(High Season) ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
ผู้ประกอบธุรกิจ และประชาชนในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้นด้วย
จึงขอให้กระทรวงมหาดไทยรับเรื่องนี้ไปหารือในรายละเอียดร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
กรุงเทพมหานคร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งนี้
ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เหมาะสม
เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การปรับปรุงคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (สำนักงานอัยการสูงสุด) | อส. | 03/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ของสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน ๒๐,๕๕๒,๐๐๓,๖๐๐ บาท ทั้งนี้
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ) | ศร. | 03/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน ๔๕๓,๙๙๗,๘๐๐ บาท ทั้งนี้ การจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญรับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางสุพร ตรีนรินทร์) | กปร. | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสุพร ตรีนรินทร์
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖
เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขออนุมัติวงเงินงบประมาณก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ เพื่อเช่าที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณแนวทางรถไฟสายบางซื่อ-คลองตัน (ริมถนนรัชดาภิเษกแปลงที่ 39-41) | อส. | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการเช่าที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย
บริเวณแนวทางรถไฟสายบางซื่อ-คลองตัน (ริมถนนรัชดาภิเษก แปลงที่ ๓๙-๔๑)
ในลักษณะก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๘๑
กำหนดอายุสัญญาเช่าเป็นระยะเวลา ๑๕ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๘๑ วงเงินทั้งสิ้น ๑๔๔,๗๕๑,๕๐๐ บาท ตามนัยมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
และยกเว้นการปฏิบัติตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
สำหรับค่าใช้จ่ายในการเช่าที่ดินที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๗,๙๗๘,๕๐๐ บาท ให้ใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบบประมาณ
และให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการใช้เงินดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด ไปดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ขออนุมัติวงเงินงบประมาณก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ เพื่อเช่าที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณที่ที่หยุดรถบ้านฉิมพลี | อส. | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานอัยการสูงสุดสามารถดำเนินการเช่าที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย
บริเวณที่ที่หยุดรถบ้านฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร แปลงที่ ๑
ในลักษณะก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๘๑
กำหนดอายุสัญญาเช่าเป็นระยะเวลา ๑๕ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๘๑ วงเงินทั้งสิ้น ๑๑๐,๓๕๔,๗๙๗ บาท ตามนัยมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นกรณีเฉพาะราย
และยกเว้นการปฏิบัติตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ กรณีมีเหตุความจำเป็นที่ไม่สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์การก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
สำหรับค่าใช้จ่ายในการเช่าที่ดิน ที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๖,๐๒๖,๖๔๕ บาท ให้ใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ประกาศใช้บังคับ แล้วแต่กรณี ส่วนภาระงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ
ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ตามความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายในแต่ละปีให้ครบถ้วนตามวงเงินในสัญญาเช่าที่ดินตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบบประมาณ
และให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม
ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม และกำกับดูแลการใช้เงินดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด
ไปดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวมัทนา เจริญศรี) | สลค. | 23/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ราย นางสาวมัทนา เจริญศรี ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่
๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การกำหนดประโยชน์ตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของคณะกรรมการการบินพลเรือน | คค. | 08/08/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดประโยชน์ตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของ
ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการการบินพลเรือน
โดยให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามอัตรา ดังนี้ (๑) ประธานกรรมการ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท และ (๒) รองประธานกรรมการและกรรมการ
จำนวน ๘,๐๐๐ บาท โดยการได้รับเบี้ยประชุมให้ได้รับเฉพาะเดือนที่มีการประชุม
และผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมจะได้รับเบี้ยประชุมในเดือนใดต้องเข้าร่วมประชุมในเดือนนั้น
โดยถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศ ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ
อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ พ.ศ. ๒๕๕๘ (ประกาศ กค. เรื่อง
กำหนดรายชื่อคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมฯ พ.ศ. ๒๕๕๘) คือตั้งแต่วันที่
๑๙ มีนาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
เพื่อให้สอดคล้องกับการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือนที่ผ่านมาซึ่งมีความสำคัญกับการกำกับดูแลด้านนโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศที่ต้องมีความต่อเนื่อง
ทันต่อเหตุการณ์ ถูกต้อง และครบถ้วนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม (สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรกำชับให้พึงระวังมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในการจ่ายประชุมให้แก่คณะกรรมการการบินพลเรือน
คำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์
เสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย ให้ใช้จ่ายจากเงินรายได้และทรัพย์สินของหน่วยงานเพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนของคณะกรรมการการบินพลเรือน
และคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า และประโยชน์ที่จะได้รับ
ไปดำเนินการอย่างเคร่งครัดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. .... | มท. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหนองวัวซอ
จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลหนองวัวซอ และตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท
ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนหนองวัวซอให้เป็นชุมชนเกษตรกรรม
การค้า การบริการทางสังคมส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน
อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ศาสนสถานที่มีคุณค่าทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม
และประวัติศาสตร์ รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ
หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึงกฎ ระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำลำธาร
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
เพื่อให้ระบบระบายอากาศ แสง เสียง ระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
ไม่ก่อให้เกิดมลพิษแก่ผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาพื้นที่ทางเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการประกอบอาชีพของคนในชุมชน
โดยจะส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
และชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้อย่างสมดุลและยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 | พม. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมายจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐประจำปี
๒๕๖๑-๒๕๖๕ และให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไป
เร่งรัดดำเนินการจ้างงานคนพิการตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วนภายในปี ๒๕๖๖
และรายงานผลการจ้างงานคนพิการประจำปีต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ๒. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร.
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น ดำเนินการสรรหาและคัดเลือกคนพิการเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
และขึ้นบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือก โดยแยกลักษณะความพิการคุณวุฒิการศึกษา องค์ความรู้
และภารกิจงานของส่วนราชการ เพื่อให้ส่วนราชการอื่นสามารถดำเนินการนำบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือกดังกล่าว
มาดำเนินการคัดเลือกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกในตำแหน่งอื่น
เพื่อบรรจุและแต่งตั้งคนพิการเข้ารับราชการให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่งต่อไป
ควรมีมาตรการอื่นที่เหมาะสมกับหน่วยงานของรัฐเพื่อเป็นทางเลือก
นอกเหนือจากการดำเนินการตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๕ ควรผลักดันให้เป็นการจ้างงานตามมาตรา
๓๓ มากยิ่งขึ้น
เพื่อให้คนพิการได้รับสวัสดิการความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพด้วย ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติดังกล่าวให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติอยางเคร่งครัด
ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาถึงปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้หน่วยงานของรัฐบางแห่งสามารถจ้างงานคนพิการได้ตามอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนด
และนำมาประกอบการขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐให้บรรลุเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ควรประมวลปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัด
และข้อเสนอแนะในการจ้างงานคนพิการของหน่วยงานที่ผ่านมา
เพื่อวางแนวทางแก้ไขและสนับสนุนให้หน่วยงานสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดต่อไป
และให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบข้อมูลคนพิการที่ควรครอบคลุมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการศึกษา
สาขาและทักษะความสามารถของคนพิการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท พ.ศ. .... | สธ. | 18/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต
และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการนำผ่านวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
ที่เห็นว่าเพื่อลดภาระของผู้ขออนุญาตในการจัดทำสำเนาเอกสารหลักฐาน
ควรพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ และควรพัฒนาระบบการให้บริการออนไลน์แบบเบ็ดเสร็จ
และเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 11/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ครั้งที่ ๕๖ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๕ ฉบับ
และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร
จำนวน ๑๒ ฉบับ และเป็นผู้ลงนามในร่างเอกสาร จำนวน ๓ ฉบับ โดยร่างเอกสารที่จะร่วมรับรองทั้ง
๑๒ ฉบับ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาในการส่งเสริมความร่วมมือและต่อยอดในการดำเนินงานในด้านต่าง
ๆ ส่วนร่างเอกสารที่จะมีการลงนามทั้ง ๓ ฉบับ เป็นเอกสารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะลงนามเพื่อให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญา
TAC กับเม็กซิโก ปานามา
และซาอุดีอาระเบีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ครั้งที่ ๕๖ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๕ ฉบับ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรวิเคราะห์ ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานตามความร่วมมือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายสมใจ วิเศษทักษิณ ฯลฯ จำนวน 5 ราย) | ศธ. | 05/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๕ ราย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๖๙ (๒) แล้ว ดังนี้ ๑. นายสมใจ วิเศษทักษิณ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นางสาววันเพ็ญ บุรีสูงเนิน ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการภาค
สำนักงานศึกษาธิการภาค ๘ สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นายสุภชัย จันปุ่ม ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการภาค
สำนักงานศึกษาธิการภาค ๑๓ สำนักงานปลัดกระทรวง ๔. นายประพัทธ์ รัตนอรุณ ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ๕. นายวิทวัต ปัญจมะวัต ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
|