ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 41 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน : แคมเปญ "รวมพลังลดท่วม ลดแล้งรับมือภัยเอลนีโญ" | นร.14 | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้แก่ประชาชน : แคมเปญ “รวมพลังลดท่วม ลดแล้งรับมือภัยเอลนีโญ” ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ ดังนี้ ๑. เร่งบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ติดตาม ตรวจสอบ
และแก้ไขปัญหาพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค
พร้อมทั้งดำเนินการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง
ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๖๖-มกราคม ๒๕๖๗ ๒. จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้
โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยที่ยังมีสถานการณ์น้ำหลาก
เช่น บริเวณพื้นที่ภาคใต้ในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน เตรียมเจ้าหน้าที่ ทรัพยากร
สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้พร้อมรับมือสถานการณ์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10 | กห. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
ครั้งที่ ๑๗ และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
ครั้งที่ ๑๐ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕
ถึงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีการพิจารณาร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
โดยแบ่งเป็นร่างเอกสารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะร่วมรับรอง (Adopt) จำนวน ๕ ฉบับ อนุมัติ (Approve) จำนวน ๒ ฉบับ และรับทราบ (Note) จำนวน ๑ ฉบับ รวม ๘
ฉบับ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
ครั้งที่ ๑๗ และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
ครั้งที่ ๑๐ จำนวน ๘ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้ง พิจารณาใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม
เพื่อให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ
และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า
“เงินเดือน” และปรับเงื่อนไขการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการโดยสามารถแบ่งจ่ายเป็น ๒
รอบ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ เป็นต้นไป
เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้แก่ข้าราชการ
รวมทั้งเป็นการเพิ่มอัตราเงินหมุนเวียนซึ่งจะช่วยเศรษฐกิจของประเทศ
อีกทั้งเพื่อให้เป็นการเบิกจ่ายเงินเดือนของข้าราชการมีความคล่องตัว รวดเร็ว
และสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานศาลปกครอง ที่เห็นว่าข้อสังเกตตามร่างมาตรา
๓ ที่แก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า “เงินเดือน” หมายความว่า
เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือน
หรือที่มีกำหนดจ่ายเป็นอย่างอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ... คำว่า “หรือที่มีกำหนดจ่ายเป็นอย่างอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด”
อาจทำให้เกิดการตีความได้ว่าให้สามารถจ่ายเป็นอย่างอื่นที่มิใช่ตัวเงินได้
เพื่อให้เกิดความชัดเจนอาจปรับปรุงถ้อยคำดังกล่าวเป็น “หรือที่กำหนดจ่ายตามรอบระยะเวลาอื่นภายในแต่ละเดือนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด”
การใช้ถ้อยคำในมาตรา ๒๐ ที่บัญญัติให้ “การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน... ทั้งนี้
กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้” ควรมีการ
การปรับถ้อยคำเป็น “การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน... ทั้งนี้
กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายและหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้” เพื่อให้ครอบคลุมทั้งกรณีที่จะมีการปรับเปลี่ยนกำหนดวันจ่ายและวิธีการจ่ายอย่างอื่นในอนาคตด้วย
และการแก้ไขมาตรา ๒๐ ควรจะเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับระยะเวลาการจ่ายเงินเดือนก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือน
ซึ่งอาจกำหนดให้มากหรือน้อยกว่าสามวันทำการก็ได้
และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและเหตุผลในการแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ .... และนิยามในมาตรา ๔ การกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นโดยกรมบัญชีกลางจึงควรได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เช่น การแบ่งจ่ายเงินเดือนของข้าราชการเป็น ๒ รอบ
ควรเป็นไปด้วยความสมัครใจของข้าราชการแต่ละราย
เนื่องจากภาระหนี้สินของข้าราชการแต่ละรายมีบริบทที่แตกต่างกัน ควรพิจารณาวิธีการดำเนินการจ่ายเงินเดือนที่เหมาะสมและรอบคอบ
และมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับข้าราชการ
รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้วย ในกรณีคณะรัฐมนตรีจะกำหนดจ่ายเงินเดือนเป็นอย่างอื่นที่มิใช่กำหนดจ่ายเป็นรายเดือน
หรือในกรณีกรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นที่มิใช่กำหนดจ่ายเป็นรายเดือนในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ
เห็นควรขอให้คณะรัฐมนตรีหรือกรมบัญชีกลางพิจารณาในประเด็นว่า
ข้าราชการจะขอแจ้งความประสงค์ต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้มีการจ่ายเงินเดือน ๑
รอบ หรือ ๒ รอบ ให้แก่ตน ได้หรือไม่ อย่างไร ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าการแบ่งจ่ายเงินเดือน
๒ รอบนั้น ควรเป็นภาคสมัครใจ
และวิธีการจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระเกินควรให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการหักชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของข้าราชการ
เป็นต้นไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 | นร.11 สศช | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖
เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๖ ดังนี้ (๑) รับทราบการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ปี ๒๕๖๔ ของกระทรวงมหาดไทย (จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสุพรรณบุรี)
โดยยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน ๓ โครงการ วงเงิน ๗.๙๖๕๐ ล้านบาท เนื่องจากไม่สามารถลงนามและผูกพันสัญญาได้ภายในเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๕ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ และ (๒) รับทราบผลการนำส่งเงินกู้เหลือจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ คืนคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ของสำนักบริหารหนี้สาธารณะ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานเจ้าของโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
และกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้เป็นไปอย่างคุ้มค่า
มีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ข้อ ๒๒ และ ๒๓ สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ รายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังภายใน ๓ เดือน
นับจากวันที่สิ้นสุดการดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำกับติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
และกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
และหน่วยงานรับผิดชอบโครงการจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์
อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2566 | นร.11 สศช | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุม
ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๖ โดยอนุมัติให้จังหวัด
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ปี ๒๕๖๕
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ
eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
และมอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากแหล่งเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
และอยู่ระหว่างดำเนินการให้เร่งรัดการดำเนินงานและต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีได้
เห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการต่อไปให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
โดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นต่อไปตามนัยมติเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการจังหวัดยะลา จำนวน ๓ โครงการ จังหวัดหนองบัวลำภู
จำนวน ๑ โครงการ จากเดิมที่เสนอไว้ให้สิ้นสุดวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖
เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานเจ้าของโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
และกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้เป็นไปอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ
และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้
และจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาปัญหาความขัดแย้งภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป | สผ. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาปัญหาความขัดแย้งภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป
ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับสูงว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกัน ในห้วงการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ครั้งที่ 3 | คค. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับสูงว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกัน
ในห้วงการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ครั้งที่ ๓
และให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม
บูรณาการแนวทางการดำเนินงานและแสวงหาความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
โดยร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันของประเทศต่าง ๆ
ภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt
and Road Initiative : BRI) ส่งเสริมความมั่นคง ยืดหยุ่น และยั่งยืน
ทั้งด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่ง การพัฒนาพลังงาน
การยกระดับการบริหารจัดการน้ำ
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร
การยกระดับความเชื่อมโยงด้านกฎ ระเบียบในระดับทวิภาคีและพหุภาคี
และการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างประเทศ
โดยไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายในระดับรัฐบาล รวมทั้งไม่มีการลงนาม
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
และให้กระทรวงคนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรมีการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
และสื่อสารผลลัพธ์ให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การปรับปรุงคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง) | ลต. | 10/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง วงเงินรวมทั้งสิ้น ๕,๗๘๒,๐๘๕,๑๐๐ บาท ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๕,๕๖๒,๐๘๕,๑๐๐ บาท
และกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ๒๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยงรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งรับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุมและกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการด้วย ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๓ กันยายน ๒๕๖๖ (เรื่อง การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณ
พร้อมแนวทางการจัดทำงบประมาณและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน) | สผผ. | 10/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน ๙๗๐,๓๘๓,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินรับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การปรับปรุงคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 10/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการปรับปรุงคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น ๗,๒๔๔,๕๐๑,๐๐๐ บาท ประกอบด้วย
งบประมาณของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๖,๙๕๒,๙๐๐,๘๐๐ บาท งบประมาณของกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา
จำนวน ๒๙๑,๖๐๐,๒๐๐ บาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรรับความเห็นของกระทรวงการคลัง ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่า
และเกิดประโยชน์สูงสุด ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (พลตำรวจโท อภิรัต นิยมการ) | นร.04 | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง พลตำรวจโท อภิรัต
นิยมการ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง [รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท
วงษ์สุวรรณ)] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓
ตุลาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 | มท. | 23/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
ดังนี้ ๑.
ให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ ประกอบมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง
และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ | คค. | 15/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ได้รับการผ่อนผันการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๘ (เรื่อง
ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกำหนดชั้นของป่าต้นน้ำลำธารและการทำเหมืองแร่ในพื้นที่ป่าปิด)
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ (เรื่อง
ขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง)
และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ [เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง
การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคตะวันตก ภาคกลาง และลุ่มน้ำป่าสัก
และการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ
(ลุ่มน้ำชายแดน)] เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ
สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ๒. ให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม
๒๕๖๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกป่าทดแทนจำนวนพื้นที่ ๓ เท่า
ของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตและการติดตามตรวจสอบและดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกเป็นระยะเวลา
๑๐ ปี ต่อเนื่อง อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(หนังสือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด่วนที่สุด ที่ ทส ๑๖๐๒.๔๒/๑๓๕๙
ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
ให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ควรให้ความสำคัญกับการก่อสร้างทางรถไฟที่ไม่กีดขวางทางน้ำและระบบการระบายน้ำ
รวมทั้งปฏิบัติตามความเห็นและมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ที่ให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ
สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายตติรัฐ รัตนเศรษฐ) | นร.05 | 25/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ราย นายตติรัฐ รัตนเศรษฐ ซึ่งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายธวัชชัย จันทร์ไพศาลสิน) | นร 05 | 18/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ราย นายธวัชชัย จันทร์ไพศาลสิน ซึ่งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 11/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ครั้งที่ ๕๖ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๕ ฉบับ
และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร
จำนวน ๑๒ ฉบับ และเป็นผู้ลงนามในร่างเอกสาร จำนวน ๓ ฉบับ โดยร่างเอกสารที่จะร่วมรับรองทั้ง
๑๒ ฉบับ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาในการส่งเสริมความร่วมมือและต่อยอดในการดำเนินงานในด้านต่าง
ๆ ส่วนร่างเอกสารที่จะมีการลงนามทั้ง ๓ ฉบับ เป็นเอกสารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะลงนามเพื่อให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญา
TAC กับเม็กซิโก ปานามา
และซาอุดีอาระเบีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ครั้งที่ ๕๖ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๕ ฉบับ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรวิเคราะห์ ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานตามความร่วมมือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.01 | 20/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่
๒ ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ (เดือนมกราคม - มีนาคม ๒๕๖๖) ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ในไตรมาสที่ ๒ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ ผ่านช่องทางการร้องทุกข์
๑๑๑๑ รวมทั้งสิ้น ๑๔,๔๔๙ เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ ๑๑,๙๑๒ เรื่อง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์ฯ
มากที่สุด (๑,๔๕๔ เรื่อง) สำหรับเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด คือ
เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน (๑,๖๕๘ เรื่อง) และปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
เช่น (๑) ปัญหากรณีมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนทางโทรศัพท์ (แก๊งคอลเซ็นเตอร์) (๒)
ปัญหาการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ (๓) ปัญหาที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง ๒.
ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน เช่น (๑)
ควรกำหนดแนวทางพัฒนาการให้บริการประชาชน โดยมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านต่าง
ๆ (๒) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งรัดการแก้ไขปัญหาที่กระทบกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้ทันท่วงที
และ (๓) หน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของประชาชน
ควรบูรณาการฐานข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | แต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (นายศุภกิจ ศิริลักษณ์) | สธ. | 13/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายศุภกิจ ศิริลักษณ์
ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เนื่องจากผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเดิมจะครบวาระการดำรงตำแหน่งตามสัญญาจ้างในวันที่
๖ กรกฎาคม ๒๕๖๖ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป
แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ประธานกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๖๙ (๒) แล้ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (1. นายภาณุ สุขวัลลิ ฯลฯ จำนวน 7 คน) | กษ. | 13/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
จำนวน ๗ คน
เนื่องจากกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. นายภาณุ สุขวัลลิ กรรมการ (ผู้แทนสถาบันเกษตรกร) ๒. นายณฐกร สุวรรณธาดา กรรมการ (ผู้แทนสถาบันเกษตรกร) ๓. นายสำเริง แสงภู่วงค์ กรรมการ ๔. นายวีรวัฒน์ ยมจินดา กรรมการ ๕. นายสมิทธิ ดารากร ณ
อยุธยา กรรมการ ๖. นายกวีฉัฏฐ
ศีลปพิพัฒน์ กรรมการ ๗. นายณัฐชา
ลิขิตกิจวรกุล กรรมการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมประจำภูมิภาคระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก และภูมิภาคเอเชียใต้ ครั้งที่ 35 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | กก. | 13/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยประมวลกฎหมายระหว่างประเทศสำหรับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวขององค์การการท่องเที่ยวโลก
ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๖ ในช่วงการประชุมประมวลกฎหมายระหว่างประเทศสำหรับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวขององค์การการท่องเที่ยวโลก
โดยร่างปฏิญญาพนมเปญฯ เพื่อสะท้อนเจตนารมณ์รัฐมนตรีท่องเที่ยวของรัฐสมาชิก UNWTO สะท้อนความร่วมมือ
และความเป็นหุ้นส่วน เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ คลี่คลายลง
ผ่านการส่งเสริมการบูรณาการระหว่างผู้มีส่วนได้เสียด้านการท่องเที่ยว
ทั้งภาครัฐและเอกชนในการคุ้มครองนักท่องเที่ยว การเผยแพร่ข้อมูล
การประสานงานในการคุ้มครองนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน
และการดำเนินการประมวลกฎหมายระหว่างประเทศสำหรับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวขององค์การการท่องเที่ยวโลก และอนุมัติให้นางสาวดารณี
ลิขิตวรศักดิ์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ให้เข้าร่วมการประชุม CAP-CSA ครั้งที่ ๓๕ และการประชุมอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และร่วมรับรองปฏิญญาฯ ดังกล่าว โดยไม่มีการลงนาม ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาว่าด้วยประมวลกฎหมายระหว่างประเทศ
สำหรับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวขององค์การการท่องเที่ยวโลก
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่องการเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|