ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 29 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ | ปช. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริตในการดำเนินแผนงาน/โครงการในภาครัฐ
ประกอบด้วย ขั้นการวางแผนก่อนดำเนินโครงการ ขั้นการดำเนินโครงการ
และขั้นการสรุปผลหลังการดำเนินโครงการ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ ๒. รับทราบผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามที่กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน
ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรายงาน
และแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10 | กห. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
ครั้งที่ ๑๗ และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
ครั้งที่ ๑๐ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕
ถึงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีการพิจารณาร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
โดยแบ่งเป็นร่างเอกสารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะร่วมรับรอง (Adopt) จำนวน ๕ ฉบับ อนุมัติ (Approve) จำนวน ๒ ฉบับ และรับทราบ (Note) จำนวน ๑ ฉบับ รวม ๘
ฉบับ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
ครั้งที่ ๑๗ และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
ครั้งที่ ๑๐ จำนวน ๘ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้ง พิจารณาใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม
เพื่อให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับสูงว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกัน ในห้วงการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ครั้งที่ 3 | คค. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับสูงว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกัน
ในห้วงการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ครั้งที่ ๓
และให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม
บูรณาการแนวทางการดำเนินงานและแสวงหาความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
โดยร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันของประเทศต่าง ๆ
ภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt
and Road Initiative : BRI) ส่งเสริมความมั่นคง ยืดหยุ่น และยั่งยืน
ทั้งด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่ง การพัฒนาพลังงาน
การยกระดับการบริหารจัดการน้ำ
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร
การยกระดับความเชื่อมโยงด้านกฎ ระเบียบในระดับทวิภาคีและพหุภาคี
และการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างประเทศ
โดยไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายในระดับรัฐบาล รวมทั้งไม่มีการลงนาม
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
และให้กระทรวงคนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรมีการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
และสื่อสารผลลัพธ์ให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย) วงเงิน 18,000 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | คค. | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ มาตรา ๓๙ (๔)
โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข
และรายละเอียดตามความเหมาะสม
โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำเนินการกู้เงินภายหลังจากวงเงินกู้ได้รับการบรรจุไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
สำหรับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการกู้เงิน
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับเงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๘,๐๐๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง (หนังสือกระทรวงการคลัง
ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๙๐๔/๑๑๓๒๔ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๖) สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๙/๑๔๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๖)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๒๔/๔๗๘๔
ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๖) เช่น
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรของการรถไฟแห่งประเทศไทย
โดยเฉพาะการเร่งดำเนินการของบริษัท บริหารสินทรัพย์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ให้สอดคล้องและเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ โดยให้กระทรวงคมนาคมกำกับ
ติดตาม
และเร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการแก้ไขปัญหาองค์กรให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมตามแผนที่กำหนดโดยเร็ว
การรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทยจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ สมควรที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะได้เร่งการฟื้นฟูสถานะโดยเร็วด้วย
และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาใช้จ่ายจากเงินกู้ดังกล่าวตามจำนวนและช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นภาระทางการเงินเกินความจำเป็น
และเร่งทำการตลาดเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการให้มากขึ้น
ทั้งทางด้านการขนส่งสินค้าและการโดยสารซึ่งรวมถึงการเดินทางท่องเที่ยวซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นตัว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (พลตำรวจโท อภิรัต นิยมการ) | นร.04 | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง พลตำรวจโท อภิรัต
นิยมการ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง [รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท
วงษ์สุวรรณ)] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓
ตุลาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | นร.05 | 18/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
สังกัดกระทรวงการคลัง จำนวน ๓ ราย ซึ่งได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ ๑๐
กรกฎาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑.
นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ ๒.
นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์ ๓.
นางนัทีวรรณ สีมาเงิน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 11/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ครั้งที่ ๕๖ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๕ ฉบับ
และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร
จำนวน ๑๒ ฉบับ และเป็นผู้ลงนามในร่างเอกสาร จำนวน ๓ ฉบับ โดยร่างเอกสารที่จะร่วมรับรองทั้ง
๑๒ ฉบับ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาในการส่งเสริมความร่วมมือและต่อยอดในการดำเนินงานในด้านต่าง
ๆ ส่วนร่างเอกสารที่จะมีการลงนามทั้ง ๓ ฉบับ เป็นเอกสารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะลงนามเพื่อให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญา
TAC กับเม็กซิโก ปานามา
และซาอุดีอาระเบีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ครั้งที่ ๕๖ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๕ ฉบับ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรวิเคราะห์ ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานตามความร่วมมือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) หรือบิมสเทค ครั้งที่ 19 | กต. | 05/07/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ
(Bay of Bengal Initiative
for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation :
BIMSTEC) หรือบิมสเทค ครั้งที่ ๑๙ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
เป็นประธาน และพิจารณามอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ
ต่อไป โดยที่ประชุมฯ ให้ความสำคัญต่อ (๑) การเร่งสรุปผลการเจรจาต่อเขตการค้าเสรี
(๒) การยกระดับความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค และ (๓)
การเร่งรัดการดำเนินงานในสาขาความร่วมมือต่าง ๆ รวมทั้งได้รับรองถ้อยแถลงร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทค
ครั้งที่ ๑๙ และเห็นชอบร่างวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ ๒๐๓๐
ที่เสนอแนะต่อที่ประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ ๖ เพื่อให้การรับรองต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตติ
ที่เห็นควรให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยให้คำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ด้วย
พิจารณาประเด็นในแผนงาน/โครงการของสาขาหลักและสาขาย่อยของความร่วมมือบิมสเทคให้มีความครอบคลุม
รวมทั้งควรส่งเสริมให้มีการบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศไทย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การเพิ่มมูลค่าสมุนไพรด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง/เวชสำอาง ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา | สว. | 13/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การเพิ่มมูลค่าสมุนไพรด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง/เวชสำอาง
ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์เป็นหน่วยงานบริหารจัดการทุนด้านการแพทย์และสุขภาพ
มีการจัดสรรทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมสารสกัดสมุนไพรและเวชสำอางสมุนไพร
เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็น Hub ของ Herbal
Extracts สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรเครื่องสำอาง/เวชสำอางแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
และมีโครงการที่ดำเนินการวิจัยการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรเครื่องสำอาง/เวชสำอางที่พร้อมถ่ายทอดในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมผู้ประกอบการสมุนไพร
และได้จัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ผลิตสมุนไพร และผู้ผลิตผติตภัณฑ์สมุนไพร
และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนดำเนินการให้คำปรึกษาและการส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้านต่าง
ๆ ทั้งในด้านคุณภาพการผลิตในการจัดการ และการตลาด ความร่วมมือกันของผู้ประกอบการ
กับภาคธุรกิจ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้แจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | สรุปผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 | ทส. | 13/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ ๒ และกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก
ระหว่างวันที่ ๗-๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ซึ่งมีเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม
โดยผลการประชุมต่าง ๆ ประกอบด้วย (๑) การประชุมระดับสูง ซึ่งที่ประชุมฯ
แสดงถึงความกังวลต่อความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
(๒) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่ ที่ประชุมฯ ให้การรับรอง (ร่าง)
กรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลก หลังปี ค.ศ. ๒๐๒๐ (แบบไม่มีการลงนาม)
โดยเปลี่ยนชื่อกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล และที่ประชุมฯ
ขอให้ภาคีเตรียมจัดทำรายงานแห่งชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพและจัดส่งให้สำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ
ต่อไป และ (๓) กิจกรรมคู่ขนานและการดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในระหว่างการประชุมฯ เช่น
การหารือทวิภาคีระหว่างเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับประเทศอื่น ๆ เช่น การหารือกับ State secretary แห่งเยอรมัน และผู้แทนกระทรวงสิ่งแวดล้อม
คุ้มครองธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณูและคุ้มครองผู้บริโภคในโอกาสการขยายการสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนานโยบายด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 24 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 มีนาคม 2566) | นร.04 | 13/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๒๔ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔-๓๑
มีนาคม ๒๕๖๖) สรุปได้ ดังนี้ (๑)
ผลการดำเนินงานตามนโยบายหลัก ๘ ด้าน ได้แก่
การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ การสร้างความมั่นคง
ความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย
การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม
การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ และ (๒) นโยบายเร่งด่วน ๖ เรื่อง ได้แก่
การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม การยกระดับศักยภาพแรงงาน การเตรียมคนไทยเข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2566 | กค. | 13/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่
๑ ปี ๒๕๖๖ ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑. การประเมินภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ ๑ ปี ๒๕๖๖ โดยเศรษฐกิจโลก
เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ ๒.๕ และร้อยละ ๒.๙ ในปี ๒๕๖๖
และ ๒๕๖๗ ตามลำดับ และอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ของประเทศเศรษฐกิจยังสูงกว่ากรอบเป้าหมาย
ส่วนเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยขยายตัวที่ร้อยละ ๓.๖ และ ๓.๘ ในปี ๒๕๖๖
และ ๒๕๖๗ ตามลำดับ การบริโภคของภาคเอกชน ปี ๒๕๖๖ มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ ๔.๐
และมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทย ปี ๒๕๖๖ มีแนวโน้มหดตัวลงเล็กน้อย
ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ ๒.๙ และ ๒.๔ ในปี ๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗
ตามลำดับ ๒. ภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับผ่อนคลาย โดยตึงตัวขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น
ส่วนค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ ๓๓.๙๓ บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งแข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อน ๓. การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ ๑ ปี ๒๕๖๖ กนง.
มีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากร้อยละ ๑.๒๕ เป็นร้อยละ ๑.๕๐ ต่อปี
และจากร้อยละ ๑.๕๐ เป็นร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | แนวทางส่งเสริมการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากการเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและการผลิตสุรา ตามมติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy:BCG Model) ครั้งที่ 2/2565 | กค. | 13/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางส่งเสริมการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากการเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและการผลิตสุรา
ตามมติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว
(Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ สรุปได้ ดังนี้ (๑)
การจัดทำมาตรฐานการผลิตเอานอลเพื่อให้การอนุญาตนำเอทานอลแปลงสภาพหรือบริสุทธิ์ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่น
(๒) การจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ผลิตเอทานอลและผู้ใช้เอทานอล
โดยกำหนดรายละเอียดของปริมาณเอทานอลที่ต้องส่งมอบและระยะเวลาอย่างชัดเจน
เพื่อเป็นกลไกการจัดซื้อและจัดหาเอทานอลล่วงหน้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
(๓) การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดปริมาณการซื้อขายเอทานอลจากผู้ผลิตในประเทศล่วงหน้า
และกำหนดปริมาณการนำเข้าเอทานอลที่จะได้รับสิทธิอากรขาเข้าพิเศษจากการนำเข้าเอทานอลเพื่อนำมาใช้ในการผลิตเอทิลีนชีวภาพ
(๔) การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรและผู้ผลิตเอทานอลในประเทศให้สามารถผลิตเอทานอลที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
และ (๕) การออกกฎหมายและแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น
การอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตผลิตสุรากลั่นชนิดเอทานอลสามารถนำเอาเอทานอลไปจำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมอื่น
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม ของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา | สว. | 13/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง แนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม
ของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม
วุฒิสภา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมติเห็นชอบในหลักการของรายงานการพิจารณาศึกษา
และได้มีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สรุปได้ ดังนี้ (๑)
ข้อเสนอเชิงนโยบาย อาทิ ควรประกาศกำหนดให้การพัฒนาสมุนไพรเป็นวาระแห่งชาติ ควรส่งเสริมให้พัฒนาความรู้
สมรรถนะและทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม
รวมถึงด้านภูมิปัญญาไทย
ควรกำหนดนโยบายแห่งรัฐในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น
เป็นต้น (๒) ข้อเสนอเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเชิงบูรณาการ อาทิ ด้านการจัดการวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ควรพัฒนาสายพันธุ์พืชสมุนไพรและปัจจัยที่เกี่ยวกับการปลูกการเก็บเกี่ยว
การเตรียมวัตถุดิบก่อนส่งเข้ากระบวนการแปรรูป ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมให้วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีคุณค่า
ด้านการวิจัยและจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน
ควรแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการและวิจัยสมุนไพรและสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอ
และระเบียบวิธีวิจัยในคนที่เกี่ยวข้องกับการใช้สมุนไพร
ควรแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการเงินและวิจัยสมุนไพรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการบูรณาการและความเข้าใจระหว่างแพทย์แผนตะวันออกและตะวันตกโดยให้เข้าใจหลักการการวิจัย
การจัดการข้อมูล การตัดสินใจนำมาใช้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่ต่างกัน
ควรจัดข้อมูลให้เป็นระบบและนำไปสู่หลักสูตรการเรียนรู้ของแพทย์และบุคลากรด้านสุขภาพ
และด้านกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ มาตรฐานอาหารและยา สิทธิบัตร/สิทธิประโยชน์
การคุ้มครองผู้บริโภค การตลาดและการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น และ (๓)
กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อเสนแนะเพิ่มเติม เช่น
ควรมีขั้นตอนในการพิจารณา จัดลำดับ
และคัดเลือกปัญหาที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตสมุนไพรวิจัยและนวัตกรรม
และการนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมเพื่อลดอุปสรรคและสร้างโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐเอกชนและสถาบันการศึกษา
ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 | กค. | 13/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | รายงานผลการสอบบัญชีของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำหรับปีบัญชี 2565 | อก. | 13/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการสอบบัญชีของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน และงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว และเห็นว่างบการเงินดังกล่าวแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานและกระแสเงินสด
สำหรับปี สิ้นสุดวันเดียวกัน ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานการเงิน
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ และแผนงานอาเซียน-ญี่ปุ่น ด้านกฎหมายและงานยุติธรรม | ยธ. | 06/06/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน-ญี่ปุ่น
สมัยพิเศษ และแผนงานอาเซียน-ญี่ปุ่น ด้านกฎหมายและงานยุติธรรม
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ร่วมให้การเห็นชอบร่างแถลงการณ์ฯ และรับรองแผนงานดังกล่าว โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์การเสริมสร้างความร่วมมือด้านงานยุติธรรมและกฎหมายระดับนโยบายของรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียนและญี่ปุ่น
โดยระบุเกี่ยวกับการรักษาและส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาค
รวมทั้งการระงับข้อพิพาทอย่างสันติ และแผนงานฯ มีสาระสำคัญเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระดับนโยบายที่จะส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
โดยกำหนดเป้าหมายและกิจกรรมที่เสนอให้มีการดำเนินการ เช่น
ระบุประเด็นด้านกฎหมายและงานยุติธรรมที่จะนำมาหารือร่วมกันระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นในระยะสั้นและระยะกลาง
โดยจัดการหารือร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านกฎหมายและญี่ปุ่นอย่างสม่ำเสมอ
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด
ที่เห็นว่าควรเพิ่มประเด็นการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในร่างแถลงการณ์ร่วมฯ และแผนงานฯ เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน-ญี่ปุ่น
สมัยพิเศษ และแผนงานอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ และแผนงานอาเซียน-ญี่ปุ่น ด้านกฎหมาย
และงานยุติธรรม ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวดังกล่าวด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565 | พน. | 16/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ
ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ เรื่อง การพิจารณาให้สิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
ประเภทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ และเสนอคณะรัฐมนตรีทบทวนมติเมื่อวันที่ ๑๕
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ได้แก่
กำหนดให้กรณีนำเข้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน ๑๐ คน ประเภท BEV
ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน ๒ ล้านบาท และมีขนาดความจุแบตเตอรี่ตั้งแต่ ๑๐ กิโลวัตต์ชั่วโมง
(kWh) ขึ้นไป
ต้องผลิตรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน ๑๐ คน หรือรถยนต์กระบะ
ประเภท BEV รุ่นใดก็ได้ เพื่อชดเชยการนำเข้า
และกรณีนำเข้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน ๑๐ คน ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำมากกว่า ๒ ล้านบาท แต่ไม่เกิน ๗ ล้านบาท
และมีขนาดความจุแบตเตอรี่ตั้งแต่ ๓๐ kWh ขึ้นไป
ซึ่งกำหนดให้ต้องผลิตชดเชยรุ่นใดรุ่นหนึ่งที่ได้นำเข้า
หากมีกรณีผู้ขอรับสิทธิได้นำเข้ารถยนต์รุ่นที่ได้รับสิทธิและผลิตชดเชยรุ่นเดียวกับรถยนต์ที่ได้นำเข้าและได้รับสิทธิ์
แม้จะมีเลขซีรีส์ที่ต่างกัน ถือเป็นการผลิตชดเชยรถยนต์รุ่นเดียวกับรถยนต์ที่ได้รับสิทธิ
ตามที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการเปิดเผยและการส่งข้อมูลการอุดมศึกษา พ.ศ. .... | สคก. | 02/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการเปิดเผยและการส่งข้อมูลการอุดมศึกษา
พ.ศ. .... ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาแก่สาธารณะ
และการส่งข้อมูลของสถาบันการอุดมศึกษาให้แก่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และให้ดำเนินการต่อไปได้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 | นร.14 | 04/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างปฏิญญาเวียงจันทน์
ค.ศ. ๒๐๒๓ โดยร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในการมุ่งเน้นการดำเนินการตามพันธกรณี
ของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. ๒๕๓๘
และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายประวิตร วงษ์สุวรรณ) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีเสนอการปรับแก้ไขถ้อยคำในร่างปฏิญญาเวียงจันทน์
ค.ศ. ๒๐๒๓ ตามข้อคิดเห็นของกรมสนธิสัญญาและกฎหมายในการประชุมรัฐมนตรีในกรณีที่มีความจำเป็น
และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
ครั้งที่ ๔ เป็นผู้รับรองปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. ๒๐๒๓ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. ๒๐๒๓
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |