ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 5 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 87 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างแผนปฏิบัติการสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล สำหรับปี ค.ศ. 2024-2034 | กต. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์) | นร.13 | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวฐนิตา
ศิริทรัพย์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง)
กองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการลงทุน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน
๒๕๖๗ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | นโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง และปลาป่น) | พณ. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบการกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และปลาป่น
ปี ๒๕๖๘ ตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหารในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ (ครั้งที่
๘๒) เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ๒.
เห็นชอบการกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลือง
ตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหารในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ (ครั้งที่ ๘๒)
เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เฉพาะปี ๒๕๖๘ เท่านั้น สำหรับการดำเนินการในปี ๒๕๖๙
ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปติดตามและจัดทำรายงานประเมินผลการดำเนินการเพิ่มผลผลิตกากถั่วเหลืองที่ผลิตได้ในประเทศไทยว่าสามารถช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากต่างประเทศได้มากน้อยเพียงใด
แล้วให้รายงานผลต่อคณะกรรมการนโยบายอาหารเพื่อพิจารณานโยบายและมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลือง
ในปี ๒๕๖๙ ให้เหมาะสม ถูกต้องต่อไปด้วย ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
รวมทั้งให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงานบูรณาการร่วมกันเพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเคร่งครัด
พร้อมทั้งติดตาม วิเคราะห์
และรายงานผลกระทบต่อเกษตรกรให้คณะกรรมการนโยบายที่กำกับดูแลสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
เพื่อกำหนดมาตรการรองรับการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาและคุณภาพสินค้าเกษตรภายในประเทศได้ทันกับสถานการณ์
รวมทั้งเห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลืองให้สามารถทนต่อโรคระบาดแมลงศัตรูพืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลและตรวจสอบการนำเข้าอย่างเข้มงวด
เพื่อให้การนำเข้าสินค้าตรงกับการสำแดงพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และป้องกันการลักลอบการนำเข้าที่ผิดกฎหมาย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | รายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เรื่อง แนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ และวัฒนธรรมของหน่วยงานของรัฐ) | สผผ. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | พิจารณาร่างกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว สำหรับการค้าข้ามแดนระหว่างกรมศุลกากรแห่งราชอาณาจักรไทยกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | กค. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ครั้งที่ 7 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย | กต. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ | อว. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ | นร 05 | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
(ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการ รวมทั้งหมด ๔๐ ราย
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๒. นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๓. นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๔. นายสยาม บางกุลธรรม ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ๕. นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๖. นายขจรศักดิ์ ธนนาทธนะชน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ในการสนับสนุนภารกิจของรองนายกรัฐมนตรี
(นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) ๗. นายธเนศ กิตติธเนศวร เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๘. นายกฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๙. พลเอก ธราพงษ์ มะละคำ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๑๐. นายอัครุตม์ สนธยานนท์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ๑๑. นายมงคล วิมลรัตน์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ๑๒. นางสาวสนธยา บุณยภูษิต ผู้ตรวจราชการกระทรวง ๑๓. นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง ๑๔. นายวิทยา ยาม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม ๑๕. นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๑๖. นายสมภพ พัฒนอริยางกูล รองปลัดกระทรวงพลังงาน ๑๗. นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๑๘. นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ๑๙. นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๒๐. นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๒๑. นายมณเฑียร คณาสวัสดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๒๒.นายสุรพงษ์ มาลี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านยุทธศาสตร์และการวางแผน ๒๓. นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๔. นายวีรศักดิ์ ทิพย์มณเฑียร รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๒๕. นายอภิชาติ รัตนราศรี รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๒๖. นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์ รองเลขาธิการ ก.พ. ๒๗. นายวิชญ์พิพล ติวะตันสกุล ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน ๒๘. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ๒๙. นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ๓๐. ว่าที่ร้อยตรี พีรพล มั่นจิตต์ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๓๑. พลตรี ชัยวัฒน์ สาน้อย รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ๓๒. พลเรือตรี จุมพล นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ๓๓. นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๓๔. พลตำรวจโท
กฤษฎา กาญจนอลงกรณ์ ผู้บัญชาการ
ประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ๓๕. นายเอกชัย เกษมสุขธวัช รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ๓๖. นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓๗. พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ๓๘. นายทศพร แย้มวงษ์ รองเลขาธิการวุฒิสภา ๓๙. นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | แผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 - 2573 | ทส. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามกรอบความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) ปี 2568 - 2569 | กษ. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 | นร.07 | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | รายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เรื่อง ปัญหาการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา) | สผผ. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ (เรื่อง
ปัญหาการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา) ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอ ๒. ให้กระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติ
โดยให้กระทรวงพลังงานสรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน
๓๐ วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน - บางบัวทอง ของกรมทางหลวง | คค. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข
๙ สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน - บางบัวทอง ตามหลักการของโครงการฯ
ที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อให้การดำเนินงานโครงการฯ เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
พ.ศ. ๖๕๖๒ มาตรา ๒๙ เมื่อคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนได้พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการของโครงการร่วมลงทุนแล้ว
ให้รัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดนำเสนอหลักการของโครงการร่วมลงทุนดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินโครงการร่วมลงทุนตามหลักการนั้นต่อไป
ซึ่งกรมทางหลวงได้รับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งได้ดำเนินการตามความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นว่ากรมทางหลวงจะต้องดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการพิจารณาแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนของภาครัฐเพิ่มเติม
การปรับลดการสนับสนุนเงินร่วมลงทุนในกรณีที่ภาคเอกชนสามารถจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านทางได้มากกว่าที่ประมาณการไว้
การปรับผลตอบแทนของภาคเอกชนและอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวการณ์ของตลาดทุน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ทั้งนี้
เพื่อมิให้เป็นภาระผูกพันงบประมาณภาครัฐในอนาคตเกินสมควร ควรที่กระทรวงคมนาคม
โดยกรมทางหลวงจะพิจารณาจัดลำดับความสำคัญตามความจำเป็นเร่งด่วนของโครงการขนาดใหญ่ที่จะดำเนินการในภาพรวมให้สอดคล้องกับภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นด้วย กระทรวงการคลัง เห็นว่าการร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost ตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม เอกชนจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านทางทั้งหมดของโครงการฯ
ดังนั้นกรมทางหลวงและคณะกรรมการคัดเลือกฯ
ควรพิจารณากำหนดวิธีการหรือกลไกการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนที่ภาครัฐมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเพิ่มเติมหรือปรับลดการสนับสนุนเงินร่วมลงทุนในกรณีที่ปริมาณจราจรหรือรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านทางของโครงการฯ
สูงกว่าที่ประมาณการไว้มาก นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมควรพิจารณาการลงทุนโครงการต่าง ๆ
ให้สอดคล้องกับลำดับความสำคัญของแผนการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในภาพรวม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565 | พม. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566–2570 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และข้อเสนอโครงการของส่วนราชการ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | นร.11 สศช | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์-ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์-รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | คค. | 29/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด ๒๐ บาท
ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาลสำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ -
ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม
๒๕๖๗ จนถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๘
โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อชดเชยการขาดรายได้ส่วนต่างค่าโดยสารตามจริง
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ๒. รับทราบมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด ๒๐ บาท
ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาลสำหรับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง)
ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ จนถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๘
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๓.
ให้กระทรวงคมนาคมประเมินผลการดำเนินมาตรการตามข้อ ๑ และ ๒
เมื่อสิ้นปีงบประมาณโดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการดำเนินมาตรการดังกล่าวในปีถัดไป ๔. ให้กระทรวงคมนาคม
การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยร่วมกันพิจารณาปรับปรุงวิธีการเก็บค่าโดยสารของผู้โดยสารที่เดินทางข้ามระหว่างรถไฟชานเมืองสายสีแดงสายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน)
และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ให้งดการจ่ายค่าโดยสารซ้ำซ้อนกันในทุกกรณีสำหรับทุกประเภทบัตรโดยสาร
รวมทั้งให้เร่งเตรียมการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม
พ.ศ. ....
และการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อลดการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนในกรณีที่มีการเดินทางข้ามระหว่างสายรถไฟต่าง
ๆ และลดภาระประชาชนที่ต้องใช้บัตรโดยสารหลายประเภทต่อไป ๕. ให้กระทรวงคมนาคม
การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นว่าการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยการขาดรายได้ส่วนต่างค่าโดยสารตามจริงของการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทยนั้น
ควรให้การรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทยพิจารณาจัดทำรายละเอียดให้ถูกต้องครบถ้วนตามส่วนต่างรายได้ค่าโดยสารที่เกิดขึ้นจริง
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ขอความเห็นชอบต่อการเข้าร่วมการเจรจาเพื่อเข้าเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Partnership Agreement: DEPA) | ดศ. | 29/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ และเตรียมความพร้อมโครงการ และฟื้นฟูโครงการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย | กษ. | 29/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาและส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567/68 | พณ. | 29/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงการต่างประเทศ) | กต. | 29/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี ของกระทรวงการต่างประเทศ จำนวน ๔๕ คณะ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗) เป็นต้นไป ดังนี้ ๑. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย - บรูไนดารุสซาลาม ๒.
คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย ๓.
คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งนิวชีแลนด์ ๔. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม วิชาการ เกษตรกรรม และวิทยาศาสตร์
ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ๕.
คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรบาห์เรน ๖. คณะกรรมการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย
- ตุรกี ๗.
คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน ๘.
คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การค้าและวิชาการระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ๙. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย
- ฟิลิปปินส์ (ฝ่ายไทย) ๑๐. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย - มาเลเซีย ๑๑. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย - อินโดนีเซีย ๑๒.
คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือไทย - อินเดีย ๑๓.
คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย - ศรีลังกา ๑๔. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย
- เวียดนาม (ฝ่ายไทย) ๑๕.
คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งรัฐกาตาร์ ๑๖.
คณะกรรมการนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ ๑๗. คณะกรรมการประสานงานด้านสหประชาชาติ
องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ และองค์การต่างประเทศ ๑๘.
คณะกรรมการประสานงานช่วยเหลือคนไทยและประเทศที่ประสบภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉิน ๑๙. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศในระดับชาติ ๒๐. คณะกรรมการกฎหมายทะเลและเขตทางทะเลของประเทศไทย ๒๑.
คณะกรรมการเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับองค์การระหว่างประเทศ และการประชุมระหว่างประเทศภาครัฐในประเทศไทย ๒๒. คณะกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย -
รัสเซีย ๒๓.
คณะกรรมการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจไทย - เยอรมัน ๒๔. คณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย
- จีน (คกร. ไทย - จีน ฝ่ายไทย) ๒๕. คณะกรรมการความร่วมมือไทย - สหภาพยุโรป ๒๖. คณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ ๒๗.
คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ของไทยต่อประเด็นทะเลจีนใต้ ๒๘. คณะกรรมการหมู่ประจำชาติไทยในศาลอนุญาโตตุลาการ
ณ กรุงเฮก ๒๙. คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา
(ฝ่ายไทย) ๓๐. คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - ลาว (ฝ่ายไทย) ๓๑. คณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย -
มาเลเซีย (ฝ่ายไทย) ๓๒.
คณะกรรมการเพื่อวิเคราะห์คำพิพากษาและแนวทางการดำเนินการ ๓๓. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย
- ลาว (ฝ่ายไทย) (เดิม
คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย - ลาว) ๓๔. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย
- กัมพูชา (ฝ่ายไทย) (เดิม
คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - กัมพูชา) ๓๕.
คณะกรรมการฝ่ายไทยในคณะกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย - อเมริกัน (ฟุลไบรท์)
ประจำปี ๒๕๖๖ - ๒๕๖๗ [เดิม คณะกรรมการฝ่ายไทยในคณะกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย
- อเมริกัน (ฟุลไบรท์)] ๓๖. คณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่าง ๆ ๓๗. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเคนยา ๓๘.
คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ๓๙.
คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยสำหรับกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย - บังกลาเทศ ๔๐.
คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือไทย - เนปาล ๔๑.
คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจไทย - ปากีสถาน ๔๒.
คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอียิปต์ ๔๓.
คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับยูเครน ๔๔. คณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย - เมียนมา (ฝ่ายไทย) ๔๕. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย
- เมียนมา (ฝ่ายไทย) |