ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 48 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยุติการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านจันเดย์ | พน. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ (เรื่อง โครงการไฟฟ้าพลังงานบ้านจันเดย์) เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยุติการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านจันเดย์
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่เห็นควรกำกับการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนต่าง
ๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ให้จัดหาพลังงานไฟฟ้าทดแทนจากแหล่งพลังงานอื่นโดยเฉพาะที่มาจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อประโยชน์ต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า
รวมทั้งเป็นไปและสอดคล้องกับนโยบาย BCG ของรัฐบาลต่อไป และควรยุติโครงการฯ ไว้ก่อน แต่ไม่ควรยกเลิกอย่างสิ้นเชิง
ในระหว่างนี้ให้ติดตามข้อมูลลงทุนความเหมาะสมของการพัฒนาโครงการฯ ในอนาคตต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาทบทวนการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๑ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ให้เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน โดยคำนึงถึงความจำเป็น ความคุ้มค่า
และความเหมาะสมทางเทคนิคที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบและรัดกุมเพื่อให้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ มีความถูกต้อง ชัดเจน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.01 | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม บทนิยาม องค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
(กคร.) และคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัด
(กคร. จังหวัด) และกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเผยแพร่บัญชีการรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการเรี่ยไรและรายงานการเงินของการเรี่ยไรผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐนั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง) และสถานการณ์ปัจจุบัน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น การกำหนดคำนิยามคำว่า
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ”
ควรกำหนดให้ครอบคลุมถึงบุคคลและคณะบุคคลบรรดาซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นในระบบราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐด้วย ควรแก้ไขบทเฉพาะกาลตามร่างข้อ ๙
ให้สอดคล้องกับผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัดด้วย
ควรมีการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในระเบียบดังกล่าว
และหากมีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบดังกล่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเรี่ยไร
และกำหนดให้ กคร. มีอำนาจในการควบคุมเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐทั้งหมดอาจทำให้มีกรณีเกิดความล่าช้าและกระทบต่อประโยชน์ทางราชการ
ซึ่งหากมีการแต่งตั้ง กคร. ของกระทรวง/หน่วยงานขึ้นตรง
(ที่รัฐมนตรีกำกับดูแลเป็นประธาน) เป็นเอกเทศ แยกจาก กคร. เดิม ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานลงได้ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | ปช. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 | อว. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติมว่า
การดำเนินการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติในสถานะของส่วนราชการภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและภารกิจตามหน้าที่และอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด
รวมทั้งผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมก็มิได้น้อยกว่าหน่วยงานบริการและจัดการกองทุนอื่น
ๆ ที่มีสถานะเป็นองค์การมหาชนแต่ประการใด นอกจากนี้
บุคลากรของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้แสดงความประสงค์ขอคงสถานะของหน่วยงานให้เป็นส่วนราชการ
ดังนั้น จึงเห็นควรให้คงสถานะของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นส่วนราชการไว้ดังเดิมและที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การสิ้นสุดหน้าที่ของกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำกรุงวิกตอเรีย สาธารณรัฐเซเชลส์ และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงวิกตอเรีย สาธารณรัฐเซเชลส์ (นางสาวอาแล็กซ็องดรา มารี-ลูยส์ เฌ. เบนัวตง) | กต. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ดังนี้ ๑. รับทราบการสิ้นสุดหน้าที่ของ นายโจ ชุง ฟาเอ (Mr. Joe Chung Faye) กงสุลกิตติมศักดิ์ประจำกรุงวิคตอเรีย
สาธารณรัฐเซเชลส์ เนื่องจากถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๔
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๕๕
และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องตามนัยสรุปประเด็นสำคัญสำหรับการติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
เพื่อนำไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) การสร้างประชาคมอาเซียน เช่น
การสนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาตามหัวข้อหลัก “ASEAN
A.C.T. : Addressing Challenges Together” และการเตรียมความพร้อมความร่วมมือกับประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่
และการรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม จำนวน ๑๑ ฉบับ (๒)
ประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในเมียนมาและช่องแคบไต้หวัน
และ (๓) ความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอก เช่น
ไทยได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC
โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รวม ๖ ฉบับ)
โดยในส่วนของยูเครนยังมิได้มีการลงนามตราสารฯ เนื่องจากเมียนมายังดำเนินกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เช่น ควรดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรมีการยกระดับการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็นการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ
ขยะมูลฝอย และขยะพลาสติก
และประเด็นความมั่นคงในบางกรอบการประชุมอาเซียนที่ไม่ได้มอบหมายให้มีการติดตาม
อาทิ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งสำนักงานฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... | นร.01 | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง)
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบและสภาพการณ์ปัจจุบัน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เช่น ในการกำหนดบทนิยามคำว่า
“บุคคลในครอบครัว” ตามข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
ควรบัญญัติบทคำนิยามคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ให้สอดคล้องกับบทนิยามคำว่า
“คู่ชีวิต”
ตามร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วและปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
ข้อคิดเห็นในข้อที่ ๙ ควรพิจารณาเพิ่มข้อความว่า
“ของขวัญนั้นต้องไม่จูงใจให้เกิดการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ควรปรับปรุงร่างข้อ ๑๒ วรรคสาม
โดยใช้คำว่า “บุคคลในครอบครัว” เนื่องจากมีการกำหนดไว้ในบทนิยาม เป็นต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้
รวมถึงการให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับเพื่อให้รับทราบและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
และให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกลไกเพื่อบังคับใช้ร่างระเบียบดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
ปรับหลักเกณฑ์หรือสาระให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔
และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น
และควรนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลบันทึกรายงานเกี่ยวกับการรับของขวัญด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขออนุมัติผ่อนผันให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้า | พน. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓
กรกฎาคม ๒๕๒๗ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔ วันที่ ๒๒ สิงหาคม
๒๕๔๓ และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหยง
ท้องที่จังหวัดพังงา และป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองมะพร้าว ท้องที่จังหวัดภูเก็ต
รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒ ป่า เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถเข้าใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบโครงข่ายไฟฟ้า
๕๐๐ กิโลโวลต์ จุดเชื่อมพังงา ๒-ภูเก็ต ๓
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน
(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการดำเนินการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๙
มกราคม ๒๕๕๖ ให้จัดสรรงบประมาณให้กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทน
เพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมไม่น้อยกว่า ๒๐ เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ว่าด้วยการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมกรณีการดำเนินการโครงการใด
ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ.
๒๕๕๖ และปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สผ. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สว. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สว. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In-person) และความคืบหน้าในการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท | ทส. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท
สมัยที่ ๔ ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In-person)
ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๕ มีนาคม ๒๕๖๕ ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
โดยมีผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม และความคืบหน้าในการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท
ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น (๑) ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ ๔
ได้มีการรับรองปฏิญญาบาหลีว่าด้วยการต่อต้านการค้าปรอทผิดกฎหมายทั่วโลก
ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม
๒๕๖๕ และมติข้อตัดสินใจสำคัญที่ไทยต้องปฏิบัติตามหรือสามารถนำมาปรับใช้ (๒)
สาระสำคัญที่มีความคืบหน้าและจะนำไปใช้หารือต่อในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ
สมัยที่ ๕ เช่น การพิจารณาค่าขีดจำกัดขั้นต่ำของของเสียที่ปนเปื้อนปรอทหรือสารประกอบปรอทและการทบทวนกลไกทางการเงิน
และ (๓) ความคืบหน้าในการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะฯ
ตามแผนการเตรียมความพร้อมเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ
และข้อเสนอในการออกกฎหมายเพิ่มเติม เพื่อการภาคยานุวัติในอนุสัญญามินามาตะฯ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | นร.10 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายนพดล พลเสน และนายเหรียญชัย ลิขิตพฤกษ์) | นร.04 | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีต่ออีกวาระหนึ่ง
จำนวน ๒ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๕ และวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๕
ตามลำดับ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)
รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้ว ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
ดังนี้ ๑. นายนพดล
พลเสน ๒.
นายเหรียญชัย ลิขิตพฤกษ์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... | ยธ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับเพิ่มและยกเลิกคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
จากร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้ ๑) คงคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๓ ฉบับ
เป็นคดีพเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร ๒) เพิ่มเติมคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๓
ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
และคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และ ๓)
ยกเลิกคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๒ ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่
คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นควรให้กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาเพิ่มเติมความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทางทะเลและชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ในร่างกฎกระทรวงนี้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ มกราคม ๒๕๓๗ เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
และไม้ตาล จากเดิม “เห็นควรให้ความเห็นชอบในหลักการอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย)
เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส
สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม
มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยให้ทดลองดำเนินการในบางพื้นที่ก่อน
เช่นเดียวกับการแปรรูปไม้ยางพาราตามหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒
พฤษภาคม ๒๕๒๔ ทั้งนี้ ในการอนุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตและมาตรการตรวจสอบควบคุมเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ มกราคม ๒๕๓๒” เป็น “อนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้
(โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
ไม้ตาล และไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และมาตรการตรวจสอบควบคุมตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้กำหนด”
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการเพิ่มไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ต้องมีกฎหมาย ระเบียบ มาตรการ หรือเงื่อนไขกำชับไว้ชัดเจน
ในการนำวัตถุดิบป้อนโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับของโรงงาน
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และควรมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ได้จากอุตสาหกรรมไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
ให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มีที่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า
ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
และเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้อย่างคุ้มค่า
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการตรวจสอบที่มาของไม้ที่จะนำมาแปรรูปให้ชัดเจนและรัดกุม
เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติ หรือการนำไม้ที่ได้จากที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิมาแปรรูปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 23/2565 | นร.11 สศช | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา สำหรับโครงการปรับปรุงถนนหมายเลข 67 ช่วงเสียมราฐ-อันลองเวง-จวม/สะงำ ราชอาณาจักรกัมพูชา | กค. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (Thai National Committee for International Council of Museum) | วธ. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|