ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 52 จากข้อมูลทั้งหมด 52 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2565 | กค. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕
สรุปได้ ดังนี้ (๑) มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ในเรื่องเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (๒)
รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ภาพรวมการเบิกจ่าย ประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๕ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน ๑,๓๐๖,๑๒๓ ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน กระทรวงที่มีการเบิกจ่ายสูงสุด
เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการคลัง
สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๓)
รัฐวิสาหกิจมีกรอบลงทุนปี ๒๕๖๕ จำนวน ๓๑๘,๑๐๓ ล้านบาท
มีผลการเบิกจ่ายสะสม ๑๔,๒๖๓ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๕
ของแผนเบิกจ่ายสะสม (๔) โครงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ มีจำนวน ๑๐๒ โครงการ
มูลค่ารวม ๒.๕๑ ล้านล้านบาท และมีมูลค่าการลงทุนในปี ๒๕๖๕ จำนวน ๑๙๒,๗๗๖ ล้านบาท และ (๕)
การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. ๒๕๖๓
จำนวน ๑,๑๒๖ โครงการ วงเงิน ๙๘๖,๙๖๔
ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น ๙๔๓,๕๕๔ ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ ๙๖ ของวงเงินอนุมัติ
และการเบิกจ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๔๓ โครงการ วงเงิน ๓๔๒,๓๑๗
ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน ๒๒๙,๖๕๓
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๖๗ ของวงเงินอนุมัติ
ตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | นร.12 | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
43 | การกำหนดและทบทวนกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนให้มีขนาดที่เหมาะสม | นร.12 | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ขออนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์โควิด 19 | มท. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สำหรับเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์โควิด 19 ของกรมการปกครอง จำนวน ๒๗๐,๕๙๐ คน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ในอัตรา ๕๐๐ ต่อคนต่อเดือน จำนวน ๖ เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๔ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ รวมงบประมาณทั้งสิ้น ๘๑๑,๗๗๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้มีการสรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณตามนัยข้อ ๑๑ แห่งระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลางฯ ต่อไปด้วย โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้กระทรวงมหาดไทยใช้จ่ายเงินอย่างโปร่งใส คุ้มค่า ประหยัด รวมทั้งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (นายชูกิจ ลิมปิจำนงค์) | อว. | 15/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง ศาสตราจารย์ชูกิจ
ลิมปิจำนงค์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
(ตามมติคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในการประชุม ครั้งที่
๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
โดยให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
ที่ควรจัดทำระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โดยพิจารณานำหลักเกณฑ์วิธีการสรรหาผู้อำนวยการองค์การมหาชน
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ไปปรับใช้ด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 | นร.11 สศช | 15/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
47 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
48 | การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร | นร.12 | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ดังนี้ (๑) ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทของหน่วยงานของรัฐในการกำกับของฝ่ายบริหาร)
โดยเพิ่มประเภทขององค์การมหาชน จากเดิม ๒ ประเภท เป็น ๓ ประเภท
เพื่อรองรับหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
และมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕/๘
แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ครอบคลุมถึงหน่วยงานดังกล่าว
(๒) จำแนกให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ
และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล และ (๓)
จำแนกให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารประเภทองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงหน่วยงานที่เป็นอยู่เดิมเป็นลำดับแรกก่อน
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของภารกิจ
รวมทั้งคำนึงถึงหลักการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายของภาครัฐที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
คำนึงถึงแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
โดยอาจวางระบบ หลักเกณฑ์ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแล
และบริหารจัดการองค์กรให้ชัดเจน
และควรเร่งรัดการดำเนินการในส่วนของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารแล้วเสร็จ
เพื่อปรับรูปแบบการบริหารราชการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา | กษ. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
จำนวน ๓๕๐ แปลง เนื้อที่ ๗๗๐-๑-๕๙ ไร่ในอัตราไร่ละ ๔๕,๐๐๐
บาท เป็นเงิน ๓๔.๖๗ ล้านบาท ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
ที่ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบโดยคณะอนุกรรมการทั้ง ๒ คณะ (คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน) โดยในส่วนของงบประมาณ กรมชลประทานจะปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ มาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าทดแทน
จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา
อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ รวม ๒๑ ราย
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธาน
เพื่อกำกับการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอ และให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
กรมชลประทานควรเร่งรัดดำเนินการจ่ายค่าทดแทน
กำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาสำหรับการสำรวจพื้นที่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบให้มีความชัดเจน
เพื่อให้ทราบงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการจ่ายค่าทดแทนที่แน่นอน
และให้กรมชลประทานปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๖๕
แล้วขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเร่งรัดสำรวจพื้นที่และจำนวนราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนาทั้งหมด
เพื่อให้สามารถจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรได้ถูกต้องครบถ้วนโดยเร็วต่อไป ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐในกรณีต่าง
ๆ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง
ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา)
ให้แล้วเสร็จและนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ) | นร14 | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ
ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | ร่างมาตรการสนับสนุนให้สตรีเป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ | พม. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นซอบในหลักการของมาตรการสนับสนุนสตรีให้เป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ
ประกอบด้วยมาตรการย่อย ๓ มาตรการ ได้แก่ จัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นำมาตรการดังกล่าวไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยให้นำความเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วยเพื่อให้ได้ข้อยุติในประเด็นต่าง
ๆ ที่ชัดเจน เหมาะสม ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ดังนี้ ๑)
กระทรวงการคลังเห็นว่า ในการพิจารณาจะต้องคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒)
กระทรวงแรงงานเห็นว่า หากจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมสิทธิการลาคลอด
ให้สามีของแรงงานสตรีสามารถลาเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ นายจ้าง
เจ้าของสถานประกอบกิจการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคธุรกิจ
เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วย ๓)
กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า เพื่อให้การแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมและครอบคลุมข้าราชการทุกประเภท
จึงเห็นควรพิจารณาในรายละเอียดด้วยความรอบคอบ ๔)
กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า ควรมีการทบทวนข้อมูลอย่างรอบด้าน
โดยคำนึงถึงหลักความเหลื่อมล้ำในกลุ่มแม่ที่ใช้สิทธิอื่น
หรือกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีบุตร เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติหรือความเป็นธรรมในการจ้างงานด้วย ๕)
สำนักงบประมาณเห็นว่า สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕
เห็นควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ
ๆ ไป
เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ๖)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีความเห็นประกอบการพิจารณาในแต่ละมาตรการ
ดังนี้ ๖.๑) การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี โดยขยายบริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กให้รับเด็กอายุ ๐ ถึง
๓ ปี และขยายเวลาเบิดและปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน นั้น
เป็นมาตรการเพื่อแบ่งเบาภาระของสตรีในการเลี้ยงดูบุตรโดยกำหนดอายุของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง
๓ ปี
แต่การกำหนดอายุขั้นต่ำของเด็กดังกล่าวหากเป็นกรณีผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นหญิงที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน
จะต้องคำนึงถึงมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
ที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๘
วัน และมาตรการที่กำหนดให้ขยายวันลาคลอดของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ซึ่งเป็นการกำหนดเพื่อให้สิทธิแก่สตรีในการใช้วันลาคลอดเพื่อเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง ๖.๒) การส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
โดยให้ข้าราชการชายสามารถลาไปช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร นั้น
ควรกำหนดให้ลูกจ้างขายสามารถลาเพื่อช่วยเหลือภรรยาดูแลบุตรได้
เพื่อให้การกำหนดมาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งจะทำให้เกิดความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ
แต่ในรายละเอียดอาจจะต้องกำหนดเพื่อไม่ให้นายจ้างได้รับผลกระทบจนเกินสมควร ๖.๓) การขยายวันลาคลอดของข้าราชการ
โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น
ในส่วนของการแก้ไขวันลาคลอดของข้าราชการ เป็น ๙๘ วัน เป็นการกำหนดที่สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(ILO)
ฉบับที่ ๑๘๓
ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดาซึ่งได้กำหนดให้ภาครัฐต้องดูแลผู้หญิงตั้งครรภ์
ระหว่าง และหลังคลอด และต้องให้วันหยุดมารดาหลังคลอด ๑๔ สับดาห์
ซึ่งสตรีในภาคเอกชนได้รับสิทธิดังกล่าวแล้วตามมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
สำหรับการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ลาได้อีก ๙๐ วัน
และให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น จะต้องพิจารณาว่า การแก้ไขดังกล่าวกระทบกับการการลาบระเภทอื่นหรือไม่
ได้แก่ การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ส่วนการกำหนดให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐
ของเงินเดือนปกติ จะต้องพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเดือน ได้แก่
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบด้วย ๗)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
มาตรการส่งเสริมการลาของสามี และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง
มีผลบังคับใช้กับกลุ่มข้าราชการเท่านั้น เพื่อให้ร่างมาตรการดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
จึงควรเร่งศึกษาแนวทางเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายสู่แรงงานกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างเอกชน
ซึ่งมีสัดส่วนถึง ๒ ใน ๕ ของผู้มีงานทำทั้งหมด ๘)
สำนักงาน ก.พ. เห็นว่า เห็นควรมอบหมายสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาปรับปรุงระเบียบฯ ดังกล่าว
และโดยที่ข้อเสนอการปรับปรุงวันลาของข้าราชการชายเพื่อช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร
และการขยายวันลาคลอดบุตรของข้าราชการหญิง
มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา
และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น อาทิ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ
บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายอื่นให้สอดคล้องกันต่อไปด้วย ๙)
กระทรวงมหาดไทยมีข้อเสนอแนะว่า ๙.๑) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้จัดบริการให้กับเด็กเล็กครอบคลุมช่วงอายุ ๒ - ๓ ปี ซึ่งในการขยายบริการเด็กเล็ก
โดยให้รับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๒ ปีลงไปนั้น
ควรกำหนดแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พิจารณาดำเนินการตามความพร้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รวมถึงความต้องการของชุมชนในพื้นที่โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ
อัตรากำลังครู/ผู้ดูแลเด็กในแต่ละช่วงอายุ รวมถึงการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กอย่างถูกต้องตามหลักวิซาการ ๙.๒) สำหรับการขยายเวลาเปิด -
ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หากจะขยายเวลาเปิด - ปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนทำงาน
ต้องคำนึงถึงความพร้อม สภาพบริบท ที่ตั้ง
การประกอบอาชีพของผู้ปกครองและความต้องการของผู้ปกครองในท้องถิ่นนั้น ๆ
รวมถึงงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในการดำเนินการดังกล่าว ๑๐)
สำนักงาน ก.พ.ร. มีข้อเสนอแนะว่า
๑๐.๑) กรณีมาตรการจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า
๓ ปี ควรกำหนดให้อายุเด็กที่จะเข้ารับบริการ จาก ๐ - ๓ ปี เป็น ตั้งแต่ ๓
เดือนขึ้นไป - ๓ ปี เนื่องจากจะสอดคล้องกับมาตรการขยายวันลาคลอดของแม่
และช่วยให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากแม่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อพัฒนาการของเด็ก
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี
สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติและสามารถให้บริการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรพิจารณาประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของบุคลากร และศักยภาพของศูนย์
พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่ง รวมทั้งต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ
ตลอดจนคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของผู้ปกครองหรือผู้รับบริการในแต่ละพื้นที่สำหรับการขยายเวลาให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่งด้วย ๑๐.๒) กรณีการส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
ซึ่งกำหนดให้ลาได้ ๑๕ วัน โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกันนั้น
ควรพิจารณารับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำไปกำหนดรายละเอียดและกรอบระยะเวลาการลาของสามีดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ๑๐.๓) กรณีการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรสามารถลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน
๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ควรพิจารณาผลกระทบทั้งในประเด็นการปฏิบัติงานและการบริหารงานขององค์กรและภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่จะเพิ่มขึ้น
รวมทั้งคำนึงถึงความคุ้มค่าของประโยชน์โดยรวมที่สังคมและประเทศจะได้รับด้วย ๑๑)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ๑๑.๑) มาตรการข้อ ๒
ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด ที่เสนอว่า “...ให้ลาได้ ๑๕
วันทำการ เป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันจนครบวันลา” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน”
ไว้หน้า ๑๕ วันทำการด้วย
เพื่อให้มีความคล่องตัวในการลาและสอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
ที่กำหนดไว้ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ ๑๑.๒) มาตรการข้อ ๓
ขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง ที่เสนอว่า “...โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิม
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน” ไว้หน้า ๙๘ วัน ด้วยเหตุผลผลเดียวกับข้อ
๑๑.๑) แต่สำหรับการได้รับเงินเดือนระหว่างลา กฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ได้กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน ๙๐ วัน
ในส่วนของประเด็นที่เสนอว่า “...โดยให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘
วัน สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ”
นั้น ประเด็นดังกล่าวน่าจะมีจุดมุ่งหมายในการลาเพื่อการเลี้ยงดูบุตร
ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕
ได้กำหนดให้เป็นประเภทของการลากิจสวนตัว ตามข้อ ๒๒ ที่กำหนดไว้ว่า “ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ
๑๙ แล้ว หากประสงค์จะลากิจสวนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน
๑๕๐ วันทำการ”
แต่การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรดังกล่าวกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
กำหนดไว้ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2563 | ยธ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกอบด้วย สถานการณ์ยาเสพติด
ในปี ๒๕๖๓ รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผลการจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ การกระทำความผิดของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๒. เห็นชอบให้นำความเห็นเพิ่มเติมของกระทรวงการคลังที่เห็นว่า
รายงานดังกล่าวจะมีเนื้อหาครบถ้วน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หากในรายงานมีข้อมูลครอบคลุมถึงผลการดำเนินการกับเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ที่กระทำความผิดด้วย นอกจากนี้ การใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เป็นการใช้อำนาจพิเศษที่มีบทยกเว้น
การใช้อำนาจทั่วไปตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งอำนาจพิเศษเหล่านี้เป็นเสมือนดาบสองคม
หากนำไปใช้ในทางที่ผิด ย่อมเกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์
การป้องกันและแก้ไขปัญหาคือ
ผู้บังคับบัญชาต้องกำกับติดตามผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด
และการมอบหมายงานด้านยาเสพติดควรคำนึงถึงความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ
และการขอแต่งตั้งบุคคลใดเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ควรดูพฤติกรรมและความประพฤติซึ่งเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของการขอแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ด้วย และข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี
ที่มีข้อสังเกตว่า ในช่วงที่สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน”
กำลังแพร่ระบาดในขณะนี้ การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
นอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ (Work From Home) นั้น
ยังคงเป็นมาตรการหนึ่งของการทำงานของภาครัฐระบบดิจิทัสซึ่งสนับสนุนหลักการเพิ่มระยะห่างทางสังคม
(Social Distancing) ที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น การกำหนดรูปแบบแนวทางการปฏิบัติงานควรมีความยืดหยุ่น มีความคล่องตัว
และเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย ซึ่งขณะนี้สำนักงาน ป. ป.ส. ได้มีมาตรการการกำกับ
ติดตามการรายงานอย่างเข้มงวด โดยเพิ่มช่องทางการรายงานการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ในลักษณะของการรายงานผ่านเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ส. การมีแอปพลิเคชันไลน์บนโทรศัพท์มือถือ
เพื่อแจ้งเตือนการต่ออายุบัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. และมีการรายงานการปฏิบัติหน้าที่ได้ทันทีขณะอยู่ในที่เกิดเหตุ
ซึ่งส่งผลให้สามารถกำกับ ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เป็นการอำนวยความสะดวกอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์เช่นนี้
อันจะนำไปสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Transformation) ที่มีการทำงานแบบอัจฉริยะและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
มีความทันสมัย เกิดคุณค่าสาธารณะ และตอบสนองกับการพัฒนาของเทคโนโลยียุคใหม่ได้ต่อไป
ตลอดจนพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ครอบคลุมการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
|