ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 52 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | การปรับปรุงแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม | นร.12 | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
22 | ร่างแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2559 - 2565) ฉบับปรับปรุง มาตรฐานสถิติ และการปรับปรุงคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี | ดศ. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๕) ฉบับปรับปรุง ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนางานด้านสถิติของประเทศให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ
รวมทั้งแผนปฏิบัติการภายใต้ร่างแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการและสนับสนุนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
เห็นชอบการเปลี่ยนชื่อและปรับปรุงองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ
ของคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย ๓ ด้าน (ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ
และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการ
การจัดประเภทผลิตภัณฑ์กลางประเทศไทย ปี ๒๕๖๓ และมาตรฐานการผลิตสถิติ ตัวแปร : สกุลเงิน
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ๓.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น ควรจัดทำมาตรฐานสถิติเป็นชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ
ควรส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้ข้อมูลสถิติจากฐานข้อมูลสถิติของประเทศ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
23 | ขอความเห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2565 - 2570 | ปปง. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
24 | หลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 | นร.12 | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาให้สอดคล้องกับเรื่องการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาการอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และธนาคารแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
25 | โครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 | พณ. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑.๑
อนุมัติการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี ๒๕๖๕
ทั้งนี้ ในการดำเนินการโครงการฯ
จะพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสำหรับการส่งออกเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบ
เมื่อระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ตัน
และราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก ๑.๒
อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี ๒๕๖๕
รวมทั้งสิ้น ๓๐๙ ล้านบาท ๑.๓
เห็นชอบหลักเกณฑ์การขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ
ตามโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี ๒๕๖๕ ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ
เช่น ควรมีการติดตาม กำกับดูแลคุณภาพของสินค้าน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
ควรมอบหมายให้กรมการค้าภายในและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานการตรวจสอบปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มคงเหลือภายในประเทศ
เพื่อประกอบการพิจารณาในการผลักดันการส่งออกให้มีความสัมพันธ์ในแต่ละห้วงเวลา
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเพื่อควบคุมราคาน้ำมันปาล์มสำหรับการบริโภคให้มีความเหมาะสมและส่งผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด |
||||||||||||||||||||||||||||||
26 | รายงานสรุปภาพรวมการบริหารกำลังคนของส่วนราชการในฝ่ายพลเรือนและแนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ | นร.10 | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
27 | ขออนุมัติการทำสัญญาซื้อขายเครื่องบริโภคสำหรับใช้เลี้ยงผู้ต้องขัง ผู้ต้องกักขัง ผู้ต้องกักกัน และการก่อหนี้ผูกพันของกรมราชทัณฑ์ | ยธ. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กรมราชทัณฑ์สามารถดำเนินการทำสัญญาซื้อขายเครื่องบริโภคสำหรับใช้เลี้ยงผู้ต้องขัง
ผู้ต้องกักขัง และผู้ต้องกักกัน ก่อนปีงบประมาณใหม่ของทุก ๆ ปี
และก่อนได้รับการอนุมัติเงินจัดสรรได้
ตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
28 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ จังหวัดสุรินทร์ | กษ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในการให้ความช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ
จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๖๔ แปลง เนื้อที่ ๕๑๒-๑-๕๖ ไร่
เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยา
และบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเป็นธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการชลประทานของรัฐ
สำหรับอัตราค่าชดเชยที่จะต้องจ่ายนั้น
เห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาตามหลักการที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นชอบไว้ในการประชุมคณะทำงานตรวจสอบพิสูจน์สิทธิย้อนหลังและแสวงหาราคาค่าทดแทน
โดยกรณีการจ่ายเงินทดแทนค่าขนย้าย (ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์)
เป็นการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาความเสียหายตามหลักมนุษยธรรม
ไม่ใช่การจ่ายเงินทดแทนค่าที่ดิน
จึงไม่สามารถจ่ายเงินชดเชยโดยใช้ราคาซื้อขายที่ดินมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคา
โดยเห็นควรใช้แนวทางการพิจารณากำหนดจำนวนเงินตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๒
เพื่อมิให้มีค่าใช้จ่ายที่เกินกว่าที่รัฐได้เคยจ่ายชดเชยสำหรับที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์
อันจะนำไปสู่กรณีกลุ่มราษฎรจะมาเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินชดเชยในลักษณะเดียวกันตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ ดังกล่าว
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม .ถูกต้อง เป็นธรรม
และสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ครอบคลุมในทุกมิติอย่างรอบคอบตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
รวมทั้งรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
เร่งดำเนินการจ่ายค่าทดแทนให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโดยเร็วและเป็นธรรม การขออนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าชดเชยให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิและจำนวนค่าชดเชย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
29 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายอโณทัย ไทยวรรณศรี) | ศธ. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง)
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๒๖
สิงหาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
30 | รัฐบาลไอร์แลนด์เสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย (นายแพทริก เบิร์น) | กต. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายแพทริก เบิร์น (Mr. Patrick Bourne) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งไอร์แลนด์ประจำประเทศไทยคนใหม่
สืบแทน โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายโจเซฟ แอนโทนี คอตเตอร์ (Mr.
Joseph Anthony Cotter) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
31 | รัฐบาลสหสาธารณรัฐแทนซาเนียเสนอขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สหสาธารณรัฐแทนซาเนียประจำประเทศไทย (นายฟลอเรียน รเวฮุมบีซา ลอเรียน) | กต. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายฟลอเรียน
รเวฮุมบีซา ลอเรียน (Mr. Florean Rwehumbiza
Laurean) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์สหสาธารณรัฐแทนซาเนียประจำประเทศไทย
สืบแทน นายวัฒนา เขียววิมล ซึ่งถึงแก่กรรม ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
32 | รัฐบาลญี่ปุ่นเสนอขอแต่งตั้งกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ จังหวัดเชียงใหม่ (นายฮิกูจิ เคอิจิ) | กต. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายฮิกูจิ เคอิจิ (Mr. HIGUCHI Keiichi) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ
จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา แพร่
แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์
สืบแทน นายฮิโรชิ มัตสึโมโตะ (Mr. Hiroshi Matsumoto) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
33 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายประเสริฐ ศิรินภาพร และนายสุริยน พัชรครุกานนท์) | นร16 | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒ ราย เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามกรอบอัตรากำลังที่ว่าง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ ดังนี้ ๑. นายประเสริฐ ศิรินภาพร ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๒. นายสุริยน
พัชรครุกานนท์ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
34 | รายงานผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะปี 2564 | ดศ. | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายศูนย์ราชการสะดวก
โดยมีผลการดำเนินการ ได้แก่ (๑) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผล
และการรับรองมาตรฐาน GECC (๒)
การส่งเสริมผลักดันให้หน่วยงานของรัฐมีการพัฒนาการให้บริการประชาชนตามมาตรฐาน GECC (๓) การตรวจประเมินมาตรฐาน GECC (๔)
การจัดพิธีมอบโล่และตรารับรองมาตรฐาน GECC ประจำปี (๕)
การตรวจประเมินการรักษามาตรฐาน GECC (๖) ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อน
GECC และ (๗) ผลที่คาดว่าจะได้รับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
35 | ร่างกฏกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ศธ. | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้คุรุสภาเป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
36 | ผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การปรับปรุงแบบฟอร์มการจดทะเบียนในหนังสือบริคณห์สนธิ ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง
การปรับปรุงแบบฟอร์มการจดทะเบียนในหนังสือบริคณห์สนธิ
ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร
สรุปผลการพิจารณาได้ว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้จัดทำแบบฟอร์มวัตถุประสงค์สำเร็จรูปในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการที่ขอจดทะเบียนโดยสามารถเลือกใช้แบบฟอร์มที่มีรายละเอียดวัตถุประสงค์ตรงกับกิจการของนิติบุคคล
ผลักดันให้มีการใช้ระบบการจดทะเบียนนิติบุคคลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) เพื่อเป็นการลดใช้กระดาษในการทำนิติกรรมต่าง
ๆ ให้น้อยลง (Paperless) และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
37 | รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 14 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา
๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ ๑๔ (เดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๔) สรุปได้ ดังนี้ (๑) ความคืบหน้าตามแผนการปฏิรูปประเทศระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม
๒๕๖๔ เช่น รายงานความคืบหน้าของกิจกรรม Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งมีความคืบหน้าทั้ง ๑๓ ด้าน
โดยมีสถานะการดำเนินการกิจกรรม Big Rock รวมทั้งสิ้น ๖๒
กิจกรรม ประกอบด้วย ๑) กิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผน รวม ๕๕ กิจกรรม และ ๒)
กิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน รวม ๗ กิจกรรม (๒)
ความคืบหน้ากฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ณ สิ้นเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ รวมทั้งสิ้น ๔๕ กิจกรรม ประกอบด้วย กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ๒ ฉบับ
และกฎหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ๔๓ ฉบับ (๓) ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ
เช่น การจัดทำคู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี
และแผนปฏิบัติราชการด้านต่าง ๆ
การจัดทำคู่มือโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ และ (๔)
การดำเนินการระยะต่อไป สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการการปฏิรูปประเทศ
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานร่วมดำเนินการกิจกรรม Big Rock เพื่อเร่งรัดขับการเคลื่อนการดำเนินการ การกำกับ
ติดตามการดำเนินโครงการภายใต้กิจกรรม Big Rock โดยหน่วยรับผิดชอบโครงการต้องนำเข้าข้อมูลแผนงาน/โครงการในระบบ
eMENSCR ให้ครบถ้วน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
38 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. | กค. | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ
กองทุนประกันชีวิต กองทุนประกันวินาศภัย
สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ธนาคารอาคารสงเคราะห์
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การยาสูบแห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รวม ๑๖ หน่วยงาน เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา
๖๓/๑๕ เพื่อให้สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้
อันจะทำให้การบังคับตามคำสั่งทางปกครองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
39 | การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อนำไปกำหนดเป็นอัตรากำลังแทนให้แก่ส่วนราชการที่ส่งข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล | นร.54 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖
(เรื่อง
ขออนุมัติเปิดที่ทำการสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสแห่งใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต
และขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสคนใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต)
เฉพาะในส่วนการกำหนดเขตกงสุลจากเดิมที่มีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดภูเก็ต เป็น
มีเขตกงสุลครอบคลุม ๔ จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา และระนอง |
||||||||||||||||||||||||||||||
40 | การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 (เรื่อง ขออนุมัติเปิดที่ทำการสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสแห่งใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต และขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสคนใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต) และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศส ณ จังหวัดภูเก็ต คนใหม่ (นายอาแล็ง โฟโด) | กต. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖
(เรื่อง
ขออนุมัติเปิดที่ทำการสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสแห่งใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต
และขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสคนใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต)
เฉพาะในส่วนการกำหนดเขตกงสุลจากเดิมที่มีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดภูเก็ต เป็น
มีเขตกงสุลครอบคลุม ๔ จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา และระนอง
|