ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 52 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2565 | อก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
(กอช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ในฐานะรองประธาน กอช. เป็นประธานการประชุม
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติที่ประชุม กอช. ดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๑) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน
และมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี ๒๕๗๐ โดยมีแนวทางดำเนินงาน ๓ มาตรการหลัก
ได้แก่ ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิม
กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และสร้างและพัฒนาระบบนิเวศสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ๒)
(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเซียนภายใน ๕ ปี
มีแนวทางดำเนินงาน ๔ มาตรการหลัก ได้แก่
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่กัญชง
ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมด้านการตลาด
และสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการประกอบการ และ ๓)
การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
มีแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ
๕ ปี (๒๕๖๖-๒๕๗๐)
จัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เข่น ควรคำนึงถึงความยั่งยืนในการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานอย่างครบวงจรเพื่อเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนทั้งในภาคเกษตร
อุตสาหกรรมและบริการ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ และกฎระเบียบอย่างอื่นอย่างเคร่งครัด
ควรติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กอช. เพื่อเสนอต่อ กอช.
และคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ การพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ควรให้ความสำคัญกับความต้องการของตลาดเป็นหลักจึงจะสามารถรองรับความผันผวนของราคาได้
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. 2566 - 2567 ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี | กก. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
และปีแห่งการแลกเปลี่ยนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗
ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
โดยบันทึกความเข้าใจฯ
มีสาระสำคัญเป็นการสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพร่วมกัน
ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.01 | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม บทนิยาม องค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
(กคร.) และคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัด
(กคร. จังหวัด) และกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเผยแพร่บัญชีการรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการเรี่ยไรและรายงานการเงินของการเรี่ยไรผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐนั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง) และสถานการณ์ปัจจุบัน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น การกำหนดคำนิยามคำว่า
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ”
ควรกำหนดให้ครอบคลุมถึงบุคคลและคณะบุคคลบรรดาซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นในระบบราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐด้วย ควรแก้ไขบทเฉพาะกาลตามร่างข้อ ๙
ให้สอดคล้องกับผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัดด้วย
ควรมีการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในระเบียบดังกล่าว
และหากมีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบดังกล่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเรี่ยไร
และกำหนดให้ กคร. มีอำนาจในการควบคุมเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐทั้งหมดอาจทำให้มีกรณีเกิดความล่าช้าและกระทบต่อประโยชน์ทางราชการ
ซึ่งหากมีการแต่งตั้ง กคร. ของกระทรวง/หน่วยงานขึ้นตรง
(ที่รัฐมนตรีกำกับดูแลเป็นประธาน) เป็นเอกเทศ แยกจาก กคร. เดิม ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานลงได้ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติ รายการ Thailand by UTMB | กก. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า
ขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(การกีฬาแห่งประเทศไทย) ประสานงานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) เกี่ยวกับรายละเอียดของแผนการดำเนินงานในการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติ
รายการ Thailand by UTMB ในปีต่อ ๆ ไป
ภายหลังปี ๒๕๖๖ ให้ชัดเจน
รวมทั้งขอให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ภายหลังสิ้นสุดการจัดการแข่งขันในแต่ละปีด้วย ๒. เห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิ่งเทรลระดับนานาชาติ
๒ รายการ รายการ Doi Inthanon Thailand By UTMB ประจำปี
๒๕๖๖-๒๕๖๘ (๓ ปี) และรายการ Amazean Jungle Thailand By UTMB
ประจำปี ๒๕๖๖-๒๕๗๑ (๖ ปี) และเห็นชอบกรอบวงเงิน ดังนี้ (๑) งบประมาณค่าลิขสิทธ์ การจัดการแข่งขันภายในกรอบวงเงิน
จำนวน ๑,๗๒๕,๐๐๐ ยูโร เป็นเงิน ๖๕,๕๕๐,๐๐๐ บาท และ (๒)
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการแข่งขันภายในกรอบวงเงิน ๔๐๙,๕๖๔,๕๐๐ บาท โดยให้การกีฬาแห่งประเทศไทยดำเนินการขอรับการสนับสนุนจากเอกชนและใช้เงินรายได้จากการบริหารสิทธิประโยชน์เป็นลำดับแรกก่อน
หากไม่เพียงพอและมีความจำเป็นให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นโอกาสแรกก่อน
และให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเป็นรายปีเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับแผนการดำเนินงานในแต่ละปี
ให้มีประสิทธิภาะและประสิทธิผล ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (การกีฬาแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
รวมทั้งความเห็นเพิ่มเติมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาจำกัดจำนวนผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขัน
เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่สามารถรองรับได้ต่อวัน
ควรคำนึงถึงความประหยัดและความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณ
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ความเสี่ยงและความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ควรประชาสัมพันธ์จังหวัดใกล้เคียงเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชื่อมโยงและกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564 | นร.12 | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการ
ประจำปี ๒๕๖๔ เป็นการายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
ประจำปี ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับคณะกรรมการที่สำนักงาน
ก.พ.ร. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ.
๒๕๖๔-๒๕๖๕) และสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ ส่วนที่ ๒
ข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญในแต่ละยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการของภาครัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี ๒๕๖๔ รายกระทรวง
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหน่วยงานต่อไป ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.
เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
รับข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทัศนคติของบุคลากรภาครัฐทุกระดับ
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ หน่วยงานควรเลือกเข้าชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง
ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลและสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ในระยะยาวและควรเร่งการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ในวงกว้างถึงความก้าวหน้าที่สำคัญของการดำเนินการที่ผ่านมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการพัฒนาเร่งระบบ e-Service และการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 | อว. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติมว่า
การดำเนินการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติในสถานะของส่วนราชการภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและภารกิจตามหน้าที่และอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด
รวมทั้งผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมก็มิได้น้อยกว่าหน่วยงานบริการและจัดการกองทุนอื่น
ๆ ที่มีสถานะเป็นองค์การมหาชนแต่ประการใด นอกจากนี้
บุคลากรของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้แสดงความประสงค์ขอคงสถานะของหน่วยงานให้เป็นส่วนราชการ
ดังนั้น จึงเห็นควรให้คงสถานะของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นส่วนราชการไว้ดังเดิมและที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๕๕
และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องตามนัยสรุปประเด็นสำคัญสำหรับการติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
เพื่อนำไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) การสร้างประชาคมอาเซียน เช่น
การสนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาตามหัวข้อหลัก “ASEAN
A.C.T. : Addressing Challenges Together” และการเตรียมความพร้อมความร่วมมือกับประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่
และการรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม จำนวน ๑๑ ฉบับ (๒)
ประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในเมียนมาและช่องแคบไต้หวัน
และ (๓) ความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอก เช่น
ไทยได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC
โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รวม ๖ ฉบับ)
โดยในส่วนของยูเครนยังมิได้มีการลงนามตราสารฯ เนื่องจากเมียนมายังดำเนินกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เช่น ควรดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรมีการยกระดับการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็นการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ
ขยะมูลฝอย และขยะพลาสติก
และประเด็นความมั่นคงในบางกรอบการประชุมอาเซียนที่ไม่ได้มอบหมายให้มีการติดตาม
อาทิ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งสำนักงานฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย) | กค. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง
ฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้เงินได้ที่นักแสดงสาธารณะที่เป็นนักแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศซึ่งดำเนินการสร้างโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้รับอนุญาตการสร้างตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ครบกำหนดเวลา ๕ ปี
นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้นักแสดงสาธารณะที่เป็นนักแสดงภาพยนตร์
ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับอันเนื่องมาจากการแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศ
ซึ่งดำเนินการสร้างโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้รับอนุญาตการสร้างตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์
ทั้งนี้
สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่กำหนดเวลา
๕ ปี นับแต่วันที่กฎกกระทรวงมีผลใช้บังคับ และให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๑๘๐ วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
เพื่อให้การดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย เพื่อให้การดำเนินมาตรการบรรลุเป้าหมาย
รวมทั้งสำรวจข้อมูลจำนวนและเงินลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
และจำนวนและเงินได้ของนักแสดงชาวต่างชาติที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการนี้เป็นรายปีจนสิ้นสุดมาตรการและนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลังทุกสิ้นปีเพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์
ความจำเป็น และประโยชน์ที่จะได้รับให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโนโอกาสแรก รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน | นร.12 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการให้องค์การทั้ง ๓ ประเภท ต้องได้รับการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
และให้ปรับระยะเวลาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒
ได้แก่ องค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน ๒๔ แห่ง
รวมทั้งองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยให้เริ่มประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒ เมื่อดำเนินการระยะที่
๑ ครบ ๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๙) ๒. เห็นชอบให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนดแนวทางการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและสำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับภารกิจ
บทบาท หน้าที่
และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการที่กำกับดูแลหน่วยงานนั้น
ควรสนับสนุนการพิจารณาความคุ้มค่าขององค์การมหาชนจากบทบาทและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานในระบบนิเวศที่องค์การมหาชนรับผิดชอบ
ควรให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามกรอบการประเมินความคุ้มค่าขององค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน
พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงาน ก.พ.ร. ควรระบุในข้อตกลงขอบเขตงาน (Term of Reference : TOR) ให้ที่ปรึกษามีกระบวนการบริหารจัดการความรู้เพื่อให้องค์การมหาชนมีองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้ประเมินตนเองในปีถัดไป
สำหรับการจัดตั้งองค์การมหาชนแห่งใหม่ขึ้นอีกในอนาคต
ควรพิจารณาเรื่องการเตรียมความพร้อมในการประเมินความคุ้มค่า
โดยให้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำคำขอจัดตั้งองค์การมหาชน
ควรมีการกำหนดแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการ
เพื่อให้กรอบระยะเวลาดำเนินงานชัดเจนและใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในส่วนของการใช้งบประมาณจัดจ้างที่ปรึกษาอย่างน้อยทุกห้าปี
อาจส่งผลต่อภาระงบประมาณของภาครัฐในอนาคต ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ๓. ในส่วนขององค์การมหาชนสมทบงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดการจ้างที่ปรึกษาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
นั้น ให้สำนักงาน ก.พ.ร. หารือกับองค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพลังงาน เช่น
ให้หน่วยงานสามารถเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปพลางก่อนจนกว่าจะมีเงินทุนสะสมหรือรายได้เพียงพอกับอัตราที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนด
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การสมทบงบประมาณ
โดยแบ่งตามสัดส่วนเงินทุนสะสมหรือรายได้แต่ละองค์การมหาชน
พิจารณากำหนดมาตรการอื่นหรือสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้กับองค์การมหาชน
เพื่อใช้ในการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
ควรเสนอของบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรงมากกว่ามาใช้งบสมทบจากองค์การมหาชนหากต้องการดำเนินการให้เป็นภาคบังคับ
และเสนอแนะให้มีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดอัตราสมทบที่แตกต่างกันขึ้นกับชุดปัจจัยจำนวนหนึ่งที่สะท้อนการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
และควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานและแหล่งที่มาของงบประมาณสำหรับองค์การมหาชนที่ไม่มีเงินทุนและรายได้ไว้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 | กค. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างกฎกระทรวงการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากร พ.ศ. .... | กค. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเพื่อกำหนดเพิ่มระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากร
(ของที่อยูในการควบคุมของกรมศุลกากรและยังไม่ได้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ครบถ้วนก่อนตรวจปล่อยของออกไป)
ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Customs Tracking and Monitoring Systems : CTMS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ควบคุม ติดตาม และตรวจสอบการขนส่งแบบ Real
Time ที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ (Thai
Customs Electronics System : TCES) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
การจัดเก็บค่าบริการการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรมิใช่ค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติศุลกากร
พ.ศ. ๒๕๖๐ และไม่สอดคล้องกับข้อ ๕
ของหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ
โดยได้กำหนดหลักการเรียกเก็บค่าบริการไว้ว่า ไม่พึงกำหนดค่าบริการไว้ในกฎหมาย และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นค่าบริการสำหรับวิธีระบบ
CTMS เป็นระยะเวลา ๑ ปี
ตามที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล กรมศุลกากรควรพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
รวมทั้งไม่เป็นภาระกับผู้ประกอบการและประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทราบต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2565 | กค. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สรุปได้ ดังนี้ (๑) เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี
๒๕๖๕ คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔)
อนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ ๑-๓ เป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน (๒)
การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้ม โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ ๑ ปี ๒๕๖๕
ขยายตัวร้อยละ ๒.๒ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาสที่ ๒ ปี ๒๕๖๕
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๖
มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวที่ร้อยละ ๓.๓ และ ๔.๒ ตามลำดับ
และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี ๒๕๖๕ เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ ๕.๖
ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายและคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยลดลงและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี
๒๕๖๖ ที่ร้อยละ ๒.๕ และเสถียรภาพทางระบบการเงินในช่วงครึ่งแรกของปี ๒๕๖๕
โดยรวมมีเสถียรภาพแต่ยังมีความเปราะบางในบางจุด โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและบางภาคธุรกิจที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่
(๓) การดำเนินนโยบายการเงิน ในช่วงไตรมาสที่ ๑ ของปี ๒๕๖๕
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ ๐.๕ ต่อปี
เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง
และเห็นควรผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้มีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และ (๔)
การสื่อสารนโยบายการเงิน ในช่วงครึ่งแรกของปี ๒๕๖๕ กนง.
ได้เน้นการสื่อสารเกี่ยวกับเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลาง
และประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินนโยบายการเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ
เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อนโยบายการเงิน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.12 | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน
(Joint
KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยมีกรอบแนวทางและเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
รวมทั้งกำหนดการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพิ่มเติมจากปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ใน ๓ ประเด็น ได้แก่ (๑) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (๒)
การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ ๓) การท่องเที่ยว
และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนตัวชี้วัดดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับสำนักงาน
ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.
รวมทั้งข้อสังเกตและความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ให้ครอบคลุมภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
และควรมีการทบทวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวชี้วัดเป็นระยะ
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ขออนุมัติโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 2 | กษ. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ ๒ เพื่อชดเชยเยียวยาและบรรเทาผลกระทบให้กับเจ้าของเรือประมงจากมาตรการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของภาครัฐ
และรักษาความสมดุลของจำนวนเรือประมงพาณิชย์กับปริมาณสัตว์น้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการโครงการ
โดยมีงบประมาณค่าใช้จ่ายในการชดเชยเรือประมง จำนวน ๕๙ ลำ เป็นเงิน ๒๘๗,๑๘๑,๘๐๐ บาท โดยขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี
๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำหนดมาตรการและกำกับดูแลให้เรือออกนอกระบบได้อย่างแท้จริง ควรดูแลและสนับสนุนให้ผู้ที่ไม่ประสงค์จะทำการประมงได้มีโอกาสในการประกอบอาชีพอื่น
ควรพิจารณาทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากเรือประมงที่นำออกนอกระบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | นร.10 | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(กพศ.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และเห็นชอบการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปางเป็นระเบียงฯ ภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor : NEC-Creative LANNA (๒) ให้พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี
และจังหวัดหนองคาย เป็นระเบียงฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Northeastern
Economic Corridor : NeEC-Bioeconomy (๓) ให้พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี เป็นระเบียงฯ
ภาคกลาง-ตะวันตก หรือ Central-Western Economic Corridor : CWEC และ (๔) ให้พื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นระเบียงฯ ภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor
: SEC ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น การกำหนดพื้นที่ระเบียงฯ ๔ ภาค
และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการพัฒนาอื่น
ๆ
ควรคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาควบคู่กับความสามารถในการรองรับและจำกัดของพื้นที่
ควรมีการพิจารณาเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์กับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และควรมีมาตรการทางภาษีสำหรับผู้ที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศ ปีงบประมาณ 2565 สำหรับแผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565-2566 ซึ่งเป็นแผนงานระยะยาวใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง | มท. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ทส. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕
ประกอบด้วย (๑) รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี ๒๕๖๔ (๒) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (๓) ร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ (๔) ร่างกรอบทิศทางการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ตามมาตรา ๒๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๓๕ ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (๕)
การกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตไฟฟ้า
(ยกเว้นโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง) และ (๖)
การกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การชำระค่าบำรุงสมาชิกคณะกรรมการด้านนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Committee on Digital Economy Policy: CDEP) ภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) | ดศ. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการชำระค่าบำรุงสมาชิกรายปีในอัตราที่
OECD กำหนดเป็นประจำทุกปี
โดยไม่ต้องเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายในการชำระค่าบำรุงสมาชิกในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ
๑๐ ตามมติของ External Relation Committee ภายใต้ OECD
ให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับแผนการใช้จ่ายในส่วนที่เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ไปดำเนินการก่อนในโอกาสแรก สำหรับภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป
ให้จัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง โดยรายงานการจ่ายเงินค่าบำรุงสมาชิก
และผลประโยชน์หรือผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา สำหรับโครงการปรับปรุงถนนหมายเลข 67 ช่วงเสียมราฐ-อันลองเวง-จวม/สะงำ ราชอาณาจักรกัมพูชา | กค. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||