ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 8 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 146 จากข้อมูลทั้งหมด 146 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | รายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 | นร.12 | 30/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย (๑)
ผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการประกาศช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในการติดต่อราชการและระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการปฏิบัติงานตามมาตรา
๒๐ แห่ง พระราชบัญญัติฯ โดยสำนักงาน. ก.พ.ร.
ได้มีการสำรวจสถานะของการดำเนินการดังกล่าวในระยะแรก (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม
๒๕๖๖) พบว่า หน่วยงานของรัฐทั้งหมด ๘,๒๙๔ หน่วยงาน ดำเนินการออกประกาศกำหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชนติอต่อราชการตามมาตรา
๑๐ แล้ว จำนวน ๖,๗๘๒ หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ ๘๒
ของหน่วยงานของรัฐทั้งหมด และดำเนินการกำหนดระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา
๑๖ แล้ว จำนวน ๖,๖๓๑ หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ของหน่วยงานของรัฐทั้งหมด
และ (๒) การขอยกเว้นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งจะต้องออกเป็นกฎกระทรวงเพื่อยกเว้นการดำเนินการมีหน่วยงานเสนอขอยกเว้นฯ
จำนวน ๘ หน่วยงาน รวม ๓๕๕ งานบริการ ได้รับยกเว้น ๕๑ งานบริการ เช่น
หนังสือเดินทาง (Passport) คำสั่งอื่นของบุคคลสัญชาติไทย
เนื่องจากเจ้าพนักงานไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องที่แท้จริงของข้อมูลได้ ทั้งนี้
สำหรับการดำเนินการในระยะต่อไป สำนักงาน ก.พ.ร.
จะติดตามเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามมาตรา ๒๐ ให้ครบถ้วนโดยเร็ว รวมถึงสร้างการรับรู้ให้หน่วยงานของรัฐรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา
๒๐ ผ่านระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th) ที่เป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้อย่างเบ็ดเสร็จครบวงจร
ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
142 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 24 | กต. | 30/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหภาพยุโรป
(ASEAN-EU Ministerial Meeting-AEMM) ครั้งที่ ๒๔ มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างกันภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์
และส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมความเชื่อมโยงอย่างยั่งยืน
การเพิ่มพูนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมการค้าการลงทุน
การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางไซเบอร์
รวมถึงการแสดงท่าทีร่วมกันในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานภายใต้ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
143 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | มท. | 16/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง
อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
แปลง “ที่เลี้ยงสัตว์เขาบายสี” บางส่วนในท้องที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ
จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ประมาณ ๙๕ ไร่ เพื่อให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินใช้เป็นที่ตั้งศูนย์พัฒนาวิชาชีพตรวจสอบของประเทศ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
144 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานแม่น้ำท่าจีน เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. .... | กษ. | 16/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
145 | ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม พ.ศ. .... | ทส. | 09/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต
การโอนใบอนุญาต และการอนุญาต รวมทั้งการขอและการออกใบแทนใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่
๒ และประเภทที่ ๓ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรกำหนดเพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่แจ้งเหตุแห่งการจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบให้ผู้ยื่นคำขอทราบด้วย
ควรพิจารณากรอบระยะเวลาให้มีความเหมาะสมที่จะไม่ก่อให้เกิดการดำเนินการที่ล่าช้าเกินสมควรและส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
และในระยะต่อไป กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำควรพิจารณาปรับปรุงกรอบระยะเวลาในการขออนุญาตใช้น้ำตามหมวด
๒ การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้กระชับขึ้น
เพื่ออำนวยความสะดวกต่อภาคการผลิตและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ไปประกอบการพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
146 | ร่างกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในหมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 รวม 3 ฉบับ | นร.14 | 09/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการ ๑.๑
ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำแต่ละประเภท พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะหรือรายละเอียดของการใช้น้ำสาธารณะซึ่งจัดแบ่งออกเป็น
๓ ประเภท ๑.๒
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สอง และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สาม
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่ ๒
และประเภทที่ ๓ ซึ่งไม่เกินอัตราที่กำหนดในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.
๒๕๖๑ ๑.๓
ร่างกฎกระทรวงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าใช้น้ำสำหรับการใช้น้ำประเภทที่สองและการใช้น้ำประเภทที่สาม
และการเรียกเก็บ ลดหย่อน หรือยกเว้นค่าใช้น้ำ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่าใช้น้ำสำหรับการใช้น้ำประเภทที่
๒ และประเภทที่ ๓ รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกเก็บ ลดหย่อน
หรือยกเว้นค่าใช้น้ำ รวม ๓ ฉบับ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เช่น ๑) ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สองและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สาม
พ.ศ. .... เนื่องจากร่างกฎกระทรวงดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดมิให้นำความในมาตรา
๔๘
มาใช้บังคับแก่การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะที่เป็นน้ำบาดาลตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล
ดังนั้น การกำหนดให้กิจการตาม ข้อ ๓ ให้ได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตลงกึ่งหนึ่ง
หรือการกำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียม ตามข้อ ๔
แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม
สำหรับการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะที่เป็นน้ำบาดาลจะสอดคล้องกับมาตรา ๕๕ หรือไม่ ๒) ควรระบุวัตถุประสงค์ของการใช้น้ำว่าเป็นการใช้น้ำเพื่ออุตสาหกรรมหรือวัตถุประสงค์
เพื่อการผลิตของนิคมอุตสาหกรรม เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกำหนดคำนิยามของผู้ใช้น้ำประเภทที่
๓ ให้ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงการพิจารณาว่าผู้ใช้น้ำจะเป็นผู้ใช้น้ำประเภทที่ ๒ หรือ
๓ ควรกำหนดจากปริมาณน้ำที่ใช้ เนื่องจากจะมีผลในการคิดค่าธรรมเนียมและอัตราการใช้น้ำทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวม และ ๓) ในกรณีกลุ่มเกษตรกรที่เกิดจากการรวมกลุ่ม
หรือกลุ่มผู้ใช้น้ำในแหล่งน้ำขนาดเล็ก โดยใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตหรืออุปโภคบริโภคภายในกลุ่ม
การใช้น้ำลักษณะดังกล่าวเข้าหลักเกณฑ์การใช้น้ำประเภทที่หนึ่ง ตามข้อ ๒ (๓)
หรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันมีกลุ่มเกษตรกรในลักษณะที่มีการรวมกลุ่มเกินกว่า ๑๐ คน
เป็นจำนวนมาก การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอาจเป็นการสร้างข้อจำกัดในการรวมกลุ่มและภาระค่าใช้จ่ายซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรงและการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
๒. ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เช่น ๑)
เมื่อร่างกฎกระทรวงมีผลใช้บังคับแล้วจำเป็นต้องมีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวอย่างทั่วถึงเพื่อจะได้มีความรู้
ความเข้าใจและถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องต่อไป การดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำ ลำคลอง
บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ ทะเล หรือบนชายหาดของทะเล ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วย ๒) ควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดดำเนินการให้มีการออกกฎหมายลำดับรอง
ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่เหลืออยู่นอกเหนือกฎกระทรวงทั้ง
๓ ฉบับดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และ ๓) ควรมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจในหลักการและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงทั้ง
๓ ฉบับ ให้กับผู้ใช้น้ำดังกล่าวอย่างทั่วถึงต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |