ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 7 จากทั้งหมด 8 หน้า แสดงรายการที่ 121 - 140 จากข้อมูลทั้งหมด 146 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
121 | ขอความเห็นชอบแผนความต้องการอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2572 | อว. | 26/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแผนความต้องการอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์
ศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘-๒๕๗๒ จำนวน ๖๖๒ อัตรา
งบประมาณรวมทั้งสิ้น ๒๓๗,๙๘๖,๔๐๐ บาท ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน
ก.พ.ร. รวมทั้งข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น การขอกรอบอัตรากำลังเพิ่มใหม่ควรดำเนินการโดยคำนึงถึงหลักการและแนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลังที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) การจ้างบุคลากรในสายสนับสนุนควรพิจารณาตามความจำเป็นและความเหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจ
โดยใช้รายได้ของมหาวิทยาลัยมาสมทบเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากร ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับงบประมาณรองรับแผนอัตรากำลังดังกล่าวให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอรับการจัดสรรงบประมาณโดยพิจารณาดำเนินการเท่าที่จำเป็นตามภารกิจหลักอย่างประหยัดและคุ้มค่า
และคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงิน
โดยใช้จ่ายจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นลำดับแรก
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
122 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. .... | คค. | 26/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดคำธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตหรือใบรับรองที่กำหนดขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ แก้ไขปรับปรุงการจำแนกประเภทใบอนุญาตและใบรับรอง
รวมทั้งอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราขั้นสูงสำหรับค่าบริการในสนามบิน
พ.ศ. ๒๕๕๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่สะท้อนต้นทุน
และความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
123 | ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-ลาว เพื่อดูแลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง ครั้งที่ 4 | มท. | 26/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-ลาว
เพื่อดูแลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง (Joint Committee for Management on Mekong River and Heung
River : JCMH) ครั้งที่ ๔ และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกการประชุมฯ
โดยร่างบันทึกการประชุมฯ มีประเด็นที่สำคัญคือ
การปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดมาตรฐานด้านเทคนิคการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง
และข้อกำหนดทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการดูดทรายตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกการประชุมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
รวมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ปัจจุบันยังคงพบปัญหาความไม่ชัดเจนของเขตแดนร่องน้ำลึกของแม่น้ำโขงระหว่างไทยและ
สปป.ลาว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในแม่น้ำโขง เช่น
การเปลี่ยนแปลงของเกาะหรือดอนในแม่น้ำโขง การขยายตัวของชุมชนตามแนวชายแดน
การสร้างท่าเทียบเรือและตลิ่ง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางหรือกลไกในการบูรณาการข้อมูลร่วมกันระหว่างคณะกรรมการ/คณะกรรมาธิการต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแม่น้ำโขงและพื้นที่เกี่ยวเนื่องร่วมกับ สปป.ลาว
และประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การกำหนดนโยบายและการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายไทยเป็นไปอย่างมีเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
124 | รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี | ทส. | 26/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
กรณีการแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน
จังหวัดเพชรบุรี ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป สรุปได้ดังนี้ ๑. การเร่งรัดพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
พ.ศ. .... ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ๒. การพิจารณาจัดตั้งกลไกในการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยให้เป็นรูปธรรม
มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง
ๆ จัดตั้งกลไกในการดำเนินงาน ได้แก่ ๑) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเพชรบุรี
ได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในด้านต่าง
ๆ ๒) มีหน่วยงานหลายภาคส่วน เช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กรมทรัพยากรน้ำ ได้เข้าไปพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน
การเกษตร ระบบน้ำ - ไฟฟ้า ชีวิตความเป็นอยู่ ๓) มีหน่วยงานต่าง ๆ
ได้ให้ความช่วยเหลือโดยให้สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐได้ เช่น กระทรวงสาธารณสุขให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการรักษาพยาบาล
และกระทรวงศึกษาธิการ ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ๔) กระทรวงมหาดไทยได้สำรวจการถือครองที่ดินจัดทำทะเบียนประวัติสถานะบุคคลและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ๓. การบูรณาการการแก้ไขปัญหาโดยใช้กลไกตามข้อ ๒
นั้น
กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันใน
๕ ขั้นตอน ดังนี้ ๑) ให้มีคณะทำงานที่มีองค์ประกอบทั้ง ๓ ฝ่าย ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และคณะกรรมการอิสระ ๒) ให้มีการสำรวจที่อยู่อาศัย ที่ทำกินของประชาชนในพื้นที่บ้านบางกลอยให้แล้วเสร็จ
๓) จัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ ๔) ให้ชาวบ้านได้เข้าไปทดลองใช้ประโยชน์ในพื้นที่
โดยมีหน่วยงานเข้าไปกำกับดูแล และ ๕) ให้มีการประเมินผลการทดลอง รวมทั้งได้มีคณะทำงานและคณะกรรมการหลายชุด
เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยมาโดยตลอดด้วยแล้ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
125 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2571 | อว. | 19/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘-๒๕๗๑ ของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน ๗๓๑ งบประมาณรวมทั้งสิ้น ๒๐๘,๐๗๕,๓๒๐ บาท และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและมหาวิทยาลัยพะเยารับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร.
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรดำเนินการโดยคำนึงถึงหลักการและแนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลัง
การจ้างงานบุคลากรในสายสนับสนุนควรพิจารณารูปแบบตามความจำเป็นและความเหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจ
โดยใช้เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมาสมทบเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรดังกล่าวให้สอดคล้องกับศักยภาพในการจัดการศึกษาและรายได้ของมหาวิทยาลัย
การขยายศักยภาพของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยาในการให้บริการจาก ๕๖ เตียง เป็น ๒๖๔
เตียง ภายในปี ๒๕๗๑ ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดตั้งและปรับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับงบประมาณรองรับแผนอัตรากำลังดังกล่าว
ให้มหาวิทยาลัยพะเยาขอรับการจัดสรรงบประมาณโดยพิจารณาดำเนินการเท่าที่จำเป็นตามภารกิจหลักอย่างประหยัดและคุ้มค่า
และคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้จ่าย
โดยเฉพาะรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่หรือสามารถนำมาใช้จ่ายเป็นลำดับแรก
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ
และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการภาครัฐอย่างยั่งยืน
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
126 | สรุปผลการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 | นร.11 สศช | 19/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ในการปฏิบัติราชการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน
๒
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
127 | แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 | นร.10 | 12/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๖-๒๕๗๐ ตามมติคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ เมื่อวันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติสำหรับให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐใช้ในการพัฒนาองค์กร
และบุคลากรภาครัฐใช้ในการวางแผนพัฒนาตนเองและพัฒนางานต่อเนื่องจากแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕ รวมทั้งได้นำแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล
(ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕) ผนวกรวมเข้ามาเป็นฉบับเดียวกัน กำหนดประเด็นการพัฒนา
๓ ประเด็น ได้แก่ (๑) การพัฒนาองค์กร เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนา (๒)
การพัฒนากรอบแนวคิดและทักษะให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนภารกิจภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
และ (๓)
การพัฒนากรอบความคิดและทักษะด้านดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนการเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตามที่สำนักงาน
ก.พ. เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น
ควรคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับมาตรการบริหารอัตรากำลังปกติ เนื่องจากการควบคุมอัตรากำลังควรมีความสอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด
รวมทั้งอาจพิจารณาความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการเพื่อให้การพัฒนาบุคลากรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ควรมีคำอธิบายและคำนิยามของตัวชี้วัดส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐ หลักเกณฑ์
วิธีการประเมิน
เครื่องมือการวัดผลที่สามารถสะท้อนการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดได้อย่างชัดเจน ควรมีการกำหนดหลักสูตรกลาง
เพื่อให้ส่วนราชการสามารถส่งบุคลากรไปพัฒนาได้ตรงกับแนวทางที่ ก.พ. กำหนด
และมีการจัดอบรมให้กับบุคลากรที่รับผิดชอบด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเชี่ยวชาญ
และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
128 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ | กต. | 03/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ
เพื่อฉลองวาระครบรอบ ๕๐ ปี ความสัมพันธ์ จำนวน ๒ ฉบับ ได้แก่ (๑)
ร่างวิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลีย
หุ้นส่วนเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง (ASEAN-Australia
Leaders’ Vision Statement-Partners for Peace and Prosperity) มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียต่อเนื่องจากช่วง
๕๐ ปีที่ผ่านมา และ (๒) ร่างปฏิญญาเมลเบิร์น หุ้นส่วนความร่วมมือเพื่ออนาคต (Melborne
Declaration-A Partnership for the Future) มีสาระสำคัญ เช่น
การปกป้องความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค การส่งเสริมอนาคตที่ยั่งยืน
และกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ในกรณีที่ต้องมีการปรับแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
ให้กระทรวงการต่างประเทศรวบรวมผลการปรับแก้ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
ความตกลงระหว่างประเทศของกรอบความร่วมมืออื่น ๆ
รวมทั้งผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องรายงานต่อคณะรัฐมนตรีทราบในคราวเดียวกัน รวมทั้งควรสื่อสารผลลัพธ์ให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
129 | การลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) | นร.01 | 03/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗) ขอความร่วมมือให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งภาคเอกชนและประชาชนในทุกภาคส่วนให้การส่งเสริม สนับสนุน
และช่วยกันพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต และดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่
๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารและศักยภาพในด้านต่าง
ๆ ของทั้ง ๓ จังหวัด
เพื่อดึงดูดการลงทุนและนักท่องเที่ยวให้เดินทางไปยังพื้นที่ดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น
นั้น จากการลงพื้นที่ดังกล่าวเมื่อวันที่ ๒๗-๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา ได้เห็นถึงโอกาสและศักยภาพของทั้ง
๓ จังหวัด ทั้งในด้านการท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อาหาร และผลิตภัณฑ์ของชุมชนต่าง
ๆ
(ที่พร้อมรับการสนับสนุนและผลักดันจากทุกภาคส่วนให้เจริญเติบโตและแพร่ขยายออกไปในวงกว้าง
ดังนั้น จึงขอให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทาง/มาตรการต่าง
ๆ ในกรอบหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานเพื่อดำเนินการสนับสนุน ส่งเสริมการเจริญเติบโต
และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทุกมิติ ทั้งนี้
ให้รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น การยกระดับท่าอากาศยานเบตง
รวมตลอดถึงการยกระดับการศึกษา การปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยว การสร้างพิพิธภัณฑ์ เครื่องทองเหลือง
การตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงเอกสารโบราณและคัมภีร์อัลกุรอาน
การยกระดับอาหารและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชน เช่น ปลานิลสายน้ำไหล ปลาพลวงชมพู
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
130 | รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกี่ยวกับเรื่อง ขอให้สั่งการส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่บริเวณเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล | ทส. | 03/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกี่ยวกับเรื่อง
ขอให้สั่งการส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่บริเวณเกาะหลีเป๊ะ
จังหวัดสตูล โดยได้รวบรวมผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปผลในภาพรวมได้
ดังนี้ ๑) สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงกรณีปัญหาข้อพิพาทในที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเล
เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่เกาะหลีเป๊ะ
ให้ได้รับการแก้ไขปัญหาด้วยความเป็นธรรมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการและมีการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ๒) กรณีปัญหาการปิดกั้นทางสาธารณะ คณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน
จำนวน ๓ คณะ ได้แก่ (๑) คณะอนุกรรมการตรวจสอบสิทธิในที่ดิน
กระบวนการครอบครองหรือออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน (๒) คณะอนุกรรมการบังคับใช้กฎหมายกรณีข้อพิพาทในที่ดินเกาะหลีเป๊ะ
จังหวัดสตูล และ (๓) คณะอนุกรรมการส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนชาวเล
เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ๓) กรณีการจัดการด้านผังเมืองเพื่อพัฒนาพื้นที่
คณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อมูลฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนชาวเล
เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล เพื่อแก้ไขปัญหา โดยได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการวางผังเมืองและกำหนดเขตวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวเล
และ ๔) การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่บริเวณเกาะหลีเป๊ะ
ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
เกี่ยวกับปัญหาของชาวเลต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายประมงและกฎหมายอุทยานแห่งชาติ คณะอนุกรรมการบังคับใช้กฎหมายฯ
ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยรับเรื่องร้องทุกข์และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
131 | ร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... | สธ. | 03/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.
๒๕๕๑ โดยปรับปรุงบทนิยาม องค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของรัฐมนตรีผู้รักษาการ คณะกรรมการต่าง
ๆ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพนักงานเจ้าหน้าที่ บทบัญญัติเกี่ยวกับการโฆษณา
และการส่งเสริมและสนับสนุนการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตลอดจนกำหนดเวลาห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสถานที่หรือบริเวณสถานที่จัดบริการเพื่อให้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์ทางการค้า
รวมทั้งบทกำหนดโทษ เพื่อให้การบังคับกฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
132 | การร่วมรับรองเอกสารกรอบการอำนวยความสะดวกด้านบริการของอาเซียน สำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) | พณ. | 27/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารกรอบการอำนวยความสะดวกด้านบริการของอาเซียน
(ASFF) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารดังกล่าวในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
(AEM) โดยร่างเอกสาร ASFF มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและอำนวยความสะดวกด้านการค้าบริการในภูมิภาคและพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันของอาเซียน
มีสาระสำคัญ อาทิ การสร้างความเป็นธรรมและการเปิดโอกาสให้เศรษฐกิจบริการของอาเซียน
การส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสด้านกฎระเบียบภายในประเทศ
การส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคบริการ เป็นต้น ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารกรอบการอำนวยความสะดวกด้านบริการของอาเซียน
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวและให้กระทรวงพาณิชย์
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่เห็นว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ควรร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ประสานการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเร่งรัดการขยายผลระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) ให้ครอบคลุมการออกหนังสือรับรองและใบอนุญาตทุกประเภทรวมถึงระบบการชำระค่าธรรมเนียมและการติดตามสถานะผ่านรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร
ณ จุดเดียว ตลอดจนพัฒนาพื้นที่การให้บริการให้ทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
อย่างทั่วถึง
ควรส่งเสริมให้มีการทบทวนระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการบริหารจัดการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
และเอื้อต่อการทำธุรกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของประชาชน
โดยต้องให้ความคุ้มครองผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบอย่างเป็นธรรม
และควรคำนึงถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและรักษาความลับทางการค้าอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันในระดับภูมิภาค
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
133 | แนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมฮาลาลในภูมิภาค | อก. | 27/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล
ของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมฮาลาลในภูมิภาค
และมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน
ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. เช่น ร่างแผนปฏิบัติการฯ
ควรมีการจัดการด้านการรับรองมาตรฐานสินค้าฮาลาลที่ส่งผล และการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของร่างแผนปฏิบัติการฯ
ควรเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนเพื่อสะท้อนความสำเร็จของการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลไทย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
134 | การขยายระยะเวลาการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติคาซัคสถาน เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว | กต. | 20/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการในการกำหนดให้สาธารณรัฐคาซัคสถานเป็นรายชื่อประเทศ/ดินแดนในประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
กำหนดรายชื่อประเทศ/ดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน
โดยมีเงื่อนไขให้มีผลใช้บังคับชั่วคราวเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม-๓๑ สิงหาคม
๒๕๖๗ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมิติเศรษฐกิจและการต่างประเทศกับสาธารณรัฐคาซัคสถานในภาพรวม
โดยเฉพาะด้านความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนสองฝ่ายที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์จนกว่าการจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐคาซัคสถานเป็นการถาวรจะแล้วเสร็จ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒. เห็นชอบหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
กำหนดให้ผู้ถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของสาธารณรัฐคาซัคสถานซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว
ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน
เป็นกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขชื่อร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
และความในร่างข้อ ๑ ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงมหาดไทย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ที่เห็นว่าควรพิจารณาดำเนินมาตรการคัดกรองบุคคลอย่างเข้มงวด
ควบคู่กับการประสานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองระหว่างไทย คาซัคสถาน
เนื่องจากในห้วงที่ผ่านมา พบความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มก่อการร้ายท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียกลาง
โดยเฉพาะทาจิกิสถานและคาซัคสถาน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้ายสากล อาทิ
กลุ่ม ISIS ในซีเรีย
ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มก่อการร้าย/อาชญากรอาจแสวงประโยชน์จากการยกเว้นการตรวจลงตรา
โดยใช้ไทยเป็นทางผ่านหรือเป็นพื้นที่หลบซ่อน (safe heaven) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
135 | ขอความเห็นชอบในหลักการและเป็นโครงการต่อเนื่องสำหรับโครงการผลิตแพทย์และทีมนวัตกรรมสุขภาพเพื่อเวชศาสตร์ครอบครัวตอบสนองต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิทั่วไทย | สธ. | 20/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการแก้ไขชื่อเรื่องนี้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง
จากเดิม “ขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป
สำหรับโครงการผลิตแพทย์และทีมนวัตกรรมสุขภาพเพื่อเวชศาสตร์ครอบครัวตอบสนองต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิทั่วไทย”
เป็น “ขอความเห็นชอบในหลักการและเป็นโครงการต่อเนื่องสำหรับโครงการผลิตแพทย์และทีมนวัตกรรมสุขภาพเพื่อเวชศาสตร์ครอบครัวตอบสนองต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิทั่วไทย”
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ๒. เห็นชอบมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขตามโครงการดังกล่าว
โดยคำนึงถึงความพร้อมของหัตถการทางการแพทย์ ความซ้ำซ้อนของภารกิจและภาระงบประมาณที่เกิดขึ้นเท่าที่จำเป็นและเหมาะสม
สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ
รวมทั้งนำผลการดำเนินงานโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-พ.ศ. ๒๕๗๐
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๒ และวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๕ ที่กำหนดเป้าหมายการผลิตแพทย์เพื่อรองรับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข
อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรในภาพรวม ๑ : ๑,๒๐๐ คน ประกอบการพิจารณาเหตุผลความจำเป็นด้วย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข
โดยสถาบันพระบรมราชชนกควรพิจารณาการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศอย่างเป็นระบบ
รวมทั้งคำนึงถึงการคัดเลือกผู้ที่มีศักยภาพเข้ารับการศึกษา ความคุ้มค่า
และความพร้อมของสถานศึกษา ตลอดจนมีการติดตามประเมินผลโครงการเป็นรายปี
เพื่อให้สามารถปรับแผนการดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการดังกล่าว ให้กระทรวงสาธารณสุข
โดยสถาบันพระบรมราชชนกจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณพร้อมทั้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีและพิจารณาความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน หรือนำเงินนอกงบประมาณมาสมทบตามความพร้อม
ความจำเป็นและความเหมาะสมที่จะต้องใช้จ่ายในแต่ละปีงบประมาณ
รวมทั้งพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น (๑)
ควรวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุข
รวมถึงความซ้ำซ้อนของโครงการในลักษณะเดียวกัน (๒)
ควรพิจารณาทบทวนเป้าหมายการผลิตให้สอดคล้องกับศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนของสถาบันพระบรมราชชนก
และ (๓) ควรมีการวางแผนรองรับการบรรจุและวางระบบบริหารจัดการอัตรากำลัง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมด้วย
ดังนี้ ๓.๑
บริหารจัดการโครงการผลิตแพทย์และทีมนวัตกรรมสุขภาพเพื่อเวชศาสตร์ครอบครัวตอบสนองต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิทั่วไทย
(โครงการผลิตแพทย์ฯ) ให้สอดคล้องและต่อเนื่องกับแผนการผลิตแพทย์ตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๗๐ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๕ [(เรื่อง
โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๗๐ (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่
๒ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗o)] รวมถึงกำหนดเป้าหมายของการผลิตบุคลากรทางการแพทย์
การพยาบาล และการสาธารณสุขในภาพรวมในแต่ละช่วงเวลาให้ชัดเจนและมีสัดส่วนที่เหมาะสมกับโครงสร้างประชากรและความต้องการด้านการบริการสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ ๓.๒
กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมโครงการผลิตแพทย์ฯ และเงื่อนไขการชดใช้ทุนให้มีความเหมาะสม
ตลอดจนวางแผนทางก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของบุคลากรทางการแพทย์ การพยาบาล
และการสาธารณสุขให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถธำรงรักษาบุคลากรที่เกี่ยวข้องไว้ในระบบราชการและในพื้นที่ชนบทได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ๓.๓
ร่วมกับสถาบันพระบรมราชชนกเร่งเตรียมความพร้อมของสถาบันการศึกษาที่รับผิดชอบการผลิตบุคลากรภายใต้โครงการผลิตแพทย์ฯ
เพื่อให้สามารถจัดเตรียมหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
136 | การรับรองร่างปฏิญญาวังเวียงว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจวัฒนธรรมขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | วธ. | 20/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาวังเวียงว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจวัฒนธรรมขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองร่างปฏิญญาฯ
โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญในการเสริมสร้างการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาเซียน
โดยเฉพาะในด้านการเรียนรู้และด้านสมรรถนะของวิสาหกิจวัฒนธรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างศักยภาพสำหรับวิสาหกิจวัฒนธรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในอาเซียน
สนับสนุนกิจกรรมต้นน้ำภายใต้ภาคส่วนวัฒนธรรมและศิลปะในระดับที่ต่างกัน
(ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศ) รวมถึงยืนยันบทบาทและการสนับสนุนที่สำคัญของภาควัฒนธรรมและศิลปะในเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ ที่เห็นว่าร่างปฏิญญาฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
กอปรกับไม่มีการลงนามในร่างปฏิญญาดังกล่าว ดังนั้น ร่างปฏิญญาฯ
จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาวังเวียงว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจวัฒนธรรมขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
137 | รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2566 | นร.12 | 13/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา ๑๖๕ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๖ สรุปได้ ดังนี้ (๑) มาตรา ๑๖๕
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ บัญญัติให้ประธาน ก.พ.ร. เชิญผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาร่วมกันพิจารณาเพื่อดำเนินการให้หน่วยงานดังกล่าวรับผิดชอบในการป้องกันและปราบปราม
การสืบสวน และการสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายนั้น โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและการบูรณาการในการปฏิบัติหน้าที่ และการแบ่งเบาภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และให้สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานความคืบหน้าต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบทุกสามเดือน (๒)
ที่ผ่านมาสำนักงาน ก.พ.ร. ได้เสนอรายงานความคืบหน้ามาแล้ว ๒ ครั้ง โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบด้วยแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ประชุมหารือร่วมกันและมีข้อยุติว่า
ให้ตัดโอนภารกิจด้านการป้องกัน การปราบปราม การสืบสวน (ก่อนการจับกุม)
และการจับกุมภายใต้กรอบกฎหมาย ๘ ฉบับ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ส่วนภารกิจด้านการสอบสวนตำรวจยังคงรับผิดชอบเช่นเดิม (๓)
ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๖ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รองรับภารกิจการดำเนินการตาม มาตรา ๑๖๕ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕
ภายใต้กรอบกฎหมาย ๘ ฉบับ เรียบร้อยแล้ว ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ระหว่างดำเนินการวางกรอบอำนาจหน้าที่และปรับโครงสร้างอัตรากำลังของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(บก.ปทส.) ให้สอดคล้องกับภารกิจที่ลดลง และ (๔) การดำเนินการในระยะต่อไป ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดดำเนินการปรับโครงสร้างและอัตรากำลังของ
บก.ปทส. รวมทั้งยกร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบหรือเปลี่ยนแปลง บก.ปทส.
ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๗ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการตามคู่มือปฏิบัติงานฯ
และให้สำนักงาน ก.พ.ร. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
138 | การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด และตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.12 | 06/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด
และตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
ซึ่งส่วนราชการ : มุ่งเน้นการบูรณาการการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล
ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓
แผนงานบูรณาการ การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และดัชนีชี้วัดสากล
(International KPIs) โดยให้กระทรวงมีบทบาทหลักเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณากำหนดตัวชี้วัดและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
ผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง จังหวัด
: มุ่งเน้นการบูรณาการการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายระดับชาติและนโยบายสำคัญของรัฐบาลเช่นเดียวกับส่วนราชการ
รวมถึงนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงมหาดไทย โดยให้ กระทรวงมหาดไทยมีบทบาทหลักในการพิจารณาความเหมาะสมของตัวชี้วัด
น้ำหนักและค่าเป้าหมาย
รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของจังหวัดผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด
และตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) โดยกำหนดประเด็นนโยบายสำคัญ
(Agenda) ที่จะขับเคลื่อนในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๕
ประเด็น ได้แก่ (๑) การบริหารจัดการและอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ (๒)
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (๓) รายได้จากการท่องเที่ยว (๔)
รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP และ
(๕) การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท
และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓
เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างส่วนราชการ จังหวัด
องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานอื่น ๆ
โดยมีการถ่ายทอดเป้าหมายจากระดับประเทศลงสู่ระดับหน่วยงานที่รับผิดชอบขับเคลื่อนการดำเนินงาน
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
139 | ร่างกฎกระทรวงการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินของผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... | กษ. | 06/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินของผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดิน ทั้งในกรณีที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม
กรณีการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังสถาบันเกษตรกร
และกรณีการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกิดความชัดเจน
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ได้รับสิทธิ โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ประสงค์จะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าว
และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
140 | ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... | วธ. | 06/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกของภาครัฐในการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์
เพื่อให้เป็นไปตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคมและบทบัญญัติมาตรา ๗o ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่บัญญัติให้รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทย กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ
ให้มีสิทธิดำรงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี
และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ทำหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติฯ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม
และปฏิบัติหน้าที่เลขานุการร่วมในคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
ในการดำเนินการจัดทำธรรมนูญของพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
แผนที่หรือการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรอบคอบ
รวมถึงการกำหนดให้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาตินั้น
มีความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับกฎหมายฉบับอื่นอย่างไรหรือไม่ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกินสมควร
การกำหนดชื่อและสาระให้ตรงกับหลักการด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตฯ
ในพื้นที่ที่มีกฎหมายเฉพาะ และความจำเป็นของคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ๓. ให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น อาจพิจารณาจัดการหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อวางแนวทางให้การดำเนินงานของกลไกต่าง
ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงิน ความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕ (เรื่อง
การกำหนดและทบทวนกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนให้มีขนาดที่เหมาะสม) ซึ่งได้เห็นชอบแนวทางการกำหนดและทบทวนกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนให้มีขนาดที่เหมาะสม
โดยให้ตรึงกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้มีกรรมการที่เป็นผู้แทนหน่วยงานของรัฐเพิ่มเติม
ได้แก่ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการเพิ่มเติม
และให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
เป็นกรรมการโดยตำแหน่งเพิ่มเติม รวมทั้งควรกำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ
และวิธีการสรรหาให้มีความเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับได้ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |