ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 8 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 120 จากข้อมูลทั้งหมด 146 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (ครั้งที่ 1) (พันตำรวจโท พงษ์ธร ธัญญสิริ) | ยธ. | 11/06/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของพันตำรวจโท
พงษ์ธร ธัญญสิริ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ ๔ ปี ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๗
ต่อไปอีก ๑ ปี (ครั้งที่ ๑) ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๑๔ มิถุนายน
๒๕๖๘ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
102 | ผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการวางระเบียบที่เป็นเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการปฏิบัติงานหรือการใช้ชีวิตของประชาชน (สำนักงาน ก.พ.ร.) | นร.12 | 11/06/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓
กันยายน ๒๕๖๖ เรื่อง
การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการวางระเบียบที่เป็นเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการปฏิบัติงานหรือการใช้ชีวิตของประชาชน
รวมถึงการอนุมัติ อนุญาตแก่ภาคเอกชนที่สมควรให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
โดยมีมติคณะรัฐมนตรีในความรับผิดชอบของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่จะต้องยืนยันการคงอยู่ต่อไป
จำนวน ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๓ เรื่อง
แนวทางการทบทวนอัตราค่าธรรมเนียมในการอนุมัติ อนุญาตของทางราชการ ๒)
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ เรื่อง
การขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e Service) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ๓)
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เรื่อง
การปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและการทบทวนกฎหมายตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และ ๔) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เรื่อง
แนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
103 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินชดเชยเยียวยาที่ได้รับจากกรมประมงตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน) | กค. | 11/06/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่เจ้าของเรือประมงสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการชดเชยเยียวยาจากกรมประมง
เนื่องจากการเข้าร่วมโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน
ระยะที่ ๑ (ระยะเร่งด่วน) (ช่วงปี ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓) และระยะที่ ๒ (ช่วงปี ๒๕๖๕ - ๒๕๖๖
) เพื่อช่วยบรรเทาภาระภาษีให้เจ้าของเรือประมงในการมีทุนในการประกอบอาชีพอื่น
และบรรเทาหนี้สินอันเกิดจากค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเรือ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
104 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางรัชนี พึ่งพาณิชย์กุล) | ศธ. | 11/06/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางรัชนี พึ่งพาณิชย์กุล ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการสูง) สำนักนโยบายและแผนการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๖
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
105 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา | พน. | 28/05/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทย
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป สรุปได้
ดังนี้ ๑.
ข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน ๕ หน่วยงาน (๑) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
ได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามแผนการขับเคลื่อนดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย
ระยะปานกลาง พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๔ ส่วนใหญ่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
โดยได้มีแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการตอบสนองด้านโหลด (Demaznd Response : DR) และระบบบริหารจัดการพลังงาน
(Energy Management System : EMS) นอกจากนี้จะมีการพิจารณานำระบบดิจิทัลมาช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อบริหารจัดการในกิจการไฟฟ้า (๒) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม
(Third Party Access Code : TPA Code) (๓)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ได้ดำเนินการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)
เสร็จแล้ว และมีการพัฒนาระบบการพยากรณ์ให้มีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น
รวมทั้งได้มีแนวคิดที่จะขยายการดำเนินการพยากรณ์ไปยังกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก
(VSPP) ตั้งแต่ปี ๒๕๖๕ (๔) การไฟฟ้านครหลวง
อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาการเชื่อมต่อข้อมูลจากโครงการ Smart Metro Grid กับ Application เพื่อใช้ในการบริการข้อมูลต่าง ๆ
เช่น ให้บริการข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ๑๕ นาที ผ่าน Application Smart Life ทั้งปัจจุบันและย้อนหลัง
เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ในการบริหารจัดการค่าไฟฟ้าให้ลดลง
แจ้งเตือนไฟฟ้าขัดข้องพร้อมระยะเวลาแก้ไขผ่าน Application Smart Life และ (๕) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ได้มีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ
ในประเด็นของการนำข้อมูลสมาร์ทมิเตอร์มาใช้ในการบริหารจัดการค่าไฟฟ้า
และเป็นทิศทางที่ได้อยู่ระหว่างดำเนินการเนื่องจากการดำเนินการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก
แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นการที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ทั้งการลดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดและลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานต่าง
ๆ ๒.
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (๑) ด้านเศรษฐกิจศาสตร์
การศึกษารูปแบบธุรกิจแนวใหม่ที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า
ซึ่งจะได้มีการพิจารณารูปแบบของตลาดซื้อขายไฟฟ้าที่เหมาะสมภายใต้โครงสร้างกิจการไฟฟ้าของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
(๒) ด้านความมั่นคงของระบบ
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้มีการพัฒนาสมาร์ทกริดภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ
ระยะปานกลาง โดยจะมุ่งเน้นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความชาญฉลาดและมีความยืดหยุ่นให้สามารถรองรับการเข้ามาของพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์ต่าง
ๆ (๓) ด้านเทคโนโลยี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้พัฒนาต่อยอดด้าน Big Data และ AI โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง
คือ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
ซึ่งจะมีหน้าที่หลักในการพัฒนา Big Data และ AI โดยสามารถช่วยให้คำปรึกษาการฝึกอบรม และการทำ Prototype เกี่ยวกับ Big Data และ AI
ที่จะนำมาใช้ในระบบสมาร์ทกริดได้สำหรับในส่วนของการพัฒนาแพลตฟอร์ม (๔) ด้านกฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานอยู่ระหว่างการพิจารณาในการจัดทำใบอนุญาต ๑
ใบ ที่สามารถเปิดให้ธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ ๆ
เข้ามาดำเนินการภายใต้ใบอนุญาตดังกล่าวได้
ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคในเรื่องของใบอนุญาตสำหรับการดำเนินธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่
ๆ ในอนาคต และ (๕) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การผลักดันโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart
Grid) เข้าไปใช้ในพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคง
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจะมีการดำเนินการในทุกภูมิภาคของประเทศไทย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
106 | ร่างกฎกระทรวง ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยแบบพินัยกรรม ตามมาตรา 1672 | มท. | 28/05/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยแบบพินัยกรรม
ตามมาตรา ๑๖๗๒ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการในการทำพินัยกรรม
แก้ไขถ้อยคำการใช้ภาษาให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และยกระดับการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั่วไป ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นควรกำหนดให้นายอำเภอเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลหลักฐานการตายโดยไม่ต้องให้ผู้มีสิทธิรับพินัยกรรมนำหลักฐานการตายของผู้ทำมาแสดง
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
และการแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมการทำพินัยกรรมควรจะสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ เรื่อง
หลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนมากเกินไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
107 | การปราบปรามการพนันออนไลน์ | นร. | 28/05/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ
(๒ เมษายน ๒๕๖๗) ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเฉพาะกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเร่งบูรณาการการปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีต่าง
ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น การพนันออนไลน์ การหลอกลวงผ่านคอลเซ็นเตอร์
นั้น
ปัจจุบันแม้ว่าจะมีการปราบปรามและขยายผลการจับกุมผู้กระทำผิดในกรณีดังกล่าวข้างต้นอย่างต่อเนื่อง
แต่ยังคงพบว่ามีการเปิดให้เล่นพนันออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Facebook Twitter TikTok SMS เว็บไซต์ อยู่มาก
ดังนั้น
เพื่อให้การปราบปรามการพนันออนไลน์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ ๑. ด้านการปราบปรามและการจับกุม
ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งพิจารณากำหนดแนวทางและการมอบอำนาจในการจับกุมและดำเนินคดีเกี่ยวกับการพนันออนไลน์ให้ชัดเจนและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
เพื่อให้ทุกกองบัญชาการ นอกเหนือจากกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี)
สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการจับกุมและดำเนินคดีเกี่ยวกับการพนันออนไลน์ได้ด้วย ๒. ด้านการปิดเว็บพนันออนไลน์
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเร่งประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อกำหนดกลไกการตรวจสอบและการดำเนินการปิดเว็บพนันออนไลน์บนสื่อสังคมออนไลน์ทุกรูปแบบได้ทันทีที่ตรวจสอบพบผู้กระทำผิดหรือที่ได้รับแจ้งข้อมูลการกระทำผิด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
108 | ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารข้อเสนอแนะอาเซียนว่าด้วยการให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ (ASEAN Recommendations on Quality Health Care) | สธ. | 14/05/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารข้อเสนอแนะอาเซียนว่าด้วยการให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ
(ASEAN Recommendations on
Quality Health Care) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมรับรองร่างเอกสารข้อเสนอแนะอาเซียนว่าด้วยการให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ
โดยร่างเอกสารข้อเสนอแนะอาเซียนฯ มีสาระสำคัญเป็นการเสนอแนวทางที่สำคัญในการยกระดับและส่งเสริมการให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนและในภูมิภาค
เพื่อมุ่งให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพัฒนาการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิและการแพทย์ดั้งเดิมและการแพทย์เสริมในประเทศสมาชิกอาเซียน
รวมถึงการเข้าถึงระบบการให้บริการสุขภาพถ้วนหน้าและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ ที่เห็นว่าร่างเอกสารข้อเสนอแนะอาเซียนฯ
มิได้มีการใช้ถ้อยคำที่มุ่งหมายให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้น จึงไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตาม ม. ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารข้อเสนอแนะอาเซียนว่าด้วยการให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
109 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. .... | มท. | 07/05/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านไร่
จังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลทัพหลวง ตำบลห้วยแห้ง ตำบลบ้านไร่ และตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านไร่
จังหวัดอุทัยธานี โดยได้มีการกำหนดแผนผัง และการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น
๑๐ ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
110 | ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... | สธ. | 23/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษ
ในประเภท ๓ หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข
และอัตราค่าธรรมเนียมการขออนุญาตและการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างของตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท
๓ หรือตำรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรเร่งดำเนินการตามมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนและเผยแพร่ตามช่องทางที่กำหนด รวมถึงในเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ
(wvw.info.go.th) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
111 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า พ.ศ. .... | สธ. | 23/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตพิเศษเฉพาะคราว เพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวและการออกใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นว่าการกำหนดให้ผู้อนุญาตพิจารณาออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน
๓๐ วันตามร่างข้อ ๖ นั้น ไม่ได้กำหนดชัดเจนว่ากำหนดเวลา ๓๐ วัน
นับแต่เมื่อใดและหากพิจารณาไม่แล้วเสร็จจะมีมาตรการอย่างไร ควรกำหนดให้ชัดเจน ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นควรเร่งดำเนินการตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนและเผยแพร่ตามช่องทางที่กำหนด
รวมถึงในเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th)
ต่อไป และการกำหนดให้ผู้อนุญาตพิจารณาออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน
๓๐ วันตามร่างข้อ ๖ นั้น ไม่ได้กำหนดชัดเจนว่ากำหนดเวลา ๓๐ วัน นับแต่เมื่อใดและหากพิจารณาไม่แล้วเสร็จจะมีมาตรการอย่างไร
ควรกำหนดให้ชัดเจน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
112 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์บน เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำในกิจการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... | คค. | 23/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์บน
เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำในกิจการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์บริเวณบน
เหนือพื้นดินพื้นน้ำในอสังหาริมทรัพย์ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ได้ดำเนินการโครงการระบบรถไฟฟ้า ซึ่งการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวของ รฟม.
ได้ก่อภาระให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายส่งผลให้ไม่สามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ตามปกติแต่ไม่ได้สร้างภาระจนถึงขนาดที่
รฟม. จะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น
เพื่อให้ รฟม. สามารถพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์บน เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำแทนการเวนคืนที่ดินเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน
เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดเงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
113 | ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรอง และการออกใบอนุญาตหรือใบรับรองให้นำเข้า หรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. .... | ทส. | 18/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตหรือใบรับรอง
และการออกใบอนุญาตหรือใบรับรองให้นำเข้า หรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า
หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า
ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง
สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ และสัตว์ป่าควบคุม รวมทั้งการขอรับใบรับรองและการออกใบรับรองเพื่อการดำเนินการดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรดำเนินการให้สอดคล้องตามมาตรา ๙ และมาตรา
๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕
และควรเร่งดำเนินการตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนและเผยแพร่ตามช่องทางที่กำหนด
รวมถึงในเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th) ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
114 | ขออนุมัติโครงการจัดสรรทุนการศึกษาตามความต้องการของกระทรวงการต่างประเทศ โครงการที่ 6 | กต. | 18/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนินการโครงการจัดสรรทุนการศึกษาตามความต้องการของกระทรวงการต่างประเทศ
โครงการที่ ๖ ระยะเวลารวม ๑๒ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๘-๒๕๗๙) โดยจะดำเนินการจัดสรรทุนในช่วง ๕
ปีแรก (พ.ศ. ๒๕๖๘-๒๕๗๒) ปีละ ๑๓ ทุน รวมทั้งสิ้น ๖๕ ทุน และงบประมาณในการดำเนินโครงการจัดสรรทุนฯ
โครงการที่ ๖ ประมาณ ๘๐๖.๔๐ ล้านบาท หรือประมาณ ๒๐.๑๖ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
[อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐสำหรับการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ (๑ ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ ๔๐ บาท)]
โดยขอตั้งงบประมาณและรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
ทั้งนี้ ในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งมีผลทำให้วงเงินบาทเพิ่มขึ้นเกินกว่าที่ได้รับอนุมัติข้างต้นโดยวงเงินสกุลต่างประเทศที่ได้รับความเห็นชอบไม่เปลี่ยนแปลงก็ให้กระทรวงการต่างประเทศขอรับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในกรณีดังกล่าวได้
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น
ควรให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปองค์ความรู้หรือสาขาวิชาใหม่ ๆ
ที่จะเป็นประโยชน์เพื่อรองรับบทบาทภารกิจของกระทรวงการต่างประเทศในอนาคต
และติดตามประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ รวมทั้งในส่วนของงบประมาณ
ควรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
115 | การขอยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) | กต. | 09/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินการยกเว้นการยื่นแบบ
ตม.๖ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นการชั่วคราว (ระหว่างวันที่ ๑
พฤศจิกายน ๒๕๖๖-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗)
ภายหลังการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวฯ (แบบ ตม.๖) มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ
๔๗.๑๘ โดยยังไม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับผลกระทบทางด้านความมั่นคงอย่างมีนัยสำคัญ ๒. เห็นชอบในหลักการการขอยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
(แบบ ตม.๖) ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ ๑๕ เมษายน
๒๕๖๗-๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๒.๑
ขยายให้คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา
ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
(แบบ ตม.๖) (จะสิ้นสุดวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๗) ๒.๒
กำหนดให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองทางบก
ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.๖)
จำนวน ๗ ด่าน เช่น ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๑ จังหวัดหนองคาย
ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ จังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ ๒.๓ กำหนดให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองทางน้ำที่เดินทางมากับเรือสำราญและกีฬา
ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
(แบบ ตม.๖) จำนวน ๕ ด่าน เช่น ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระยอง ฯลฯ ๓. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
โดยได้รับยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าว ซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
(ตม.๖) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๔. มอบหมายให้หน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกำกับติดตามและประเมินผลกระทบจากการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ภายหลังครบระยะเวลาที่ประกาศไว้
(๖ เดือน) ทั้งนี้ หากมีผลกระทบต่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติ
หน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
116 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 พ.ศ. .... | สธ. | 02/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า
ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น มีความเห็นเพิ่มเติมในส่วนของร่างกฎกระทรวงฯ ข้อ ๑๑
และข้อ ๑๒
ซึ่งกำหนดกรณีที่ไม่อาจพิจารณาได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดอาจขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน โดยการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการพิจารณาอนุญาตที่ใช้ระยะเวลามากหรือล่าช้าได้
ควรพิจารณาความจำเป็นในการกำหนดเงื่อนไขการขยายระยะเวลาให้มีความเหมาะสม
ไม่ก่อให้เกิดการดำเนินการที่ล่าช้าเกินสมควร อีกทั้งการกำหนดระยะเวลาการแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ขออนุญาตทราบ
ควรกำหนดระยะเวลาเป็นภายใน ๗ วัน เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรา ๗ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และร่างข้อ ๙ วรรคหนึ่ง (๑) ควรแก้ไขถ้อยคำว่า “วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑”
เป็น “ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑”
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
เนื่องจากร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษในประเภท
๑ ร่างข้อ ๑๑ วรรคหนึ่ง
กำหนดให้พิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน ให้แก่ผู้ขออนุญาต
และสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน
เห็นว่าระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่พอสมควรที่ผู้มีอำนาจอนุญาตจะได้พิจารณาคำขอและอนุญาตให้แล้วเสร็จได้แต่มีข้อสังเกตว่าหากผู้มีอำนาจอนุญาตไม่สามารถพิจารณาคำขอให้เสร็จสิ้นได้ภายในกำหนดจะมีมาตรการอย่างไรในระหว่างที่พิจารณาคำขอ
ควรกำหนดมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าวด้วย เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
117 | ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ พ.ศ. .... | ทส. | 02/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์
รวมทั้งอายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับการดำเนินการบางประการควรมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕
และควรกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับประสบการณ์
และความเชี่ยวชาญในการประกอบกิจการสวนสัตว์หรือการดูแลสัตว์ป่าให้เหมาะสมกับสัตว์แต่ละชนิด
แต่ละสายพันธุ์ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
118 | ร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... | นร.12 | 02/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
เพื่อลดขั้นตอนการอนุญาตที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงระบบและขั้นตอนการอนุญาตให้สะดวกและทันสมัยยิ่งขึ้น
รวมทั้งลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการอนุมัติ อนุญาต อันจะนำไปสู่การลดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน ผลประโยชน์ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติ มาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ควรกำหนดให้มีการตรวจสอบ
ทบทวน และปรับปรุงกระบวนการ
ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตตามที่กำหนดในคู่มือประชาชนเป็นประจำอย่างน้อย
๒ ปี ตามร่างมาตรา ๘ วรรคสี่ เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นร่างกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ๓.
เห็นชอบข้อเสนอการทดลองดำเนินการตามหลักการสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน
พ.ศ. .... และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาคัดเลือกและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทดลองดำเนินการตามหลักการสำคัญต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
119 | ข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากรและสังคมสูงวัย | พม. | 02/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากรและสังคมผู้สูงวัย
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เพื่อสื่อสารให้สังคมตระหนักถึงประเด็นท้าทายของประชากรที่ส่งผลสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชากรทุกช่วงวัยและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ
ตลอดจนการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไปสู่การดำเนินงานแบบองค์รวมเพื่อให้ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาความมั่นคงของครอบครัวไปสู่ความมั่นคงของมนุษย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
โดยมีมาตรการสำคัญเร่งด่วน ดังนี้ ข้อเสนอที่ ๑ เสริมพลังวัยทำงาน : ตั้งตัวได้
สร้างและดูแลครอบครัวได้ และพร้อมที่จะสูงอายุอย่างมีคุณภาพในอนาคต ข้อเสนอที่ ๒
เพิ่มคุณภาพและผลิตภาพของเด็กและเยาวชน : เด็กน้อย แต่เปี่ยมด้วยคุณภาพ ข้อเสนอที่
๓ สร้างพลังผู้สูงอายุ ผ่อนหนักให้เป็นเบา พลิกวิกฤตทางประชากรให้เป็นโอกาส
ข้อเสนอที่ ๔ เพิ่มโอกาสและสร้างเสริมคุณค่าของคนพิการ และข้อเสนอที่ ๕
สร้างระบบนิเวศ (Eco-System) ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความมั่นคงของครอบครัว
ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเสนอ และให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรพิจารณาให้มีการบูรณาการร่วมกับแผนระดับที่
๓ ที่เกี่ยวข้อง ของหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมด้วย อาทิ แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ
ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) แผนปฏิบัติการด้านครอบครัว พ.ศ. ๒๕๖๖–๒๕๗๐ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗o แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙
แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (ร่าง) แผนพัฒนางานสวัสดิการสังคมไทย ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.
๒๕๖๖-๒๕๗๐) และควรมีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวมีความสอดคล้องกับบริบทปัจจุบันและลักษณะงานของภาคราชการที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
รวมทั้งเกิดความสมดุลระหว่างการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจให้ผู้สูงอายุ
ประสิทธิภาพภาครัฐ และความยั่งยืนทางการคลังต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
120 | ร่างกฎกระทรวงความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... | อว. | 26/03/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนในการจัดการศึกษา
การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม และด้านอื่น ๆ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|