ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 8 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 146 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียน การขึ้นทะเบียน การเพิกถอนทะเบียน และการประเมินคุณภาพการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมหรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน สำนักงาน ก.พ.ร.
กรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
เช่น กรุงเทพมหานคร เห็นควรให้หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้รับผิดชอบ
ต้องสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวด้วย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรรับฟังข้อคิดเห็นจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อประกอบการพิจารณา
และควรพิจารณาทบทวนการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามความจำเป็น ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. และกรุงเทพมหานคร ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่าการกำหนดให้กฎกระทรวงใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามร่างกฎกระทรวงข้อ
๑ ควรพิจารณาให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้เร็วกว่าที่กำหนด
การกำหนดระยะเวลาแจ้งผลการพิจารณารับขึ้นทะเบียนให้แก่หน่วยบริการตามร่างกฎกระทรวงฯ
ข้อ ๙ วรรคหนึ่ง ควรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นต้น กรุงเทพมหานคร เห็นควรให้หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้รับผิดชอบ
ต้องสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 600.35 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ของกรมทางหลวง | คค. | 27/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน ๖๐๐.๓๕
ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ของกรมทางหลวง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงการคลัง เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้ทันภายในปีงบประมาณ
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | ขอความเห็นชอบการรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และปฏิญญาร่วมอาเซียน-ซีมีโอ | ศธ. | 20/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน
ครั้งที่ ๑๓ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๓ ฉบับ
มีสาระสำคัญเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญของไทย เช่น ๑)
การพลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัลและการสนับสนุนให้มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกันและฟื้นฟูการดำเนินโครงการต่าง
ๆ ในระดับภูมิภาค ๒)
การพลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมให้เด็กกลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงการศึกษาได้
และ ๓) ความร่วมมือด้านการศึกษา ๑๔ สาขา
ภายใต้แผนปฏิบัติการมะนิลาเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามปฏิญญากรุงพนมเปญว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการพัฒนาภายใต้การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
(พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕)
และปฏิญญาร่วมว่าด้วยพื้นที่ร่วมด้านอุดมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน ๑
ฉบับ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียนและซีมีโอ
เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกและคู่เจรจาในการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้านการศึกษา
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้ความเห็นชอบและรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
จำนวน ๓ ฉบับ และปฏิญญาร่วมฯ จำนวน ๑ ฉบับ ในการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน
ครั้งที่ ๑๓ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในช่วงการประชุมระดับรัฐมนตรี
ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้ความเห็นชอบและรับรองปฏิญญาร่วมฯ
จำนวน ๑ ฉบับ ในการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค)
ครั้งที่ ๕๓ ที่จะจัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในฐานะประธานคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมฯ และปฏิญญาร่วมฯ รวม
๔ ฉบับ ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในเดือนกันยายน ๒๕๖๗
และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองเอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
และปฏิญญาร่วมฯ รวม ๔ ฉบับ
ร่วมกับผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๔๔
ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ดังนี้ กระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่าร่างเอกสารทั้ง ๔ ฉบับ
ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ หากร่างเอกสารทั้ง ๔ ฉบับ ยังไม่ใช่ร่างสุดท้าย
(Final agreed text) ในกรณีที่มีการปรับแก้
ขอให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาร่างสุดท้ายของเอกสารดังกล่าวให้มีความเหมาะสม
สอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของประเทศไทยสามารถปฏิบัติได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ระเบียบ และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นไปตามพันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เห็นว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษา ควรเน้นการเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ (hard skills) ควบคู่กับกระบวนการเรียนรู้ที่มีการปฏิบัติจริง
(hands-on) เพื่อให้ผู้เรียนได้เสริมสร้างสมรรถนะที่ต้องการและทักษะแห่งอนาคตที่จำเป็น
(soft skills) ซึ่งสามารถพัฒนาเยาวชนให้มีความพร้อมก่อนเข้าสู่โลกของการทำงานและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศและภูมิภาคต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน
ครั้งที่ ๑๓ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
และปฏิญญาร่วมว่าด้วยพื้นที่ร่วมด้านอุดมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบไว้
ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายณัฏฐา พาชัยยุทธ และนายธนศักดิ์ มังกโรทัย) | นร.12 | 13/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ ราย
ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ดังนี้ ๑. นายณัฏฐา พาชัยยุทธ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ
(นักพัฒนาระบบราชการทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ.ร. ตั้งแต่วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๖ ๒. นายธนศักดิ์ มังกโรทัย ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ
(นักพัฒนาระบบราชการทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ.ร. ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | ร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในช่วงการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2024 | พน. | 13/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ลิมา
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๔
(Lima Statement 2024 APEC Energy Ministerial Meeting) และร่างแนวนโยบายเอเปคเพื่อพัฒนาและปรับใช้กรอบนโยบายด้านไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
(APEC Policy Guidance to Develop and Implement
Low-Carbon Hydrogen Policy Frameworks in the Asia-Pacific) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
เป็นผู้ให้การรับรองร่างเอกสารฯ ทั้ง ๒ ฉบับ ดังกล่าว
ในระหว่างการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ ๑๔ โดยร่างแถลงการณ์ลิมา
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๔
และร่างแนวนโยบายเอเปคเพื่อพัฒนาและปรับใช้กรอบนโยบายด้านโฮโดรเจนคาร์บอนต่ำในภูมิภาคเอเชีย
- แปซิฟิก เป็นเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีพลังงานเอเปค
ในการกำหนดทิศทางและวางกรอบนโยบายความร่วมมือด้านพลังงานร่วมกันและเป็นเอกสารที่กำหนดกรอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม สำหรับการผลิต
การขนส่ง และการใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงโฮโดรเจนร่วมกันในภูมิภาคเอเปคอีกด้วย
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
ที่เห็นว่าร่างเอกสารทั้ง ๒ ฉบับ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. .... | สธ. | 13/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิต นำเข้า
ส่งออก หรือจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่เห็นควรเร่งดำเนินการตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนและเผยแพร่ตามช่องทางที่กำหนด
รวมถึงในเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th)
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | รายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 | นร.12 | 13/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ๑) ผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๒๐
วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นรายงานความคืบหน้าของดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการประกาศช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชนติดต่อราชการ
และกำหนดระบบสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
และ ๒) การขอยกเว้นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ๒.
เห็นชอบผลการพิจารณากลั่นกรองการขอยกเว้นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ๓. อนุมัติหลักการ ๓.๑ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ ไม่ใช้บังคับแก่อัยการทหาร ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ๓.๒
ร่างกฎกระทรวงกำหนดการอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๗ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการดำเนินการที่ประชาชนจะต้องดำเนินการด้วยตนเอง
โดยไม่อาจดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ จำนวน ๓๘ รายการ ๓.๓ ร่างกฎกระทรวงกำหนดเอกสารสำคัญที่ไม่อาจแสดงเป็นภาพทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้หนังสือเดินทางเป็นเอกสารสำคัญที่ไม่อาจแสดงเป็นภาพทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น รวม
๓ ฉบับ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหมและความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขข้อความในบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงกำหนดการอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา
๗ พ.ศ. .... ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๔. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงการคลังเห็นควรดำเนินการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการออกร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้
รวม ๓ ฉบับ แก่ประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน พร้อมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการออกกฎกระทรวงดังกล่าว
เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการต่อไป นอกจากนี้
ควรชี้แจงเจตนารมณ์และสาระสำคัญในการกำหนดข้อยกเว้นและรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีข้อยกเว้นและรายละเอียดเพิ่มเติมที่เหมาะสมและชัดเจน กระทรวงมหาดไทย เห็นว่าหน่วยงานที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕ อาจจะมีข้อจำกัดในการดำเนินการ เช่น ความพร้อมของระบบเทคโนโลยี งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร และความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในระดับต่าง ๆ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนหน่วยงานของรัฐในด้านต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดดังกล่าว ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 | นร.12 | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา ๑๖๕ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๖ และเห็นชอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงาน ก.พ.ร.
ดำเนินการในระยะต่อไปให้แล้วเสร็จ โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งรัดดำเนินการปรับโครงสร้างและอัตรากำลังของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งยกร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบหรือเปลี่ยนแปลงกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แล้วเสร็จ
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม
จัดทำแนวปฏิบัติการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานภายใต้กรอบกฎหมายว่าด้วยการประมง
และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่รับโอนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพิ่มเติม
ภายในเดือนเมษายน ๒๕๖๗ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมร่วมกันระหว่างประธาน ก.พ.ร.
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
เพื่อพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.
เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | ร่างกฎกระทรวงการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท พ.ศ. .... | สธ. | 30/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งอัตราค่าธรรมเนียมการนำผ่านวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | โครงการเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์ (ปีการศึกษา 2566-2570) | อว. | 30/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์
(ปีการศึกษา ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) เพื่อผลิตพยาบาลวิชาชีพ จำนวน ๕
รุ่น จำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๕,๙๘๕ คน ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ
จำนวน ๑๑๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี หรือ ๔๔๐,๐๐๐
บาท/คน/หลักสูตร
ซึ่งเป็นอัตราค่าใช้จ่ายเดิมตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในโครงการเพิ่มการผลิตฯ
ระยะที่ ๑ (ปีการศึกษา ๒๕๖๑ - ๒๕๖๒) สำหรับวงเงินงบประมาณจนสิ้นสุดโครงการ จำนวน ๗,๐๓๓,๔๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
พร้อมทั้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และกรุงเทพมหานครรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร. และข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นควรกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขการชดใช้ทุนสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการฯ
เพื่อให้การใช้งบประมาณแผ่นดินสนับสนุนการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์เป็นไปอย่างคุ้มค่า
มีประสิทธิภาพ สอดรับกับทิศทางการพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศ สำนักงาน ก.พ. เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบริหารอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์
การพยาบาล และการสาธารณสุข
ตามหลักการและแนวทางการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ
(คปร.) กำหนดไว้ในมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๗๐) ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่
๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ เพื่อให้การบริหารอัตรากำลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
ตลอดจนสอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศในภาพรวม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | ขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม | กษ. | 23/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ
สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ในเขตปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่รวมประมาณ ๑,๕๓๗-๓-๐๔ ไร่ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟ
สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เนื้อที่รวมประมาณ ๑,๙๑๗-๓-๗๕ ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้
การรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถดำเนินงานโครงการก่อสร้างได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะได้พิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเสนอ ให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เช่น กระทรวงคมนาคม เห็นว่าควรปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใส่ในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นควรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการในพื้นที่อย่างเคร่งครัด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม
โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและก่อสร้างโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านต้นทุนและเพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการให้อยู่ภายในกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 57 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 23/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ครั้งที่ ๕๗ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๗ ฉบับ ได้แก่ ๑) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ครั้งที่ ๕๗ ๒) ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน - สหราชอาณาจักร : การเสริมสร้างความเชื่อมโยงเพื่ออนาคตที่เจริญรุ่งเรืองและยั่งยืน
๓) ร่างแถลงการณ์ร่วมของ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน -
จีนว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ๔)
ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและรัสเซีย เฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ ๒๐
ปี
ของการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย
๕)
ร่างแถลงการณ์ของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย
- แปซิฟิกว่าด้วยเพิ่มพูนความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านความปลอดภัยของเรือโดยสาร ๖)
ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย และ ๗)
ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยราชรัฐลักเซมเบิร์ก โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ทั้ง ๕ ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาในการส่งเสริมความร่วมมือและต่อยอดการดำเนินงานในด้านต่าง
ๆ
โดยมิได้มีการใช้ถ้อยคำที่มุ่งหมายให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ
กรณีดังกล่าวจึงไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมลงนามในร่างหนังสือฯ
ทั้ง ๒ ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแสดงความยินยอมฝ่ายเดียวของประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิใช่การทำหนังสือสัญญาขึ้นใหม่ประเทศสมาชิกอาเซียน
กรณีจึงดังกล่าวไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุมที่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์ ใบอนุญาตค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว และใบอนุญาตการได้มาซึ่งการครอบครองสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าดังกล่าว พ.ศ. .... | ทส. | 16/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้
สัตว์ป่าควบคุมที่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์ ใบอนุญาตค้าสัตว์ป่า ชากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว
และใบอนุญาตการได้มาซึ่งการครอบครองสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าดังกล่าว พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการดำเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้
หรือสัตว์ป่าควบคุมที่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์ การค้าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า
และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว และการครอบครองสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เช่น ควรมีการแบ่งประเภทของการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าคุ้มครองเป็นหลายระดับ
เพื่อให้การออกใบอนุญาตมีความแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์
เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ควรกำหนดให้มีเกณฑ์มาตรฐานในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของผู้ขอรับใบอนุญาต
ต้องมีการติดตามตรวจสอบ สภาพการเพาะเลี้ยง สถานที่เพาะเลี้ยง จำนวนประชากรสัตว์ที่เพิ่มขึ้นจากการเพาะเลี้ยง
จัดให้มีการตรวจสอบทางพันธุกรรม รวมถึงการแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์
โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่ปรึกษา เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงาน ก.พ.ร.
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เห็นควรให้มีการพัฒนาระบบบการจัดเก็บข้อมูล
เพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นฐานข้อมูลการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้พันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้
สัตว์ป่าควบคุมที่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์ใบอนุญาตค่าสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า
และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว
รวมทั้งใบอนุญาตการได้มาซึ่งการครอบครองสัตว์ป่า
และซากสัตว์ป่าดังกล่าวกรณีสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์น้ำ ในกรณีการขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าควบคุม
ต้องตระหนักถึงโอกาสในการแพร่กระจายของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
การแพร่ระบาดของโรคที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อการทำปศุสัตว์ ตลอดจนสัตว์ป่าในธรรมชาติ
เป็นต้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | การทบทวนแนวปฏิบัติการดำเนินการภายในของไทยในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียน | กต. | 16/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการแนวปฏิบัติการให้ความเห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียน
๒ ประเกท [เอกสารระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในนามอาเซียนในฐานะองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล
และแผนงาน (Work Plan) และแผนดำเนินการ (Plan
of Action) ระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่ไทยต้องร่วมรับรอง]
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องส่งเอกสารดังกล่าวให้กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยทุกครั้งก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมรการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นว่าเอกสารที่ประเทศไทยต้องร่วมรับรอง
(Adopt) ที่ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งให้ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
ซึ่งไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ นั้น ในส่วนของกระทรวงการคลัง
จะเป็นแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ในระดับรัฐมนตรี ซึ่งทางเจ้าภาพจะยกร่างมาในเวลากระชั้นชิดก่อนการประชุม
การต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการต่างประเทศก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี
และการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนการรับรองนั้น
ก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำงานในระยะเวลาที่จำกัด
จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ทส. | 16/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถอนเรื่องนี้คืนไปก่อน
เพื่อรอการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ให้แล้วเสร็จ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร) | ศย. | 16/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากร
และให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวโดยอนุโลม
แก้ไขเพิ่มเติมการรับทราบกำหนดนัดของศาลในคดีภาษีอากรไม่ใช้กับคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร
และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ และฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในคดีภาษีอากร ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามแนวทางการประเมิน Business Ready (B-READY) ของธนาคารโลก | นร.12 | 09/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการตามแนวทางการประเมิน Business Ready (B - READY) ของธนาคารโลก
และการมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละด้านเร่งดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน
B - READY ของธนาคารโลก โดย ๑) ได้ประกาศแนวทางการประเมิน
เพื่อใช้ทดแทนการประเมินเพื่อจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing
Business) เดิม ๒)
แนวทางการดำเนินการของภาครัฐเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน B-READY ทั้งในภาพรวมและการดำเนินการของสำนักงาน ก.พ.ร. และ ๓)
ประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการปฏิรูปรายด้านเพื่อปรับปรุงบรรยากาศในการประกอบธุรกิจและการลงทุนให้พร้อมสำหรับการประเมิน
B-READY รวมทั้งการมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละด้าน ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานป้องกันและปราบปราบปรามการฟอกเงิน
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เช่น กระทรวงคมนาคม เห็นควรมีการบูรณาการความร่วมมือด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน
B-Ready ของธนาคารโลก
ตลอดจนการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อรับทราบประเด็นปัญหา
และสนับสนุนกระบวนการขจัดอุปสรรคของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและสนับสนุนแนวทางการประเมินดังกล่าวเป็นระยะต่อไป กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เห็นว่าประเด็นบริการด้านสาธารณูปโภคที่มีการกำหนดในเรื่องของการทบทวนการกำหนดอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ต
ควรเพิ่มเติมหรือประสานข้อมูลกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลในเรื่องของกำหนดโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมและโครงสร้างอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตให้เป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านบริการสาธารณูปโภค
(Utility Service) เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติม
เพื่อให้ข้อมูลมีความครบถ้วนมากยิ่งขึ้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2568 - 2570 | กห. | 09/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหมปีงบประมาณ พุทธศักราช ๒๕๖๘ - ๒๕๗๐ โดยผู้ลาออกได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่โครงการกำหนด
รวมทั้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินการโครงการดังกล่าว
ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ยกเว้นในส่วนของการขอให้ข้าราชการทหารผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับสิทธิประโยชน์โดยไม่ต้องชดใช้เงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย
พ.ศ. ๒๕๓๕ กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติคืนให้แก่ทางราชการ
ซึ่งไม่สามารถกระทำได้ตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำหรับสิทธิประโยชน์ที่จะจ่ายให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ
ในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๘ - ๒๕๗๐ ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน
ก.พ.ร. และสำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ
ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดและครบถ้วน รวมทั้งให้ความสำคัญในขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้ได้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดไว้
โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินภารกิจสำคัญของหน่วยงาน และควรกำหนดแนวทางในการพัฒนาศักยภาพกำลังพลให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพิ่มขึ้น
เพื่อคงขีดความสามารถของกองทัพ ให้เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ
ได้อย่างสอดคล้องกับบทบาทและภารกิจของประเทศในอนาคต สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นควรมีแนวทางหรือมาตรการควบคู่กับโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดฯ
เพื่อปรับลดกำลังพลลงให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนปฏิรูปการบริหารจัดการกำลังพลของกระทรวงกลาโหม
ที่มุ่งสู่การเป็นกองทัพที่กะทัดรัด ทันสมัย และมีการบริหารจัดการกำลังพลที่มีประสิทธิภาพ และควรมีแผนการเตรียมความพร้อมหรือแผนการรองรับผลกระทบกรณีกำลังพลคุณภาพเข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด
โดยอาจมีแนวทางการรวบรวมองค์ความรู้หรือความเชี่ยวชาญที่อาจกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลมาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้กำลังพลที่อยู่ในหน่วยงานสามารถเรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | การปรับเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายการเงินอุดหนุนรายบุคคล ในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู | ศธ. | 09/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการปรับเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รายการเงินอุดหนุนรายบุคคล ในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู
สำหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
เห็นควรให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณหรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒ ในโอกาสแรกก่อน โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
สำหรับการอุดหนุนเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็ก
กรณีโรงเรียนเอกชนที่มีนักเรียนไม่เกิน ๒๐๐ คน เป็นเวลา ๔ ปี (เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๗
ถึงเดือนกันยายน ๒๕๗๐) เห็นควรให้กระทรวงศึกษาธิการรายงานผลการศึกษาจากการที่เคยได้รับความช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็กตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ ว่ามีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
เพื่อให้คณะรัฐมนตรีรับทราบก่อนเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวอีกครั้ง
นอกจากนี้การกำหนดขนาดโรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก
ควรใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้การจัดกลุ่มขนาดโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงการคลัง เห็นว่าการขอปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รายการเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู
จะต้องเป็นไปตามแนวทางการปรับอัตราเงินเดือนที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ สำนักงาน กพ. เห็นควรพิจารณาให้สอดคล้องกับทิศทางการบริหารจัดการด้านการศึกษาของประเทศในภาพรวม
เพื่อให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เห็นว่าอัตราเงินเดือนที่ใช้สำหรับคำนวณเงินอุดหนุนรายบุคคล
ในส่วนของเงินสมทบเงินเดือนครูใช้ฐานเงินเดือนอัตราแรกบรรจุของข้าราชการพลเรือนสามัญ
(๑๖,๕๐๐ บาท และ ๑๘,๑๕๐ บาท ตามลำดับ) ซึ่งต่ำกว่าฐานเงินเดือนอัตราแรกบรรจุของข้าราชการครู
(๑๖,๕๖๐ บาท และ ๑๘,๒๒๐ บาท ตามลำดับ)
และเนื่องจากจำนวนนักเรียนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง กระทรวงศึกษาธิการจึงอาจพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก
โดยคำนึงถึงคุณภาพ ศักยภาพ
ร่วมกับความจำเป็นหรือความสอดคล้องตามแผนที่การบริหารจัดการโรงเรียน (School
Mapping) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2567-2570) | นร.12 | 09/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
(พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๗๐) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาระบบราชการของไทย
โดยมุ่งเน้นการเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีความทันสมัย
พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ และยกระดับการให้บริการประชาชน
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑) วิสัยทัศน์ “ภาครัฐที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ
มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน” และมีเป้าหมายสู่การเป็น “รัฐที่ล้ำหน้าและรัฐที่เปิดกว้าง”
๒) ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ จำนวน ๓ ยุทธศาสตร์
ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์การยกระดับบริการภาครัฐโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
(๒) ยุทธศาสตร์การลดบทบาทภาครัฐและเปิดการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่น และ (๓)
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนผลิตภาพภาครัฐด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการาชการเสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการรับความเห็น ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) ไปพิจารณาประกอบการปรับปรุงแก้ไข (ร่าง)
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น
ก่อนให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินภารกิจของหน่วยงานต่อไป
เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เห็นควรมีการวางระบบติดตามและประเมินผล เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานตามกลยุทธ์และแผนยุทธศาสตร์อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ (Skill) และการปรับกระบวนการทางความคิด (Mindset) ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้มีความพร้อม
สามารถรองรับกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย
กฎ และระเบียบ ให้มีความทันสมัย
และไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานและการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กระทรวงพลังงาน เห็นควรมีการกำหนดบทบาทและขอบเขตการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่ชัดเจน
เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินงาน
เกิดการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริงต่อไป |