ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 8 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 146 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | รายงานผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.12 | 29/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรายงานผลการประเมินองค์การมหาชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และข้อเสนอการกำหนดตัวชี้วัดขององค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
โดยให้องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่ไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน
พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดตัวชี้วัดการประเมินผลให้ตอบโจทย์นโยบายรัฐบาล วัตถุประสงค์การจัดตั้ง
และส่งผลกระทบต่อสังคมและการพัฒนาประเทศ รวมทั้งข้อเสนอต่อการประเมินผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity and Transparency Assessment : ITA) (ผลการประเมิน ITA) และมอบหมายให้สำนักงาน
ก.พ.ร. แจ้งข้อสังเกตให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
นำไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน สำนักงาน
ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
(องค์การมหาชน) สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงศึกษาธิการไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรเสนอให้มีการใช้ตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่สามารถวัดผลได้อย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการใช้ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
เพื่อยกระดับมาตรฐานขององค์การมหาชนต่อไป และข้อเสนอต่อการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ
จะช่วยให้องค์การมหาชนมีการปรับปรุงตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับบริบทและลักษณะเฉพาะขององค์การมหาชนแต่ละแห่ง
ทำให้เกิดการพัฒนาการบริหารงานภาครัฐให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
และอำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อประชาชนได้ดีขึ้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 4/2567 และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | กค. | 22/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ครั้งที่ ๔/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๗ และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณและรัฐวิสาหกิจนำมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘
ไปเป็นแนวทางในการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐต่อไป
รวมทั้งมอบหมายให้กรมบัญชีกลางและสำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาแนวทางประเมินผลการปฏิบัติราชการของหัวหน้าหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ
ตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอ ๒.
ให้คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ หน่วยรับงบประมาณ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงาน
ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ
เช่น การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ หรือขอบเขตของงาน (TOR)
หรือแบบรูปรายการให้มีงวดงานที่เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะงานและการจ่ายเงิน
การลงนามในสัญญา และการบริหารสัญญา
รวมทั้งให้กระทรวงต้นสังกัดและคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
กำกับติดตามการดำเนินงานของหน่วยรับงบประมาณ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานเจ้าของโครงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ใช้เงินกู้และการเบิกจ่ายเงินลงทุนในโครงการอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การเบิกจ่ายและการใช้จ่ายเงินเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
และมีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่ากรมบัญชีกลางควรพิจารณาปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อลดขั้นตอนหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของหน่วยงานให้มีการเบิกจ่ายที่รวดเร็วเป็นไปตามแผนมากขึ้น
เช่น ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๐ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน
การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ รวมทั้งดำเนินการตามมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕
เพื่อให้การเบิกจ่ายสามารถดำเนินการในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เอกสารฉบับจริงและลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2566 | พม. | 22/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทยประจำปี
๒๕๖๖ โดยรายงานฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้ ๑) สรุปผลการดำเนินงานฯ ประจำปี ๒๕๖๖
แบ่งออกเป็น ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินคดี และบังคับใช้กฎหมาย เช่น
สถิติการดำเนินคดี/ผู้กระทำผิด/ผู้เสียหาย
การปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ
เช่น การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงาน
การคุ้มครองช่วยเหลือที่คำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหาย และด้านการป้องกัน
เช่น การป้องกันการค้ามนุษย์ในกลุ่มเปราะบาง (เด็ก สตรี และขอทาน)
การป้องกันการค้ามนุษย์แรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ/แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในไทย
และ (๒) แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป เช่น
เพิ่มมาตรการการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการเชิงรุกในการสืบสวนและดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์และการพิจารณาบทลงโทษต่อผู้กระทำผิดฐานค้ามนุษย์ที่เหมาะสมและเพียงพอ
การพัฒนาล่ามภาษามือเพื่อเพิ่มช่องทางบริการสำหรับผู้ที่มีอุปสรรคในการสื่อสารด้วยภาษา
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 | พม. | 22/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
สมัยที่ ๕๗ ระหว่างวันที่ ๒๙ เมษายน - ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ ภายใต้หัวข้อหลัก “การประเมินสถานการณ์ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประชากรและการพัฒนา
และผลการดำเนินงานที่นำไปสู่การติดตามและทบทวนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน
ค.ศ. ๒๐๓๐ ในช่วงทศวรรษแห่งการดำเนินการและมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประชากรและการพัฒนา
ไปขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติต่อไป การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ต่าง ๆ
ของแผนปฏิบัติการฯ เช่น การลดความยากจน การลดการเสียชีวิตของเด็กและมารดา
การปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงการวางแผนครอบครัว และการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมในลักษณะบูรณาการ โดยตระหนักถึงความท้าทายที่สำคัญ เช่น
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากร ความยากจน
และวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งทำให้ความเปราะบางและความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) | ยธ. | 22/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์) | วธ. | 22/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ (ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ)
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดี
(โบราณคดี และพิพิธภัณฑ์) (นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่วันที่
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ (1. ศาสตราจารย์พงษ์เทพ สันติกุล ฯลฯ จำนวน 8 คน) | พม. | 22/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
จำนวน ๘ ราย เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ดังนี้ ๑. ศาสตราจารย์พงษ์เทพ
สันติกุล ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคม ๒. นายชินชัย ชี้เจริญ ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคม ๓. นางสาววิจิตา รชตะนันทิกุล ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคม ๔. นายสมชัย จิตสุชน ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคม ๕. นายถาวร สกุลพาณิชย์ ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพอนามัย ๖. ศาสตราจารย์สมพงษ์ จิตระดับ ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ๗. นายสุเทพ ชิตยวงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 57 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 22/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ครั้งที่ ๕๗ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และพิจารณามอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องติดตามผลการประชุมฯ
และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมฯ
เช่น การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคู่เจรจา ๑๑ ประเทศ/องค์กร การประชุมคณะกรรมาธิการสำหรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนบวกสาม
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย
- แปซิฟิก รวม ๑๗ รายการ เมื่อวันที่ ๒๔ - ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ นครหลวงเวียงจันทน์
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีสาระสำคัญในภาพรวม เช่น ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันผลักดันความร่วมมือในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาค
และมีประเด็นที่ไทยผลักดัน เช่น การส่งเสริมการหารือที่ครอบคลุมเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศต่าง
ๆ ในภูมิภาค การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งมีการรับรองเอกสารระหว่างการประชุมฯ จำนวน ๘ ฉบับ
เช่น ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๕๗
ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน - สหราชอาณาจักร :
การเสริมสร้างความเชื่อมโยงเพื่ออนาคตที่เจริญรุ่งเรืองและยั่งยืน เป็นต้น ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้ดำเนินการตามกฎหมาย
ระเบียบ และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบันและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการส่งข้อมูลการอุดมศึกษาและการอื่นที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. .... | อว. | 15/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการส่งข้อมูลการอุดมศึกษาและการอื่นที่เกี่ยวข้อง
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานและหน่วยงานภาคเอกชนตามลักษณะที่สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติประกาศกำหนดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการอุดมศึกษาและการอื่นที่เกี่ยวข้องให้แก่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามที่ได้รับการร้องขอ เพื่อให้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีข้อมูลครบถ้วนในการจัดทำฐานข้อมูลการอุดมศึกษา
การวิจัยและนวัตกรรม นำไปสู่การพัฒนาการจัดการอุดมศึกษาและพัฒนาบุคลากรของประเทศต่อไป
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
และข้อมูลเพิ่มเติมที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เห็นว่ากฎกระทรวงเป็นอนุบัญญัติซึ่งอาศัยกฎหมายแม่บทให้ฝ่ายบริหารกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่กฎหมายระดับพระราชบัญญัติให้อำนาจไว้เท่านั้น
ดังนั้น
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวจึงไม่อาจกำหนดมาตรการบังคับและบทกำหนดโทษสำหรับหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานภาคเอกชนตามร่างข้อ
๑๑ ได้ ประกอบกับกรณีดังกล่าวได้มีการกำหนดไว้แล้วในมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๒ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เห็นว่าพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทกำหนดให้เป็นอำนาจของกระทรวงเท่านั้นที่สามารถร้องขอให้หน่วยงานฯ
ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการอุดมศึกษาและการอื่น
หากแต่ในร่างกฎกระทรวงนี้ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ให้หน้าที่และอำนาจแก่สำนักงานปลัดกระทรวง
(ฐานะเป็นกรม) สามารถร้องขอข้อมูล
และสามารถออกหนังสือเตือนหัวหน้าหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานภาคเอกชนที่จัดส่งข้อมูลไม่ถูกต้อง
ไม่ครบถ้วน หรือไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ อีกทั้งหากหน่วยงานฯ
ไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทางปกครองอีกด้วย
จึงมีข้อสังเกตว่าการกำหนดในลักษณะดังกล่าวจะขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทที่ให้อำนาจหรือไม่ ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. เห็นว่าการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และระยะเวลาการส่งข้อมูล (ร่างข้อ ๕) ควรระบุรายการข้อมูลที่ต้องการให้ชัดเจน การจัดส่งข้อมูล
(ร่างข้อ ๖) ควรกำหนดนิยามรูปแบบ ขนาด ประเภท รายการข้อมูล คำอธิบายข้อมูล (Metadata) พจนานุกรมข้อมูล
(Data Dictionary) และบัญชีรายชื่อข้อมูล (Data
Catalog) รอบระยะเวลาการจัดส่งข้อมูลที่สอดคล้องกับการจัดเก็บข้อมูล
และการจัดหาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลการอุดมศึกษา (ร่างข้อ ๙)
ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มาตรฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รูปแบบข้อมูล
การจัดเก็บรักษาข้อมูลตามมาตรฐานสากล ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (ASEAN Joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP 29) | ทส. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | การจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Centre for Climate Change : ACCC) | ทส. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างความตกลงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และการร่วมลงนามในความตกลงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และมอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนลงนามในความตกลงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ลงนามในความตกลงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเพื่อสนับสนุนการประสานงานและความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศสมาชิกและองค์การระหว่างประเทศ
รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับประเทศสมาชิก
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้
หากการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีการขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในอนาคตก็ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดด้วย สำนักงบประมาณ เห็นควรให้จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่าย
รวมทั้งแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | รายงานผลการตรวจสอบรับรองงบการเงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 | คค. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการตรวจสอบรับรองงบการเงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
และงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้ว เห็นว่างบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 | นร.12 | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา ๑๖๕ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน ๒๕๖๗ และเห็นชอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการในระยะต่อไปให้แล้วเสร็จ โดยมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการ
เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรเร่งรัดการปรับโครงสร้างและอัตรากำลังของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(บก.ปทส.) โดยเกลี่ยอัตรากำลังพลไปปฏิบัติงานในภารกิจที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นเร่งด่วนและยกร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบหรือเปลี่ยนแปลง
บก.ปทส. ให้สอดคล้องกัน
พร้อมทั้งร่วมดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการรับโอนภารกิจด้านการสอบสวนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติในระยะต่อไป
ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | การขอขยายระยะเวลาตามมาตรา 167 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 | ตช. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาตามมาตรา ๑๖๗
แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ตุลาคม
๒๕๖๗ ตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติเสนอ ๒.
ให้คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นควรเร่งรัดการดำเนินการปรับโครงสร้างและอัตรากำลังของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(บก.ปทส.) และยกร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบหรือเปลี่ยนแปลง บก.ปทส. ให้สอดคล้องกับภารกิจที่ลดลง
ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ตามมาตรา ๑๖๕ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๕ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรที่คณะรัฐมนตรีจะได้กำชับให้มีการดำเนินการตามมาตรา
๑๖๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยเร็วด้วย เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติถ่ายโอนภารกิจที่หน่วยงานอื่นรับผิดชอบอยู่แล้วไปให้หน่วยงานนั้นดำเนินการ
อันจะทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติภารกิจหลักได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะสารสกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชง พ.ศ. .... | สธ. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕
เฉพาะสารสกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชง พ.ศ. .... .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย
หรือมีไว้ในครอบครอง กำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขรายการในใบอนุญาต
การดำเนินการของผู้รับอนุญาตเพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแล
และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะสารสกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชง
เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ เชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรม
การวิเคราะห์หรือศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์
รวมทั้งเพื่อประโยชน์ของทางราชการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ เช่น สำนักงาน ก.พ.ร.
เห็นว่าการกำหนดระยะเวลาการแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตตามร่างกฎกระทรวงฯ ข้อ ๑๘ ควรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรา
๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เห็นว่าในกลุ่มสินค้าที่มีสารสกัดจากกัญชาหรือกัญชงจัดเป็นสินค้าที่มีส่วนผสมของยาเสพติดให้โทษในประเภท
๕ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ครอบครัว อุบัติเหตุและอาชญากรรม และอาจลุกลามก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมส่วนรวม
จึงควรมีหลักเกณฑ์ควบคุมการประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยจำกัดสิทธิบางประการของผู้ประกอบธุรกิจและ/หรือผู้รับอนุญาตผลิต
นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองและควรมีบทกำหนดโทษที่ชัดเจนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจและ/หรือผู้รับอนุญาตฯ
ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ทางการค้าเพื่อลดปัญหาผลกระทบทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ
ตลอดจนป้องกันเด็กและเยาวชนเข้าถึงสินค้าที่มีสารสกัดจากกัญชาหรือกัญชงและประสงค์ที่จะนำไปใช้อย่างผิดวิธีได้โดยง่าย ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานอัยการสูงสุด
และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | แผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทย | ทส. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทย
และบัญชีแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทย ๑,๙๘๔ ตำบล
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒.
มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทยไปใช้ประกอบการเตรียมความพร้อม
ป้องกัน เฝ้าระวัง และเตือนภัยในพื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเร็วต่อไป โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนที่และบัญชีแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทยไปประกอบการพิจารณาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม
ตลอดจนเร่งสร้างความตระหนักรู้แก่ประชนในพื้นที่เสี่ยง เพื่อลดความสูญเสียและความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สิน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 01/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๖๒พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรฐานการให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมที่หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมต้องใช้ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังสุขภาพแก่ประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเกี่ยวกับเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสภาการพยาบาลไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เห็นควรมีการแก้ไขร่างกฎกระทรวง
เช่น ควรมีการเพิ่มเติมผลการประเมินความเสี่ยงที่อยู่ในระดับต่ำด้วย เพื่อจัดทำแผนเฝ้าระวังและป้องกัน
และควรให้หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมต้องมีนักอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมในการดำเนินการ
เป็นต้น สภาการพยาบาล เห็นว่า ในคำนิยาม พยาบาล ควรเพิ่มคำว่า
“ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์” ด้วย ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นว่าร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง การป้องกัน
และการควบคุมโรคจากสิ่งแวดล้อม สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นควรพิจารณาให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้เร็วกว่าที่กำหนดเพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรคจากสิ่งแวดล้อมให้กับลูกจ้าง แรงงานนอกระบบ และประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษ
ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และทันการณ์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรฐานการให้บริการอาชีวเวชกรรมที่หน่วยบริการอาชีวเวชกรรมต้องใช้ดำเนินการตรวจสุขภาพแก่ลูกจ้างหรือแรงงานนอกระบบตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง การป้องกัน
และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สภาการพยาบาล และแพทยสภา ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ เช่น สภาการพยาบาล เห็นว่า หมวด ๒ ข้อ ๕ (๑)
(การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง) ความว่า “....หรือแรงงานนอกระบบรับผิดชอบอยู่
โดยการบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ ....” มีข้อเสนอว่า
โดยการบ่งชี้และประเมินความเสี่ยง ทั้งนี้ เพื่อให้มีความชัดเจน ควรมีคณะกรรมการ/คณะทำงานไปประเมินทั้งโครงสร้าง องค์ประกอบ ขอบเขต
หน้าที่การทำงาน หมวด ๓ ข้อ ๘ (๒.๒) ความว่า “พยาบาลวิชาชีพที่ผ่านหลักสูตรความรู้พื้นฐานด้านอาชีวอนามัยสำหรับพยาบาล
หรือหลักสูตรการพยาบาล....” ขอแก้โดยเพิ่มเติมเป็น
“พยาบาลวิชาชีพที่ผ่านหลักสูตรความรู้พื้นฐานด้านการพยาบาลอาชีวอนามัย หรือหลักสูตรการพยาบาล....”
ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องตรงกับหลักสูตรที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง และ หมวด ๔
ข้อ ๑๑ (๒) ความว่า “...กรมการแพทย์หรือสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยกำหนด
หรือผ่านหลักสูตร ...” ขอแก้โดยเพิ่มเติมเป็น “....กรมการแพทย์หรือสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
หรือสมาคมพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทยกำหนด หรือผ่านหลักสูตร ....” แพทยสภา
เห็นว่ากฎกระทรวงควรมีผลใช้บังคับเร็วกว่าที่กำหนดไว้ โดยปรับลดลงเหลือ ๑๘๐ วัน
ทั้งนี้ แพทยสภามีหลักสูตรอบรมแพทย์ด้านสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์อยู่แล้ว
ซึ่งสามารถปฏิบัติงานในด้านนี้ได้ และในการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการให้บริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมที่หน่วยบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อมที่ใช้ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษ
โดยมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เป็นระบบ ทันต่อสถานการณ์โรคมีประสิทธิภาพ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | ร่างกฎกระทรวงการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสิทธิในการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบให้มีสิทธิได้รับการตรวจสุขภาพโดยหน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียน
๓ กรณี ได้แก่ การตรวจสุขภาพแรกเข้าทำงานภายในสามสิบวันและตรวจสุขภาพเป็นระยะ
การตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงานหลังจากเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
และการตรวจสุขภาพกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ทั้งนี้
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ เช่น กระทรวงแรงงาน เห็นควรกำหนดให้กฎกระทรวงฯ
มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และควรมีการระบุลักษณะการประกอบอาชีพอื่นที่ควรเฝ้าระวังด้วย เช่น
โรคที่เกิดจากรังสีแตกตัว โรคหูเสื่อมจากเสียงดัง และโรคติดเชื้อจากสัตว์ เป็นต้น สำนักงาน ก.พ.ร.
เห็นควรพิจารณาให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้เร็วกว่าที่กำหนด
และกระทรวงสาธารณสุขต้องมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมได้ทราบถึงบทบาทของหน่วยบริการที่จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขภายหลังจากกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับโดยเร็ว
รวมถึงควรพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับการเชื่อมโยงฐานข้อมูลการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขอาจพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมที่จะให้แรงงานต่างด้าวซึ่งมีจำนวนมากและเป็นสัดส่วนที่สูงของแรงงานทั้งหมดในประเทศไทย
สามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงมากขึ้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เห็นควรมีการสื่อสารสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนผู้เป็นแรงงานนอกระบบ
เพื่อให้รับรู้ถึงสิทธิการตรวจสุขภาพ รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้อง
|