ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 9 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 168 จากข้อมูลทั้งหมด 168 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแผนงานของคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก พ.ศ. 2564-2568 (Draft ACWC Work Plan 2021-2025) | พม. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
ดังนี้ ๑. ให้ความเห็นชอบต่อร่างแผนงานของคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๘ (Draft ACWC Work Plan 2021 - 2025) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกและหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ๒. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (AMMSWD
Minister) ของประเทศไทยมีหนังสือแจ้งการรับรองต่อร่างแผนงานของคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๘ (Draft ACWC Work Plan 2021 - 2025)
ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในฐานะประธานการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา
(Chair of AMMSWD) ในโอกาสแรก
ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นซอบแล้ว ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศที่เห็นว่า
ร่างแผนงานฯ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตาม
มาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาให้ความสำคัญในการร่วมเป็นหุ้นส่วน (Partner)
ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ
โดยเฉพาะโครงการที่ไทยเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ | อว. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการ ๑.๑ ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๒ ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... ๑.๓ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๔ ร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม ๔ ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
โดยให้รวมทุนหมุนเวียนเพื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่
รวมทั้งแก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องกัน
ซึ่งการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็นไปเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา
และส่งเสริมการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับมติของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
และความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณ
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติ รวม ๔
ฉบับดังกล่าวเป็นร่างกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๓. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรพิจารณาความคุ้มค่า
ต้นทุนและผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ตามาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ควรกำหนดกลไกและมาตรการรวมทั้งส่งเสริมการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ
ควรพิจารณากำหนดเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่น ควรแก้ไขบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบการดำเนินงานที่ควรได้รับการจัดสรรงบประมาณให้มีความชัดเจน
และให้ความสำคัญกับการกำหนดผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดของการดำเนินงานของโครงการที่มีความท้าทาย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | ร่างมาตรการสนับสนุนให้สตรีเป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ | พม. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นซอบในหลักการของมาตรการสนับสนุนสตรีให้เป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ
ประกอบด้วยมาตรการย่อย ๓ มาตรการ ได้แก่ จัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นำมาตรการดังกล่าวไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยให้นำความเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วยเพื่อให้ได้ข้อยุติในประเด็นต่าง
ๆ ที่ชัดเจน เหมาะสม ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ดังนี้ ๑)
กระทรวงการคลังเห็นว่า ในการพิจารณาจะต้องคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒)
กระทรวงแรงงานเห็นว่า หากจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมสิทธิการลาคลอด
ให้สามีของแรงงานสตรีสามารถลาเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ นายจ้าง
เจ้าของสถานประกอบกิจการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคธุรกิจ
เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วย ๓)
กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า เพื่อให้การแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมและครอบคลุมข้าราชการทุกประเภท
จึงเห็นควรพิจารณาในรายละเอียดด้วยความรอบคอบ ๔)
กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า ควรมีการทบทวนข้อมูลอย่างรอบด้าน
โดยคำนึงถึงหลักความเหลื่อมล้ำในกลุ่มแม่ที่ใช้สิทธิอื่น
หรือกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีบุตร เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติหรือความเป็นธรรมในการจ้างงานด้วย ๕)
สำนักงบประมาณเห็นว่า สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕
เห็นควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ
ๆ ไป
เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ๖)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีความเห็นประกอบการพิจารณาในแต่ละมาตรการ
ดังนี้ ๖.๑) การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี โดยขยายบริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กให้รับเด็กอายุ ๐ ถึง
๓ ปี และขยายเวลาเบิดและปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน นั้น
เป็นมาตรการเพื่อแบ่งเบาภาระของสตรีในการเลี้ยงดูบุตรโดยกำหนดอายุของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง
๓ ปี
แต่การกำหนดอายุขั้นต่ำของเด็กดังกล่าวหากเป็นกรณีผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นหญิงที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน
จะต้องคำนึงถึงมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
ที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๘
วัน และมาตรการที่กำหนดให้ขยายวันลาคลอดของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ซึ่งเป็นการกำหนดเพื่อให้สิทธิแก่สตรีในการใช้วันลาคลอดเพื่อเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง ๖.๒) การส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
โดยให้ข้าราชการชายสามารถลาไปช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร นั้น
ควรกำหนดให้ลูกจ้างขายสามารถลาเพื่อช่วยเหลือภรรยาดูแลบุตรได้
เพื่อให้การกำหนดมาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งจะทำให้เกิดความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ
แต่ในรายละเอียดอาจจะต้องกำหนดเพื่อไม่ให้นายจ้างได้รับผลกระทบจนเกินสมควร ๖.๓) การขยายวันลาคลอดของข้าราชการ
โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น
ในส่วนของการแก้ไขวันลาคลอดของข้าราชการ เป็น ๙๘ วัน เป็นการกำหนดที่สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(ILO)
ฉบับที่ ๑๘๓
ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดาซึ่งได้กำหนดให้ภาครัฐต้องดูแลผู้หญิงตั้งครรภ์
ระหว่าง และหลังคลอด และต้องให้วันหยุดมารดาหลังคลอด ๑๔ สับดาห์
ซึ่งสตรีในภาคเอกชนได้รับสิทธิดังกล่าวแล้วตามมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
สำหรับการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ลาได้อีก ๙๐ วัน
และให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น จะต้องพิจารณาว่า การแก้ไขดังกล่าวกระทบกับการการลาบระเภทอื่นหรือไม่
ได้แก่ การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ส่วนการกำหนดให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐
ของเงินเดือนปกติ จะต้องพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเดือน ได้แก่
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบด้วย ๗)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
มาตรการส่งเสริมการลาของสามี และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง
มีผลบังคับใช้กับกลุ่มข้าราชการเท่านั้น เพื่อให้ร่างมาตรการดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
จึงควรเร่งศึกษาแนวทางเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายสู่แรงงานกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างเอกชน
ซึ่งมีสัดส่วนถึง ๒ ใน ๕ ของผู้มีงานทำทั้งหมด ๘)
สำนักงาน ก.พ. เห็นว่า เห็นควรมอบหมายสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาปรับปรุงระเบียบฯ ดังกล่าว
และโดยที่ข้อเสนอการปรับปรุงวันลาของข้าราชการชายเพื่อช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร
และการขยายวันลาคลอดบุตรของข้าราชการหญิง
มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา
และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น อาทิ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ
บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายอื่นให้สอดคล้องกันต่อไปด้วย ๙)
กระทรวงมหาดไทยมีข้อเสนอแนะว่า ๙.๑) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้จัดบริการให้กับเด็กเล็กครอบคลุมช่วงอายุ ๒ - ๓ ปี ซึ่งในการขยายบริการเด็กเล็ก
โดยให้รับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๒ ปีลงไปนั้น
ควรกำหนดแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พิจารณาดำเนินการตามความพร้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รวมถึงความต้องการของชุมชนในพื้นที่โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ
อัตรากำลังครู/ผู้ดูแลเด็กในแต่ละช่วงอายุ รวมถึงการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กอย่างถูกต้องตามหลักวิซาการ ๙.๒) สำหรับการขยายเวลาเปิด -
ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หากจะขยายเวลาเปิด - ปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนทำงาน
ต้องคำนึงถึงความพร้อม สภาพบริบท ที่ตั้ง
การประกอบอาชีพของผู้ปกครองและความต้องการของผู้ปกครองในท้องถิ่นนั้น ๆ
รวมถึงงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในการดำเนินการดังกล่าว ๑๐)
สำนักงาน ก.พ.ร. มีข้อเสนอแนะว่า
๑๐.๑) กรณีมาตรการจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า
๓ ปี ควรกำหนดให้อายุเด็กที่จะเข้ารับบริการ จาก ๐ - ๓ ปี เป็น ตั้งแต่ ๓
เดือนขึ้นไป - ๓ ปี เนื่องจากจะสอดคล้องกับมาตรการขยายวันลาคลอดของแม่
และช่วยให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากแม่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อพัฒนาการของเด็ก
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี
สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติและสามารถให้บริการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรพิจารณาประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของบุคลากร และศักยภาพของศูนย์
พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่ง รวมทั้งต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ
ตลอดจนคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของผู้ปกครองหรือผู้รับบริการในแต่ละพื้นที่สำหรับการขยายเวลาให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่งด้วย ๑๐.๒) กรณีการส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
ซึ่งกำหนดให้ลาได้ ๑๕ วัน โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกันนั้น
ควรพิจารณารับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำไปกำหนดรายละเอียดและกรอบระยะเวลาการลาของสามีดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ๑๐.๓) กรณีการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรสามารถลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน
๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ควรพิจารณาผลกระทบทั้งในประเด็นการปฏิบัติงานและการบริหารงานขององค์กรและภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่จะเพิ่มขึ้น
รวมทั้งคำนึงถึงความคุ้มค่าของประโยชน์โดยรวมที่สังคมและประเทศจะได้รับด้วย ๑๑)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ๑๑.๑) มาตรการข้อ ๒
ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด ที่เสนอว่า “...ให้ลาได้ ๑๕
วันทำการ เป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันจนครบวันลา” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน”
ไว้หน้า ๑๕ วันทำการด้วย
เพื่อให้มีความคล่องตัวในการลาและสอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
ที่กำหนดไว้ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ ๑๑.๒) มาตรการข้อ ๓
ขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง ที่เสนอว่า “...โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิม
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน” ไว้หน้า ๙๘ วัน ด้วยเหตุผลผลเดียวกับข้อ
๑๑.๑) แต่สำหรับการได้รับเงินเดือนระหว่างลา กฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ได้กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน ๙๐ วัน
ในส่วนของประเด็นที่เสนอว่า “...โดยให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘
วัน สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ”
นั้น ประเด็นดังกล่าวน่าจะมีจุดมุ่งหมายในการลาเพื่อการเลี้ยงดูบุตร
ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕
ได้กำหนดให้เป็นประเภทของการลากิจสวนตัว ตามข้อ ๒๒ ที่กำหนดไว้ว่า “ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ
๑๙ แล้ว หากประสงค์จะลากิจสวนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน
๑๕๐ วันทำการ”
แต่การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรดังกล่าวกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
กำหนดไว้ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 | ปปง. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๓ มีรายละเอียดที่สำคัญ ๙ ด้าน คือ (๑) ผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันการฟอกเงิน
(๒) ผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการฟอกเงิน (๓) ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ๔
คณะ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้แก่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
คณะกรรมการธุรกรรม คณะกรรมการเปรียบเทียบ และคณะกรรมการพิจารณาผลการกำกับ ตรวจสอบ
และประเมินผลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของผู้มีหน้าที่รายงาน
(๔) ผลการดำเนินงานด้านการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงาน (๕)
ผู้ปฏิบัติงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ (๖) การพัฒนาองค์การ (๗)
ผลการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการดำเนินการ (๘)
ผลการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขกฎหมายและออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ (๙)
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๒.
เห็นชอบให้นำข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของสำนักงาน ก.พ.ร.
ข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี
และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๓.
ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในส่วนของอัตรากำลังจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งและมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ
และควรเพิ่มข้อมูลในส่วนข้อเสนอแนะประเด็นการยกระดับขีดความสามารถด้านการตรวจสอบและสืบสวน
การทำธุรกรรมทางการเงินดิจิทัลหรือสินทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์
และควรจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานในปีนั้น ๆ
ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณถัดไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านจิตวิทยาองค์การ) ในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์) | นร.12 | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายปิยวัฒน์
ศิวรักษ์ เป็นประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ด้านจิตวิทยาองค์การ) ในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๑
มกราคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว ตามที่สำนักงาน
ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | ปช. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และเห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาคุณธรรมความโปร่งใสของภาครัฐ
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปพิจารณาปรับปรุง พัฒนา และยกระดับ
ตลอดจนเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ในส่วนของการมอบหมายให้หน่วยงานที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐดำเนินการกำกับติดตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Monitoring) และผลักดันให้หน่วยงานภายใต้กำกับดูแลดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการประเมินที่กำหนด
ในส่วนของข้อ ๕.๘ (หนังสือสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ ปช ๐๐๐๙/๐๔๔๓ ลงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน
๒๕๖๔ หน้า ๘) นั้น ควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ตรงตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยกรจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทจากเดิม
“๕.๘) มอบหมายให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ...”เป็น “๕.๘)
มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ ...” ข้างต้น
ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ ๒. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงาน ก.พ.ร.
ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปพิจารณาต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) พ.ศ. .... | รง. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Payment)
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายกำหนดเวลากรณีนายจ้างยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและนำส่งเงินสมทบ
โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)
ออกไปอีก ๗ วันทำการ นับแต่วันที่พ้นกำหนดวันที่ ๑๕
ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ โดยมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา ๒๔ เดือน
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าสำนักงานประกันสังคมควรเพิ่มหน่วยให้บริการรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
โดยเพิ่มจำนวนธนาคารพาณิชย์และขยายหน่วยบริการรับชำระเงิน (Non-Bank) นอกจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน
รวมทั้งเร่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และเชิญชวนให้นายจ้างและสถานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Payment) เพิ่มมากขึ้น
และควรหาแนวทาง/มาตรการอื่น ๆ ในการจัดหาผลประโยชน์ให้กองทุนประกันสังคมเพิ่มเติม
โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความมั่นคงของกองทุนเป็นหลัก ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | รายงานผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานเชิงนโยบาย | วธ. | 04/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๑ และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานเชิงนโยบาย ซึ่งจัดในรูปแบบออนไลน์
ภายใต้แนวคิด “คุณธรรมวิถีใหม่ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านคุณธรรมให้กับประชาชน
โดยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มเครือข่ายทางสังคมทุกภาคส่วน
จนก่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นและข้อเสนอเพิ่มเติมของกระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน
ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรต่อยอดการคิดค้นและพัฒนาระบบเครดิตทางสังคมให้เป็นเครื่องมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีงามของคนในสังคมอย่างยั่งยืน
มีการบูรณาการงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
รวมทั้งเพิ่มบทวิเคราะห์และสรุปผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ไว้ในรายงานครั้งต่อไป
นำข้อเสนอเชิงนโยบาย เช่น การส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาคน
การสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างระบบเครดิตทางสังคมไปประกอบการพิจารณาและจัดทำแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และบูรณาการการทำงานกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมของคนในชาติให้เกิดผลในทางปฏิบัติและบรรลุเป้าหมายความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒.
ให้หน่วยงานของรัฐรับข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|