ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 9 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 168 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร | นร.12 | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ดังนี้ (๑) ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทของหน่วยงานของรัฐในการกำกับของฝ่ายบริหาร)
โดยเพิ่มประเภทขององค์การมหาชน จากเดิม ๒ ประเภท เป็น ๓ ประเภท
เพื่อรองรับหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
และมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕/๘
แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ครอบคลุมถึงหน่วยงานดังกล่าว
(๒) จำแนกให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ
และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล และ (๓)
จำแนกให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารประเภทองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงหน่วยงานที่เป็นอยู่เดิมเป็นลำดับแรกก่อน
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของภารกิจ
รวมทั้งคำนึงถึงหลักการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายของภาครัฐที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
คำนึงถึงแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
โดยอาจวางระบบ หลักเกณฑ์ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแล
และบริหารจัดการองค์กรให้ชัดเจน
และควรเร่งรัดการดำเนินการในส่วนของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารแล้วเสร็จ
เพื่อปรับรูปแบบการบริหารราชการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
142 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
143 | รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 เรื่อง การรับรายงานผลดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต | ปปท. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ มกราคม ๒๕๖๓ เรื่อง
การรับรายงานผลดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
(ศปท.) โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐได้รับรายงานจาก
ศปท. ทั้ง ๓๙ หน่วยงาน
ซึ่งได้รายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในสังกัดหรือกำกับ ประกอบด้วย
ส่วนราชการ ๓๖๔ หน่วยงาน รวมรัฐวิสาหกิจ ๕๓ หน่วยงาน และองค์การมหาชน ๒๖ หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น
๔๔๓ หน่วยงาน ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗-๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ รวม ๒,๔๒๓ เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑,๐๕๓ เรื่อง (ร้อยละ ๔๓.๔๖) และอยู่ระหว่างดำเนินการ ๑,๓๗๐ เรื่อง (ร้อยละ ๕๖.๕๔)
และยังได้รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑
(ที่กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติในกรณีที่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบให้แล้วเสร็จภายใน
๗ วัน และให้ดำเนินการทางวินัยหรือทางอาญาโดยเร็ว ให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน)
โดยมีรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นไม่แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน ๑,๑๒๙ เรื่อง รายงานผลการดำเนินการทางวินัยหรือทางอาญาไม่แล้วเสร็จภายใน ๓๐
วัน ๑,๐๐๕ เรื่อง
และมีหน่วยงานที่ดำเนินการเสร็จตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑ คือ
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
144 | การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี | นร.10 | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น ๖๕ อัตรา
ตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๔ ตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
145 | ร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... | ทส. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยกำหนดพื้นที่ในการบังคับใช้กฎหมาย กำหนดให้มีแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทุก
๕ ปี เพื่อใช้บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวมของประเทศ
กำหนดให้มีคณะกรรมการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ กำหนดให้มีการสร้างสมรรถนะและแรงจูงใจในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
กำหนดวิธีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ กำหนดกลไกในการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพรวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น
กำหนดกลไกการกำกับดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Living Modified Organisms : LMOs) กำหนดโทษทางแพ่ง
โทษทางปกครอง โทษทางอาญา และกำหนดบทเฉพาะกาล ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด
และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เช่น ควรพิจารณาความครอบคลุมของกฎหมาย
ในประเด็นการปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศจากการใช้ประโยชน์ในรูปแบบของการเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากต่างชาติ
กำหนดเพิ่มเติมในอนุบัญญัติให้บุคคลที่ไม่ได้ขออนุญาตก่อนการเข้าถึงทรัพยากรทางชีวภาพตั้งแต่แรกสามารถยื่นคำขออนุญาตก่อนการเข้าถึงและทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในภายหลังได้
ควรมีความนิยามเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการด้านเทคนิค อาทิ
รายงานการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพ (มาตรา ๔๔) บัญชีปลดปล่อยต่อสิ่งแวดล้อม
(มาตรา ๔๖) แนวทางการระมัดระวังล่วงหน้า (มาตรา ๕๑) และสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม
(มาตรา ๕๓) เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรมีระบบความเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรมที่ได้มาจากการพัฒนาขึ้นทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
และให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลเกิดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
146 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 - 2580 | ศธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
(ร่าง)
แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
ปี พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๘๐ และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามยุทธศาสตร์ นำ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการฯ ไปใช้เป็นกรอบแนวทางการบริหารเชิงนโยบายให้เป็นเอกภาพ และมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศในภาพรวมอย่างเป็นระบบ
เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ประเทศไทย ๔.๐ ยุทธศาสตร์ มาตรการ ที่กำหนดขึ้น และให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
เป็นหน่วยงานประสานหลักและให้อำนาจ (authority) ในการติดตามและสั่งการ เพื่อให้หน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องดำเนินงานให้เหมาะสม ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เช่น ควรเร่งพัฒนากลไกการบริหารจัดการการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษที่ชัดเจน
และตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเข้าสู่การปฏิบัติในระบบงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคส่วนต่าง
ๆ ของประเทศต่อไปให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณแบบบูรณาการ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
147 | การแต่งตั้งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสำหรับวาระระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 - 31 ธันวาคม 2567 | กต. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการแต่งตั้งศาสตราจารย์กิตติคุณ
ดร. อมรา พงศาพิชญ์
ดำรงตำแหน่งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สำหรับวาระระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗
โดยให้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
และให้กระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. อมรา
พงศาพิชญ์
ดำรงตำแหน่งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สำหรับวาระระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗
ให้เลขาธิการอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนทราบ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
148 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (1. นายประสัณห์ เชื้อพาณิช ฯลฯ จำนวน 8 คน) | นร.12 | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ รวม ๘ คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเสนอ ๑. นายประสัณห์ เชื้อพาณิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านบัญชี) ๒. นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการตรวจสอบและประเมินผล) ๓. ศาสตราจารย์กิตติคุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านกฎหมาย) ๔. นายมนัส แจ่มเวหา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเงิน) ๕. รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเศรษฐศาสตร์) ๖. นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหารและการจัดการ
การวางแผน) ๗.
นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ) ๘.
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านวิศวกรรมศาสตร์
หรือสถาปัตยกรรมศาสตร์)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
149 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการยาสูบแห่งประเทศไทย (1. นายธีรัชย์ อัตนวานิช ฯลฯ รวม 9 ราย) | กค. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการยาสูบแห่งประเทศไทย รวม ๙ คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ดังนี้ ๑. นายธีรัชย์ อัตนวานิช ประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ๒. นายปิ่นสาย สุรัสวดี กรรมการผู้ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ๓. นางสาวสุภัค ไชยวรรณ กรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ๔. ศาสตราจารย์อัญญา ขันธวิทย์ กรรมการ ๕. พลตำรวจตรี ศิร์ธัชเขต ครูวัฒนเศรษฐ์ กรรมการ ๖. พลโท วรพจน์ ธนะธนิต กรรมการ ๗. นายทองเปลว กองจันทร์ กรรมการ ๘. นายสมศักดิ์ เธียรวิวัฒน์นุกูล กรรมการ ๙. นางชนัญญารักษ์ เพ็ชร์รัตน์ กรรมการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
150 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (1.นายโชติชัย เจริญงาม ฯลฯ รวม 6 คน) | นร.12 | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวม ๖ คน ตามความในมาตรา ๔๗
แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ.
๒๕๖๔ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ดังนี้ ๑. นายโชติชัย เจริญงาม ประธานกรรมการ ๒. นายถาวร ชลัษเฐียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓. นางสาวเพียงออ เลาหะวิไลย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๔. นายพิศิษฐ์ แสง-ชูโต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๕. นายสมโภชน์ อาหุนัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๖. นายสุเมธ องกิตติกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
151 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้โครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน | สธ. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา
และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ภายใต้โครงการค่าตอบแทน
เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย
สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในชุมชน วงเงินจำนวน ๓,๑๕๐,๙๑๘,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
152 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา | กษ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
จำนวน ๓๕๐ แปลง เนื้อที่ ๗๗๐-๑-๕๙ ไร่ในอัตราไร่ละ ๔๕,๐๐๐
บาท เป็นเงิน ๓๔.๖๗ ล้านบาท ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
ที่ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบโดยคณะอนุกรรมการทั้ง ๒ คณะ (คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน) โดยในส่วนของงบประมาณ กรมชลประทานจะปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ มาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าทดแทน
จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา
อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ รวม ๒๑ ราย
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธาน
เพื่อกำกับการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอ และให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
กรมชลประทานควรเร่งรัดดำเนินการจ่ายค่าทดแทน
กำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาสำหรับการสำรวจพื้นที่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบให้มีความชัดเจน
เพื่อให้ทราบงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการจ่ายค่าทดแทนที่แน่นอน
และให้กรมชลประทานปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๖๕
แล้วขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเร่งรัดสำรวจพื้นที่และจำนวนราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนาทั้งหมด
เพื่อให้สามารถจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรได้ถูกต้องครบถ้วนโดยเร็วต่อไป ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐในกรณีต่าง
ๆ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง
ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา)
ให้แล้วเสร็จและนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
153 | การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) | อว. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการการมอบอำนาจให้สภานโยบายฯ
ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา
และมีคำสั่งให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาแทนคณะรัฐมนตรี
โดยให้ถือว่าการอนุมัติและความเห็นชอบดังกล่าวเป็นมติของคณะรัฐมนตรี
และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ตามนัยมาตรา ๖๙
แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ในกรณีที่เป็นการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาในเรื่องที่เป็นเชิงนโยบาย
มีความสำคัญสูง มีผลกระทบกับระบบการอุดมศึกษาในภาพรวม
หรือก่อให้เกิดภาระงบประมาณในระยะยาว ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาตินำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบเป็นกรณี
ๆ ไป ก่อนดำเนินการต่อไป ๒. ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ กำหนดมาตรการส่งเสริมเชิงนโยบายในส่วนของการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับภารกิจหน่วยงานของภาครัฐ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับเรื่องนี้ไปพิจารณาและหารือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการให้เหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
154 | ขอถอนร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางระกำ และตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | กษ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ถอนร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ....
และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางระกำ
และตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. .... รวม ๒ ฉบับดังกล่าว
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
155 | ร่างกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. .... | รง. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ
พ.ศ. .... ของกระทรวงแรงงาน ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขสำหรับนายจ้างในการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร
หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ
โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นกลไกในการกำกับ ดูแล
และบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงพลังงาน ที่เห็นว่ากำหนดให้นายจ้างแต่งตั้งผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคชั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ
จำนวนหนึ่งคน แล้วแต่กรณี เป็นกรรมการความปลอดภัยและเลขานุการนั้น
อาจทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ และการกำหนดให้มีการทบทวนคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานอย่างน้อยทุกหกเดือนเป็นช่วงเวลาที่ถี่เกินไป
และการกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารความปลอดภัยและต้องไม่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
เป็นผู้บริหารหน่วยความปลอดภัยนี้
อาจส่งผลกระทบต่อสถานประกอบกิจการปิโตรเลียมที่มีจำนวนพนักงานน้อย ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับมติที่ประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่
๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย
และสภาสถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามมติที่ประชุมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับข้อคัดค้านร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้
เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ ตามข้อ ๓
และการควบคุมคุณภาพของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามร่างข้อ ๒๑ (๓)
ต้องเป็นอย่างเข้มงวด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีคุณภาพ
และเกิดประโยชน์สูงสุดตามเป้าประสงค์ของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
พ.ศ. ๒๕๕๔ ต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
156 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... | ดศ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ในการดำเนินการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกันของหน่วยงานของรัฐ
เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำหนดให้มีแพลตฟอร์มกลางเป็นช่องทางรับแจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าอาจเป็นข่าวปลอมเพียงระบบเดียว
ให้มีการกำหนดกระบวนการ รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมายกับข่าวปลอมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ชัดเจน
ควรแก้ไข ร่างข้อ ๗ เป็น “มท.
จัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์ประจำจังหวัดขึ้น
โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด
...” ให้มีการกำหนดรายละเอียดของนิยามตามร่างระเบียบฯ
ของขั้นตอนการปฏิบัติให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาทิ คำว่า “เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม”
เพื่อลดปัญหาการตีความ และเป็นการสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติตามร่างระเบียบฯ
ดังกล่าวต่อไป และคำว่า “ข่าวปลอม” ตามข้อม ๓ ควรเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า
ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลปลอมหมายความว่าอย่างไร และอาจพิจารณาเพิ่มเติมว่า “ข้อมูลที่บิดเบือน”
เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๔ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เห็นว่าการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบและดำเนินคดีผู้เผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมควรดำเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวังมิให้เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
ร่างข้อ ๖
ควรเพิ่มข้อความให้สามารถใช้กลไกของหน่วยงานด้านสื่อประชาสัมพันธ์เดิมที่กระทรวงมีอยู่มาดำเนินการได้
ระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงความเหมาะสมแก่กรณี เร่งสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ใช้สื่อทุกคน
ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยาม ขอบเขต
และกระบวนการดำเนินงานให้เกิดความชัดเจน
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
157 | แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (1. นายสมชัย ฤชุพันธ์ุ ฯลฯ รวม 5 คน) | กค. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา รวม ๕ คน ตามาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๔ มกราคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายสมชัย ฤชุพันธุ ประธานกรรมการ ๒. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน ๓. รองศาสตราจารย์ชโยดม สรรพศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ๔. นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล ๕. นายนิกร เภรีกุล กรรมการและเลขานุการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
158 | การจัดทำและลงนามเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่ 1 (Addendum No. ) ของสัญญาการให้ (Grant Contract) ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ของกิจกรรมการเสริมสร้างขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการอาเซียนภายใต้โครงการ ARISE Plus | กต. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่
๑ (Addendum No. 1) ของสัญญาการให้
(Grant Contract) ของโครงการ ARISE Plus และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในเอกสารดังกล่าว และให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน
ณ กรุงจาการ์ตา ว่า รัฐบาลไทยเห็นชอบต่อเอกสารแล้ว
และให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนลงนามในเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่ ๑ (Addendum
No. 1) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารเพิ่มเติมฉบับที่ ๑ (Addendum No.
1) ของสัญญาการให้ (Grant Contract) ของโครงการ ARISE Plus ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
159 | ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๓๘ และ ๓๙ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
รวม ๑๐ รายการ เมื่อวันที่ ๒๖-๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม
(บรูไน) ทรงเป็นประธานการประชุม โดยมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้นำของคู่เจรจา
๘ ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินเดีย รัสเซีย
และนิวซีแลนด์ ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน ๒๕ ฉบับ
และแสดงวิสัยทัศน์ของไทยโดยเน้นเรื่องการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) การฟื้นฟูและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน และการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การสร้างประชาคมอาเซียน การรับมือกับโรคโควิด-๑๙
การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
ความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและภาคีภายนอก สถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค และการส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนให้แก่กัมพูชา
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่ควรดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และควรเพิ่มประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ ในตารางติดตามผลการประชุมฯ หัวข้อ ๓
การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ ๒๔ ข้อ ๖ การพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อย่อย ๖.๒
เรื่องการส่งเสริมความร่วมมือ
เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
160 | ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. .... | ปช. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกการคุ้มครองประชาชนที่ถูกฟ้องคดีปิดปากอันเนื่องมาจากการแสดงความคิดเห็น
การให้ถ้อยคำ การแจ้งเบาะแสหรือข้อมูล หรือการจัดทำคำร้องหรือคำกล่าวหา
เกี่ยวกับการกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐหรือบุคคลใดอันเป็นที่มาของการสอบสวน
การตรวจสอบ หรือการไต่สวน ในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบเพื่อให้เกิดการบังคับใช้อย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
หน่วยงานภาครัฐ
รวมถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาด้วยว่าอาจดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ แทนการออกเป็นกฎหมายเฉพาะได้หรือไม่ และให้รับความเห็นกระทรวงยุติธรรม
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
ควรคำนึงถึงมาตรการหรือกลไกที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน
รวมทั้งต้องพิจารณากำหนดมาตรการหรือกลไกเพิ่มเติมขึ้นเป็นการเฉพาะ
เพื่อให้การป้องกันหรือคุ้มครองบุคคลที่แสดงความเห็นหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลโดยสุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
ควรปรับคำนิยาม “ประพฤติมิชอบ” ในร่างมาตร ๓ ให้ครอบคลุมถึงพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมด้วย
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ |