ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 7 จากทั้งหมด 9 หน้า แสดงรายการที่ 121 - 140 จากข้อมูลทั้งหมด 168 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
121 | รายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 | นร.12 | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ โดยเป็นการสรุปบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบจากโควิด-๑๙
ในภาพรวมของส่วนราชการและจังหวัด
ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและให้บริการประชาชนได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพหากเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ เช่น
การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลเพื่อเป็นกลไกที่สำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐในการให้บริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มบริการแบบเบ็ดเสร็จ
และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการทำธุรกรรมกับภาครัฐ
การจัดทำและทบทวนแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบ การให้บริการผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ๒.
เห็นชอบข้อเสนอแนะการบริหารงานและการให้บริการประชาชนกรณีเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้สำนักงาน
ก.พ.ร. ติดตามความคืบหน้าและรายงานต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
122 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดทุนทรัพย์การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่น พ.ศ. .... | นร.12 | 19/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดทุนทรัพย์การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่น
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ของการไกล่เกลี่ย
และประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มิใช่ข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน มรดก
จากเดิมที่กำหนดจำนวนทุนทรัพย์ไว้ไม่เกินสองแสนบาท เป็น จำนวนไม่เกินสองล้านบาท
ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่นของประชาชน
เพื่อให้การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งอื่นมีความเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ตามที่สำนักงาน
ก.พ.ร. เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม ที่เห็นควรให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาประโยชน์ในกรณีนำพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
พ.ศ. ๒๕๖๒ มาพิจารณาประกอบการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
123 | ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 | พน. | 12/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า
(Transmission System Improvement
Project in Eastern Region to Enhance System Security : TIPE) (โครงการ TIPE) และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่
ระยะที่ ๓ (Independent Power Producer 3 : IPP3) (โครงการ IPP3) และอนุมัติวงเงินงบประมาณลงทุนในปี
พ.ศ. ๒๕๖๔ และปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สำหรับโครงการ TIPE และโครงการ IPP3
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๗/๑๘๙๓๙ ลงวันที่๑๕ กันยายน ๒๕๖๔)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่
สกพ ๕๕๐๑/๐๐๓๖ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔) เช่น
ควรศึกษาและพิจารณาแนวทางการดำเนินการไม่ให้มีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศ
ควรกำหนดมาตรการบริหารจัดการเงินและการลงทุนให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเร็วเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ตามแผนงานที่วางไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานกำกับการดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า
และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ระยะที่ ๓
ให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งบริหารความเสี่ยงของโครงการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการเพิ่มเติม
ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนของทั้งสองโครงการเพิ่มขึ้นในอนาคต |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
124 | การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อนำไปกำหนดเป็นอัตรากำลังแทนให้แก่ส่วนราชการที่ส่งข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล | นร.54 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖
(เรื่อง
ขออนุมัติเปิดที่ทำการสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสแห่งใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต
และขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสคนใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต)
เฉพาะในส่วนการกำหนดเขตกงสุลจากเดิมที่มีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดภูเก็ต เป็น
มีเขตกงสุลครอบคลุม ๔ จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา และระนอง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
125 | ร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ. 2565 - 2570 | นร.10 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบและกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินการรักษาจริยธรรมและส่งเสริมพัฒนาจริยธรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการจัดทำแผนงาน
มาตรการ เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรักษาจริยธรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรม ซึ่งร่างยุทธศาสตร์ฯ
ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมแล้ว
ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
126 | การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (นายสันติ เจริญพรพัฒนา) | นร.12 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายสันติ เจริญพรพัฒนา
เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ตามความในมาตรา ๔๗
แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ.
๒๕๖๔ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
127 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (1. นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ฯลฯ จำนวน 9 คน) | พปส. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
จำนวน ๙ คน ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ดังนี้ ๑. นางพงษ์สวาท
กายอรุณสุทธิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านกฎหมาย) ๒. นายพีรพน พิสณุพงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านศิลปวัฒนธรรม) ๓. นางสรวงมณฑ์ สิทธิสมาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษา) ๔.
นายธวัชชัย ไทยเขียว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการพัฒนาเด็ก
เยาวชนและครอบครัว) ๕. นายยศพร
ปัญจมะวัต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านสุขภาพจิต) ๖.
นางกรกนก ศิริวงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านคนพิการและผู้สูงอายุ) ๗. นางสุนทรี ทับทิมไทย ชัยสัมฤทธิ์โชค กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค) ๘.
นายอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านสื่อสารมวลชน) ๙.
นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านสื่อสารมวลชน) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๙
มีนาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป และให้กระทรวงวัฒนธรรม (สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์)
รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ที่เห็นควรเร่งรัดกระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การมหาชนตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๖ มีนาคม ๒๕๖๔ เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการตามกฎหมาย/กรรมการและผู้บริหารขององค์การมหาชนอย่างเคร่งครัด
เพื่อมิให้เกิดความล่าช้า ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
128 | รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | นร.12 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
129 | การกำหนดและทบทวนกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนให้มีขนาดที่เหมาะสม | นร.12 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
130 | ขออนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์โควิด 19 | มท. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สำหรับเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์โควิด 19 ของกรมการปกครอง จำนวน ๒๗๐,๕๙๐ คน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ในอัตรา ๕๐๐ ต่อคนต่อเดือน จำนวน ๖ เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๔ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ รวมงบประมาณทั้งสิ้น ๘๑๑,๗๗๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้มีการสรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณตามนัยข้อ ๑๑ แห่งระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลางฯ ต่อไปด้วย โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้กระทรวงมหาดไทยใช้จ่ายเงินอย่างโปร่งใส คุ้มค่า ประหยัด รวมทั้งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
131 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พ.ศ. .... | นร.01 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา
๑๕ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา
๑๕ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
ให้สอดคล้องกับระดับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปัจจุบัน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น
ควรกำหนดขอบเขตประเภทหรือระดับตำแหน่งของผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้มีความชัดเจน
และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีควรเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุมประเภทและระดับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น
ๆ ด้วย เช่น กองทุนที่เป็นนิติบุคคล หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ สถาบันภายใต้มูลนิธิ
อันจะช่วยให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นว่ากรณีของรัฐที่มีการจัดตั้งใหม่ เช่น
องค์การมหาชนที่มีการจัดตั้งขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ
มีผลใช้บังคับอาจต้องพิจารณากำหนดหรือปรับปรุงรายชื่อหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นไว้ในร่างกฎกระทรวงฯ
ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
132 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
133 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. .... (แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) | คค. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก
จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย
อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน
อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
เพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
โดยให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ตรวจสอบและแก้ไขแผนที่ท้ายของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ก่อนการก่อสร้างขอให้ รฟท.
ให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการระบายน้ำไม่ทันและอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมหรือเกิดอุทกภัย
และควรเร่งดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงที่บริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเร็ว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. เห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย
โดยให้หน่วยงานของรัฐผู้เสนอร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติตรวจสอบความถูกต้องของท้องที่การปกครอง
แนวเขตการปกครองที่จำเป็นต้องระบุในเนื้อหาของร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติและแผนที่ท้ายอันเป็นข้อเท็จจริง
และรายละเอียดเชิงพื้นที่ให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งต้องมีผลตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองจากกรมการปกครองเสนอคณะรัฐมนตรีมาพร้อมกับร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัตินั้นด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
134 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 | นร.11 สศช | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
135 | ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (นายชูกิจ ลิมปิจำนงค์) | อว. | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง ศาสตราจารย์ชูกิจ
ลิมปิจำนงค์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
(ตามมติคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในการประชุม ครั้งที่
๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
โดยให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
ที่ควรจัดทำระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โดยพิจารณานำหลักเกณฑ์วิธีการสรรหาผู้อำนวยการองค์การมหาชน
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ไปปรับใช้ด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
136 | การปรับปรุงบทบาทภารกิจของภาครัฐ : แนวทางการขับเคลื่อนการนำร่องถ่ายโอนงานภาครัฐ (Sandbox) | นร.12 | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการขับเคลื่อนการนำร่องถ่ายโอนงานภาครัฐให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทน
(Sandbox) โดยแบ่งงานได้
๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ : งานที่มีโอกาสนำไปสู่การปฏิบัติได้สำเร็จ
เช่น งานตรวจเรือเพื่อออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ (กรมเจ้าท่า) ด้วยการปรับปรุงหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถถ่ายโอนงานตรวจเรือลำเลียงที่ใช้งานในน่านน้ำไทยได้
และเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการพัฒนาระบบการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์รองรับการจ่ายค่าธรรมเนียมและออกใบเสร็จ
และกลุ่มที่ ๒ : งานที่มีความท้าทายในการขับเคลื่อน เช่น
งานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานภาคอุตสาหกรรม (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
โดยปรับกฎหมายให้เอื้อกับการมอบเอกชนดำเนินการโดยกำหนดมาตรการส่งเสริม เช่น
ทบทวนและกำหนดอัตราค่าทดสอบในแต่ละด้านให้เหมาะสม/สะท้อนต้นทุนของภาคเอกชน
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
137 | การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง | นร.12 | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของกรมศุลกากร
กระทรวงการคลัง โดยให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๔ เมษายน ๒๕๖๐
เกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานราชการส่วนกลางในภูมิภาคต้องไม่มีหน่วยงานของกรมที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนกลางในภูมิภาค
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร)
รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงาน ก.พ. เช่น
กรมศุลกากรจะต้องบริหารอัตรากำลังภายใต้กรอบอัตรากำลังที่มีอยู่เดิมให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โดยต้องไม่ขอรับการจัดสรรอัตรากำลังเพิ่มใหม่เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐในภาพรวม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
138 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... | ทส. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และกระทรวงพลังงาน เช่น ที่ควรเพิ่มเติมข้อความ ข้อ ๑ (๓)
“การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ”
ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้
และความสามารถเพิ่มขึ้น ข้อ ๓ (๑) “การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ”
เพื่อให้การลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้กับสถาบันการศึกษาเอกชน และรัฐวิสาหกิจมีความครอบคลุมยิ่งขึ้น
และเพิ่มเติมในประเด็นข้อกำหนดในข้อ ๔ (๒)
“กิจการวางโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน
กิจการวางท่อประปาเพื่อจำหน่ายให้ประชาชน
สำหรับการดำเนินการบำรุงรักษาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานหรือเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน”
ซึ่งควรกำหนดให้ครอบคลุมกิจการปิโตรเลียม ไปประกอบการพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
139 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน - สาธารณรัฐเกาหลี | พณ. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑.๑
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
ในความร่วมมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอุตสาหกรรม
โดยศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN-Korea
Industrial Innovation Center : AKIIC) ที่จะจัดตั้งขึ้น
มีหน้าที่เสริมสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี
รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีส่งเสริมการเชื่อมโยงเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมและการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ การจัดสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการต่าง
ๆ โดยรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีจะจัดสรรพื้นที่สำนักงานศูนย์ฯ รับผิดชอบค่าเช่าพื้นที่
ค่าดำเนินการศูนย์ฯ ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรศูนย์ฯ
และค่าใช้จ่ายในการวางแผนและดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใด ๆ ภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ๑.๒ อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ๑.๓
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทน
ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ๑.๔
เห็นชอบผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ๒.
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายพลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
140 | ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร) | ศย. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากรและให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าว
โดยอนุโลมกำหนดให้การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาในส่วนคดีอาญาต้องไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีอาญาของจำเลยลดน้อยลงกว่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
แก้ไขเพิ่มเติมการรับทราบกำหนดนัดของศาลในคดีศาลเพ่ง
และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ ฎีกา คำพิพากษา
หรือคำสั่งศาลในคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากร
รวมถึงให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวในศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษและศาลฎีกาโดยอนุโลม
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
เช่น แก้ไขกฎหมายให้มีความครอบคลุม ชัดเจน
และสอดคล้องกับหลักการของกฎหมายภาษีอากรที่ดีมากยิ่งขึ้น เพิ่มเติมถ้อยคำว่า
“เจ้าหน้าที่” ไว้ในมาตรา ๗ (๑) ด้วย หากมีการแก้ไขถ้อยคำในมาตรา ๗ (๑)
ดังกล่าวจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในมาตราอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งในคดีภาษีอากรและคดีอาญาควบคู่กันด้วย
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ๓. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เช่น ควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๘ โดยตัดข้อความ
“เกี่ยวกับภาษีอากร” ออก
ก็จะส่งผลให้คดีคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวกับภาษีอากรในเรื่องอื่น ๆ
ที่มิใช่การประเมินภาษีอากรนั้นจะต้องผ่านการอุทธรณ์โดยถูกต้องตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองก่อน
จึงจะฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ การเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจของศาลตามที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้จะไม่กระทบต่อการดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม
ควรพิจารณาดำเนินการปรับปรุงอาคารศาลเดิมเป็นสถานที่ทำการแทนการลงทุนก่อสร้างอาคารที่ทำการแห่งใหม่
อันเป็นการคำนึงถึงความคุ้มค่าและต้นทุนที่อาจลดลงได้ พิจารณากรอบอัตรากำลังข้าราชการตุลาการและข้าราชการศาลยุติธรรมเพื่อให้สอดรับกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
พิจารณาเกลี่ยอัตรากำลังที่ปฏิบัติงานในส่วนคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรจากศาลยุติธรรมอื่นก่อนเป็นลำดับแรก
พิจารณานำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี และการบริหารจัดการคดีของศาลภาษีอากร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการ
และมอบหมายให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม และคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
ร่วมกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|