ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 9 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 120 จากข้อมูลทั้งหมด 168 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | การแก้ไขภาคผนวก 2 (กฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้า) เรื่อง การปรับโอนพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ จากฉบับปี 2002 เป็นฉบับปี 2017 ของกฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) | พณ. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้การแก้ไขภาคผนวก ๒ (กฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้า) เรื่อง
การปรับโอนพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ จากฉบับปี ๒๐๐๒ เป็นฉบับปี ๒๐๑๗ ของกฏถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น
(ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership : AJCEP) เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์สามารถร่วมให้การรับรองการแก้ไขดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมการร่วมภายใต้ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น
(AJCEP-JC) ครั้งที่ ๒๐
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้ภาคผนวก ๒
(กฏถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า) พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ฉบับปี ๒๐๑๗
ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) มีผลใช้บังคับภายในประเทศต่อไป
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น กรมศุลกากร
ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบควรเร่งแก้ไขระเบียบภายในที่เกี่ยวข้องเพื่อให้กฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายการตามระบบฮาร์โมไนซ์ฉบับปี
๒๐๑๗ ภายใต้ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)
สามารถบังคับใช้ได้ทันท่วงทีภายหลังจากคณะกรรมการร่วมภายใต้ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น
(AJCEP-JC) ได้ให้ความเห็นชอบการปรับโอนดังกล่าวแล้ว เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
102 | การปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและการทบทวนกฎหมายตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและการทบทวนกฎหมายตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการทบทวนกระบวนงานเพื่อปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในปี
๒๕๖๕ ได้แก่ กลุ่มกระบวนงานที่มีผลกระทบสูง ๓๑ กระบวนงาน เช่น
การขอออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน/ขยายโรงงาน การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
และกลุ่มกระบวนงานทั่วไปที่เป็นภารกิจหลักของหน่วยงานที่นอกเหนือจากกลุ่มกระบวนงานที่มีผลกระทบสูง
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ และให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐรับแนวทางฯ
ไปพิจารณาทบทวนระยะเวลาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามกระบวนการในความรับผิดชอบให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
และให้แจ้งผลการพิจารณาไปยังคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการโดยด่วน เพื่อให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาดำเนินการในภาพรวม
ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปภายใน ๑ เดือน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
103 | รายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ขอให้มอบหมายคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
ดำเนินการเพื่อยุบเลิกหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พ.ศ. .... และการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีให้นำรายงานการประเมินความคุ้มค่า
บทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปประกอบการพิจารณาด้วย ๒.
ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย
และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและผู้ยากจนที่เข้าร่วมโครงการ
รวมทั้งบุคลากรและทรัพยากรของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ควรเข้ามาเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ปัญหาที่ดินทั้งประเทศโดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่สำนักงานในทุกจังหวัด
และไม่ควรซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการเอง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
104 | แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580) | พม. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐)
มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท
เพิ่มคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้เพิ่มพูนศักยภาพของตนเองอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ รองรับสังคมสูงวัยเชิงรุก ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นข้อเสนอแนะ
และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณสำนักงาน ก.พ.
และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น ควรกำหนดบทบาทของหน่วยงานรับผิดชอบหลัก/หน่วยงานรับผิดชอบร่วมในรูปของผังกระบวนงานหรือ
Work Flow ให้ชัดเจน
ควรมีแนวทางในการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการที่ชัดเจน
อาจเพิ่มตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการเสริมสร้างพลังให้กับผู้สูงวัย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข
และกระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ที่เห็นว่าในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ
ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) นั้น เห็นควรมอบหมายเพิ่มเติมให้กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยอาจร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย
เพื่อผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
และให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
รวมทั้งอาจพิจารณาผลิตสิ่งอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อการส่งออกอีกด้วย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
105 | ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง | คค. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง
และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน
ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ มีสาระสำคัญเพื่อเน้นย้ำบทบาทสำคัญของการบินพลเรือนในการสร้างความเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกโดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19
นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำบทบาท ของผู้นำการบินในการสนับสนุนการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มาใช้เพื่อพัฒนาภาคการบินพลเรือนให้มีความปลอดภัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน
ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือในการรักษาประสบการณ์ของบุคลากรการบินที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ในลักษณะหลักสูตรการฝึกอบรมทบทวน (Refresher/Requalification Training) ซึ่งจะช่วยให้รักษามาตรฐานบุคลากรภาคการบินของไทยให้พร้อมในการประกอบอาชีพในระดับสากลต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
106 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | บจธ. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
107 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก (ฉบับที่ ..) | กค. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร
ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก
(ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญในการลดอัตราอากรนำเข้าสำหรับสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้
WTO ในโควตา ตามประเภทย่อย ๑๐๐๕.๙๐.๙๙ รหัสย่อย ๗๑
จากเดิมอัตราในโควตาร้อยละ ๒๐ เป็นอัตราอากรในโควตาร้อยละ ๐
ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยให้แก้ไขถ้อยคำในร่างประกาศให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรติดตามสถานการณ์การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างใกล้ชิด
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเงื่อนไขการสิ้นสุดการผ่อนปรนในกรณีที่มีการนำเข้ารวมกันทุกช่องทางครบ
๑.๒๐ ล้านตัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
108 | การดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย | นร.13 | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
109 | ขอความเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท 910 รูป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยไม่ถือเป็นวันลา | นร.01 | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท ๙๑๐ รูป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยไม่ถือเป็นวันลา
เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ ระหว่างวันที่ ๒๑ กรกฎาคม-๑๓
สิงหาคม ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
110 | ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 172 วรรคห้า และเพิ่มวรรคหก) | ศย. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๗๒ วรรคห้า และเพิ่มวรรคหก) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อให้การพิจารณาและสืบพยานของศาลในกรณีที่เกิดภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อความปลอดภัย
สามารถดำเนินการจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพ
โดยคู่ความหรือพยานอยู่นอกศาลได้ เมื่อจำเลยยินยอมและศาลเห็นสมควร
แต่ต้องไม่เป็นสิ่งที่เสียหายหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อจำเลย ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดและสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ๓.
ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น ให้ความสำคัญกับการวางระบบรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ
เพื่อรักษาความลับของข้อมูลในการพิจารณา และสืบพยานของศาล
ให้ความสำคัญกับประเด็นความเห็นที่ได้จากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นรวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
และควรกำหนดรายละเอียดประเภทของคดีด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
111 | แนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ | นร.11 สศช | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติแนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เรื่อง แนวทาง
หลักการ และการดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ ๒
โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาทบทวนยุทธศาสตร์ชาติ
ตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ เห็นว่าสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติ
จึงจะยังคง “เป้าหมาย” ตามยุทธศาสตร์ชาติไว้เช่นเดิม แต่จะมีการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
จำนวน ๒๓ ฉบับ ในส่วนของ “ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา”
เนื่องจากตัวชีวัดเดิมไม่สามารถสะท้อนต่อเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น มีการหารือกับหน่วยงานเจ้าภาพแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และสามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาล
ควรกำหนดแนวทางรองรับกรณีตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่มีการปรับเปลี่ยน
เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อแผนระดับ ๓ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ
และจัดทำแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
112 | ร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล เรื่อง การตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา | กห. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล US-TH-AF-22-0001
สำหรับความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา
ว่าด้วยการตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพ
และให้เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ
โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Power) ให้เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าว
โดยร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาอันเป็นความสนใจร่วมกันในด้านที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้จากระยะไกลและการประมวลผลสัญญาณ
ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล
US-TH-AF-22-0001 สำหรับความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา
ว่าด้วยการตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม ที่ควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
113 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ | กต. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
114 | ข้อเสนองบประมาณการดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 และวันที่ 19 เมษายน 2565 | มท. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย
(การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่
๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ และวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ ในมาตรการให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร
(ค่า Ft) ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็ก
(ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน ๓๐๐ หน่วยต่อเดือน
เป็นระยะเวลา ๔ เดือน (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๖๕) โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ในกรอบวงเงินจำนวนทั้งสิ้น ๑,๗๒๔,๙๕๐,๐๐๐ บาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด
ที่ นร ๐๗๒๗/๗๑๐๗ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม
๒๕๖๕) ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นควรให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
พิจารณาปรับปรุงหรือควบคุมการดำเนินงานให้มีต้นทุนที่เหมาะสมและยืดหยุ่นได้ตามความสภาวะการเปลี่ยนแปลง
เพื่อไม่ให้กระทบกับสภาพคล่องในการดำเนินงานในระยะสั้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
115 | ร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. 2564 - 2580) | กห. | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
ในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๘๐) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้ความสามารถในการแข่งขัน
ลดการพึ่งพาหรือนำเข้ายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม
หน่วยงานอื่นของรัฐ และภาคเอกชน โดยใช้นโยบายและเป้าหมายในการขับเคลื่อน รวม ๕
ด้าน เช่น ด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีป้องกันประเทศและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรม การค้นคว้าวิจัย
การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ
และการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศส่งเสริมและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เช่น ให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศดำเนินการปรับปรุงช่วงระยะเวลาของร่างนโยบายฯ
เป็นแผนปฏิบัติการช่วงระยะเวลา ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดทำแผนระดับที่ ๓
และควรพิจารณากำหนดตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับการจัดหายุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหม
เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการผลักดันผลงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศเข้าสู่กองทัพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
116 | (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ โดยร่างแผนพัฒนาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพลิกโฉมไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า
เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” และมีเป้าหมาย เช่น
การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่
และการเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน โดยได้กำหนดหมุดหมาย จำนวน ๑๓
หมุดหมาย เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน เช่น
หมุดหมายที่ ๑ ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
หมุดหมายที่ ๗ ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง
และสามารถแข่งขันได้ เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุข เช่น คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น
ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม และฐานะทางการคลัง
มีการสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมหมุดหมาย
พิจารณากำหนดค่าเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของเป้าหมายหลักและเป้าหมายในระดับหมุดหมายเป็นรายปี
ไปพิจารณาดำเนินการ แล้วให้นำ (ร่าง) แผนแผนพัฒนาฯ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ
ก่อนกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
117 | ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 17 | กต. | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย
(Asia Cooperation Dialogue : ACD) ครั้งที่ ๑๗
เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๔ ภายใต้หัวข้อ
“สภาพปกติใหม่และการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและแข็งแรง” ผ่านระบบการประชุมทางไกล
โดยสาธารณรัฐตุรกี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม และรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน
ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม ซึ่งที่ประชุมฯ ได้รับรองร่างปฏิญญาอังการา
โดยมีสาระสำคัญไม่ต่างฉบับที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้
(มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔)
แต่มีการเพิ่มเติมข้อความในประเด็นต่าง ๆ เช่น
การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ACD การเน้นย้ำความมุ่งมั่นต่อวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน
ค.ศ. ๒๐๓๐ การสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกใช้มาตรการเฝ้าระวังทุกประเภท
เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยว รวมถึงความแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก
และถ้อยแถลงของหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้เน้นย้ำความสำคัญของ ACD ในฐานะเวทีหารือและความร่วมมือที่ช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียและผลักดันความร่วมมือด้านการส่งเสริมความมั่นคงด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนตามแนวคิดสังคม
๓H ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
118 | แต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงานและรองโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการประจำ) | รง. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงาน
และรองโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการประจำ) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ ๑.
ยกเลิกการแต่งตั้งนายประทีป ทรงลำยอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นโฆษกกระทรวงแรงงาน
(ฝ่ายข้าราชการประจำ) ๒. แต่งตั้งนายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการประจำ)
และนางบุปผา พันธุ์เพ็ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นรองโฆษกกระทรวงแรงงาน
(ฝ่ายข้าราชการประจำ)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
119 | ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทย | คค. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
ในกรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) ๒.
เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ยืมเงินตามนัยมาตรา ๓๙ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายใต้กรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น ๓.
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขอปรับเพิ่มเงินลงทุน
(Cost Overrun) ในอนาคต
ซึ่งอาจกระทบต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนการลงทุน รวมทั้งอาจเกิดความล่าช้าในการให้บริการและไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ๔.
ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้และจำเป็นต้องติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับแนวโน้มการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจต่าง
ๆ ในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
120 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. .... | ดศ. | 26/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่
ให้สอดคล้องกับกิจการไปรษณีย์ในปัจจุบัน และเพื่อมิให้เกิดการขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นว่า การกำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่สามารถทำได้
และการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขกรณีส่วนลดสำหรับไปรษณียภัณฑ์เป็นการมอบอำนาจช่วงไม่อาจทำได้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย
จำกัด ควรยกระดับคุณภาพการให้บริการ
โดยอาจนำเทคโนโลยีหรือรูปแบบการบริการอื่นมาสนับสนุน และประชาสัมพันธ์การปรับอัตราค่าบริการขั้นสูงสุดและยังคงมีส่วนลดค่าบริการให้แก่ลูกค้า
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้รับความเห็นของรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอขอให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ลดอัตราค่าบริการฝากส่งสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และเกษตรกร ไปพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
|