ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 9 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 168 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | รายงานสรุปผลการดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 3 (ปี 2560-2564) และการดำเนินการในระยะต่อไป | กค. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนไทย
ฉบับที่ ๓ (ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔) และร่างหลักการการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ ๔ (ปี
๒๕๖๕-๒๕๗๐) ซึ่งมีผลการดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ ๓ (ปี
๒๕๖๐-๒๕๖๔) ที่แล้วเสร็จ เช่น
การออกหลักเกณฑ์เพื่อพัฒนาเครื่องมือการระดมทุนของกิจการจากบุคคลจำนวนมากสำหรับตราสารหนี้การแก้เกณฑ์เพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย
และการพัฒนาจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน
และแผนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น การจัดทำกลไกคะแนนเครดิตที่สถาบันการเงินใช้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ให้แก่
SMEs และการปรับปรุงเกณฑ์ภาษีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งการดำเนินการในระยะต่อไป คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย
มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
จัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ ๔ (ปี ๒๕๖๕-๒๕๗๐) ซึ่งร่างหลักการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ ๔
มีสาระสำคัญ เช่น การจัดตั้งจัดทำแผนตลาดทุนไทย ฉบับที่ ๔
การศึกษาแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาตลาดทุนของต่างประเทศ และการจัดทำร่างแผนตลาดทุนไทย
ฉบับที่ ๔ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. .... | คค. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นการเฉพาะ
เพื่อสนับสนุนการใช้พลังานไฟฟ้าในระบบการขนส่งทางเรือ
ซึ่งจะนำไปสู่ระบบคมนาคมที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับพัฒนาการเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงพลังงาน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่า
ควรพิจารณากำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับเรือที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
และควรเร่งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และพิจารณากำหนดมาตรฐานก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำทางลำน้ำที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | ปปง. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] | สกพอ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] โดย กพอ.
มีมติเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน
๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
อนุมัติร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
๗ แห่ง พื้นที่รวมประมาณ ๗,๙๘๖ ไร่ ซึ่ง กพอ. มีมติเห็นชอบแล้ว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าเช่าสำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน
รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป (หากมี)
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ๔.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรส่งเสริมการดำเนินงานด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ควรพิจารณาอย่างรอบคอบไม่ให้กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนโดยรอบ
และพิจารณาถึงพื้นที่ที่สามารถรองรับการขยายการลงทุนรวมถึงการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ด้วย
ควรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีมาดำเนินการในโอกาสแรก
หากไม่เพียงให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้
หากมีภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
และกำกับดูแลและบูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และการสมัครเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ภายใต้กรรมสารเจนีวา ค.ศ. 1999 | พณ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
46 | ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.12 | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน
(Joint
KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยมีกรอบแนวทางและเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
รวมทั้งกำหนดการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพิ่มเติมจากปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ใน ๓ ประเด็น ได้แก่ (๑) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (๒)
การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ ๓) การท่องเที่ยว
และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนตัวชี้วัดดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับสำนักงาน
ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.
รวมทั้งข้อสังเกตและความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ให้ครอบคลุมภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
และควรมีการทบทวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวชี้วัดเป็นระยะ
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | โครงการอาคารรักษาพยาบาลศิริราชและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | อว. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
48 | ผลการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองซานตากรุซเดเตเนริเฟ ราชอาณาจักรสเปน (นายคริสท็อฟ คีสลิง) | กต. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. ปรับการเรียกชื่อตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ จากกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำหมู่เกาะคานารี
เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองซานตากรุซเดเตเนริเฟ และสถานทำการทางกงสุลจากสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำหมู่เกาะคานารี
เป็นสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองซานตากรุซเดเตเนริเฟ
โดยยังคงสถานะของสถานทำการทางกงสุลเป็นสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ฯ ไว้เช่นเดิม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | นร.10 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
51 | แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) | นร.53 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
52 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2568 | อว. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
53 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณทุนประเดิมตามมาตรา 9 และมาตรา 48 ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) โดยใช้รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) | คค. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๓๖๓,๐๐๓,๙๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
(องค์การมหาชน) ตามที่กะทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม [สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล
การใช้จ่ายเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้งบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และเร่งจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางที่จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาระบบรางของประเทศให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้า
พร้อมทั้งกำหนดกลไกการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศเป็นลำดับแรก
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. .... | มท. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการวางแผนและจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อให้ชุมชนเกษตรกรรมที่น่าอยู่
มีความเป็นระเบียบ เป็นศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายและบริการทางการเกษตร
ศูนย์บริการท่องเที่ยวเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติด้านตะวันตกของจังหวัด
ศูนย์การค้าและบริการระดับท้องถิ่นที่มีความพร้อมทางสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
และบริการสาธารณะได้มาตรฐานทางผังเมือง โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น
๑๐ ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรให้ที่ดินประเภทที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและการพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม มีความเห็นว่าการปรับเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๗๒ ที่อยู่ติดกับพื้นที่ดังกล่าว
ทั้งในประเด็นประสิทธิภาพการให้บริการของทางหลวง และความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ
จึงต้องมีมาตรการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันผลกระทบดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้
ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ คำนึงถึง กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
มาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ เป็นต้น และควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศดังกล่าวอย่างเข้มงวดต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | ร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ | ทส. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้และทรัพยากรป่าไม้
ตลอดจนพัฒนาระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ
มีเป้าหมายคือเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศอย่างน้อยร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ประเทศ
ประกอบด้วย ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ
๒๕ ระยะเวลาของแผนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ โดยร่างแผนแม่บทฯ ได้กำหนดมาตรการไว้ ๓
ด้าน ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ได้แก่ ด้านการจัดการป่าไม้
ด้านการใช้ประโยชน์ผลิตผลและการบริการจากป่าไม้และอุตสาหกรรมป่าไม้
และด้านการพัฒนาระบบบริหารและองค์กรเกี่ยวกับการป่าไม้ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น
ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรใช้ประโยชน์จากการจัดทำและการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ต่อยอดมิติเศรษฐกิจด้านภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของไทยที่ได้มาตรฐาน
มีธรรมาภิบาล ตอบโจทย์ความยั่งยืนทั้งห่วงโซ่อุปทาน
เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในภาวะตลาดโลกที่มีเงื่อนไขและการแข่งขันสูงในปัจจุบัน
การดำเนินบทบาทตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ
ควรกำหนดหน่วยงานหรือคณะบุคคลผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และเหมาะสม
รวมถึงควรบูรณาการฐานข้อมูลสารสนเทศในภาพรวมทั้งในระดับประเทศ และระดับพื้นที่
ตลอดจนการดำเนินการระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้ประสานสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในประเด็นเรื่องของ
“การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” เพิ่มเติมนอกจากการอนุรักษ์
การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน ในส่วนที่ ๕ ข้อ ๕.๑ ประการที่ ๖
และควรคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่เดิม
โดยอาจมีมาตรการเยียวยาหรือช่วยเหลือที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อภาคประชาชน ในส่วนที่
๕ ข้อ ๕.๑ ประการที่ ๙ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้แต่ละประเภทให้มีความเหมาะสม
ชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
และเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
แล้วให้จัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน (Handbook)
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการขอทบทวน
ปรับปรุงหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องที่อาจมีความซ้ำซ้อนหรือไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลเขาดิน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. .... | มท. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลเขาดิน
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ....
เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลเขาดิน
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
เพื่อมอบหมายให้เทศบาลตำบลเขาดินใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลเขาดิน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการอื่น ๆ ของเทศบาลตำบลเขาดิน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | สรุปผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “ปัญหาการถ่ายโอนถนนทางหลวงชนบทให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาการถ่ายโอนถนนทางหลวงชนบทให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง “ปัญหาการถ่ายโอนถนนทางหลวงชนบทให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”
ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาการถ่ายโอนถนนทางหลวงชนบทให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า
ด้านบุคลากรและเครื่องมือเครื่องจักร
สำนักงบประมาณได้สนับสนุนงบประมาณให้กับกรมทางชนบทเพื่อใช้ในการอบรมบุคลากรด้านช่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ
เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความชำนาญ
ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่จะช่วยในการควบคุมดูแลการก่อสร้าง
ปรับปรุงบำรุงรักษาถนนให้มีคุณภาพ
การถ่ายโอนภารกิจงานทางให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการภารกิจก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนและสะพานเพื่อพิจารณากลั่นกรองการแก้ไขปัญหาภารกิจทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบทที่ผ่านการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการอำนวยการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัด
เพื่อไม่ให้กระทบต่อหลักการกระจายอำนาจที่กำหนดไว่ก่อนเสนอคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาให้ความเห็นชอบการถ่ายโอนภารกิจคืนไปยังกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทต่อไป
ด้านงบประมาณ ควรเพิ่มงบประมาณตามจำนวนภารกิจที่รับโอนไปดำเนินการ
เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณสอดคล้องกับภารกิจส่วนราชการ
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีงบประมาณที่เหมาะสมเพียงพอ
ต่อการบำรุงรักษาถนนที่ได้รับการถ่ายโอนในส่วนของเงินอุดหนุนเฉพาะกิจเพื่อก่อสร้างปรับปรุงถนน
ควรจัดสรรตามภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอน
และถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยอาจจะทำแผนพัฒนาการก่อสร้าง/ปรับปรุงถนนในระยะ ๕ ปี และจัดสรรตามแผนพัฒนา
ตามกรอบวงเงินที่ได้รับการจัดสรร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | การกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2566 | พน. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)
ตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน ๘๕,๐๐๐ ล้านบาท ประกอบด้วย สัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) กู้เบิกเกินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม
(Call
Loan) หรือรูปแบบอื่นที่กระทรวงการคลังเห็นชอบ โดยขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ในกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับชำระหนี้
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามสภาพคล่องของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามสภาวะตลาดการเงินในขณะนั้น
และประโยชน์ในการบริหารจัดการภาระหนี้ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เช่น การกำหนดมาตรการช่วยเหลือประชาชนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
การเร่งสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในประเด็นสถานการณ์พลังงาน
การประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก
และควรเร่งเตรียมความพร้อมสำหรับการระดมทุนในรูปแบบใหม่ ๆ
เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนสำหรับการลงทุนในโครงการ ควรบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และพิจารณาเบิกเงินกู้เท่าที่จำเป็นเพื่อไม่ให้เกิดภาระดอกเบี้ยต่อองค์กรในระยะยาว
โดยการดำเนินการกู้เงินดังกล่าวต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ภายใต้วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานอย่างถูกต้องครบถ้วน
การกู้ยืมเงินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะต้องได้รับอนุมัติไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐก่อนการเริ่มดำเนินการด้วย
ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพิจารณาก่อหนี้ตามความจำเป็นที่เกิดขึ้นจากการบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
(Ft) ตามนโยบายรัฐบาล
และประสานกับกระทรวงการคลังในการบริหารจัดการภาระหนี้ให้มีต้นทุนทางการเงินต่ำที่สุด
พร้อมทั้งร่วมกับสำนักงานกำกับกิจการพลังงานพิจารณาแนวทางการชำระคืนตามหลักการวินัยทางการเงินการคลังและมีผลกระทบต่อภาระค่าไฟฟ้าในอนาคตต่ำที่สุด
ควรคำนึงถึงหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งภาระทางการคลังที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (1. นายทศพล เพ็งส้ม ฯลฯ จำนวน 5 ราย) | นร.04 | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
จำนวน ๕ ราย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้งเป็นต้นไป
ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ได้เห็นชอบแล้ว ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายทศพล เพ็งส้ม ๒. นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา ๓. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ๔. นายอภิวัฒน์ ขันทอง ๕. นายชื่นชอบ คงอุดม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 25/2565 | นร.11 สศช | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
และเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) อนุมัติให้กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-๑๙) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน ๓๐,๐๐๒,๓๑๐ โดส (Pfizer) โดยปรับกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มที่ ๕
เพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการฉีด Pfizer (Maroon cap) สำหรับเด็กอายุ
๖ เดือน ถึงอายุน้อยกว่า ๕ ปี และขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการจากเดิมเดือนกันยายน
๒๕๖๕ เป็น เดือนธันวาคม ๒๕๖๕ และ (๒) มอบหมายให้กรมควบคุมโรค เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ
eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
และรับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ไปพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
และกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนดไว้
เร่งรัดปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ข้อ ๒๒ และ ๒๓
สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรเร่งการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ขอขยายอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด พร้อมทั้งให้กรมควบคุมโรครับความเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ
ไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |