ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 9 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 168 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการลงนามหรือรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และครั้งที่ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | การขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นเกี่ยวกับการให้เอกสิทธิ์ การยกเว้น และสิทธิประโยชน์แก่ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นที่ดำเนินโครงการภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับรัฐบาลญี่ปุ่น | กต. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๕๕
และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องตามนัยสรุปประเด็นสำคัญสำหรับการติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
เพื่อนำไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) การสร้างประชาคมอาเซียน เช่น
การสนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาตามหัวข้อหลัก “ASEAN
A.C.T. : Addressing Challenges Together” และการเตรียมความพร้อมความร่วมมือกับประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่
และการรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม จำนวน ๑๑ ฉบับ (๒)
ประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในเมียนมาและช่องแคบไต้หวัน
และ (๓) ความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอก เช่น
ไทยได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC
โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รวม ๖ ฉบับ)
โดยในส่วนของยูเครนยังมิได้มีการลงนามตราสารฯ เนื่องจากเมียนมายังดำเนินกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เช่น ควรดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรมีการยกระดับการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็นการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ
ขยะมูลฝอย และขยะพลาสติก
และประเด็นความมั่นคงในบางกรอบการประชุมอาเซียนที่ไม่ได้มอบหมายให้มีการติดตาม
อาทิ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งสำนักงานฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | ผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาและแก้ไขปัญหาประมงไทย ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | สรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “การจัดการตำบลเข้มแข็งตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ” ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา | สว. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง “การจัดการตำบลเข้มแข็งตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ”
ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ซึ่งสำนักงาน
ก.พ.ร. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว สรุปว่า หากจะกำหนดประเด็น “ตำบลเข้มแข็ง” ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ควรเป็นการกำหนดให้เป็นวาระสำคัญ (Agenda) หรือประเด็นสำคัญ (Issue)
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจหน้าที่ร่วมระดมกำลังในการแก้ไขปัญหา
โดยจะต้องมีกระบวนการระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความชัดเจนในกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้วาระแห่งชาติขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
การกำหนดตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการที่มีภารกิจในระดับตำบลเพื่อให้การทำงานของทุกส่วนราชการได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการพัฒนาระบบการจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
จะทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานทั้งในด้านฐานข้อมูล งบประมาณ บุคลากร
และฐานข้อมูล (Database) การจัดให้มี “แผนงานโครงการและงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วน”
ในระดับตำบล
ควรให้คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาคพิจารณาความเหมาะสมตามข้อเสนอแนะดังกล่าวต่อไป
การจัดทำหลักสูตรการจัดการตำบลเข้มแข็ง สำนักงาน ป.ย.ป.
ได้ให้ความร่วมมือโดยใช้ประสบการณ์จากการดำเนินโครงการนักบริหารระดับสูง : ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.)
และโครงการต้นแบบแนวทางลดความเหลื่อมล้ำด้วยนวัตกรรมภาครัฐ
เพื่อประกอบการดำเนินการจัดทำหลักสูตรของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนในระยะต่อไป ส่วนการจัดให้มี
“สมัชชาตำบลเข้มแข็งแห่งชาติ” ทุกปี อาจใช้กลไกการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล
ซึ่งจัดปีละ ๑ ครั้ง เพื่อสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนในจังหวัด
และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ ตามที่สำนักงาน
ก.พ.ร. เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | การปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน | นร.12 | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน ที่กำหนดโครงสร้างและองค์ประกอบ
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม อำนาจหน้าที่ การประชุม การประเมินผลงาน และการบังคับใช้
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง
ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรเพิ่มคุณสมบัติของประธานกรรมการตรวจสอบให้มาจากการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การมหาชนเพื่อให้การเสนอแนะและการให้ข้อคิดเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กรณีที่กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบต้องอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่
อาจแปลความหมายในลักษณะบทบาทเจ้าหน้าที่ประจำหรือไม่
หรือหากต้องการกำหนดชัดเจนว่าบุคคลหนึ่งห้ามเป็นคณะกรรมการตรวจสอบในองค์การมหาชนหรือคณะกรรมการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันก็ควรกำหนดให้ชัดเจนไปเลยในลักษณะเช่นเดียวกับคณะกรรมการองค์การมหาชน
สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบฯ
เห็นสมควรให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๖ ไปดำเนินการ และ/หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ร่างแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566-2570 | กค. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
โดยร่างแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจฯ มีสาระสำคัญเพื่อกำหนดเป้าหมาย นโยบาย
และทิศทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยุทธศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐)
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ และแผนพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบนโยบายการพัฒนาและทิศทางการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
และมีวิสัยทัศน์เพื่อยกระดับขีดความสามารถรัฐวิสาหกิจไทยมุ่งสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ
และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งได้กำหนดบทบาทของรัฐวิสาหกิจโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การจัดตั้ง
รวมถึงแนวทางการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความสอดคล้องกับแผนต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
และกำหนดทิศทางหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งให้เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ ทั้ง ๑๓ หมุดหมาย
ซึ่งรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะดำเนินการตามบทบาทและภารกิจขององค์กร ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเสนอ
และให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจรับไปพิจารณาปรับปรุงทิศทางหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจรายสาขา
โดยเพิ่มการส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพและมีผลประกอบการดีเข้ามามีบทบาทในการร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศให้มากขึ้นด้วย ๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงเจ้าสังกัด รัฐวิสาหกิจ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเจ้าสังกัด
รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้
ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะอย่างเหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนภารกิจได้ตามเป้าหมาย
แจ้งให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจทราบล่วงหน้า
ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจมีข้อเสนอหรือแนวทางแก้ไขที่จำเป็นเร่งด่วนที่ค้นพบจากการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจ
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถบริหารจัดการหรือแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | การปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของการท่าเรือแห่งประเทศไทย | คค. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ (๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕) ดังนี้ ๑)
ระดับ ๑๖ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ จากอัตรา ๑๑๓,๕๒๐ บาท เป็นอัตรา ๑๔๒,๘๓๐ บาท ๒) ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ ๑๐๔,๓๑๐ บาท
เป็นอัตรา ๑๓๓,๗๗๐ บาท และ ๓) ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย
จากอัตรา ๙๕,๘๑๐ บาท เป็นอัตรา ๑๒๔,๗๗๐
บาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม
(การท่าเรือแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น
การท่าเรือแห่งประเทศไทยควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์
เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐประกอบการพิจารณาเรื่องดังกล่าว
ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายบุคลากรให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
และควรบริหารค่าใช้จ่ายด้วยความรอบคอบโดยเฉพาะการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนควรสะท้อนกับผลการปฏิบัติงานได้ชัดเจน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (Thailand National Digital Trade Platform : NDTP) | นร.12 | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย
(Thailand National
Digital Trade Platform : NDTP)
เพื่อเป็นข้อมูลนำเสนอในที่ประชุมเอเปคในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ มีสาระสำคัญ ดังนี้
(๑) การพัฒนาต้นแบบ (Prototype) ของแพลตฟอร์ม NDTP ซึ่งเป็นระบบแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศ สำนักงาน ก.พ.ร.
ได้พัฒนาต้นแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อใช้เป็นระบบทดสอบความถูกต้องในการเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลเมื่อระบบแพลตฟอร์ม
NDTP เริ่มปฏิบัติการจริง และได้ทดลองเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มการค้าของต่างประเทศ
(ญี่ปุ่น และสิงคโปร์)
รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นเพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขจูงใจให้ผู้ประกอบการใช้บริการแพลตฟอร์ม
NDTP (๒)
การขับเคลื่อนการดำเนินการในรูปแบบการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน
ซึ่งเป็นการช่วยยกระดับการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการทุกขนาด ทุกประเภทธุรกิจ
ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลโดยสมบูรณ์ (๓) การดำเนินการในระยะต่อไป และ (๔)
การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์ม NDTP
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก - ม่วงเจ็ดต้น จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลบ้านม่วงเจ็ดต้น และตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ
และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
ให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง การค้าตามแนวชายแดน ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยได้มีการกำหนดแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดข้อบังคับลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึง กฎ ระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินกิจการโรงงานตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
ของผังเมืองรวมดังกล่าวให้ได้มาตรฐานอย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันผลกระทบต่อธรรมชาติ ระบบนิเวศ และสุขภาพของชุมชน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (ASEAN Joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP27) | ทส. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สมัยที่ ๒๗ (ASEAN Joint Statement on Climate Change to
UNFCCC COP27) และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบ
(Endorsement) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ
และมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรอง (Adoption)
ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป โดยร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน
และประเด็นที่ประสงค์จะผลักดันร่วมกัน
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลข่วงเปา ตำบลบ้านหลวง ตำบลจอมทอง ตำบลดอยแก้ว และตำบลสบเตี๊ยะ
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง
และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง ซึ่งกำหนดให้เป็น
“แหล่งโบราณพุทธศาสนา ล้ำค่าประเพณี สิ่งแวดล้อมดี สาธารณูปโภคพร้อม”
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๑๓
ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ
รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภทตลอดจนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึง กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์
สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | การกำหนดตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น จำนวน 1 ตำแหน่ง | นร.12 | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติกำหนดตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น
จำนวน ๑ ตำแหน่ง ตามมติที่ประชุมร่วมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ เพื่อรับผิดชอบการบริหารและกำกับดูแลงานในภารกิจที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นภารกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์
นโยบายและแผนระดับชาติ และภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการตามกฎหมาย ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวรับผิดชอบกลุ่มภารกิจที่ชัดเจน
ตามเงื่อนไขที่ประชุมร่วมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
กำหนดโดยเร็ว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | การให้ความเห็นชอบและรับรองเอกสารแนวคิดเรื่องยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน | พณ. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างเอกสารแนวคิดเรื่องยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (Concept Note on ASEAN Strategy for Carbon Neutrality) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบร่างเอกสารดังกล่าวในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
รวมทั้งให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างเอกสารดังกล่าวต่อไป
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรสร้างความเข้าใจและบูรณาการการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | การแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน | กค. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายสันติ
พร้อมพัฒน์) รายงานว่า ปัจจุบันประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต เรื่อง
อายุข้อมูลในการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต
และการส่งข้อมูลของสมาชิก ลงวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ได้กำหนดให้สมาชิกซึ่งเป็นสถาบันการเงินทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์และไม่เป็นธนาคารพาณิชย์
หรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ
ส่งข้อมูลของลูกค้าของตนให้แก่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
ซึ่งในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อ ให้สมาชิกส่งข้อมูลของลูกค้าต่อไป
เป็นระยะเวลา ๕ ปี โดยให้เริ่มนับระยะเวลา ๕
ปีในวันถัดจากวันที่ลูกค้าของสมาชิกผิดนัดชำระหนี้ครบ ๙๐ วัน
ซึ่งแม้ต่อมาลูกค้าจะชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ข้อมูลการผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวก็ยังไม่ถูกลบออกจนกว่าจะถึงกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้
จึงส่งผลให้ลูกค้าไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้
และอาจส่งผลใหบุคคลเหล่านี้ต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนนอกระบบต่อไป
ซึ่งกระทรวงการคลังจะได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณามาตรการหรือพิจารณาการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินดังกล่าว
ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติรับทราบตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายสันติ พร้อมพัฒน์) รายงาน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | การประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน | นร.12 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการให้องค์การทั้ง ๓ ประเภท ต้องได้รับการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
และให้ปรับระยะเวลาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒
ได้แก่ องค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน ๒๔ แห่ง
รวมทั้งองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยให้เริ่มประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒ เมื่อดำเนินการระยะที่
๑ ครบ ๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๙) ๒. เห็นชอบให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนดแนวทางการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและสำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับภารกิจ
บทบาท หน้าที่
และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการที่กำกับดูแลหน่วยงานนั้น
ควรสนับสนุนการพิจารณาความคุ้มค่าขององค์การมหาชนจากบทบาทและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานในระบบนิเวศที่องค์การมหาชนรับผิดชอบ
ควรให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามกรอบการประเมินความคุ้มค่าขององค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน
พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงาน ก.พ.ร. ควรระบุในข้อตกลงขอบเขตงาน (Term of Reference : TOR) ให้ที่ปรึกษามีกระบวนการบริหารจัดการความรู้เพื่อให้องค์การมหาชนมีองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้ประเมินตนเองในปีถัดไป
สำหรับการจัดตั้งองค์การมหาชนแห่งใหม่ขึ้นอีกในอนาคต
ควรพิจารณาเรื่องการเตรียมความพร้อมในการประเมินความคุ้มค่า
โดยให้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำคำขอจัดตั้งองค์การมหาชน
ควรมีการกำหนดแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการ
เพื่อให้กรอบระยะเวลาดำเนินงานชัดเจนและใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในส่วนของการใช้งบประมาณจัดจ้างที่ปรึกษาอย่างน้อยทุกห้าปี
อาจส่งผลต่อภาระงบประมาณของภาครัฐในอนาคต ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ๓. ในส่วนขององค์การมหาชนสมทบงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดการจ้างที่ปรึกษาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
นั้น ให้สำนักงาน ก.พ.ร. หารือกับองค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพลังงาน เช่น
ให้หน่วยงานสามารถเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปพลางก่อนจนกว่าจะมีเงินทุนสะสมหรือรายได้เพียงพอกับอัตราที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนด
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การสมทบงบประมาณ
โดยแบ่งตามสัดส่วนเงินทุนสะสมหรือรายได้แต่ละองค์การมหาชน
พิจารณากำหนดมาตรการอื่นหรือสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้กับองค์การมหาชน
เพื่อใช้ในการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
ควรเสนอของบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรงมากกว่ามาใช้งบสมทบจากองค์การมหาชนหากต้องการดำเนินการให้เป็นภาคบังคับ
และเสนอแนะให้มีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดอัตราสมทบที่แตกต่างกันขึ้นกับชุดปัจจัยจำนวนหนึ่งที่สะท้อนการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
และควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานและแหล่งที่มาของงบประมาณสำหรับองค์การมหาชนที่ไม่มีเงินทุนและรายได้ไว้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ขอความเห็นชอบการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | ศธ. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน
(ASEAN Education Ministers Meeting-ASED) ครั้งที่ ๑๒ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ (๑) ร่างเอกสารแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน
ครั้งที่ ๑๒ (Joint Statement of the Twelveth ASEAN Education Ministers
Meeting) (๒)
ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียนกับประเทศบวกสาม ครั้งที่ ๖
(Joint Statement of the Sixth ASEAN Plus Three Education Ministers
Meeting) และ (๓) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา
ครั้งที่ ๖ (Joint Statement of the Sixth East Asia Summit Education
Ministers Meeting) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้ความเห็นชอบ
และรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมทั้ง ๓ ฉบับ โดยร่างแถลงการณ์ร่วมทั้ง ๓ ฉบับ
เป็นความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดการวิกฤตด้านการเรียนรู้ด้วยแนวทางที่ครอบคลุม
เพื่อพัฒนาการศึกษาของภูมิภาคให้มีความเข้มแข็งและยืดหยุ่น
โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและนวัตกรรมระหว่างประเทศสมาชิก ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
และให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่เห็นควรพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านการศึกษาที่ควรผลักดันเพื่อเร่งฟื้นฟูระบบการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนและนักศึกษาในภูมิภาคหลังวิกฤตการณ์โควิด
๑๙
รวมถึงออกแบบการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกและการคาดการณ์ทิศทางการจัดการศึกษาในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมทั้ง
๓ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้กระทรวงศึกษาธิการได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | ร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเล | คค. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเล
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองและร่วมลงนามในร่างความตกลงฯ
รวมทั้งให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว
โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเพื่อพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้เข้มแข็งขึ้น
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ เช่น
ควรพิจารณาให้มีการฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัยร่วมกับรัฐสมาชิกอื่นด้วย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย | นร.01 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย (๑)
พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ (๒)
ด้านกลไกและวิธีการจัดการเรื่องร้องทุกข์ (๓) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์
ดังนี้ (๑)
ขอความร่วมมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์
เพื่อให้ประชาชนทราบถึงระยะเวลาในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
ซึ่งจะช่วยให้ลดเวลารอคอยและลดการติดตามเรื่องกับผู้ปฏิบัติงาน
และผลักดันให้เกิดการขยายผลและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการจัดการเรื่องร้องทุกข์ไปยังระดับภูมิภาคและท้องถิ่น
เพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการดูแลแก้ไขอย่างครอบคลุมและเป็นธรรม ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ.ร.
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณหรือรางวัลให้แก่หน่วยงานที่สามารถจัดการเรื่องร้องทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของหน่วยงานในภาพรวมให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงในหลายช่องทางด้วย
ควรมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนให้ทุกส่วนราชการปฏิบัติ
โดยมีกลไกในการแจ้งความคืบหน้าให้แก่ผู้ร้อง และควรขยายผลการรับเรื่องผ่านไลน์สร้างสุข
(@psc1111) และ
Traffy Fondue (@traffyfondue) ไปยังส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลทั่วประเทศ
เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องร้องทุกข์
อีกทั้งยกระดับมาตรฐานการรับเรื่องและบริหารจัดการปัญหาและข้อร้องเรียนของภาครัฐ
ไปพิจารณาดำเนินการให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | รายงานผลการทบทวนและปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตของหน่วยงานของรัฐ | นร.12 | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการทบทวนและปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตของหน่วยงานของรัฐ
ประกอบด้วย (๑)
ผลการทบทวนระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและข้อเสนอการดำเนินการหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
จำนวน ๑๑๔ หน่วยงาน มีกระบวนงานที่เสนอปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตภายในปี ๒๕๖๕
จำนวน ๑๐๐ กระบวนงาน โดยมีการปรับลดระยะเวลาลงเฉลี่ยร้อยละ ๔๔ (๒) ประเด็นท้าทายของการดำเนินการ
กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตในกระบวนงานที่อยู่ในความรับผิดชอบได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
(๓) ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตของหน่วยงาน
และ (๔) แนวทางการดำเนินการต่อไปของสำนักงาน ก.พ.ร. ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
|