ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 9 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 168 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำเดือนมกราคม 2566 | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๖
ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมเสนอ
และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน ๒,๖๔๓,๐๘๘,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลัง (สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง)
โดยกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมตรวจสอบสถานะเงินกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
และประมาณการใช้จ่ายจนถึงสิ้นปีงบประมาณ หากมีเพียงพอให้ใช้จ่ายจากเงินกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมในโอกาสแรก
กรณีไม่เพียงพอเมื่อทราบภาระตามจ่ายจริงแล้ว
ให้ทำความตกลงในการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๒๔๘๘
ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕) ๒.
ให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การรับรองกรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียน (ASEAN Pharmaceutical Regulatory Framework: APRF) | สธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียน
(ASEAN Pharmaceutical Regulatory Framework :
APRF) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ร่วมให้การรับรองกรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียนแบบไม่มีการลงนาม โดยกรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียน
มีสาระสำคัญเป็นการระบุหลักการ วัตถุประสงค์
และแนวทางดำเนินการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ยา ตลอดจนวงจรชีวิตที่จะนำไปเป็นพื้นฐานของการจัดทำความตกลงของอาเซียนว่าด้วยกรอบการกำกับดูแลด้านยาที่จะมีผลผูกพันทางกฎหมายต่อไป
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียนในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นว่า
กรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียน ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ | สช. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
โดยมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น การบูรณาการแรงงานข้ามชาติเข้าสู่นโยบายพัฒนาประเทศ
การพัฒนาหลักประกันสุขภาพที่มีเสถียรภาพครอบคลุมแรงงานข้ามชาติทุกกลุ่ม
โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการพำนักอยู่ในไทย และการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น การพัฒนาปรับปรุงมาตรการ หลักเกณฑ์
แนวปฏิบัติการรับรองการเกิดและมาตรการเชิงรุก
การจดทะเบียนครบขั้นตอนทันทีหลังการเกิดเพื่อรองรับสิทธิในสัญชาติ
และการปรับปรุงกฎหมาย และพัฒนาบริการสาธารณสุข
สิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาและออกแบบแหล่งที่มาของเงินสนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ
และระดับความสามารถในการร่วมจ่ายเงินของนายจ้างและกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามสมควร ให้หน่วยรับประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
มาดำเนินการในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน
ควรคำนึงถึงการวางแนวทางรองรับผลกระทบที่อาจมีต่อความเสี่ยงทางการคลังของประเทศในระยะยาว
ควรมีการบูรณาการการทำงานและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อมิให้ขัดกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
กฎหมายว่าด้วยการกำหนดสัญชาติ
รวมทั้งควรมีการบูรณาการวางแผนการบริหารจัดการการเงินการคลังด้านสุขภาพภาครัฐให้มีความสมดุล
เพียงพอรองรับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของกลุ่มคนดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีความยั่งยืนในอนาคต มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น ประเด็น “การบูรณาการแรงงานข้ามชาติสู่นโยบายพัฒนาประเทศ”
ควรเน้นการวางแผนการจัดการและการบูรณาการในนโยบายพัฒนาประเทศ “ในระยะยาว ระยะกลาง
และระยะสั้น” ภายใต้บริบทที่สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น ควรพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
รวมถึงระบบสนับสนุนการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | กก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มทะเลทราบสงขลาขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)]
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในการดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ควรมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดิน
และคำนึงถึงภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานเป็นหลัก
และการดำเนินงานด้านงบประมาณต้องพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ
และเป็นไปตามกฎหมายของทางราชการ รวมทั้ง
ไม่ส่งผลต่อวงเงินงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่เป็นสำคัญ
ควรกำหนดเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาว่า
กรณีเป็นแผนหรือโครงการที่ต้องดำเนินการในเขตโบราณสถาน
จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ก่อนดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว
และควรกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนฯ ให้มีความชัดเจน
รวมทั้งควรพิจารณาถึงกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
อย่างเคร่งครัดในการจัดตั้งสำนักงานการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของงบประมาณในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอแผนงานยุทธศาสตร์ชาติการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
และดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับการจัดสรรงบประมาณ ๓.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่า
เมื่อการพิจารณาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาตามลำดับในลักษณะ
Bottom Up จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องไปสู่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติแล้ว
ยังสมควรที่จะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศกำหนดพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่
ประการใด เพื่อพิจารณาทบทวนและแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพังงา พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพังงา
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลนบปริง
ตำบลถ้ำน้ำผุด ตำบลท้ายช้าง ตำบลตากแดด ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา
จังหวัดพังงา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่งการสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดพังงาและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหารและการปกครอง
การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
โดยดำรงรักษารูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น
๙ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จะต้องปฏิบัติกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดพื้นที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งตามธรรมชาติในระยะที่มีความเหมาะสมโดยเฉพาะที่ดินประเภทสถาบันราชการในแปลงศูนย์ราชการจังหวัดพังงา
สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการอนุญาตและควบคุมการประกอบกิจการโรงงานให้ได้มาตรฐานอย่างเคร่งครัด
รวมถึงกรมโยธาธิการและผังเมืองควรสนับสนุนให้เจ้าพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำกับ
ดูแล
และควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดของผังเมืองอย่างเข้มงวดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | นร.12 | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนงาน/โครงการที่ได้ดำเนินการเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๖ให้แก่ประชาชนในหัวข้อ “บริการภาครัฐโฉมใหม่ ทันสมัย เข้าใจทุกความต้องการ”
เพื่อเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาระบบราชการ
และเป็นช่องทางอำนวยความสะดวกให้ประชาชนรับบริการออนไลน์ของรัฐ ๓ แนวทาง
ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ดังนี้ ๑. ช่องทางรับฟังเสียงประชาชนสู่การพัฒนาระบบราชการเพื่อประชาชน
ผ่านเว็บไซต์ www.opengovernment.go.th
และ Facebook Fanpage Opengovthailand รวมทั้ง Line @GoodGov4U ๒. ศูนย์รวมข้อมูลภาครัฐเพื่อการติดต่อราชการโฉมใหม่
ไฉไลกว่าเดิม ผ่านเว็บไซต์ www.info.go.th ที่ปรับปรุงใหม่ด้วยการนำประสบการณ์ของผู้ใช้งานมาออกแบบให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ๓. Government
e-Service Directory เว็บไซต์รวมงานบริการออนไลน์ของรัฐกว่า ๑,๐๐๐ งานบริการ
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้บริการได้ภายในจุดเดียวผ่านเว็บไซต์ของสำนักงาน
ก.พ.ร
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2566 ของกระทรวงยุติธรรม | ยธ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการมอบเป็นของขวัญปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ของกระทรวงยุติธรรม ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้ ๑.
บริการสานสุข (๑๐ กิจกรรม) เช่น พร้อมใจไกล่เกลี่ยแก้หนี้ครัวเรือน และไกล่เกลี่ยทั่วไทย
สุขใจปีใหม่ ๒๕๖๖ เป็นต้น ๒.
ปีใหม่...ให้ความรู้คู่ความสุข (๗ กิจกรรม) เช่น ยุติสร้างสุข ส่งสุขให้กับประชาชน
และสนับสนุนการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน เป็นต้น ๓.
ปีใหม่ปลอดภัย (๓ กิจกรรม) เช่น
จัดทำสื่อดิจิทัลประกอบแผนที่ระบุบริเวณจุดเสี่ยงภายในจังหวัดนนทบุรี
การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖ และคุมประพฤติห่วงใย
สร้างความปลอดภัยให้ประชาชน เป็นต้น ๔.
กฎหมายดี... รับปีใหม่ (๔ กิจกรรม) เช่น การสร้างหลักประกันความเป็นธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
และเร่งผลักดันการแก้ไขกฎหมายลดค่าธรรมเนียมในชั้นบังคับคดี เป็นต้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ | ทส. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐ และวันที่ ๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จากเดิม ที่มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานประสานงานระดับชาติและตั้งงบประมาณสำหรับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
รวมทั้งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็น
ให้กรมทรัพยากรน้ำ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบแทน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้แก้ไขชื่อหน่วยงานในมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ (เรื่อง
การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ เรื่อง
ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย
และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ) จากเดิม “กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี”
เป็น “กรมเจ้าท่า” ตามความเห็นของกระทรวงคมนาคม รวมทั้งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่เห็นควรปรับรายชื่อหน่วยงานสนับสนุนท้ายมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่ขอทบทวนให้สอดคล้องเป็นปัจจุบัน
และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นเงินบริจาคสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่ได้รับจัดสรรแล้ว
โดยค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป
ขอให้กรมทรัพยากรน้ำจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามอัตราที่กำหนดตามขั้นตอนต่อไป
ควรใช้กลไกที่มีอยู่เพื่อให้การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมความหลากหลายของระบบนิเวศ
เช่น การดำเนินการของสถาบันการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาศักยภาพ
เสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวง
ตลอดจนประชาชนทั่วไป และพิจารณาวางแผนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของพื้นที่ชุ่มน้ำตามลำดับความสำคัญแต่ละแห่งให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | วาระแห่งชาติ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ | พม. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประสานหน่วยงานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นำแผนปฏิบัติการดังกล่าวไปขับเคลื่อนการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของกระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ควรให้มีการประชาสัมพันธ์ และการจัดโครงการ/กิจกรรมในการเสริมสร้างความรู้
เพื่อให้ปลอดภัยจากความรุนแรงทางเพศ/การข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ ในพื้นที่สาธารณะ
นอกจากนี้มาตรการในการลงโทษผู้กระทำผิดในเรื่องดังกล่าว
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐ ควรมีบทลงโทษที่เด็ดขาด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา
ควรนำเรื่อง หรือวาระฯ ดังกล่าว
ให้เป็นแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรม
โดยวางแผนพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน
ให้มีการสร้างความตระหนักถึงการเคารพและให้เกียรติแก่เพศตรงข้าม
หรือพัฒนา/ปรังปรุงให้มีการเรียนการสอน ในด้านการป้องกันตัวหากเกิดเหตุร้ายแรง
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ควรกำหนดตัวชี้วัดเพิ่มในกลยุทธ์ที่ ๑
เรื่องการวัดค่านิยมทางบวกของประชาชนเพื่อลดความรุนแรงทางเพศ
การใช้เครื่องมือรูปแบบ Soft Power จากสื่อบันเทิงเสริมแรงกระตุ้นการปรับเปลี่ยนมายาคติให้เกิดกระแสและค่าความนิยมที่ดี
การกำหนดเรื่องใดเป็นวาระแห่งชาติหากยังเกิดเหตุขึ้นอีกก็จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาในมิติที่อาจได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย
และในการเสนอให้เพิ่มบทคำนิยามและการเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบโดยคำนึงถึงมาตรการที่มีอยู่แล้วในกฎหมายปัจจุบันเพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่นหรือซ้ำซ้อนกันด้วย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 2/2565 | นร.11 สศช | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
(กบส.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕
พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติและรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อนำเสนอคณะกรรมการระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศตามขั้นตอนต่อไป
และเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
รวมทั้งเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ (เรื่อง
ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑)
เพื่อมอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ
National Single Window และกำหนดขอบเขตหน้าที่ของบริษัท
โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ให้เหมาะสม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนการรปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อมาดำเนินการในโอกาสแรก
และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกับ reprocess เพื่อลดกระบวนงานให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและกำหนดกรอบเวลาการพัฒนาระบบ
NSW ให้แล้วเสร็จไว้อย่างชัดเจน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup) | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital
Startup) ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล
และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการดิจิทัลที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีดิจิทัล
และมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เช่น
ควรคำนึงถึงการลดต้นทุนของการจัดทำบริการดิจิทัลผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
(Digital Startup) และช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมีผู้แทนของกรมต่าง
ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ควรพิจารณากำหนดให้มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อาทิ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์จากองค์ความรู้ ฐานข้อมูล
และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำของการประชุมสุดยอดอาเซียน - สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022 | กต. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำ
(Joint
Leaders’ Statement) ของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโปร
สมัยพิเศษ ค.ศ. ๒๐๒๒ (ASEAN-EU Commemorative Summit) และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ซึ่งร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรปในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในสาขา
ได้แก่ (๑) สันติภาพและความมั่นคง (๒) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า (๓) ความเชื่อมโยงการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล
และการลดช่องว่างด้านการพัฒนา (๔) การพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน (๕) สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(โควิด ๑๙) และ (๖)
ประเด็นระหว่างประเทศและภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งใช้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | แนวทางการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า | กค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมถอนเรื่องนี้คืนไปได้
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อเสนอแนะของกระทรวงคมนาคม
ที่เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องความพร้อมของการดำเนินการ และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบในโอกาสแรก
อันจะเป็นโอกาสในการเข้าถึงบริการแห่งรัฐอย่างครบวงจร สามารถบรรเทาความเดือดร้อน
และเกิดผลสัมฤทธิ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินโครงการฯ
ควรพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานหรือแนวปฏิบัติที่มีความชัดเจนในการดำเนินการในกรณีวงเงินคงเหลือไม่พอดีกับค่าโดยสารที่ต้องชำระ
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ Version ๒๕ รวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินการดังกล่าวให้ชัดเจนและทั่วถึงเพื่อให้ผู้มีสิทธิสามารถใช้วงเงินค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนสาธารณะได้เต็มตามสิทธิที่ควรได้รับในแต่ละเดือน
และขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหลักธรรมาภิบาล ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | วธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดย (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
มีสาระสำคัญเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม/การทำความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
เพื่อให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ พัฒนาระบบ และการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเพื่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมคุณธรรม
และเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนและองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. และข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ควรเพิ่มเติมในเรื่องของนวัตกรรม
ในแนวทางการพัฒนาที่ ๓ ด้วย
เพื่อให้ครอบคลุมการส่งเสริมให้การวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
โดยปรับเป็น “ส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม และพัฒนา...” ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดในการดำเนินการจัดทำแผนจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมในพื้นที่ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร
หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ให้ทุกหน่วยงานจัดกิจกรรมจิตอาสาส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่าง แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) | ปช. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง | คค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน
โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง (Memorandum of
Cooperation between the Ministry of Transport of the Kingdom of Thailand and
the Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism of Japan in the
field of Railways) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย
โดยร่างบันทึกความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจร่วมกันด้านนโยบาย
กฎหมายและระเบียบ
การพัฒนาและเตรียมการจัดตั้งสถาบันด้านระบบรางในราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่น
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีเฉพาะด้านที่มีความสนใจร่วมกัน
และสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมอบหมายให้กรมการขนส่งทางรางร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
(องค์การมหาชน)
พิจารณาแนวทางการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีเฉพาะด้านภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือฯ
เพื่อช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งของประเทศ
และการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้อย่างเป็นรูปธรรม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564 | นร.12 | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการ
ประจำปี ๒๕๖๔ เป็นการายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
ประจำปี ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับคณะกรรมการที่สำนักงาน
ก.พ.ร. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ.
๒๕๖๔-๒๕๖๕) และสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ ส่วนที่ ๒
ข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญในแต่ละยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการของภาครัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี ๒๕๖๔ รายกระทรวง
เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหน่วยงานต่อไป ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.
เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
รับข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทัศนคติของบุคลากรภาครัฐทุกระดับ
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ หน่วยงานควรเลือกเข้าชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง
ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลและสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ในระยะยาวและควรเร่งการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ในวงกว้างถึงความก้าวหน้าที่สำคัญของการดำเนินการที่ผ่านมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการพัฒนาเร่งระบบ e-Service และการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 | อว. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติมว่า
การดำเนินการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติในสถานะของส่วนราชการภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและภารกิจตามหน้าที่และอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด
รวมทั้งผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมก็มิได้น้อยกว่าหน่วยงานบริการและจัดการกองทุนอื่น
ๆ ที่มีสถานะเป็นองค์การมหาชนแต่ประการใด นอกจากนี้
บุคลากรของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้แสดงความประสงค์ขอคงสถานะของหน่วยงานให้เป็นส่วนราชการ
ดังนั้น จึงเห็นควรให้คงสถานะของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นส่วนราชการไว้ดังเดิมและที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | แนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) | นร.12 | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น
(แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) และแนวทางการขับเคลื่อน ๒. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง
โดยคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด (คบจ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการ
ดังนี้ ๒.๑
นำแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น)
ไปใช้เป็นเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น
และให้ประเมินตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ในการประเมินและให้พิจารณาคัดเลือก อปท. ให้ครอบคลุมทุกประเภท ยกเว้น อปท.
รูปแบบพิเศษ ๒.๒ ในการณีที่ คบจ.
พบประเด็นที่ควรเพิ่มความเข้มแข็ง ปัญหา หรือข้อจำกัดจากการประเมิน
สามารถให้ความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติอย่างเหมาะสมโดยตรงหรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งเสนอแนะหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.๓
นำข้อมูลเผยแพร่ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมทั้งสาธารณชนภายในจังหวัดได้รับทราบเพื่อร่วมกันส่งเสริมและผลักดันให้ อปท.
มีศักยภาพในการบริหารการเงินและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๓. ให้กระทรวงการคลังสรุปและรายงานผลการประเมินในภาพรวม
และแผนการดำเนินการในระยะต่อไปต่อ ก.พ.ร.
เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น
และให้ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความเข็มแข็งการให้บริการประชาชนในพื้นที่ โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เห็นควรกำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนการดำเนินงานของ
อปท. เพื่อบรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดของผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำหนดไว้
ในปีถัดไปควรทำประเมิน อปท. ให้ครบทุกแห่งทั่วประเทศ
รวมทั้งควรมีการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในแนวทางประเมินให้กับท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
เพื่อให้การประเมินเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
และแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น ด้านรายได้
ควรที่จะกำหนดตัวชี้วัดให้ครอบคลุมทุกประเภทรายได้ของ อปท. ด้านงบประมาณรายจ่าย
เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายของ อปท.
จะมีความสัมพันธ์กับรายได้ที่เป็นภาษีที่รัฐจัดเก็บและแบ่งให้ อปท.
รวมทั้งเงินอุดหนุนทั่วไปซึ่งเป็นรายได้หลักที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลโดยจัดสรรเป็นงวดและไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนในการจัดสรรทำให้ส่งผลต่อการประเมินประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของ
อปท. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
|