ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 42 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2502 เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด เพื่อให้บริษัท ขนส่ง จำกัด มีภารกิจด้านการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ | คค. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๑ ตุลาคม ๒๕๐๒ เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด จากเดิมให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
(บขส.) รับภาระเดินเฉพาะรถโดยสาร เป็นให้ บขส. มีภารกิจด้านการขนส่งผู้โดยสาร
และการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคมและบริษัท
ขนส่ง จำกัด รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
เช่น
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นภารกิจหลักขององค์กรเป็นลำดับแรก
ควรทบทวนโครงสร้างอุตสาหกรรมการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง
ควรพิจารณาความเหมาะสมและความพร้อมของ บขส.
ในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในลักษณะที่ต้องเข้าไปแข่งขันกับเอกชน
และพิจารณาความสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๕ (๔) ควรดำเนินการภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่และไม่ลงทุนเพิ่ม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
หารือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด อย่างละเอียดรอบคอบ
เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ร่วมกันอย่างเหมาะสมเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
โดยไม่เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของขอบเขตภารกิจและการลงทุน แล้วให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
เร่งปรับปรุงแผนวิสาหกิจและแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | ผลการประชุมผู้นำความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical andEconomic Cooperation-BIMSTEC) หรือบิมสเทค ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | กต. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | แนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ | นร.11 สศช | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติแนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เรื่อง แนวทาง
หลักการ และการดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ ๒
โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาทบทวนยุทธศาสตร์ชาติ
ตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ เห็นว่าสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติ
จึงจะยังคง “เป้าหมาย” ตามยุทธศาสตร์ชาติไว้เช่นเดิม แต่จะมีการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
จำนวน ๒๓ ฉบับ ในส่วนของ “ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา”
เนื่องจากตัวชีวัดเดิมไม่สามารถสะท้อนต่อเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น มีการหารือกับหน่วยงานเจ้าภาพแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และสามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาล
ควรกำหนดแนวทางรองรับกรณีตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่มีการปรับเปลี่ยน
เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อแผนระดับ ๓ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ
และจัดทำแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ | กต. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
(กบส.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ กบส. ครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๕ และรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอ กบส. ตามขั้นตอนต่อไป
สรุปได้ ดังนี้ (๑) ความก้าวหน้าระบบโลจิสติกส์ของไทย เช่น การพัฒนาระบบ National Single Window ซึ่งสามารถเชื่อมโยงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์กับสมาชิกอาเซียนได้ทุกประเทศ
(๒) ความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายจีนและ
สปป.ลาว เช่น การบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
การก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ (๓)
แนวทางการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟในการขนส่งสินค้า ซึ่ง กบส.
เห็นชอบในหลักการข้อเสนอการเปิดให้เอกชนดำเนินการขนส่งซึ่งไม่ใช่สินค้าของตนเองทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ
เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรถไฟมากขึ้น (๔) การชะลอการบังคับให้เรือชายฝั่งที่รับตู้สินค้าขาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังดำเนินการบรรทุกตู้สินค้าลงเรือที่ท่าเทียบเรือชายฝั่ง
(ท่าเทียบเรือ A) กบส. มีมติมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ทบทวนการขออนุญาตตามประกาศการท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้มีความชัดเจนและเหมาะสม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอ
และให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ที่ประชุมร่วมไตรภาคี
ไทย-ลาว-จีน เร่งรัดเจรจาให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม
๒๕๔๒ เรื่อง ผลกระทบจากการก่อสร้างถนนเลียบแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย บริเวณอำเภอเบตง
จังหวัดยะลา และวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ เรื่อง
การระงับการก่อสร้างถนนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์
อย่างเคร่งครัด
เร่งรัดการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
รองรับประมาณการนำเข้า ส่งออกสินค้าและการเดินทางจากการเปิดให้บริการรถไฟสายจีน
และ สปป. ลาว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ข้อเสนองบประมาณการดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 และวันที่ 19 เมษายน 2565 | มท. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย
(การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่
๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ และวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ ในมาตรการให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร
(ค่า Ft) ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็ก
(ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน ๓๐๐ หน่วยต่อเดือน
เป็นระยะเวลา ๔ เดือน (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๖๕) โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ในกรอบวงเงินจำนวนทั้งสิ้น ๑,๗๒๔,๙๕๐,๐๐๐ บาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด
ที่ นร ๐๗๒๗/๗๑๐๗ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม
๒๕๖๕) ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นควรให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
พิจารณาปรับปรุงหรือควบคุมการดำเนินงานให้มีต้นทุนที่เหมาะสมและยืดหยุ่นได้ตามความสภาวะการเปลี่ยนแปลง
เพื่อไม่ให้กระทบกับสภาพคล่องในการดำเนินงานในระยะสั้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | รายงานการเงินประจำปีพร้อมรายงานผลการตรวจสอบ | อส. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการเงินประจำปีพร้อมรายงานผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วไม่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อรายงานการเงินได้
เนื่องจากมีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ
ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ๒. ขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตามรายงานการเงินฯ
เกี่ยวกับประเด็นที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ
และการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ไปดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง
ครบถ้วน
รวมทั้งนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำรายงานการเงินของสำนักงานอัยการสูงสุดในปีต่อ
ๆ ไป ให้ถูกต้อง ครบถ้วน
ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | รัฐบาลสาธารณรัฐอิตาลีเสนอขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลี ณ จังหวัดเชียงใหม่ (นายอัลแบร์โต โกซี) | กต. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรณีรัฐบาลสาธารณรัฐอิตาลีเสนอขอแต่งตั้ง นายอัลแบร์โต โกซี (Mr. Alberto Cosi)
ให้ดำรงตำแหน่ง กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลี ณ
จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน
ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
สืบแทน นายวิชิต ลีลามานิตย์ ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง | กษ. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง จากเดิม
๑๗ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘-พ.ศ. ๒๕๖๔) เป็น ๑๙ ปี ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘-พ.ศ.
๒๕๖๖) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม ๓,๖๗๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงวเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น การขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการโดยไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันต้องเสนอขออนุมัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดเวลาตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๗ (๒)
ควรเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
คำนึงถึงประโยชน์ ความคุ้มค่าที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน | นร.01 | 15/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทานประจำเดือน
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๔ โดยมีผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น (๑) การติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
(มท.) (๒) การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ ๑๗ หน่วยงาน และ (๓) การเข้าร่วมการประชุมติดตามงานประจำสัปดาห์ร่วมกับศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการจัดสัมมนา “การขับเคลื่อนงานจิตอาสาภาคประชาชน
มุ่งผลสัมฤทธิ์” ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564) | นร.04 | 15/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๙ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม-๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔)
ซึ่งสรุปรายงานดังกล่าวเป็นการรายงานผลการดำเนินงานตาม (๑) นโยบายหลัก ๑๑ ด้าน
เช่น การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การทะนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก
การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย
การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เป็นต้น และ (๒) นโยบายเร่งด่วน
๙ เรื่อง เช่น การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การปรับปรุงระบบสวัสดิการคุณภาพชีวิตของประชาชน
มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม การยกระดับศักยภาพของแรงงาน
การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] (ฉบับที่ 8) | สธ. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] (ฉบับที่ ๘) โดยมีการปรับอัตราค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในสภาวะอันตรายได้รับสิทธิที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการรักษาพยาบาล
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข อัตราที่กำหนด และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
พร้อมกับดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายของกระทรวงการคลังด้วย นอกจากนี้
การปรับลดหลักเกณฑ์ดังกล่าวควรคำนึงถึงคุณภาพการให้บริการเป็นสำคัญ
เพื่อไม่ให้กระทบต่อการรับบริการและการให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลของประชาชนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | ร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กษ. | 15/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดระบบการป้องกันโรคระบาดและระบบการควบคุมโรคระบาดในม้าลาย
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข ที่เห็นว่าควรเพิ่มนิยาม “จนกว่าโรคจะสงบ”
ซึ่งปัจจุบันการเลี้ยงม้าลายมีวัตถุประสงค์เลี้ยงเพื่อการค้า
โรคที่เกิดกับม้าลายบางโรคโอกาสติดต่อจากสัตว์สู่คนน้อยแต่ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพได้
ควรต้องมีมาตรการป้องกัน ควบคุมโรค และป้องกันโรคจากสัตว์พาหนะเป็นสิ่งจำเป็น
โดยอาจพิจารณาเพิ่มเติมระบุการห้ามเลี้ยงสัตว์หลายชนิดปนกันในสถานที่เดียวกัน
ร่วมกับพิจารณาจำกัดจำนวนการเลี้ยงสัตว์ต่อพื้นที่ที่กำหนด
เพิ่มการปฏิบัติตามสุขลักษณะ และเพิ่มการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้อง
เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคอีกทางหนึ่ง ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้โครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน | สธ. | 08/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา
และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ภายใต้โครงการค่าตอบแทน
เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย
สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในชุมชน วงเงินจำนวน ๓,๑๕๐,๙๑๘,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา | กษ. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
จำนวน ๓๕๐ แปลง เนื้อที่ ๗๗๐-๑-๕๙ ไร่ในอัตราไร่ละ ๔๕,๐๐๐
บาท เป็นเงิน ๓๔.๖๗ ล้านบาท ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
ที่ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบโดยคณะอนุกรรมการทั้ง ๒ คณะ (คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน) โดยในส่วนของงบประมาณ กรมชลประทานจะปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ มาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าทดแทน
จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา
อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ รวม ๒๑ ราย
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธาน
เพื่อกำกับการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอ และให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
กรมชลประทานควรเร่งรัดดำเนินการจ่ายค่าทดแทน
กำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาสำหรับการสำรวจพื้นที่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบให้มีความชัดเจน
เพื่อให้ทราบงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการจ่ายค่าทดแทนที่แน่นอน
และให้กรมชลประทานปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๖๕
แล้วขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเร่งรัดสำรวจพื้นที่และจำนวนราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนาทั้งหมด
เพื่อให้สามารถจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรได้ถูกต้องครบถ้วนโดยเร็วต่อไป ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐในกรณีต่าง
ๆ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง
ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา)
ให้แล้วเสร็จและนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายถาวร สกุลพาณิชย์) | สธ. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายถาวร สกุลพาณิชย์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านควบคุมป้องกันโรค [นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ
(ด้านวิจัย)] สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564 - 2565 | นร.14 | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ
ฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง
ปี ๒๕๖๕ เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำชุมชนให้เหมาะสม
รวมถึงเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทานให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในชุมชนตามแนวพระราชดำริ
จึงเห็นสมควรเพิ่มเติมมาตรการเกี่ยวกับการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากน้ำและน้ำฝนในพื้นที่นอกเขตชลประทานเป็นมาตรการที่
๑๐ ในเรื่องนี้ด้วย ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา
โสภณพนิช) เสนอ และมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรับไปพิจารณาดำเนินการในรายละเอียดต่อไป ๒. รับทราบและเห็นชอบมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี
๒๕๖๔/๒๕๖๕ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี ๒๕๖๕
และมอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว
โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติติดตามและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ
ฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕
เพื่อให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดและเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งนี้
ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรให้หน่วยงานดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |