ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 42 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน | นร.01 | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน
ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๕ โดยมีผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น (๑) การรายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน
(มท.) โดยมีประชาชนลงทะเบียนแล้ว ๖,๙๗๗,๕๗๗ คน (๒)
การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ ๑๖ หน่วยงาน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา
จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา ๙๐๔ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑,๑๔๔,๖๖๗ คน และ (๓)
การติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่ จิตอาสาพระราชทาน เช่น
โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้
และกิจกรรมอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2565 | กษ. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ และเห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองภายใต้กรอบองค์การค้าโลก (World Trade Organization :
WTO) คราวละ ๓ ปี (ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘) ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษี
ร้อยละ ๐ และกรอบการค้าอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อผูกพัน
และการบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง คราวละ ๓ ปี (๒๕๖๖-๒๕๖๘) การเปิดตลาดและบริหารการนำเข้าสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง
มะพร้าว มะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว
ตามพันธกรณีความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO และความตกลงการค้าเสรี
(FTA) อื่น ๆ คราวละ ๓ ปี (ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘)
โดยจัดสรรปริมาณการนำเข้าในโควตาปีต่อปี การใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special
Safeguard Measure : SSG) ภายใต้ความตกลงเกษตรของ WTO และความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
สำหรับสินค้ามะพร้าวผล ปี ๒๕๖๕
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
และเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
โดยเพิ่มเติมอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการ ตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอ และให้คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น การใช้มาตรการป้องกันพิเศษ (Special
Safeguard Measure)
ควรพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและขั้นตอนภายใต้ข้อ ๕
ของความตกลงว่าด้วยการเกษตร (Agreement on Agriculture) ของ WTO
และข้อ ๘๖ ของ ATIGA ควรกำกับดูแลการนำเข้าให้เป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
รวมทั้งเข้มงวดกับการป้องกันผู้กระทำความผิดและเฝ้าระวังให้เกิดการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรชนิดต่าง
ๆ อาทิ เมล็ดถั่วเหลือง มะพร้าว น้ำมันปาล์ม
อย่างเคร่งครัดเพื่อมิให้กระทบกับเกษตรกรในประเทศ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 | อว. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติมว่า
การดำเนินการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติในสถานะของส่วนราชการภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและภารกิจตามหน้าที่และอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด
รวมทั้งผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมก็มิได้น้อยกว่าหน่วยงานบริการและจัดการกองทุนอื่น
ๆ ที่มีสถานะเป็นองค์การมหาชนแต่ประการใด นอกจากนี้
บุคลากรของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้แสดงความประสงค์ขอคงสถานะของหน่วยงานให้เป็นส่วนราชการ
ดังนั้น จึงเห็นควรให้คงสถานะของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นส่วนราชการไว้ดังเดิมและที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๕๕
และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องตามนัยสรุปประเด็นสำคัญสำหรับการติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
เพื่อนำไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) การสร้างประชาคมอาเซียน เช่น
การสนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาตามหัวข้อหลัก “ASEAN
A.C.T. : Addressing Challenges Together” และการเตรียมความพร้อมความร่วมมือกับประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่
และการรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม จำนวน ๑๑ ฉบับ (๒)
ประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในเมียนมาและช่องแคบไต้หวัน
และ (๓) ความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอก เช่น
ไทยได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC
โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รวม ๖ ฉบับ)
โดยในส่วนของยูเครนยังมิได้มีการลงนามตราสารฯ เนื่องจากเมียนมายังดำเนินกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เช่น ควรดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรมีการยกระดับการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็นการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ
ขยะมูลฝอย และขยะพลาสติก
และประเด็นความมั่นคงในบางกรอบการประชุมอาเซียนที่ไม่ได้มอบหมายให้มีการติดตาม
อาทิ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งสำนักงานฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน | กค. | 18/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายสันติ
พร้อมพัฒน์) รายงานว่า ปัจจุบันประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต เรื่อง
อายุข้อมูลในการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต
และการส่งข้อมูลของสมาชิก ลงวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ได้กำหนดให้สมาชิกซึ่งเป็นสถาบันการเงินทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์และไม่เป็นธนาคารพาณิชย์
หรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ
ส่งข้อมูลของลูกค้าของตนให้แก่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
ซึ่งในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อ ให้สมาชิกส่งข้อมูลของลูกค้าต่อไป
เป็นระยะเวลา ๕ ปี โดยให้เริ่มนับระยะเวลา ๕
ปีในวันถัดจากวันที่ลูกค้าของสมาชิกผิดนัดชำระหนี้ครบ ๙๐ วัน
ซึ่งแม้ต่อมาลูกค้าจะชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ข้อมูลการผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวก็ยังไม่ถูกลบออกจนกว่าจะถึงกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้
จึงส่งผลให้ลูกค้าไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้
และอาจส่งผลใหบุคคลเหล่านี้ต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนนอกระบบต่อไป
ซึ่งกระทรวงการคลังจะได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณามาตรการหรือพิจารณาการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินดังกล่าว
ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติรับทราบตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายสันติ พร้อมพัฒน์) รายงาน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.12 | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | นร.10 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 40 วรรคสาม และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | กก. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๘ เพื่อเป็นค่าเช่าอาคารสำนักงาน และค่าเช่ารถยนต์ รวมทั้งสิ้น ๘
รายการ วงเงินงบประมาณ ๘๕,๑๑๐,๖๐๐ หรือไม่เกินวงเงินตามสกุลท้องถิ่น สำหรับกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนได้
โดยให้ดำเนินการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายก่อนได้รับการจัดสรรงบประมาณ
เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ตามนัยมาตรา ๔๐ วรรคสาม และมาตรา ๔๒
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
สำนักงบประมาณได้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับไว้แล้ว
สำหรับรายการค่าเช่าอาคารสำนักงาน ๕ แห่ง และรายการค่าเช่ารถยนต์ ๓ คัน
ดังกล่าวข้างต้น ให้ใช้จ่ายตามรายการและวงเงินงบประมาณรายจ่ายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ประกาศใช้บังคับ
ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
แล้วแต่กรณี ส่วนค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้สอดคล้องกับค่าเช่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรวางแผนการใช้จ่ายเงินให้มีความสอดคล้องกับปฏิทินงบประมาณ
และควรมีการกำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานสาขาต่างประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อประโยชน์ในการติดตามสถานการณ์ด้านตลาดการท่องเที่ยว
และประกอบการดำเนินนโยบายด้านการท่องเที่ยวของประเทศในระยะต่อไป
ตลอดจนสะท้อนให้เห็นถึงความคุ้มค่าของการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน | นร.01 | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทานประจำเดือน
เมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๕
โดยมีผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น (๑)
การรายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน (มท.)
โดยมีประชาชนลงทะเบียนแล้ว ๖,๙๔๐,๘๔๔ คน จำแนกเป็นกรุงเทพมหานคร ๔๕๔,๙๗๘ คน
และส่วนภูมิภาค ๖,๔๘๖,๐๖๖ คน (๒)
การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ ๑๙ หน่วยงาน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา
จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา ๙๐๔ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑,๒๑๐,๑๒๔ คน และ (๓) การติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน เช่น โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้โครงการจิตอาสาพระราชทานในการดูแลป่าชุมชนของประชาชนจิตอาสาประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดขอนแก่น กิจกรรมจิตอาสาฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระดุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) และกิจกรรมอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม
๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 15/2565 | นร.11 สศช | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | รายงานผลการพิจารณาข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินการอนุมัติการให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (คลังน้ำมัน) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | คค. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขอความเห็นชอบการเพิ่ม "กิจกรรมส่งเสริมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ภายใต้โครงการ SMEs Pro-active" | พณ. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2559 - 2565) ฉบับปรับปรุง มาตรฐานสถิติ และการปรับปรุงคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี | ดศ. | 02/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๕) ฉบับปรับปรุง ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนางานด้านสถิติของประเทศให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ
รวมทั้งแผนปฏิบัติการภายใต้ร่างแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการและสนับสนุนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
เห็นชอบการเปลี่ยนชื่อและปรับปรุงองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ
ของคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย ๓ ด้าน (ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ
และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการ
การจัดประเภทผลิตภัณฑ์กลางประเทศไทย ปี ๒๕๖๓ และมาตรฐานการผลิตสถิติ ตัวแปร : สกุลเงิน
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ๓.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น ควรจัดทำมาตรฐานสถิติเป็นชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ
ควรส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้ข้อมูลสถิติจากฐานข้อมูลสถิติของประเทศ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
และสีประจำสาขาวิชาของสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิชารัฐศาสตร์
และสาขาวิชาเทคโนโลยี ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | โครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 | พณ. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑.๑
อนุมัติการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี ๒๕๖๕
ทั้งนี้ ในการดำเนินการโครงการฯ
จะพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสำหรับการส่งออกเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบ
เมื่อระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ตัน
และราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก ๑.๒
อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี ๒๕๖๕
รวมทั้งสิ้น ๓๐๙ ล้านบาท ๑.๓
เห็นชอบหลักเกณฑ์การขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ
ตามโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี ๒๕๖๕ ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ
เช่น ควรมีการติดตาม กำกับดูแลคุณภาพของสินค้าน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
ควรมอบหมายให้กรมการค้าภายในและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานการตรวจสอบปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มคงเหลือภายในประเทศ
เพื่อประกอบการพิจารณาในการผลักดันการส่งออกให้มีความสัมพันธ์ในแต่ละห้วงเวลา
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเพื่อควบคุมราคาน้ำมันปาล์มสำหรับการบริโภคให้มีความเหมาะสมและส่งผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างศักยภาพเชิงสถาบันและเชิงเทคนิคเพื่อดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใสภายใต้ความตกลงปารีส | ทส. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรี | มท. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๖๔ จำนวน ๖ โครงการ งบประมาณ ๓๓๘,๗๙๘,๐๐๐ บาท ให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยจะได้แจ้งให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ในฐานะหน่วยรับงบประมาณจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
รวมถึงประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงศักยภาพและความสามารถในการใช้จ่าย
ความคุ้มค่า ประหยัด เป้าหมาย และประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
ตลอดจนปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาดำเนินการ และความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติต่อไป
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแลการดำเนินการของหน่วยรับงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรจัดทำแผนบริหารจัดการเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์โครงการได้สูงสุดและยั่งยืนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันทั้ง
๖ โครงการ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วในกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์) | อว. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน | นร.01 | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทานประจำเดือน
มกราคม-มีนาคม ๒๕๖๕ โดยมีผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น (๑) การรายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน
(มท.) (๒) การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ ๒๐ หน่วยงาน และ (๓) การติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 26 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 8 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | กค. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ Meeting : AFMM)
ครั้งที่ ๒๖
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN
Finance Ministers’ and Central Bank Governots’ Meeting : AFMGM)
ครั้งที่ ๘ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๗-๘
เมษายน ๒๕๖๕ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน
และแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ ๘
โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง
ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประธานการประชุม โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น
ความร่วมมือทางด้านการเงินอาเซียน การยกระดับด้านการเงินที่ยั่งยืน
แผนงานการบูรณาการทางการเงินของอาเซียน การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ เป็นต้น
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|