ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 5 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 92 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลางและเป้าหมายสำหรับปี 2567 | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี ๒๕๖๗
พร้อมข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง
และเป้าหมายสำหรับปี ๒๕๖๗ ซึ่งกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินไว้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ
๑-๓ และเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วจะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการนโยบายการเงิน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเร่งพิจารณาหาแนวทางแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวและรายงานผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรี
รวมทั้งสร้างการรับรู้ให้กับสาธารณชนถึงแนวทางในการแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์
และในระยะถัดไปเศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มที่จะเผชิญปัจจัยเสี่ยงของความผันผวนด้านราคา
รวมทั้งแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจที่อาจทำให้การประเมินสถานการณ์ด้านราคาทำได้ยากมากขึ้น
ดังนั้น การดำเนินนโยบายการเงินควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารต่อสาธารณชนและเตรียมเครื่องมือในการดำเนินนโยบายเพื่อรับมือกับความผันผวน
เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิผลต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สินค้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน แบบประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ 1) | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยขยายระยะเวลาการใช้บังคับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน
๑๐ คน (ประเภทที่ ๐๖.๐๑ และ ๐๖.๐๒) แบบประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ ๑ (ECO Car Phase ๑) ในอัตราร้อยละ ๑๔ ออกไปอีก ๒ ปี
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๘ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 – 2571) | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ ๒๕๖๘-๒๕๗๑)
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้
การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังฯ
ต่อไป ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ
และให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเพิ่มการจัดเก็บรายได้และการลดรายจ่ายโดยมีแนวทางที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
โดยเฉพาะการปฏิรูปโครงสร้างภาษีและการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ การทบทวนและยกเลิกมาตรการทางภาษีที่ไม่เกิดความคุ้มค่าและบิดเบือนกลไกตลาด
การลดความซ้ำซ้อน
และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มีวัตถุประสงค์เป็นการเฉพาะเท่าที่จำเป็น
ควบคู่ไปกับการลดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่าย
และการปรับโครงสร้างรายจ่ายให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย นมและครีม ปี 2566 เพิ่มเติม | กษ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย
นมและครีม ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม ปริมาณ ๑๐,๐๓๑.๕๕ ตัน ในอัตราภาษีร้อยละ ๕ มติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม
ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๖
และเนื่องจากการขอโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม เป็นการพิจารณาจัดสรรให้กับผู้ประกอบการตามความจำเป็นและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
จึงให้ยกเว้นการจัดสรรโควตาตามสัดส่วนผู้ประกอบการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ และเห็นชอบในการเปิดตลาดนำเข้านมและครีม
ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม ปริมาณ ๗๐๐.๑๘ ตัน ในอัตราภาษีร้อยละ ๒๐
มติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๒
กันยายน ๒๕๖๖ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นผู้บริหารการจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย
นมและครีม ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติมดังกล่าว ให้กับผู้ประกอบการตามความจำเป็นและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
โดยต้องนำเข้าให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ และต้องไม่กระทบต่อมาตรการและปริมาณการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปริมาณน้ำนมดิบของไทย เพื่อไม่ให้การเปิดตลาดนำเข้าดังกล่าว
ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงโคนมของไทย ทั้งนี้ การเปิดตลาดนำเข้าเพิ่มเติมดังกล่าว
สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ที่ไทยผูกพันไว้ การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยนมและครีม ปี ๒๕๖๖
เพิ่มเติม ต้องไม่กระทบต่อมาตรการและปริมาณการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร และควรให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในระยะยาว
โดยนำข้อมูลพยากรณ์อุปสงค์และอุปทานของน้ำนมดิบภายในประเทศมาวางแผนการจัดสรรโควตานำเข้าสินค้าในกลุ่มนมและผลิตภัณฑ์นมให้มีความถูกต้อง
เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการและไม่กระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศ
ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนมของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
และผู้บริโภคภายในประเทศเป็นผู้บริหารการจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย นมและครีม
ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม
ให้กับผู้ประกอบการตามความจำเป็นและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ทั้งนี้ การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยนมและครีม ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม
ต้องไม่กระทบต่อมาตรการและปริมาณการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ (เรื่อง
ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม)
ที่ให้ทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนมให้เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนต่อไป เช่น
การลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตน้ำนมโค การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับอุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์นมของไทย
การจูงใจให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมเพื่อการส่งออกนำน้ำนมดิบจากเกษตรกรโคนมในประเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตทดแทนการนำเข้า
๓.
ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมโคนมและเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมภายในประเทศจากการยกเลิกโควตาภาษีสินค้าเกษตรทั้งหมดตามความตกลงต่าง
ๆ เช่น ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) และความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์
(TNZCEP) ในปี ๒๕๖๘ ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 - 2567 | นร.11 สศช | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี ๒๕๖๖
และแนวโน้มปี ๒๕๖๖-๒๕๖๗ สรุปได้ ดังนี้ (๑) เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี ๒๕๖๖
มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ขยายตัวร้อยละ ๑.๕ เทียบกับการขยายตัวร้อยละ
๑.๘ ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเมื่อรวม ๙ เดือนแรกของปี ๒๕๖๖ เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ
๑.๙ โดยด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง
ส่วนการส่งออกสินค้าการอุปโภคของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สำหรับด้านการผลิต
สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวในเกณฑ์สูง
สาขาเกษตรกรรม สาขาการขายส่งและการขายปลีก และสาขาการก่อสร้างขยายตัว
ส่วนสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่อง (๒) แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี ๒๕๖๖ และ
๒๕๖๗ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี ๒๕๖๖ คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ
๒.๕ ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ ๒.๖ ในปี ๒๕๖๕ อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ
๑.๔ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ ๑.๐ ของ GDP สำหรับปี
๒๕๖๗ คาดว่า GDP จะขยายตัวในช่วงร้อยละ ๒.๗-๓.๗ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังนำข้อมูลในเรื่องนี้ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปตรวจสอบและวิเคราะห์ให้ถูกต้อง
ชัดเจน เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นต่อไป ๒.
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติวิเคราะห์ข้อมูลอื่น ๆ
เพิ่มเติมด้วย เช่น หนี้ภาคครัวเรือน รายได้ของประชาชน
หนี้และศักยภาพในการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้รอบด้านมากยิ่งขึ้น
และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ | กค. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ
จำนวน ๓ มาตรการ ได้แก่ (๑) มาตรการช่วยเหลือพักหนี้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (๒) มาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและรองรับลูกหนี้นอกระบบ และ (๓) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด
๑๙ ตามโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระ อนุมัติวงเงินงบประมาณ
จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน ๒ มาตรการ รวมทั้งสิ้น ๔,๙๐๐
ล้านบาท และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
และรับทราบมาตรการแก้ไขหนี้ในระบบ มาตรการแก้ไขหนี้นอกระบบ และการปรับโครงสร้างระบบการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔,๙๐๐ ล้านบาท ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินมาตรการเชิงป้องกัน
โดยการให้ความรู้ทางการเงิน ควรให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย
เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาจงใจผิดนัดชำระหนี้ การออกแบบมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ดังกล่าวควรคำนึงถึงประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับเป็นหลัก
รวมถึงควรมีการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของโครงการให้เป็นไปตามคำสั่งอื่น เจตนารมณ์
และควรเร่งส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศที่ช่วยสร้างวัฒนธรรมบ่มเพาะให้เกิดวินัยในการบริหารเงินและหนี้อย่างรับผิดชอบ
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนประสบความสำเร็จและมีผลยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 | สผ. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน และงบกระแสเงินสด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ปปง. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญรวม ๘ ด้าน คือ (๑)
ผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันการฟอกเงิน (๒)
ผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการฟอกเงิน (๓) ผลการปฏิบัติงานด้านการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงาน
(๔) ผลการปฏิบัติงานด้านความร่วมมือและพัฒนา (๕) การพัฒนาองค์การ (๖) ผลการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ และการตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี
(๗) ผลการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขกฎหมายและออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ (๘)
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้เสนอรายงานฯ พร้อมข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ (นายอมรวิชช์ นาครทรรพ) | พปส. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายอมรวิชช์ นาครทรรพ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว)
ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระเนื่องจากลาออก
โดยให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๒ ธันวาคม
๒๕๖๖) เป็นต้นไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | นร.07 | 04/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ ประกอบด้วย โครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบฯ พ.ศ. ๒๕๖๘ ตามยุทธศาสตร์ชาติ
๖ ด้าน ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (๒)
ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (๓) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
(๔) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (๕)
ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (๖)
ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ
ประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
ทั้งนี้
ให้สำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ที่เห็นว่าในการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต่อไป
ควรมีการเพิ่มเติมเป้าหมายและตัวชี้วัดของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ที่สามารถประเมินและวัดผลสัมฤทธิ์ของนโยบายการจัดสรรงบประมาณ
ที่เป็นประเด็นการดำเนินการเร่งด่วน
รวมทั้งการเพิ่มเติมการเชื่อมโยงเป้าหมายและตัวชี้วัดของนโยบายและแผนฯ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ในระบบการจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Budgeting) ของสำนักงบประมาณ
เพื่อให้การจัดทำงบประมาณสามารถบรรลุเป้าหมายในการขับเคลื่อนภารกิจงานความมั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
พ.ศ. ๒๕๖๘ ประเด็นแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับกรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปี และอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ควรเพิ่มประเด็นแนวทางบูรณาการด้านที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ ในยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
เพื่อให้เร่งรัดการขับเคลื่อนภารกิจงาน “การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One
Map)” และ “การจัดที่ดินทำกิน” ให้เป็นภารกิจพิเศษ (Agenda
Base) รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อความยั่งยืน
ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | มาตรการ "Easy E-Receipt" | กค. | 04/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบมาตรการ “Easy E-Receipt” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนการบริโภคในประเทศ
สนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษี รวมถึงส่งเสริมการผลิตสินค้า และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษี
และการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. เห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสำหรับการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักร
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ตามจำนวนที่จ่ายจริง
แต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท
โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
(e-Tax Invoice &
e-Receipt) ของกรมสรรพากร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรพิจารณาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของรัฐเพื่อให้เป็นไปตามนัยของมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐด้วย
และควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... | ทส. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกในการบริหารจัดการและควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศในทุกมิติ
กำหนดมาตรการการลดและควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด
กำหนดเขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษทางอากาศ และศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ
เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเชิงพื้นที่
ตลอดจนการมีเครื่องมือหรือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการส่งเสริมอื่น ๆ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น กรณีการสนับสนุนงบประมาณให้แผนปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพอากาศตามร่างของพระราชบัญญัติฯ
มาตรา ๓๙ วรรคท้าย นั้น
เห็นสมควรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลังของรัฐและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
การกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติไว้ในร่างกฎหมายดังกล่าว
อาจจะไม่รองรับกับสถานการณ์ หรือเทคโนโลยีที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
และทำให้เป็นอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายจึงเห็นว่าควรนำรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติดังกล่าว
นำมาจัดทำเป็นกฎหมายลูกบทแทน นอกจากนี้ การกำหนดให้มีระบบคณะกรรมการหลายระดับอาจส่งผลให้การขับเคลื่อนการดำเนินการไม่มีความคล่องตัวและไม่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
จึงเห็นควรพิจารณาปรับปรุงระบบคณะกรรมการให้มีเท่าที่จำเป็น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และเมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามแผนดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับโดยเร็วด้วย ๓. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ปัจจุบันมีกฎหมายที่กำหนดกลไกและมาตรการที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศไว้ในลักษระเดียวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้อยู่แล้ว
ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศจึงไม่ใช่ปัญหาว่าไม่มีกฎหมายบังคับในเรื่องนี้
แต่เป็นกรณีที่การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น
หากทางนโยบายเห็นว่าสมควรมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ก็สมควรที่จะแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ไปพร้อมกันด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย) | กค. | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้เงินได้ของบุคคลธรรมดาที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนใน “กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน
(Thailand ESG Fund หรือ TESG)
“ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๓๐ ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทสำหรับปีภาษีนั้น
เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๕ และกำหนดให้ผู้มีเงินได้ไม่ต้องนำเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เฉพาะกรณีที่เงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่กล่าวมา
ทั้งนี้ ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า ๘
ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายธงทอง นิพัทธรุจิ และนายกฤตนัน สุทธิธนาเลิศ) | นร.04 | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายธงทอง นิพัทธรุจิ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๔๓ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง โดยมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายศรัณย์
เจริญสุวรรณ) ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
ซึ่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ เมื่อวันที่ ๕-๗
กันยายน ๒๕๖๖ ในหัวข้อหลัก “อาเซียนเป็นศูนย์กลาง : สรรค์สร้างความเจริญ” โดยผลการประชุมสุดยอดอาเซียนดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำอาเซียนและคู่เจรจาในการขับเคลื่อนความร่วมมือโดยมีอาเซียนเป็นแกนกลาง
ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อหลักของการเป็นประธานอาเซียนของอินโดนีเซีย คือ
"อาเซียนเป็นศูนย์กลาง : สรรค์สร้างความเจริญ" (ASEAN Matters :
Epicentrum of Growth) รวมทั้งได้สนับสนุนประเด็นการเติบโตที่ยั่งยืน
ผ่านการพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า และมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบหลักนำผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าในประเด็นความประสงค์ของอินเดียในการริเริ่มการหารือด้านการเงินประจำปีอาเซียน-อินเดีย
(ASEAN-India Annual Financial Dialogue) เห็นควรให้สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดให้มีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของอาเซียนและอินเดียก่อน
และนำผลการหารือรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน
(ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting) ต่อไป และให้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ
ที่มีอยู่ในปัจจุบันและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ
และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า
“เงินเดือน” และปรับเงื่อนไขการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการโดยสามารถแบ่งจ่ายเป็น ๒
รอบ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ เป็นต้นไป
เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้แก่ข้าราชการ
รวมทั้งเป็นการเพิ่มอัตราเงินหมุนเวียนซึ่งจะช่วยเศรษฐกิจของประเทศ
อีกทั้งเพื่อให้เป็นการเบิกจ่ายเงินเดือนของข้าราชการมีความคล่องตัว รวดเร็ว
และสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานศาลปกครอง ที่เห็นว่าข้อสังเกตตามร่างมาตรา
๓ ที่แก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า “เงินเดือน” หมายความว่า
เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือน
หรือที่มีกำหนดจ่ายเป็นอย่างอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ... คำว่า “หรือที่มีกำหนดจ่ายเป็นอย่างอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด”
อาจทำให้เกิดการตีความได้ว่าให้สามารถจ่ายเป็นอย่างอื่นที่มิใช่ตัวเงินได้
เพื่อให้เกิดความชัดเจนอาจปรับปรุงถ้อยคำดังกล่าวเป็น “หรือที่กำหนดจ่ายตามรอบระยะเวลาอื่นภายในแต่ละเดือนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด”
การใช้ถ้อยคำในมาตรา ๒๐ ที่บัญญัติให้ “การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน... ทั้งนี้
กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้” ควรมีการ
การปรับถ้อยคำเป็น “การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน... ทั้งนี้
กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายและหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้” เพื่อให้ครอบคลุมทั้งกรณีที่จะมีการปรับเปลี่ยนกำหนดวันจ่ายและวิธีการจ่ายอย่างอื่นในอนาคตด้วย
และการแก้ไขมาตรา ๒๐ ควรจะเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับระยะเวลาการจ่ายเงินเดือนก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือน
ซึ่งอาจกำหนดให้มากหรือน้อยกว่าสามวันทำการก็ได้
และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและเหตุผลในการแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ .... และนิยามในมาตรา ๔ การกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นโดยกรมบัญชีกลางจึงควรได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เช่น การแบ่งจ่ายเงินเดือนของข้าราชการเป็น ๒ รอบ
ควรเป็นไปด้วยความสมัครใจของข้าราชการแต่ละราย
เนื่องจากภาระหนี้สินของข้าราชการแต่ละรายมีบริบทที่แตกต่างกัน ควรพิจารณาวิธีการดำเนินการจ่ายเงินเดือนที่เหมาะสมและรอบคอบ
และมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับข้าราชการ
รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้วย ในกรณีคณะรัฐมนตรีจะกำหนดจ่ายเงินเดือนเป็นอย่างอื่นที่มิใช่กำหนดจ่ายเป็นรายเดือน
หรือในกรณีกรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นที่มิใช่กำหนดจ่ายเป็นรายเดือนในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ
เห็นควรขอให้คณะรัฐมนตรีหรือกรมบัญชีกลางพิจารณาในประเด็นว่า
ข้าราชการจะขอแจ้งความประสงค์ต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้มีการจ่ายเงินเดือน ๑
รอบ หรือ ๒ รอบ ให้แก่ตน ได้หรือไม่ อย่างไร ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าการแบ่งจ่ายเงินเดือน
๒ รอบนั้น ควรเป็นภาคสมัครใจ
และวิธีการจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระเกินควรให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการหักชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของข้าราชการ
เป็นต้นไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | โครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล) | กค. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย
(อิสราเอล) ภายในกรอบวงเงินประมาณ ๑,๒๐๐ ล้านบาท
พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงตามขั้นตอน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (สินค้าน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน) | กค. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันประเภทน้ำมันเบนซิน
๑ บาทต่อลิตร โดยให้อนุพันธ์ของน้ำมันดังกล่าวมีการปรับลดอัตราภาษีตามสัดส่วนเนื้อน้ำมันที่ผสมอยู่
ตั้งแต่วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๗
และหลังจากนั้นให้อัตราภาษีกลับสู่อัตราเดิมก่อนการปรับลด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. มอบหมายกระทรวงพลังงานใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อปรับราคาขายปลีกให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐมนตรีในการลดราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์
๙๑ ต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซินที่สะท้อนต้นทุนตามข้อเท็จจริง ประชาชนตระหนักถึงภาระการชดเชยต้นทุนส่วนต่าง
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์
และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการทางภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ความสำคัญกับการดูแลแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและราคาน้ำมัน
และพิจารณาให้ราคาน้ำมันเบนซินเคลื่อนไหวสอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลก
เพื่อให้ประชาชนและระบบเศรษฐกิจมีการปรับตัวไปสู่การประหยัดพลังงาน
รวมทั้งลดแรงกดดันทางด้านการคลัง
และรักษาขีดความสามารถของกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรองรับความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (พลตำรวจโท อภิรัต นิยมการ) | นร.04 | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง พลตำรวจโท อภิรัต
นิยมการ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง [รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท
วงษ์สุวรรณ)] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓
ตุลาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป ตามที่สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|