ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 4 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 80 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | กห. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ฉบับปี ๒๕๖๖ โดยร่างความตกลงฯ ฉบับปี ๒๕๖๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายร่วมกันอย่างใกล้ชิด
ในด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างสองประเทศ เช่น ความร่วมมือด้านความมั่นคง
การป้องกันรักษาชายแดน การรักษาความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
โดยสอดคล้องกับระเบียบและกฎหมายของแต่ละประเทศ
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างความตกลงฯ
ฉบับปี ๒๕๖๖ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างความตกลงฯ ดังกล่าว ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรดำเนินการโดยใช้กลไกความร่วมมือภายใต้ร่างความตกลงฯ
ดังกล่าว ทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ รวมถึงควรติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
และสื่อสารให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงผลลัพธ์และประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการดำเนินการดังกล่าวด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. 2567) | คค. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑
นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ ถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันพุธที่ ๓
มกราคม ๒๕๖๗
เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ | ปช. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริตในการดำเนินแผนงาน/โครงการในภาครัฐ
ประกอบด้วย ขั้นการวางแผนก่อนดำเนินโครงการ ขั้นการดำเนินโครงการ
และขั้นการสรุปผลหลังการดำเนินโครงการ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ ๒. รับทราบผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามที่กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน
ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรายงาน
และแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ | นร 05 | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.)
ของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ รวมทั้งหมด ๓๗ ราย
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายชนินทร์
รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๒. นางสาวอรณี
รัตนประเสริฐ นักทัณฑวิทยาชำนาญการ ๓. นายศึกษิษฏ์
ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๔. นายชื่นชอบ
คงอุดม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๕. พลเอก
ธนะศักดิ์ ชื่นอิ่ม รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๖. นางสาวพินทุ์สุดา
ชัยนาม เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง ๗. นายมนตรี
เดชาสกุลสม รองปลัดกระทรวงคมนาคม ๘. นายเวทางศ์
พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๙. นางโสรดา
เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๑๐. นายสมคิด
จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ๑๑. นายสมาสภ์
ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ๑๒. นางโชติกา
อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๑๓.
นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๑๔. นายพงศธร พอกเพิ่มดี นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๑๕. นายเอกภัทร
วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ๑๖. นายมงคลชัย
สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๑๗. นางนิชา
หิรัญบูรณะ ธุวธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ๑๘. นางอุดมพร
เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๑๙.
นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๐. นายวีรศักดิ์
ทิพย์มณเฑียร รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๒๑. นายยุทธนา
สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๒๒. นายฉัตรชัย
บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งซาติ ๒๓. นายกิตติศักดิ์ จุลสำรวล กรรมการร่างกฎหมายประจำ
(นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) ๒๔. นายสุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ รองเลขาธิการ
ก.พ. ๒๕. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ
ก.พ.ร. ๒๖. นายนฤชา ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ๒๗. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๒๘. นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ๒๙. นายประเสริฐ ศิรินภาพร รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๓๐. นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ ๓๑. นายศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
รักษาราชการแทนเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา ๓๒. นายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ๓๓. นายธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๓๔. พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ๓๕. พลเรือตรี จุมพล นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทาง ทะเล ๓๖. นายทศพร แย้มวงษ์ รองเลขาธิการวุฒิสภา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ปปง. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญรวม ๘ ด้าน คือ (๑)
ผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันการฟอกเงิน (๒)
ผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการฟอกเงิน (๓) ผลการปฏิบัติงานด้านการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงาน
(๔) ผลการปฏิบัติงานด้านความร่วมมือและพัฒนา (๕) การพัฒนาองค์การ (๖) ผลการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ และการตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี
(๗) ผลการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขกฎหมายและออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ (๘)
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้เสนอรายงานฯ พร้อมข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางขนิษฐา วงศ์วัฒนารัตน์) | กษ. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง นางขนิษฐา วงศ์วัฒนารัตน์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์พันธุกรรม (นักวิชาการเกษตรเชี่ยวชาญ) สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
กรมวิชาการเกษตร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านอารักขาพืช (นักวิชาการเกษตรทรงคุณวุฒิ)
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
และได้เข้าปฏิบัติหน้าที่รักษาการในตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ข้อเสนอการกระจายอำนาจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด | นร.11 สศช | 04/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการกระจายอำนาจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับการดำเนินงานและจัดทำคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ เป็นต้นไป และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ ๑. ให้จังหวัดเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพในการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
๒๐ ปี แผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในจังหวัดได้ ๒. ให้กระทรวง/กรม
ให้ความสำคัญกับการจัดทำข้อเสนอโครงการและงบประมาณเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนพัฒนาจังหวัด ๓. ให้สำนักงบประมาณใช้แผนพัฒนาจังหวัดเป็นแนวทางในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณของทุกหน่วยงานที่มีการดำเนินการในพื้นที่จังหวัด
รวมทั้งรายงานผลการจัดสรรงบประมาณที่มีการดำเนินการในพื้นที่จังหวัดตามแผนพัฒนาจังหวัด
ให้คณะรัฐมนตรีทราบ หลังจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลใช้บังคับ ๔.
ให้กระทรวงมหาดไทยรวบรวมข้อเสนอแผนงานโครงการที่จังหวัดขอรับการสนับสนุนจากกระทรวง/กรม
(แบบ จ.๓) แจ้งให้กระทรวง/กรมรับทราบ และพิจารณาบรรจุข้อเสนอแผนงานโครงการดังกล่าว
ไว้ในคำของบประมาณของกระทรวง/กรม และส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ไว้ในคำของบประมาณของกระทรวง/กรม
และส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ๕. ให้กระทรวง/กรม แจ้งแผนปฏิบัติราชการประจำปี
หรือแผนปฏิบัติงานประจำปีของหน่วยงานในส่วนที่ดำเนินการในพื้นที่จังหวัด
พร้อมทั้งระบุเวลาที่จะเริ่มดำเนินโครงการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ ทั้งนี้
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี
หรือแผนปฏิบัติงานประจำปี ของหน่วยงาน
หรือระยะเวลาที่จะเริ่มดำเนินโครงการตามแผนดังกล่าว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้
หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบเพื่อปรับแผนหรือระยะเวลาให้เหมาะสมต่อไป ๖. ให้สำนักงาน ก.พ. เร่งกำหนดแนวปฏิบัติตามมาตรา ๕๓
ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๖๕
ที่กำหนดให้ปลัดกระทรวงหรืออธิบดีมอบอำนาจในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
การเลื่อนเงินเดือน การให้บำเหน็จความชอบ
และการดำเนินการทางวินัยข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการและตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ๗. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
พิจารณาความเหมาะสมของตัวชี้วัดการพัฒนาจังหวัด (KPIs) ของแต่ละจังหวัด
ให้สามารถวัดผลการพัฒนาได้จริงและสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร เพื่อให้การติดตามและประเมินผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ๘. ให้กระทรวงมหาดไทยชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัดเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจ
และขั้นตอนการดำเนินงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
พ.ศ. ๒๕๖๕
รวมทั้งจัดหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะและองค์ความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ของจังหวัดเกี่ยวกับการจัดทำแผน
การขับเคลื่อนแผน การจัดทำโครงการและบริหารงบประมาณ และหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชารัฐศาสตร์
เพิ่มขึ้น ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (สมรสเท่าเทียม) | ยธ. | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า โดยที่จะมีการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ
ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 (Thailand Biennale,
Chiang Rai 2023) ระหว่างวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖-๓๐ เมษายน ๒๕๖๗
ซึ่งเป็นการจัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินไทยและต่างชาติ ภายใต้แนวคิด : เปิดโลก (The Open World) อันจะเป็นการเปิดมิติทางศิลปะวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเมืองเชียงรายสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก
จึงขอให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐร่วมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การจัดงานมหกรรมดังกล่าวให้แพร่หลายและกว้างขวางออกไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
รวมทั้งเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานดังกล่าว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของประเทศต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10 | กห. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
ครั้งที่ ๑๗ และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
ครั้งที่ ๑๐ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕
ถึงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีการพิจารณาร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
โดยแบ่งเป็นร่างเอกสารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะร่วมรับรอง (Adopt) จำนวน ๕ ฉบับ อนุมัติ (Approve) จำนวน ๒ ฉบับ และรับทราบ (Note) จำนวน ๑ ฉบับ รวม ๘
ฉบับ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
ครั้งที่ ๑๗ และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
ครั้งที่ ๑๐ จำนวน ๘ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้ง พิจารณาใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม
เพื่อให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขออนุมัติกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน (กรณีรายได้ไม่พอสำหรับรายจ่าย) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ | คค. | 24/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน (กรณีรายได้ไม่พอสำหรับรายจ่าย)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ รวมจำนวน ๘,๒๖๘.๔๖๙ ล้านบาท
และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ กำหนดวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข
และรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้เงิน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม
(องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) เร่งรัดการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(ฉบับปรับปรุงใหม่) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจพิจารณาต่อไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๐๙/๙๖๕๔ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร ๑๑๒๔/๒๙๓๔ ลงวันที่
๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖) ที่เห็นควรให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพดำเนินการอย่างเคร่งครัด
พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
และมอบให้กระทรวงคมนาคมปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับ ดูแล และติดตามการดำเนินการ
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ได้จริง
และเพื่อให้เกิดความชัดเจนเรื่องวงเงินต้นเงินกู้ที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณชำระค่าดอกเบี้ย
โดยให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพยืนยันวงเงินต้นเงินกู้ที่ภาครัฐรับภาระต่อสำนักงบประมาณอีกครั้ง
เพื่อให้ทราบต้นเงินกู้คงเหลือ ณ ปัจจุบัน
สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
และควรจัดเก็บข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้บริการเพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการเดินรถสำหรับรถโดยสารที่จะจัดหาใหม่และสอดคล้องตามแผนการปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพฯ
รวมทั้งเร่งรัดติดตามและกำกับบริษัทที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เพื่อองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจะได้มีกรอบแนวทางที่ชัดเจนสำหรับใช้ในการดำเนินกิจการและผลักดันสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร ระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย | กห. | 24/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย
(Joint Statement on Enhanced Information
Sharing between the Ministry of Defence of the Kingdom of Thailand and the
Department of Defence of the Commonwealth of Australia) และให้ปลัดกระทรวงกลาโหม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
โดยร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
เป็นเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการกำหนดขั้นตอนกรอบแนวทางและการดำเนินการตามกฎหมายที่เหมาะสมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศ
ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ
สนับสนุนความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงที่มีร่วมกันในปัจจุบัน
อาทิ การบริหารจัดการโรคระบาด การต่อต้านการก่อการร้าย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความมั่นคงทางทะเล
ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างการพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคง อันจะนำไปสู่ขีดความสามารถในการป้องปรามและตอบสนองต่อภัยคุกคามและสิ่งท้าทายร่วมกันในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์ให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | รายงานการเตรียมความพร้อมการดำเนินการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล | กษ. | 24/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการเตรียมความพร้อมการดำเนินการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอลจะเป็นประโยชน์ต่อการประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ภายใต้การดำเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรจากแรงงานอิสราเอลสู่การพัฒนาเกษตรสมัยใหม่
เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดของแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในรัฐอิสราเอล
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย) วงเงิน 18,000 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | คค. | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ มาตรา ๓๙ (๔)
โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข
และรายละเอียดตามความเหมาะสม
โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำเนินการกู้เงินภายหลังจากวงเงินกู้ได้รับการบรรจุไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
สำหรับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการกู้เงิน
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับเงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๘,๐๐๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง (หนังสือกระทรวงการคลัง
ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๙๐๔/๑๑๓๒๔ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๖) สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๙/๑๔๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๖)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๒๔/๔๗๘๔
ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๖) เช่น
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรของการรถไฟแห่งประเทศไทย
โดยเฉพาะการเร่งดำเนินการของบริษัท บริหารสินทรัพย์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ให้สอดคล้องและเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ โดยให้กระทรวงคมนาคมกำกับ
ติดตาม
และเร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการแก้ไขปัญหาองค์กรให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมตามแผนที่กำหนดโดยเร็ว
การรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทยจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ สมควรที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะได้เร่งการฟื้นฟูสถานะโดยเร็วด้วย
และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาใช้จ่ายจากเงินกู้ดังกล่าวตามจำนวนและช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นภาระทางการเงินเกินความจำเป็น
และเร่งทำการตลาดเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการให้มากขึ้น
ทั้งทางด้านการขนส่งสินค้าและการโดยสารซึ่งรวมถึงการเดินทางท่องเที่ยวซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นตัว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ และนางสาวธนาพร จีนจะโปะ) | กษ. | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
จำนวน ๒ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓ ตุลาคม ๒๕๖๖) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ดังนี้ ๑. นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๒. นางสาวธนาพร จีนจะโปะ
ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์) | อว. | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นางสาวสุชาดา
แทนทรัพย์ เป็นข้าราชการการเมือง
ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓ ตุลาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายศุภชัย โพธิ์สุ) | นร.04 | 03/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายศุภชัย โพธิ์สุ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2567 | นร.11 สศช | 26/09/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๗ วงเงินดำเนินการ จำนวน ๑,๓๘๐,๖๒๔ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน ๒๕๘,๙๘๕
ล้านบาท ประกอบด้วย (๑) กรอบการลงทุนสำหรับงานตามภารกิจปกติและโครงการต่อเนื่อง วงเงินดำเนินการ
จำนวน ๑,๑๘๐,๖๒๔ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน
จำนวน ๒๐๘,๙๘๕ ล้านบาท และ (๒)
กรอบการลงทุนสำหรับการเพิ่มเติมระหว่างปี วงเงินดำเนินการ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน ๕๐,๐๐๐
ล้านบาท สำหรับโครงการที่ยังไม่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
และการลงทุนที่ใช้เงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้ดำเนินการได้เมื่อได้รับอนุมัติตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้
กำหนดเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕
ของกรอบวงเงินอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน เห็นชอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ปรับวงเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
ให้สอดคล้องกับผลการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ รวมถึงงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบกลาง
หรืองบประมาณที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการงบประมาณหรือได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณแล้ว
และปรับเพิ่มกรอบวงเงินดำเนินการและกรอบวงเงินเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับการอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ทันทีภายในปีงบประมาณ เห็นชอบให้ สศช.
โดยประธาน สศช. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงงบลงทุนระหว่างปีในส่วนงบลงทุน
เพื่อการดำเนินงานปกติและโครงการต่อเนื่องที่การเปลี่ยนแปลงไม่มีผลกระทบต่อสาระสำคัญและกรอบวงเงินโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว
รวมทั้งเห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระดับกระทรวง และระดับรัฐวิสาหกิจ
โดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจรับข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการ
และเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนปี ๒๕๖๗
ให้ สศช. ทราบภายในทุกวันที่ ๕ ของเดือนอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะและความก้าวหน้าการดำเนินโครงการลงทุนทุกไตรมาส
เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างต่อเนื่อง
และรับทราบประมาณการงบทำการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ ๗๖,๗๕๖ ล้านบาท และประมาณการแนวโน้มการดำเนินงานช่วงปี ๒๕๖๘-๒๕๗๐
ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้นที่คาดว่าจะมีการลงทุนเฉลี่ยประมาณปีละ ๓๗๖,๓๖๗ ล้านบาท และผลประกอบการจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณปีละ ๘๓,๔๔๓ ล้านบาท ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้กระทรวงเจ้าสังกัดที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงพลังงาน สำนักงบประมาณ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เช่น ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด พิจารณาแนวทางการบรรเทาปัญหาด้านสภาพคล่องให้แก่การไฟฟ้าทั้ง
๓ แห่ง
และกำกับดูแลการดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงพลังงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
เพื่อนำไปปรับใช้ในการจัดทำกรอบและงบลงทุนฯ ในระยะต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเจ้าสังกัดที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการดำเนินการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งในช่วงไตรมาสที่หนึ่งและไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจในช่วงระหว่างการจัดทำ
(ร่าง) พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
รวมทั้งให้กระทรวงการคลังประสานกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจที่อยู่ในแผนฟื้นฟูให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง และนายอภิชาติ รัตนราศรี) | นร.07 | 26/09/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน
๒ ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | บัญชีรายชื่อแผนปฏิบัติการด้าน... เพื่อเข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566) | นร.11 สศช | 29/08/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบบัญชีรายชื่อแผนปฏิบัติการด้าน...
เพื่อเข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๖) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑. สรุปบัญชีรายชื่อแผนปฏิบัติการด้าน...
เพื่อเข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยมีแผนปฏิบัติการด้าน...
ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณากลั่นกรองระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน
๒๕๖๖ จำนวน ๑๓ แผน และมีแผนปฏิบัติการด้าน...
ที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณากลั่นกรองของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่
๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ จำนวนทั้งสิ้น ๑๙๓ แผน ๒.
การนำเข้าแผนระดับที่ ๓ ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖ พบว่า
มีหน่วยงานนำเข้าข้อมูลแผนระดับที่ ๓ รวมจำนวน ๑,๐๘๕ แผน แบ่งเป็น (๑)
แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี จำนวน ๔๖๒ แผน (๒) แผนปฏิบัติราชการรายปี จำนวน ๔๘๑ แผน
และ (๓) แผนปฏิบัติการด้าน... จำนวน ๑๔๒ แผน ทั้งนี้
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เร่งรัดให้หน่วยงานนำเข้าแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ในระบบ eMENSCR ให้แล้วเสร็จและรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนระดับที่
๓ รายปี ภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ/ปีปฏิทินถัดไป
เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เรื่อง การติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ ๓.
การดำเนินการในระยะต่อไป
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ช่องว่างประเด็นการพัฒนาที่จำเป็นต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน...
เพื่อให้มีการจัดทำแผนมีความครอบคลุมประเด็นการพัฒนาเฉพาะเท่าที่จำเป็น
โดยให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาทบทวนกฎหมายที่มีการกำหนดให้จัดทำแผนปฏิบัติการด้าน...
เพื่อยกเลิกแผนปฏิบัติการด้าน...
ที่มีความซ้ำซ้อนและไม่จำเป็นและจัดทำเฉพาะประเด็นที่จำเป็นต่อบริบทของเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
|