ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 13 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 252 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 – 2571) | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ ๒๕๖๘-๒๕๗๑)
เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้
การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังฯ
ต่อไป ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ
และให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเพิ่มการจัดเก็บรายได้และการลดรายจ่ายโดยมีแนวทางที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
โดยเฉพาะการปฏิรูปโครงสร้างภาษีและการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ การทบทวนและยกเลิกมาตรการทางภาษีที่ไม่เกิดความคุ้มค่าและบิดเบือนกลไกตลาด
การลดความซ้ำซ้อน
และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มีวัตถุประสงค์เป็นการเฉพาะเท่าที่จำเป็น
ควบคู่ไปกับการลดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่าย
และการปรับโครงสร้างรายจ่ายให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co - operation and Development: OECD) | นร.11 สศช | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างหนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
(Organisation for Economic Co-operation and
Development : OECD) มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในการขอเข้าสู่กระบวนการภาคยานุวัติเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก
OECD แบบเต็มรูปแบบ
โดยระบุเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ OECD ที่มีมาอย่างยาวนาน
เช่น การเรียนรู้และปรับตัวของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD การเข้าเป็นภาคีตราสารทางกฎหมายของ OECD เป็นต้น
รวมถึงการดำเนินการของประเทศไทยเพื่อเข้าเป็นสมาชิก OECD และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงฯ
รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานประสานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก
OECD ของประเทศไทย
และมอบหมายหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบตามตารางห่วงโซ่คุณค่าเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิก
OECD ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอคดล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน
Framework for the Consideration of Prospective Members รวมถึงการดำเนินการอื่นใดที่จะช่วยขจัดอุปสรรคและสนับสนุนกระบวนการเข้าสู่การเป็นสมาชิก
OECD ของประเทศทไยในอนาคต ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ
ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒. ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงยุติธรรมและสำนักงบประมาณที่เห็นควรพิจารณาวางแผนการดำเนินการภายหลังประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก
OECD ในอนาคต
เพื่อให้การมีส่วนร่วมของประเทศไทยใน OECD และการนำมาตรฐานต่าง
ๆ มาปฏิบัติใช้ในประเทศมีความยั่งยืน เช่น
การพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติและคณะอนุกรรมการเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดแผนการดำเนินการตามระยะ (ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว) แผนสนับสนุนด้านวิชาการและการวิเคราะห์ข้อมูล
และแผนการบริหารจัดการ เป็นต้น สำหรับภาระงบประมาณที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว
ให้ใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ไปพลางก่อน และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | นโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง และปลาป่น) ปี 2567 - 2569 | พณ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง
และปลาป่น) ตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ (ครั้งที่ ๘๑)
เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ โดยให้ใช้ดำเนินการได้เฉพาะปี ๒๕๖๗ เท่านั้น
และให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ประเด็นกากถั่วเหลือง
ประเทศไทยควรระมัดระวังไม่ให้เงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้มีสิทธินำเข้ารับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศทั้งหมดในราคาที่กำหนดถูกใช้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่สินค้ากากถั่วเหลืองของประเทศไทย
และทำให้สินค้ากากถั่วเหลืองจากต่างประเทศเสียเปรียบในด้านการแข่งขัน
ซึ่งอาจขัดต่อพันธกรณีด้านการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (national treatment) ตาม Article
III:4 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General
Agreement on Tariffs and Trade : GATT) ควรกำกับดูแลและตรวจสอบการนำเข้าอย่างเข้มงวด
เพื่อควบคุมการนำเข้าสินค้าให้ตรงกับการสำแดงพิกัดอัตราภาษีศุลกากร
และป้องกันการลักลอบการนำเข้าอย่างผิดกฎหมายซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อราคาผลผลิตในประเทศได้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการนโยบายอาหาร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนการส่งเสริมและพัฒนาการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การเพาะปลูกถั่วเหลือง และการผลิตปลาป่น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลการผลิตและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร
และเพื่อลดการนำเข้าสินค้าเกษตรดังกล่าว แล้วให้นำแผนฯ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน
๓ เดือน ทั้งนี้
ในส่วนของแผนการส่งเสริมและพัฒนาการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้พิจารณาเชิญชวนรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมดำเนินการในรูปแบบการจัดทำการเกษตรพันธสัญญา
(Contract Farming) และให้กำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการเพื่อป้องกันปัญหาการเผาเศษซากข้าวโพดภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการเกิดมลพิษทางอากาศ
(PM2.5) ด้วย ๓.
มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลต้นทุนการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์
เช่น ราคาปุ๋ย ให้เหมาะสมและเป็นธรรมแก่เกษตรกรให้มากที่สุด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย นมและครีม ปี 2566 เพิ่มเติม | กษ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย
นมและครีม ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม ปริมาณ ๑๐,๐๓๑.๕๕ ตัน ในอัตราภาษีร้อยละ ๕ มติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม
ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๖
และเนื่องจากการขอโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม เป็นการพิจารณาจัดสรรให้กับผู้ประกอบการตามความจำเป็นและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
จึงให้ยกเว้นการจัดสรรโควตาตามสัดส่วนผู้ประกอบการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ และเห็นชอบในการเปิดตลาดนำเข้านมและครีม
ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม ปริมาณ ๗๐๐.๑๘ ตัน ในอัตราภาษีร้อยละ ๒๐
มติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๒
กันยายน ๒๕๖๖ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นผู้บริหารการจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย
นมและครีม ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติมดังกล่าว ให้กับผู้ประกอบการตามความจำเป็นและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
โดยต้องนำเข้าให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ และต้องไม่กระทบต่อมาตรการและปริมาณการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปริมาณน้ำนมดิบของไทย เพื่อไม่ให้การเปิดตลาดนำเข้าดังกล่าว
ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงโคนมของไทย ทั้งนี้ การเปิดตลาดนำเข้าเพิ่มเติมดังกล่าว
สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ที่ไทยผูกพันไว้ การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยนมและครีม ปี ๒๕๖๖
เพิ่มเติม ต้องไม่กระทบต่อมาตรการและปริมาณการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร และควรให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในระยะยาว
โดยนำข้อมูลพยากรณ์อุปสงค์และอุปทานของน้ำนมดิบภายในประเทศมาวางแผนการจัดสรรโควตานำเข้าสินค้าในกลุ่มนมและผลิตภัณฑ์นมให้มีความถูกต้อง
เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการและไม่กระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศ
ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนมของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
และผู้บริโภคภายในประเทศเป็นผู้บริหารการจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย นมและครีม
ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม
ให้กับผู้ประกอบการตามความจำเป็นและเดือดร้อนจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ทั้งนี้ การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยนมและครีม ปี ๒๕๖๖ เพิ่มเติม
ต้องไม่กระทบต่อมาตรการและปริมาณการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ (เรื่อง
ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม)
ที่ให้ทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนมให้เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนต่อไป เช่น
การลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตน้ำนมโค การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับอุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์นมของไทย
การจูงใจให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมเพื่อการส่งออกนำน้ำนมดิบจากเกษตรกรโคนมในประเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตทดแทนการนำเข้า
๓.
ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมโคนมและเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมภายในประเทศจากการยกเลิกโควตาภาษีสินค้าเกษตรทั้งหมดตามความตกลงต่าง
ๆ เช่น ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) และความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์
(TNZCEP) ในปี ๒๕๖๘ ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) วาระปี 2567-2571 | นร.11 สศช | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอชื่อนางสาวดวงฤทัย สุรศักดิ์จินดา เป็นผู้แทนประเทศไทยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงาน IMT-GT
(Centre for IMT-GT Subregional Cooperation : CIMT) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนงบประมาณรายจ่าย โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน สำหรับปี 2567 ถึงปี 2569 พ.ศ. .... | พณ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี ๒๕๖๗
ถึงปี ๒๕๖๙ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนำเข้าข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี
พ.ศ. ๒๕๖๗ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๙ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้แก้ไขชื่อร่างประกาศและกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับของร่างประกาศดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของคณะรัฐมนตรี
และให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าคณะรัฐมนตรีสามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ตามที่เห็นสมควร
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลางและเป้าหมายสำหรับปี 2567 | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี ๒๕๖๗
พร้อมข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง
และเป้าหมายสำหรับปี ๒๕๖๗ ซึ่งกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินไว้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ
๑-๓ และเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วจะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการนโยบายการเงิน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเร่งพิจารณาหาแนวทางแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวและรายงานผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรี
รวมทั้งสร้างการรับรู้ให้กับสาธารณชนถึงแนวทางในการแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์
และในระยะถัดไปเศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มที่จะเผชิญปัจจัยเสี่ยงของความผันผวนด้านราคา
รวมทั้งแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจที่อาจทำให้การประเมินสถานการณ์ด้านราคาทำได้ยากมากขึ้น
ดังนั้น การดำเนินนโยบายการเงินควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารต่อสาธารณชนและเตรียมเครื่องมือในการดำเนินนโยบายเพื่อรับมือกับความผันผวน
เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิผลต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก (ฉบับที่ ..) | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร
ลด และเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก
(ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงบัญชีอัตราอากรท้ายประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การยกเว้นอากรลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลกลงวันที่
๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๔
โดยขยายระยะเวลาการลดอัตราอากรศุลกากรในโควตาสำหรับสินค้ากากถั่วเหลือง
พิกัดอัตราศุลกากร ๒๓๐๔.๐๐.๒๙ รหัสย่อย ๐๑ เฉพาะที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์
ในอัตราร้อยละ ๒ ออกไปอีก ๓ ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗
ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๙ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้แก้ไขระยะเวลาที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรท้ายร่างประกาศกระทรวงการคลังให้เป็นไปตามความเห็นของคณะรัฐมนตรี
ที่เห็นควรให้ลดอัตราอากรศุลกากรในโควตาสำหรับสินค้ากากถั่วเหลืองเฉพาะที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์
ในอัตราร้อยละ ๒ เป็นระยะเวลา ๑ ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจะสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์
ความจำเป็น และประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๓ ต่อไป และควรพิจารณาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตถั่วเหลือง
เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนเกินภายในประเทศภายใต้บริบทการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทยควบคู่ไปกับการส่งเสริมการผลิตและการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ทางเลือกเพื่อทดแทนและลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับประเทศไทยได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใด
ๆ ไว้ด้วยก็ได้ กรณีจึงเป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้
และอยู่ในอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ตามที่เห็นสมควร อนึ่ง
โดยที่การเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลังในครั้งนี้เป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราอากรในโควตาออกไปอีก
๓ ปี จึงเป็นกรณีที่กระทรวงการคลังจะต้องดำเนินการจัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้จากการลดอัตราอากรดังกล่าวตามมาตรา
๓๒ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment) | อก. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล
ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)
ซึ่งเป็นสนธิสัญญาสากลที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุม ยับยั้ง
และรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นโอโซน
เพื่อรักษาชั้นบรรยากาศโอโซนที่ถูกทำลายจากการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเหล่านี้
ได้แก่ สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbons : CFCs) สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocabons : HCFCs) สารฮาลอน (Halons) และสารเมทิลโบรไมด์ (Methyl
Bromide : CH3Br) และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออลฯ
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพิธีสารฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรเร่งประชาสัมพันธ์ผลกระทบจากการให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออลฯ
แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวตามข้อตกลง
พร้อมทั้งควรเร่งดำเนินการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถลดการใช้สาร HFCs และสารควบคุมอื่น ๆ ภายใต้พิธีสารมอนทรีออลฯ
อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบของผู้ประกอบการจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตในกรณีใช้สารอื่นทดแทน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สินค้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน แบบประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ 1) | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยขยายระยะเวลาการใช้บังคับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน
๑๐ คน (ประเภทที่ ๐๖.๐๑ และ ๐๖.๐๒) แบบประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ ๑ (ECO Car Phase ๑) ในอัตราร้อยละ ๑๔ ออกไปอีก ๒ ปี
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๘ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การเปิดสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา และการปิดสถานกงสุลใหญ่ ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เป็นการถาวร | กต. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เป็นการถาวร และอนุมัติในหลักการให้เปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีเขตกงสุลครอบคลุม ๘
จังหวัดของราชอาณาจักรกัมพูชา ประกอบด้วย (๑) จังหวัดเสียมราฐ (๒) จังหวัดพระตะบอง
(๓) จังหวัดไพลิน (๔) จังหวัดบันทายมีชัย (๕) จังหวัดอุดรมีชัย (๖)
จังหวัดพระวิหาร (๗) จังหวัดสตึงแตรง และ (๘) จังหวัดโพธิสัตว์ รวมทั้งเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการในรายละเอียดการเปิดสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ขอให้กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๘/๒๐๗๗ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๖) สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าควรกำหนดอัตรากำลังภายใต้กรอบอัตรากำลังที่มีอยู่เดิม
เพื่อมิให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาวต่อไป ควรดำเนินการบริหารอัตรากำลังในภาพรวมตามความจำเป็นของภารกิจ
โดยคำนึงถึงหลักการและแนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลังตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ
กำหนดไว้ในมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่
๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖ ด้วย และในประเด็นเรื่องการกำหนดตัวชี้วัดของการจัดตั้งสถานกงสุลใหญ่
ณ เมืองเสียมราฐเพื่อสะท้อนผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าในการจัดตั้งหน่วยงาน กระทรวงการต่างประเทศควรจัดเก็บสถิติข้อมูลและปริมาณงานในภารกิจแต่ละด้าน
เพื่อกำหนดตัวชี้วัดเชิงกระบวนการทำงานในระยะ ๑-๒ ปี และตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ในระยะ
๓-๕ ปี ข้างหน้า โดยการจัดเก็บสถิติข้อมูลของสถานกงสุลใหญ่ ณ
เมืองเสียมราฐควรแยกออกจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ
เพื่อให้มีข้อมูลที่ชัดเจน
ใช้ประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าของหน่วยงานที่มีการจัดตั้งขึ้นใหม่
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | กห. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ฉบับปี ๒๕๖๖ โดยร่างความตกลงฯ ฉบับปี ๒๕๖๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายร่วมกันอย่างใกล้ชิด
ในด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างสองประเทศ เช่น ความร่วมมือด้านความมั่นคง
การป้องกันรักษาชายแดน การรักษาความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
โดยสอดคล้องกับระเบียบและกฎหมายของแต่ละประเทศ
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างความตกลงฯ
ฉบับปี ๒๕๖๖ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างความตกลงฯ ดังกล่าว ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรดำเนินการโดยใช้กลไกความร่วมมือภายใต้ร่างความตกลงฯ
ดังกล่าว ทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ รวมถึงควรติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
และสื่อสารให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงผลลัพธ์และประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการดำเนินการดังกล่าวด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 - 2567 | นร.11 สศช | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี ๒๕๖๖
และแนวโน้มปี ๒๕๖๖-๒๕๖๗ สรุปได้ ดังนี้ (๑) เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี ๒๕๖๖
มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ขยายตัวร้อยละ ๑.๕ เทียบกับการขยายตัวร้อยละ
๑.๘ ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเมื่อรวม ๙ เดือนแรกของปี ๒๕๖๖ เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ
๑.๙ โดยด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง
ส่วนการส่งออกสินค้าการอุปโภคของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สำหรับด้านการผลิต
สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวในเกณฑ์สูง
สาขาเกษตรกรรม สาขาการขายส่งและการขายปลีก และสาขาการก่อสร้างขยายตัว
ส่วนสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่อง (๒) แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี ๒๕๖๖ และ
๒๕๖๗ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี ๒๕๖๖ คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ
๒.๕ ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ ๒.๖ ในปี ๒๕๖๕ อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ
๑.๔ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ ๑.๐ ของ GDP สำหรับปี
๒๕๖๗ คาดว่า GDP จะขยายตัวในช่วงร้อยละ ๒.๗-๓.๗ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังนำข้อมูลในเรื่องนี้ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปตรวจสอบและวิเคราะห์ให้ถูกต้อง
ชัดเจน เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นต่อไป ๒.
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติวิเคราะห์ข้อมูลอื่น ๆ
เพิ่มเติมด้วย เช่น หนี้ภาคครัวเรือน รายได้ของประชาชน
หนี้และศักยภาพในการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้รอบด้านมากยิ่งขึ้น
และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ | กค. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ
จำนวน ๓ มาตรการ ได้แก่ (๑) มาตรการช่วยเหลือพักหนี้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (๒) มาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและรองรับลูกหนี้นอกระบบ และ (๓) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด
๑๙ ตามโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระ อนุมัติวงเงินงบประมาณ
จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน ๒ มาตรการ รวมทั้งสิ้น ๔,๙๐๐
ล้านบาท และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
และรับทราบมาตรการแก้ไขหนี้ในระบบ มาตรการแก้ไขหนี้นอกระบบ และการปรับโครงสร้างระบบการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔,๙๐๐ ล้านบาท ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินมาตรการเชิงป้องกัน
โดยการให้ความรู้ทางการเงิน ควรให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย
เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาจงใจผิดนัดชำระหนี้ การออกแบบมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ดังกล่าวควรคำนึงถึงประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับเป็นหลัก
รวมถึงควรมีการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของโครงการให้เป็นไปตามคำสั่งอื่น เจตนารมณ์
และควรเร่งส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศที่ช่วยสร้างวัฒนธรรมบ่มเพาะให้เกิดวินัยในการบริหารเงินและหนี้อย่างรับผิดชอบ
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนประสบความสำเร็จและมีผลยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 4 | กต. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนชื่อร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ ๘ เป็นร่างปฏิญญาเนปยีดอของการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
ครั้งที่ ๔
และปรับเปลี่ยนผู้รับรองเอกสารฉบับดังกล่าวจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการประชุมผู้นำฯ
โดยไม่กระทบสาระสำคัญของร่างเอกสารดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบแล้ว
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรส่งเสริมให้ประเทศในอนุภูมิภาคฯ
ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์อาชญากรรมข้ามชาติ
รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ
เพื่อให้ประเทศสมาชิกสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบและบทลงโทษจากการกระทำผิดให้กับประชาชนในพื้นที่
ซึ่งจะส่งผลให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเข้าสู่วงจรอาชญากรรมข้ามชาติ
และเพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกันได้อย่างชัดเจน และควรเน้นย้ำแนวทางการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือดังกล่าวให้สอดประสานกับประเด็นความเชื่อมโยงด้านคมนาคมและการขนส่งที่กรอบความร่วมมืออื่น
ๆ ในพื้นที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว อาทิ อาเซียน
แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ๖ ประเทศ (GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
(ACMECS) เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันและเกื้อหนุนการดำเนินการระหว่างกัน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ปปง. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญรวม ๘ ด้าน คือ (๑)
ผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันการฟอกเงิน (๒)
ผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการฟอกเงิน (๓) ผลการปฏิบัติงานด้านการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงาน
(๔) ผลการปฏิบัติงานด้านความร่วมมือและพัฒนา (๕) การพัฒนาองค์การ (๖) ผลการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ และการตรวจสอบการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี
(๗) ผลการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขกฎหมายและออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ (๘)
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้เสนอรายงานฯ พร้อมข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 26 (The 26th GMS Ministerial Conference) | นร.11 สศช | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน
GMS ครั้งที่ ๒๖
ได้แก่ (๑) ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่
๒๖ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงความชื่นชมและรับทราบผลการดำเนินงานของภาคส่วนต่าง ๆ
ที่มีความสำคัญภายใต้แผนงาน GMS รวมถึงการแสดงเจตจำนงที่จะให้ความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อไป
และ (๒)
ร่างข้อเสนอแนวคิดสำหรับการยกร่างยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
พ.ศ. ๒๕๗๓ และอนุมัติให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์
อมรวิวัฒน์) หรือผู้แทนที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์
อมรวิวัฒน์) มอบหมาย
ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
๖ ประเทศ (GMS Minister) และเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐนตรีแผนงาน
GMS ครั้งที่ ๒๖ ในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ รวมทั้งเห็นชอบให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) หรือผู้แทนที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) มอบหมายได้ร่วมกับรัฐมนตรีของประเทศลุ่มกลุ่มแม่น้ำโขงให้การรับรอง
(๑) แถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ ๒๖ และ (๒)
ข้อเสนอแนวคิดสำหรับการยกร่างยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
พ.ศ. ๒๕๗๓ ในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ โดยไม่มีการลงนาม ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
๖ ประเทศ ครั้งที่ ๒๖
และร่างข้อเสนอแนวคิดสำหรับการยกร่างยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
พ.ศ. ๒๕๗๓
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | รัฐบาลเนปาลเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งเนปาลประจำประเทศไทย (นายธัน พหาทุร โอลิ) | กต. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายธัน พหาทุร โอลิ (Mr. Dhan Bahadur Oli) ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งเนปาลประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายคเณศ ประสาท ธกาล (Mr.
Ganesh Prasad Dhakal) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้นเป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว | กต. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการในการกำหนดให้ญี่ปุ่นอยู่ในรายชื่อประเทศในประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้น
ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน เป็นกรณีพิเศษ
โดยมีผลบังคับใช้ ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๙
เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมการค้า
การลงทุน และการดำเนินธุรกิจระหว่างทั้งสองประเทศ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒.
เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้น ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน
เป็นกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขรูปแบบการร่างกฎหมายให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา
๖๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๔.
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย ที่เห็นควรเร่งรัดการจัดทำความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับการเดินทางประเภทธุรกิจในระยะสั้นระหว่างไทย-ญี่ปุ่น
เพื่อให้ฝ่ายไทยได้รับประโยชน์ตามหลักต่างตอบแทนเช่นเดียวกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|