ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2565 เรื่อง สิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก | สกพอ. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๕ เรื่อง
สิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก (Special EEC Zone : Eastern Airport City
(EECa)] โดย กพอ. มีมติเห็นชอบในหลักการการกำหนดสิทธิประโยชน์ใน EECa
สำหรับผู้ประกอบการในพื้นที่ คนทำงาน ผู้เดินทาง และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่
โดยมีการกำหนดสิทธิประโยชน์ทั้งในรูปแบบภาษีและมิใช่ภาษี
การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร และการจัดให้มีบริการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้พื้นที่บางส่วนประมาณ
๑,๐๓๒ไร่ ใน EECa เป็นเขตประกอบการค้าเสรี (Free
Trade Zone) ซึ่งเปรียบเสมือนพื้นที่นอกประเทศซึ่งไม่ถูกจำกัดในด้านกฎหมายที่ไม่จำเป็น
และมีมาตรการส่งเสริมด้านภาษีอากร
เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพื้นที่ EECa ให้เป็นสนามบินระดับโลกและเป็นศูนย์กลางทางการบินและโลจิสติกส์ของอาเซียน
ทั้งนี้ กพอ. ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(สกพอ.) และกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิประโยชน์ด้านภาษีมูลค่าเพิ่มและอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
และเสนอ กพอ. เพื่อเห็นชอบ รวมถึงให้ สกพอ. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อรองรับการกำหนดสิทธิประโยชน์ใน EECa และให้ สกพอ. จัดให้มีบริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรที่เกี่ยวข้องด้วย ตามที่
สกพอ. ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของ กพอ. เสนอ ๒. ให้
สกพอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น (๑) ควรกำหนดการซื้อหรือปริมาณการนำเข้าสุราและยาสูบที่เหมาะสมเพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบนำสินค้าดังกล่าวออกมาจำหน่ายนอกพื้นที่เมืองการบินฯ
หรือการจ้างเดินทางเข้าไปใช้สิทธิ (๒)
มาตรการด้านเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยในสนามบินที่จะนำมาใช้ควรต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้า
เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ (๓)
ควรพิจารณาการกำหนดสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบกิจการใน EECa ไม่ให้เกิดความลักลั่นกับกรณีที่เป็นกิจการลักษณะเดียวกันกับที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้การส่งเสริม
และ (๔)
ควรพิจารณาความจำเป็นในการผ่อนปรนข้อจำกัดทางกฎหมายสำหรับงานที่ประเทศไทยมิได้ขาดแคลนหรือขาดทักษะว่ามีความจำเป็นต้องผ่อนปรนให้คนต่างด้าวทำหรือไม่
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
142 | การเปลี่ยนชื่อประเทศของสาธารณรัฐตุรกี | กต. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก
Republic of Turkey (สาธารณรัฐตุรกี) เป็น Republic of
Turkiye (สาธารณรัฐตุรกี หรือสาธารณรัฐทูร์เคีย) เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนชื่อประเทศดังกล่าวในภาษาอังกฤษ
โดยผู้ใช้สามารถเลือกใช้ชื่อใดชื่อหนึ่งในภาษาไทยได้ตามที่เห็นสมควร
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
143 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 | นร.14 | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้กรอบวงเงิน
๔,๐๑๙.๗๙๙๓ ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน
ปี ๒๕๖๕ และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๕/๒๕๖๖ จำนวน ๑,๓๖๑ รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๗/๑๐๘๕๗ ลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม
๒๕๖๕) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การดำเนินโครงการดังกล่าว
ให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ให้หน่วยรับงบประมาณเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
144 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2565 | นร.11 สศช | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
145 | นโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง | อก. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการต่อนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยระยะแรกสมควรปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
พร้อมทั้งกำหนดสิทธิประโยชน์ให้เหมาะสม โดยแบ่งกิจการที่ต้องการส่งเสริมเป็น ๓
ประเภท ได้แก่ (๑) กลุ่มกิจการสำรวจแร่ (๒) กลุ่มกิจการทำเหมืองแร่
และ/หรือแต่งแร่ และ (๓) กลุ่มกิจการถลุงแร่หรือประกอบโลหกรรม
และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และกระทรวงอุตสาหกรรมประสานความร่วมมือหรือปรึกษาหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมทรัพยากรธรณี
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติพิจารณานำนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และนโยบายต่อเนื่องไปกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่
ฉบับที่ ๒ ต่อไป เพื่อให้การบริหารจัดการมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดชนิดของแร่และประเภทอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะส่งเสริมในแต่ละช่วงเวลาให้มีความเหมาะสมชัดเจนสอดคล้องกับความต้องการใช้งานและทิศทางในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
146 | ร่างบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการจัดนายทหารติดต่อของกองทัพไทยประจำกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด - แปซิฟิก | กห. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
ว่าด้วยการจัดนายทหารติดต่อของกองทัพไทยประจำกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด-แปฟิซิก
(Memorandum of Agreement between the Ministry of Defence of the Kingdom of
Thailand as Represented by the Royal
Thai Armed Forces and the Department of Defense of the United States of America
as Represented by U.S. Indo-Pacific Command Regarding the Assignment of Liaison
Officers to U.S. Indo-Pacific Command) และให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความตกลงฯ
โดยให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความตกลงฯ
โดยร่างบันทึกความตกลงฯ
เป็นเอกสารที่กำหนดรายละเอียดในการส่งนายทหารติดต่อของกองทัพไทยไปปฏิบัติหน้าที่ ณ
กองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก ซึ่งมีรายละเอียด เช่น (๑)
หน้าที่และการปฏิบัติของนายทหารติดต่อ (๒) ข้อตกลงทางการเงิน (๓) การระงับข้อพิพาท
และ (๔) การมีผลบังคับใช้และการสิ้นสุด ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับการยืนยันให้ปรับเพิ่มถ้อยคำในข้อ
๘ (การอ้างสิทธิ)
เกี่ยวกับการไม่สละสิทธิในการฟ้องร้องต่อกรณีที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือการจงใจกระทำความผิดของนายทหารเจ้าหน้าที่พลเรือนนั้น
โดยที่กระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกายืนยันไม่ปรับถ้อยคำดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
เนื่องจากการสละสิทธิ์ในการฟ้องร้องดังกล่าวจะครอบคลุมเฉพาะคู่ภาคีโดยไม่เป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลของนายทหารติดต่อในการฟ้องร้องผู้ละเมิด
ดังนั้น การคงข้อความเดิมฝ่ายไทยจึงไม่เสียประโยชน์ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
147 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2565 และครั้งที่ 14/2565 | นร.11 สศช | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
148 | ร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. .... | คค. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการลดอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวที่จดทะเบียนระหว่างวันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๘ ลงร้อยละ ๘๐ ของอัตราที่กำหนดตาม (๑๑)
ของอัตราภาษีประจำปีท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นระยะเวลา ๑ ปี
นับแต่วันที่จดทะเบียนเพื่อเป็นการจูงใจให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กรมการขนส่งทางบกกำหนดคำนิยามของรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ภายใต้ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรการอื่น
ๆ ของภาครัฐ ไปประกอบการตรวจพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||
149 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 20/2565 | นร.11 สศช | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
150 | โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ยธ. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้ ๑.๑
โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน ๑๖
ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
งบเงินอุดหนุนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ๑.๒ ให้เลขาธิการ ป.ป.ส.
มีอำนาจอนุมัติโครงการ แผนงาน และกิจกรรมภายใต้กรอบงบประมาณ งบเงินอุดหนุน
รายการโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และสามารถจ่ายเงินงบประมาณสนับสนุนหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้านแต่ละประเทศเพื่อให้มีการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
ตามที่ได้รับจัดสรร ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรม โดยสำนักงาน ป.ป.ส. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า (๑)
การสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านควรมุ่งเน้นไปที่การควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์จำเป็นในการผลิตยาเสพติดที่มีการนำเข้าไปยังแหล่งผลิตต่าง
ๆ รวมถึงการตรวจสอบต้นทางว่ามาจากแหล่งและวิธีการใด (๒) พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ยาเสพติดในภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงไป
อันมีผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
และสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านด้วย และ (๓)
พิจารณากำหนดตัวชี้วัดของโครงการฯ
ที่จะสามารถสะท้อนผลสำเร็จของการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
เพื่อความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
151 | ขออนุมัติดำเนินโครงการลงทุนรายการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ | ทส. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่
ในกรอบวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น ๑๐,๙๗๔,๖๔๗,๘๕๘ บาท
โดยเห็นควรที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดแผนการตลาดเชิงรุกที่มีความทันสมัยเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวในรูปแบบ
Digital Marketing และพิจารณาให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อลดภาระในการบริหารในระยะยาว
ตลอดจนการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการ/รายการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ สถานะการเงินการคลังของประเทศ และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ การปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการให้ถูกต้องครบถ้วน
พร้อมทั้งจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการและรายการดังกล่าว
โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ ประมาณการค่าก่อสร้าง
สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด
ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
รวมทั้งผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการในทุกมิติ
ซึ่งสำนักงบประมาณจะได้พิจารณาความเหมาะสมและจำเป็นของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดุแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งควรเร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้
เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ทันตามแผนที่วางไว้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
152 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง-คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง-คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2552) | มท. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง-คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง-คลองหลวง-รังสิต
จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๕๒
เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง)
บางส่วน และที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่น (สีเหลือง)
บางส่วนเป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)
รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว
ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดปทุมธานีที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรคำนึงถึงการควบคุมการก่อสร้างต่าง
ๆ ไม่ให้กีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ ควรต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึงประเภท กิจการ
และขนาดอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
ควรจัดให้มีพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่เพียงพอรองรับกับความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มขึ้นและเป็นแนวกันชนสำหรับบริเวณที่ติดกับที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
ควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||
153 | การปรับอัตราเงินอุดหนุนรายหัวตามความจำเป็นพื้นฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เรียนและเพิ่มศักยภาพสถานศึกษาในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน | ศธ. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
154 | รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานและสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน | พน. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๓ ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
(สำนักงาน กกพ.) โดยมีสาระสำคัญ แบ่งเป็น (๑) ผลการดำเนินงานของการกำกับการประกอบกิจการพลังงาน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เช่น
กำกับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนผ่านมาตรการจูงใจด้านราคารับซื้อไฟฟ้า
กำกับกิจการไฟฟ้า
โดยออกมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙
และกำกับกิจการก๊าซธรรมชาติ โดยเปิดโอกาสให้มีผู้จัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ และสถานี
LNG แก่บุคคลที่สาม (๒)
ผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เช่น
ชดเชยอุดหนุนค่าไฟฟ้า จัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่นรอบโรงไฟฟ้า
และส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้า
(๓) งบการเงินของ สำนักงาน กกพ. และกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓
โดยมีสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน ๒๑,๔๑๐.๐๕ ล้านบาท และมีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ
๗๐.๔๙ ล้านบาท และ (๔) แผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยสำนักงาน กกพ. มีแผนมุ่งเน้นพัฒนากลไกกำกับอัตราค่าไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ
และสำหรับกองทุนพัฒนาไฟฟ้ามีแผนมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||
155 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 19/2565 | นร.11 สศช | 18/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
156 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม และกำหนดแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและลักษณะเครื่องหมายพิเศษ พ.ศ. .... | คค. | 18/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
และกำหนดแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและลักษณะเครื่องหมายพิเศษ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม โดยกำหนดอายุของใบอนุญาต และเงื่อนไขให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องรายงานการใช้เครื่องหมายพิเศษ
(ป้ายแดง) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งปรับปรุงแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถ
และลักษณะเครื่องหมายพิเศษ เพื่อให้ทางราชการสามารถควบคุม กำกับ ดูแล
การใช้เครื่องหมายพิเศษ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดปัญหาการหลีกเลี่ยงการใช้รถโดยไม่จดทะเบียน
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
รวมทั้งปรับปรุงประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
157 | ขออนุมัติดำเนินโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าทั่วไป | อก. | 18/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
158 | ขอความเห็นชอบในการจัดทำความตกลงระหว่างสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติแห่งประเทศไทยกับคณะกรรมาธิการกำกับดูแลนิวเคลียร์แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อสนเทศทางวิชาการและความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ | อว. | 18/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการจัดทำความตกลงระหว่างสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติแห่งประเทศไทยกับคณะกรรมาธิการกำกับดูแลนิวเคลียร์แห่งสหรัฐอเมริกา
(United States Nuclear Regulatory Commission
: USNRC) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อสนเทศทางวิชาการและความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์
และมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ
ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
โดยเป็นที่ยอมรับกันระหว่างคู่ภาคีว่าไม่จำเป็นต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Powers) (ยังไม่ได้กำหนดวันลงนาม) โดยความตกลงฯ มีสาระสำคัญ เช่น
(๑) ขอบข่ายความตกลงฯ (การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการที่ไม่เป็นความลับความร่วมมือในการวิจัยความปลอดภัยทางนิวเคลียร์)
(๒) การบริหารจัดการ (การประสานงานสำหรับกิจกรรมการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ
การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่แลกเปลี่ยนมาระหว่างคู่สัญญา)
และ (๓) การแลกเปลี่ยนและการใช้ข้อมูล (การบันทึกข้อมูลกรรมสิทธิ์) เป็นต้น
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ)
ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||
159 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2565 | นร.11 สศช | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
160 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนมะเขือแจ้ จังหวัดลำพูน พ.ศ. .... | มท. | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนมะเขือแจ้
จังหวัดลำพูน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท
ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดลำพูน ซึ่งกำหนดให้
“ชุมชนมะเขือแจ้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้ความสำคัญกับการควบคุมการก่อสร้างต่าง ๆ มิให้กีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
หรือต้องจัดให้มีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ
ควรควบคุมสถานประกอบกิจการที่ตั้งในพื้นที่ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออนามัยสิ่งแวดล้อม
จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และให้กรมโยธาธิการและผังเมืองควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
ดังกล่าว อย่างเข้มงวดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |