ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 120 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2565 | นร.11 สศช | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง
ปี ๒๕๖๕ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสอง ปี ๒๕๖๕
เช่น สถานการณ์แรงงานมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและอัตราการว่างงานลดลงต่ำสุดตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสหนึ่ง ปี ๒๕๖๕ มีมูลค่า ๑๔.๖๕
ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ ๓.๖ ซึ่งลดลงจากไตรมาสก่อน ส่วนด้านความสามารถในการชำระหนี้ทรงตัว
และการเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากโรคที่มาจากฤดูฝน
นอกจากนี้ควรติดตามและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงอย่างใกล้ชิดและกำชับประชาชนให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลป้องกันตนเองจากโควิด-๑๙
(๒) สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ จำนวน ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑) รู้จักรู้ทันผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
๒) พฤติกรรมการลงทุนของคนรุ่นใหม่ในตลาด Cryptocurrency
และ ๓) การทำงานของผู้สูงอายุตอนต้น กลุ่มที่ต้องการให้ความสำคัญ
และประเด็นที่ต้องการคำนึงถึง และ (๓) บทความเรื่อง “วิกฤติความมั่นคงทางด้านอาหาร
: มาตรการและแนวทางยกระดับให้ไทยมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน”
มีประเด็นที่ไทยต้องให้ความสำคัญ เช่น การมีอาหารเพียงพอ การเข้าถึงอาหาร
การใช้ประโยชน์จากอาหาร ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
102 | ร่างข้อตกลงการรับทุน (Grant Agreement) โครงการความร่วมมือ Phuket Smart City Technical Assistant Package ระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และองค์การการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S Trade and Development Agency: USTDA) | ดศ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
103 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณทุนประเดิมตามมาตรา 9 และมาตรา 48 ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) โดยใช้รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) | คค. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๓๖๓,๐๐๓,๙๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
(องค์การมหาชน) ตามที่กะทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม [สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล
การใช้จ่ายเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้งบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และเร่งจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางที่จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาระบบรางของประเทศให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้า
พร้อมทั้งกำหนดกลไกการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศเป็นลำดับแรก
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
104 | การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU Plenipotentiary Conference 2022: PP-22) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) | กสทช. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. ๒๐๒๒ (ITU Plenipotentiary Conference 2022 : PP-22) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication
Union : ITU) รวมถึงร่างข้อสงวนต่อกรรมการสารสุดท้าย และมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะพิจารณาใช้ดุลยพินิจตามสถานการณ์
ตามความเหมาะสมในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป ซึ่งมีกำหนดการประชุม ณ
กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ระหว่างวันที่ ๒๖ กันยายน-๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๕
โดยการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการพัฒนาและปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากกิจการโทรคมนาคม
รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือด้านโทรคมนาคมแก่ประเทศกำลังพัฒนา
ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกรวม ๑๙๓ ประเทศ และมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการอภิปราย
ลงมติ และลงนามในกรรมการสารสุดท้ายของการประชุม PP-22 ของ ITU
และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ ออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทน โดยมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าเอกสารท่าที่ของประเทศไทย
ไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
การออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยกระทรวงการต่างประเทศไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และควรมอบหมายให้คณะผู้แทนไทยใช้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระหว่างปี
พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ แทนการใช้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เป็นกรอบในการจัดทำเอกสารท่าทีของประเทศไทย เนื่องจากแผนดังกล่าวได้สิ้นสุดเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
105 | แถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence (PREZODE) | สธ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence
(PREZODE) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามในแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม PREZODE
มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตจำนงที่จะทำงานร่วมกันของประเทศผู้เข้าร่วมริเริม PREZODE เพื่อป้องกันการเกิดโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากสัตว์
ตามแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ เช่น
การพัฒนาและส่งเสริมการประยุกต์ใช้ที่สอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐
การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียว
การส่งเสริมการเปิดตัวโครงการวิจัย นวัตกรรม การศึกษา และการพัฒนา
และการใช้ประโยชน์จากข้อเสนอแนะจากการบริหารจัดการเหตุการณ์ระบาดของโรคก่อนหน้านี้
เพื่อเสริมสร้างเกณฑ์และวิธีการในการเตรียมความพร้อมใหม่ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence
(PREZODE)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นภายใต้แถลงการณ์แสดงเจตจำนงดังกล่าวให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก
โดยพิจารณาใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามภารกิจเท่าที่จำเป็น คำนึงถึงความประหยัด
และประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
106 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการก่อหนี้ผูกพัน ข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567 เพื่อดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับแผนแม่บทการพัฒนา เชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี | นร.11 สศช | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๖๗ จำนวน ๒๘,๒๒๗,๘๐๐ บาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๑๔,๑๑๓,๙๐๐ บาท สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะได้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมารรายจ่ายประจำปี
เพื่อดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
107 | ร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง | มท. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับไปแก้ไขปรับปรุงที่มาของรัฐธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น ควรกำหนดนิยามศัพท์คำว่า “เขตพัฒนา” และ
“พื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสมบูรณ์” ให้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วย
คำว่า “การใช้ประโยชน์ที่ดิน”
โดยกิจกรรมทุกชนิดที่มีการกระทำในลักษณะเป็นประจำไม่ว่ากิจกรรมนั้นประกอบอยู่บน
เหนือ หรือใต้พื้นน้ำ ไม่ว่าจะมีอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นหรือไม่ก็ตาม
ซึ่งในกิจกรรมจะต้องไม่กระทบต่อการไหลของน้ำในระบบน้ำ ควรเพิ่มข้อความ
“จะต้องไม่ก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำ
หรือกีดขวางการไหลของน้ำในระบบน้ำ
และควรแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติให้ครบถ้วน
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วเสนอคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติเพื่อพิจารณา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
108 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลเขาดิน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. .... | มท. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลเขาดิน
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ....
เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลเขาดิน
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
เพื่อมอบหมายให้เทศบาลตำบลเขาดินใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลเขาดิน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการอื่น ๆ ของเทศบาลตำบลเขาดิน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
109 | มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน | พน. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบและรับทราบมาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน
มีสาระสำคัญเป็นการขยายมาตรการที่กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ทั้งประชาชนทั่วไปและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงาน
และมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านไฟฟ้า ได้แก่
การช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน ๕๐๐
หน่วยต่อเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของค่า Ft ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องการเตรียมความพร้อมของโครงการ
วิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ และเร่งศึกษาการกำหนดมาตรการระยะยาว
เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการ
รวมทั้งเร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และให้มีการรายงานผลการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้การดำเนินมาตรการดังกล่าวบรรลุผลสัมฤทธิ์และมีความคุ้มค่าอย่างแท้จริง
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
110 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. .... | มท. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการวางแผนและจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อให้ชุมชนเกษตรกรรมที่น่าอยู่
มีความเป็นระเบียบ เป็นศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายและบริการทางการเกษตร
ศูนย์บริการท่องเที่ยวเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติด้านตะวันตกของจังหวัด
ศูนย์การค้าและบริการระดับท้องถิ่นที่มีความพร้อมทางสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
และบริการสาธารณะได้มาตรฐานทางผังเมือง โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น
๑๐ ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรให้ที่ดินประเภทที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและการพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม มีความเห็นว่าการปรับเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๗๒ ที่อยู่ติดกับพื้นที่ดังกล่าว
ทั้งในประเด็นประสิทธิภาพการให้บริการของทางหลวง และความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ
จึงต้องมีมาตรการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันผลกระทบดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้
ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ คำนึงถึง กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
มาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ เป็นต้น และควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศดังกล่าวอย่างเข้มงวดต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
111 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 26/2565 | นร.11 สศช | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
112 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 15/2565 | นร.11 สศช | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
เห็นชอบ และรับทราบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) อนุมัติให้จังหวัดสกลนคร
จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดชัยนาท
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
ภายใต้เงื่อนไขว่าในกรณีที่จังหวัดไม่สามารถลงนามและผูกพันสัญญาในโครงการที่ได้รับอนุมัติภายในเดือนกันยายน
๒๕๖๕ ให้จังหวัดเสนอขอยกเลิกโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป (๒)
อนุมัติให้จังหวัดสกลนคร จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่
ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน ๑๔ โครงการ และ ๕ กิจกรรมย่อย กรอบวงเงิน ๔๘,๗๖๘,๕๗๔.๗๕ บาท (๓)
อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน (เฟส ๓)
โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการฯ จากเดิมเดือนสิงหาคม ๒๕๖๕
เป็นเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ (๔) มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ
eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
และเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนข้อ
๑๙ และข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ (๕) มอบหมายให้กระทรวงการคลัง
(สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ)
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ พิจารณาจัดเตรียมแหล่งเงินและกรอบวงเงินเพื่อรองรับกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริต
(Fraud List) ในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการอื่น ๆ
ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบการทุจริต อาทิ โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการเราชนะ
โครงการคนละครึ่ง เสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีตามมาตรา ๘ (๓)
แห่งพระราชกำหนดฯ และ (๖) รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ ราย ๓ เดือน ครั้งที่ ๙ (๑ พฤษภาคม-๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
ข้อ ๑๙ และ ๒๐ สำหรับโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำกับติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนด
ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลให้ทันต่อสถานการณ์
เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
113 | การกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2566 | พน. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)
ตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน ๘๕,๐๐๐ ล้านบาท ประกอบด้วย สัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) กู้เบิกเกินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม
(Call
Loan) หรือรูปแบบอื่นที่กระทรวงการคลังเห็นชอบ โดยขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ในกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับชำระหนี้
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามสภาพคล่องของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามสภาวะตลาดการเงินในขณะนั้น
และประโยชน์ในการบริหารจัดการภาระหนี้ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เช่น การกำหนดมาตรการช่วยเหลือประชาชนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
การเร่งสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในประเด็นสถานการณ์พลังงาน
การประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก
และควรเร่งเตรียมความพร้อมสำหรับการระดมทุนในรูปแบบใหม่ ๆ
เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนสำหรับการลงทุนในโครงการ ควรบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และพิจารณาเบิกเงินกู้เท่าที่จำเป็นเพื่อไม่ให้เกิดภาระดอกเบี้ยต่อองค์กรในระยะยาว
โดยการดำเนินการกู้เงินดังกล่าวต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ภายใต้วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานอย่างถูกต้องครบถ้วน
การกู้ยืมเงินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะต้องได้รับอนุมัติไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐก่อนการเริ่มดำเนินการด้วย
ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพิจารณาก่อหนี้ตามความจำเป็นที่เกิดขึ้นจากการบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
(Ft) ตามนโยบายรัฐบาล
และประสานกับกระทรวงการคลังในการบริหารจัดการภาระหนี้ให้มีต้นทุนทางการเงินต่ำที่สุด
พร้อมทั้งร่วมกับสำนักงานกำกับกิจการพลังงานพิจารณาแนวทางการชำระคืนตามหลักการวินัยทางการเงินการคลังและมีผลกระทบต่อภาระค่าไฟฟ้าในอนาคตต่ำที่สุด
ควรคำนึงถึงหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งภาระทางการคลังที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
114 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 24/2565 | นร.11 สศช | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
เห็นชอบและรับทราบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่
๒๔/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) อนุมัติให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ยุติโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค
ทำให้กรอบวงเงินโครงการปรับลดลง จาก ๒๒๑.๓๘๒๐ ล้านบาท เป็น ๙.๐๕๐๐ ล้านบาท (๒)
มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เร่งดำเนินการคืนเงินกู้เหลือจ่ายจำนวน ๒๑๒.๓๓๒๐
ล้านบาท ตามขั้นตอนข้อ ๒๒ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยเร็ว
พร้อมทั้งดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์
และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อพิจารณาแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลสินค้าเกษตรที่จะนำเข้าสู่ระบบแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ให้ชัดเจน
เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์จากการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (๓) รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ราย ๓ เดือน ครั้งที่ ๔ (๑
พฤษภาคม–๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕)
พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และ (๔) รับทราบรายงานผลการคืนเงินกู้เหลือจ่ายของหน่วยงานรับผิดชอบโครงการจำนวน ๗
โครงการ รวม ๙,๙๙๒.๓๖๕๖ ล้านบาท
ที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนข้อ ๒๒ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ.
๒๕๖๔ แล้ว ทำให้กรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ คงเหลือ ณ
วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ เพิ่มขึ้นจาก ๒๕,๗๓๒.๐๕๔๓ ล้านบาท เป็น
๓๕,๗๒๔.๔๑๙๙ ล้านบาท ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ข้อ ๒๒ และ ๒๓ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ยุติโครงการ
รวมทั้งโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรกเพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานรับผิดชอบโครงการควรปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งรับความเห็นของคณะกรรมการฯ
ไปดำเนินการอย่างเคร่งครัด ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลโครงการ
เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
115 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. .... | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้นกชนหิน (Rhinoplax
vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
ที่เห็นว่าการอนุรักษ์นกชนหิน (Rhinoplax vigil) ให้คำนึงถึงการวางแผนด้านพื้นที่ป่าและธรรมชาติ
ให้มีความเหมาะสมต่อจำนวนนกชนหิน (Rhinoplax vigil) ในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
116 | ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. .... | ศย. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร วันจันทร์ที่
๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕
ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.
.... ต่อรัฐสภาเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
117 | ขอความเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยอนุญาตให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเช่าพื้นที่บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงห้วยขวางของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างอาคารและสนามฝึกซ้อมกีฬาสำหรับเด็กและเยาวชน | คค. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
118 | โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม : เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) | วธ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม
: เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) ในนามรัฐบาล โดยวงเงินงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบฯ
ปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ เป็นจำนวน ๖๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และในปีต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงวัฒนธรรม
(กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงวัฒนธรรม (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม)
รับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการควรบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น
ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมวัฒนธรรมในพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ประกอบกับโครงการเป็นการใช้งบประมาณผูกพันระยะยาว ๕ ปี
เห็นควรให้มีการติดตามประเมินผลและทบทวนถึงปัญหาอุปสรรคอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
และให้มีการจัดทำบทเรียนกลไกความสำเร็จในการพัฒนาให้เกิดเป็นเมืองต้นแบบ
เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนของประเทศในภาพรวมด้านการพัฒนาพื้นที่เชิงวัฒนธรรมที่เชื่อมกับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
บนฐานการเชื่อมต่อการทำงานกับกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อีกทั้ง
ในส่วนของการผลักดันประเด็นเรื่อง soft power ของกระทรวงวัฒนธรรมควรมีการจัดทำแผนในลักษณะบูรณาการทุกมิติร่วมกันเป็นภาพใหญ่ของประเทศ
โดยกำหนดบทบาทของแต่ละหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
บนพื้นฐานของการสร้างความเข้าใจร่วมกันถึงความหมายและขอบเขตของการใช้ soft
power ในมิติการพัฒนาประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
119 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการจัดหาเครื่องจักรกลสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง | กษ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๖๖๓,๘๗๙,๓๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการจัดหาเครื่องจักรกลสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง
รวม ๓ รายการ จำนวน ๒๐๓ เครื่อง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ที่เห็นว่าควรวางแผนการบริหารจัดการและบำรุงรักษาเครื่องจักรกลสูบน้ำให้เพียงพอ ตลอดจนบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
รวมทั้งขอให้กรมชลประทานจัดทำแผนบริหารจัดการเครื่องสูบน้ำ สถานที่ติดตั้ง
และบูรณาการร่วมกับเครื่องจักรเครื่องมือที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
120 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ มกราคม ๒๕๓๗ เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
และไม้ตาล จากเดิม “เห็นควรให้ความเห็นชอบในหลักการอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย)
เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส
สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม
มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยให้ทดลองดำเนินการในบางพื้นที่ก่อน
เช่นเดียวกับการแปรรูปไม้ยางพาราตามหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒
พฤษภาคม ๒๕๒๔ ทั้งนี้ ในการอนุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตและมาตรการตรวจสอบควบคุมเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ มกราคม ๒๕๓๒” เป็น “อนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้
(โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
ไม้ตาล และไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และมาตรการตรวจสอบควบคุมตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้กำหนด”
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการเพิ่มไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ต้องมีกฎหมาย ระเบียบ มาตรการ หรือเงื่อนไขกำชับไว้ชัดเจน
ในการนำวัตถุดิบป้อนโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับของโรงงาน
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และควรมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ได้จากอุตสาหกรรมไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
ให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มีที่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า
ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
และเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้อย่างคุ้มค่า
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการตรวจสอบที่มาของไม้ที่จะนำมาแปรรูปให้ชัดเจนและรัดกุม
เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติ หรือการนำไม้ที่ได้จากที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิมาแปรรูปด้วย
|