ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | การแต่งตั้งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (นายก้องศักด ยอดมณี) | กก. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายก้องศักด
ยอดมณี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ตามมติคณะกรรมการ
กกท. ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๙ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | แนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม | นร.08 | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม
โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานการจัดทำแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมสังคมไทยอยู่ร่วมกันโดยเคารพความแตกต่างหลากหลาย
โดยให้ความสำคัญกับหลักการอดทนอดกลั้นและยึดมั่นแนวทางสายกลาง
อันจะเป็นการป้องกันและรับมือกับการบ่มเพาะแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงทุกรูปแบบ
โดยมียุทธศาสตร์หลัก ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การป้องกัน (Pervention)
มุ่งเน้นการเฝ้าระวังความขัดแย้งและการเผยแพร่อุดมการณ์/แนวคิดที่นิยมความรุนแรง
(๒) การยับยั้ง (Deterring) มุ่งเน้นลดปัจจัยทางการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม และขจัดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การมีแนวคิดที่นิยมความรุนแรง และ (๓)
การฟื้นฟูเยียวยา (Rehabilitation)
การนำผู้ที่มีแนวคิดที่นิยมความรุนแรงให้กลับเข้าสู่สังคม ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ปรับแนวทางในส่วนที่มอบหมาย
เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง
การยับยั้งปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง และการฟื้นฟูเยียวยากลุ่มเสี่ยงเพื่อเตรียมพร้อมกลับคืนสู่สังคม
อาทิ จำนวนสถานการณ์การชุมนุมที่มีการใช้ความรุนแรง
จำนวนเยาวชนและบุคคลทั่วไปที่เป็นผู้กระทำความผิดให้กลับคืนสู่สังคม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 27/2565 | นร.11 สศช | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | การแก้ปัญหาส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (บริเวณพื้นที่โรงงานมักกะสัน) | สกพอ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา | กค. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน | มท. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | โครงการอาคารรักษาพยาบาลศิริราชและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | อว. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... | รง. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ.. ๒๕๖๕ เป็นระยะเวลา ๓
เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนมาตรา
๓๓ จากเดิมฝ่ายละร้อยละ ๕ ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละร้อยละ ๓
ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับฝ่ายรัฐบาลส่งเงินสมทบอัตราเดิมร้อยละ ๒.๗๕
ของค่าจ้างผู้ประกันตน และสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ปรับลดจากอัตราเดือนละ ๔๓๒
บาท เป็น ๒๔๐ บาท ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงแรงงาน
รับความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจถึงสถานการณ์ของกองทุนประกันสังคมที่จะมีการเพิ่มอัตราเงินสมทบและปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างแก่นายจ้างและผู้ประกันตน
รวมทั้งวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
และควรเร่งดำเนินมาตรการรองรับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพกองทุนและลดภาระทางการคลังของภาครัฐในระยะยาว อาทิ
การปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบ การปรับเพดานค่าจ้างสำหรับคำนวณเงินสมทบ
เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับกองทุนประกันสังคมในระยะยาว รวมทั้งการขยายอายุที่มีสิทธิรับบำนาญอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2568 | อว. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | การขอขยายระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ | พน. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพออกไปอีก
๒ ปี จนถึงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๗ และเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข
และมาตรการ
เพื่อลดการจ่ายเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรพิจารณาปรับลดอัตราการชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพในช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยให้ความสำคัญกับผลประโยชน์หรือมูลค่าเพิ่มที่เกษตรกรจะได้รับจากการปลูกพืชพลังงาน
และคำนึงถึงระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
และควรพิจารณามาตรการการจัดเก็บภาษีตามอัตราการปล่อยมลพิษของน้ำมันเชื้อเพลิงมาใช้
เพื่อสนับสนุนให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพแข่งขันได้โดยไม่ต้องได้รับการชดเชย
รวมทั้งควรสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 | ปปง. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจเป็นทรัสตีตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
และผู้ประกอบธุรกิจให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาแนวทางเพื่อลดผลกระทบในระบบคราวด์ฟันดิงที่ผู้ระดมทุนส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) และอาจมีการกำหนดเงื่อนไขในการรายงานหรือปฏิบัติตามกฎหมายของ
MSME
ให้มีขั้นตอนที่ง่ายต่อการปฏิบัติและไม่เป็นภาระมากเกินไป ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ที่เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาแนวทางเพื่อลดผลกระทบในระบบคราวด์ฟันดิงที่ผู้ระดมทุนส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) การกำหนดให้นิติบุคคลใดเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินย่อมทำให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้นมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น
การรายงานการทำธุรกรรม ตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ การจัดให้ลูกค้าแสดงตนตามมาตรา
๒๐ การกำหนดนโยบายการรับลูกค้า การบริหารความเสี่ยงที่อาจเกี่ยวกับการฟอกเงิน
หรือตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าตามมาตรา ๒๐/๑
จึงมีข้อที่จะต้องพิจารณาว่าจะเป็นการก่อให้เกิดภาระในการประกอบอาชีพของประชาชนเกินสมควรหรือไม่ด้วย
หากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจนี้ในประเทศได้
และเนื่องจากการระดมทุนผ่านธุรกิจคราวฟันดิงเป็นช่องทางที่สามารถให้ผู้ประกอบการ MSME
สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อีกช่องทางหนึ่ง
และมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยเฉพาะสตาร์ทอัพ ดังนั้น
เพื่อการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ และมิให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ MSME
อาจมีการกำหนดเงื่อนไขในการรายงานหรือปฏิบัติตามกฎหมายของ MSME ให้มีขั้นตอนที่ง่ายต่อการปฏิบัติและไม่เป็นภาระมากเกินไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | นร.10 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... และรายงานผลการแก้ไขปรับปรุงหนังสือเวียนของสำนักงาน ก.พ. | นร.10 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติร่างกฎ
ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกำหนดโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการตามกฎ
ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้มีความทันสมัย เป็นธรรม
และเหมาะสมกับสถานการณ์ของโรคในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ทางราชการได้มาและรักษาไว้ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้มีสุขภาพทางกายและจิตเหมาะสมสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยไม่เป็นโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
รับทราบรายงานผลการแก้ไขปรับปรุงหนังสือเวียนของสำนักงาน ก.พ. ซึ่งมีผลใช้บังคับกับส่วนราชการ
ที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ๓.
ให้สำนักงาน ก.พ. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ
การกำหนดหลักการและวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ.
จำต้องมีความชัดเจนให้แก่หน่วยงานของรัฐ ทราบและถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย พ.ศ. ... | คค. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย พ.ศ. ...
มีสาระสำคัญเป้นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองกอมเกาะ
อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เพื่อสร้างทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ กับสถานีรถไฟนาทา ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าก่อนการสร้างทางหลวงชนบททุกเส้นทาง ขอให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงชนบท)
ให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างทางหลวงชนบทกีดขวางทางไหลของน้ำตามธรรมชาติ
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการระบายน้ำไม่ทันและอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมหรืออุทกภัยต่อไปในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แผนงานเชิงรุกของรัฐบาล : การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) (พ.ศ. 2565 - 2567) ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา | สว. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง แผนงานเชิงรุกของรัฐบาล : การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
(Corruption Perceptions Index : CPI) (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗) ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
วุฒิสภา ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่าสามารถขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวได้
รวมถึงได้มีการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานเพิ่มเติม
และได้ให้ข้อสังเกตในบางมาตรการที่อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้
หรืออาจต้องหารือในรายละเอียดเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อไปในอนาคต
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ และให้แจ้งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) | นร.53 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการจัดตั้งสถาบันมวยไทยแห่งชาติ ของคณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา | สว. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | กรอบการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2566-2569 | ยธ. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ยธ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ
เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้แจ้งความนำจับและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานยาเสพติดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่
และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๑
ให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายยาเสพติด ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสุงสุด
และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ที่เห็นควรเพิ่มกรณีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวตามที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินมีคำสั่งตามมาตรา
๗๓ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดด้วย
รวมถึงการเพิ่มคำสั่งยึดหรืออายัดของคระกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินในร่างข้อ ๕ [แก้ไขเพิ่มเติมข้อ ๑๘ (๑)
ที่กำหนดให้การจ่ายค่าตอบแทนในคดีที่ยึดได้แต่ยาเสพติดของกลางมีศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิดและเลขาธิการ
ป.ป.ส.
มีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดชั่วคราว] และข้อ ๑๐ ของร่างระเบียบฯ ควรปรับแก้ไขถ้อยคำ “สั่งยุติคดี” เป็น
“สั่งยุติการดำเนินคดี” เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด
ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๔๘ และข้อ ๔๙ ร่างข้อ ๑๔
ของร่างระเบียบฯ ซึ่งใช้ถ้อยคำว่า “เด็กหรือเยาวชน” นั้น
มีข้อสังเกตว่าประมวลกฎหมายยาเสพติดหลายมาตราใช้คำว่า “บุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี”
รวมทั้งในข้อ ๔ (๒) ของร่างระเบียบฯ เป็น “คดีความร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดที่เลขาธิการ
ป.ป.ส. หรือพนักงานอัยการมีคำสั่งอนุมัติแจ้งข้อหาสมคบ หรือสนับสนุน ช่วยเหลือ
หรือศาลออกหมายจับในข้อหาสมคบหรือสนับสนุนช่วยเหลือตามประมวลกฎหมายยาเสพติด”
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |