ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | การขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้างโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลาง-ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ของกรมทางหลวงชนบท | คค. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการก่อสร้างโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา
ตำบลเกาะกลาง-ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ภายในกรอบวงเงิน ๑,๘๔๙.๕
ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง จำนวน ๑,๘๐๐ ล้านบาท ในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้เงินงบประมาณ
๗๐:๓๐ และค่าควบคุมงาน ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ จำนวน ๔๙.๕
ล้านบาท ในอัตราร้อยละ ๒.๗๕ ของวงเงินค่าก่อสร้าง
โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและแหล่งเงินกู้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมสำหรับวงเงินงบประมาณขอให้กรมทางหลวงชนบทเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณรองรับตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
โดยในส่วนของแหล่งเงินกู้ให้ใช้เงินกู้ต่างประเทศตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงชนบท) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
เพื่อจัดทำแนวทางการบรรเทาผลกระทบให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental
and Social Standard : ESS)
ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เร่งรัดการดำเนินการตามกฎหมาย
และระเบียบที่เกี่ยวข้อง อาทิ การขออนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี การห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน
และการขออนุญาตเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
และการขอความเห็นชอบการขอใช้ที่ดินของส่วนราชการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เพื่อให้สามารถก่อสร้างโครงการฯ ได้ตามแผนการดำเนินงานต่อไป กรมทางหลวงชนบท
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พิจารณากำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการใช้ทางร่วมกันของยานพาหนะต่าง ๆ อาทิ
การติดตั้งป้ายกำหนดความเร็วในบริเวณเขตชุมชนและจุดเสี่ยงในการสัญจร
เพื่อรองรับปริมาณการสัญจรทางถนนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | ขอความเห็นชอบร่างข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มน้ำโขง | ทส. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มน้ำโขง
และอนุมัติให้อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้มีอำนาจลงนามในร่างข้อตกลงฯ โดยร่างข้อตกลงฯ
จัดทำขึ้นระหว่างกรมทรัพยากรน้ำ และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศตามที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Adaptation Fund : AF) โดยมีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายต้องปฏิบัติ
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แลสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
ควรรายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของโครงการดังกล่าวแก่คณะกรรมการลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดี
(Best Practices) และนำไปสู่การขยายผลในลุ่มน้ำอื่น ๆ ต่อไป
และการใช้อนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาท โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นราย ๆ ไป เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | การขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้างโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา - อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ของกรมทางหลวงชนบท | คค. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการก่อสร้างโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา-อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ภายในกรอบวงเงินทั้งสิ้น
๔,๘๒๙.๒๕
ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง จำนวน ๔,๗๐๐ ล้านบาท ในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้
: ต่อเงินงบประมาณเป็น ๗๐ : ๓๐
และค่าควบคุมงาน ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ จำนวน ๑๒๙.๒๕ ล้านบาท ในอัตราร้อยละ ๒.๗๕ ของวงเงินค่าก่อสร้าง
โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี และแหล่งเงินกู้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
หากกรมทางหลวงชนบทจะเริ่มดำเนินโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
จะต้องเร่งรัดดำเนินการศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้แล้วเสร็จเพื่อรองรับการดำเนินโครงการก่อสร้างดังกล่าว ต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยในส่วนของแหล่งเงินกู้ให้ใช้เงินกู้ต่างประเทศตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงชนบท)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
หน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในมาตรา ๒๗ ให้ครบถ้วน
ให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ในการประชุมดังกล่าวอย่างเคร่งครัดด้วย
ให้กรมทางหลวงชนบทและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาพิจารณาตรวจสอบและปรับปรุงจุดเสี่ยงบนถนนเชื่อมต่อ
(พท. ๔๐๐๔ และถนนท้องถิ่น) โดยพาะในบริเวณชุมชน ให้มีความเหมาะสมตามหลักวิศวกรรม
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ถนนและประชาชนในพื้นที่ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากกรณีมีโครงการฯ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคมประสานการดำเนินโครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา-อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด
เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาโดยเฉพาะโลมาอิรวดี ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณากำหนดแนวทางที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการอนุรักษ์
คุ้มครอง และขยายพันธุ์โลมาอิรวดี
รวมถึงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในบริเวณทะเลสาบสงขลาให้เหมาะสมและยั่งยืนต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | การให้ความเห็นชอบและรับรองเอกสารแนวคิดเรื่องยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน | พณ. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างเอกสารแนวคิดเรื่องยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (Concept Note on ASEAN Strategy for Carbon Neutrality) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบร่างเอกสารดังกล่าวในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
รวมทั้งให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างเอกสารดังกล่าวต่อไป
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรสร้างความเข้าใจและบูรณาการการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ Community - based Poverty Reduction for Lancang - Mekong Cooperation Countries ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 | มท. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ
Community-based Poverty Reduction for
Lancang-Mekong Cooperation Countries ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ และเห็นชอบให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
กับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนฯ และกำหนดหลักการเบื้องต้น
การยืนยันเงินงบประมาณและโครงการ หน่วยงานดำเนินโครงการ
การจัดสรรและบริหารงบประมาณ การบริหารจัดการโครงการ การกำกับดูแลและการตรวจสอบ
การยอมรับโครงการและการประเมินผล การทบทวนและการแก้ไขเพิ่มเติม การประยุกต์ใช้
และระยะเวลา ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
รวมทั้งจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น | พน. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๓๐๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้กรมธุรกิจพลังงาน
โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้อนุมัติและดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน
ผ่านวิธีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแทนกัน
และให้กระทรวงพลังงานดำเนินมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบการใช้สิทธิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
รวมถึงเร่งรัดการลงทะเบียนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้รัฐสามารถจัดสวัสดิการให้ความช่วยเหลือประชาชนแบบมุ่งเป้า
ซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดประโยชน์สูงสุด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP 27) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง | ทส. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สมัยที่ ๒๗ (COP 27)
และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เห็นชอบต่อกรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการแลกเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๖ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ
เมืองชาร์ม เอล เชค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ โดยกรอบท่าทีเจรจาของไทยฯ มีประเด็นการเจรจาที่สำคัญ
ได้แก่ การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด
ผลกระทบจากการใช้มาตรการในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวทางและกลไกความร่วมมือตามข้อ ๖ ของความตกลงปารีส
การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตร การเงิน เทคโนโลยี
การเสริมสร้างศักยภาพ ความโปร่งใส และความร่วมมือแบบ South-South
Cooperation เห็นชอบต่อยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ
ฉบับปรับปรุง [Thailand’s Long Term Low Greenhouse Gas Emission
Development Strategy : LT-LEDS (Revised Version)] และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ
ต่อสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชติว่าด้วยการแลกเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ
และเห็นชอบต่อการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๒ (2nd
Updated NDC) และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดส่งการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด
ฉบับปรังปรุง ครั้งที่ ๒ ต่อสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการแลกเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ
ฉบับปรับปรุง และการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๒
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และพิธีสารเกียวโต ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรแล้ว
ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเท่าที่จำเป็น
โดยคำนึงถึงความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน ความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับ ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ควรพิจารณาร่วมกันหาแนวทางในการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจจากการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | ขออนุมัติผ่อนผันให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้า | พน. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓
กรกฎาคม ๒๕๒๗ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔ วันที่ ๒๒ สิงหาคม
๒๕๔๓ และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหยง
ท้องที่จังหวัดพังงา และป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองมะพร้าว ท้องที่จังหวัดภูเก็ต
รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒ ป่า เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถเข้าใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบโครงข่ายไฟฟ้า
๕๐๐ กิโลโวลต์ จุดเชื่อมพังงา ๒-ภูเก็ต ๓
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน
(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการดำเนินการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๙
มกราคม ๒๕๕๖ ให้จัดสรรงบประมาณให้กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทน
เพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมไม่น้อยกว่า ๒๐ เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ว่าด้วยการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมกรณีการดำเนินการโครงการใด
ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ.
๒๕๕๖ และปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง พ.ศ. .... | มท. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอบางปะเหลียน จังหวัดตรัง
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับการส่งเสริมให้เกาะสุกรเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของจังหวัดตรัง
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๑๑
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎ
หรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ และมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในการพิจารณาอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ
และติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังมืองรวมชุมชนเกาะสุกรให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2560 | ทส. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๖๐ มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไปอีกสองปีนับแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
และควรเร่งดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงฯ ฉบับใหม่โดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | โครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน | อว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามันของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และให้ดำเนินการให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๓๕ ตลอดจนกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ รวมถึงควรเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั่วถึง
เท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ ควรมีการทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านสื่อที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง
ให้นำความเห็นของหน่วยงานโดยเฉพาะสำนักงบประมาณไปดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการ
ขั้นตอนของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณเป็นหลัก ควรพิจารณาการใช้เงินนอกงบประมาณที่รวมรายได้หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่
หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ นอกเหนือจากงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2564 ของการประปาส่วนภูมิภาค | มท. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาปี ๒๕๖๔ จำนวน ๑๙ โครงการ
วงเงินลงทุนรวม ๖,๐๗๗,๘๐๘,๐๐๐ บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้การประปาส่วนภูมิภาคพิจารณาใช้จ่ายเงินลงทุนจากเงินรายได้เป็นลำดับแรก
และหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้วงเงิน ๑,๐๙๖,๑๔๑,๐๐๐ บาท ให้การประปาส่วนภูมิภาคกู้เงินในประเทศ
โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินโครงการให้ถูกต้อง โปร่งใส
และตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๑๕/๕๗๕๐ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ควรกำกับดูแลและบริหารโครงการให้สอดคล้องกับแผนงานที่กำหนดไว้
โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่ขั้นตอนก่อนเริ่มดำเนินโครงการและระหว่างดำเนินโครงการ
ควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดการน้ำเสียรวมของชุมชนที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน
เพื่อนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมที่เหมาะสม
การรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ หรือส่งเสริมการเก็บน้ำในรูปแบบต่าง
ๆ และการดำเนินการในครั้งต่อไป หากมีกรณีการใช้ที่ดินเอกชนการประปาส่วนภูมิภาคต้องดำเนินการจัดซื้อที่ดินดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง เขตบางแค และแขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... | มท. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ
แขวงหลักสอง เขตบางแค และแขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง
เขตบางแค แขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
เพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนทวีวัฒนากับถนนบางบอน ๓
เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งบริเวณถนนทวีวัฒนากับถนนบางบอน
๓ และพื้นที่โดยรอบ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ
ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
หากโครงการดังกล่าวเข้าข่ายในการจัดทำ EIA ให้กรุงเทพมหานครดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป
และให้กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการฯ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ (ครั้งที่ 3) | กษ. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายหัวนา
จังหวัดศรีสะเกษ (ครั้งที่ ๓) ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินและค่าขนย้าย
(ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) ตามผลการตรวจสอบของคณะทำงานแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาระดับอำเภอ
ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบและลงนามรับรองจากคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาระดับจังหวัดศรีสะเกษแล้ว
จำนวน ๔๓๓ แปลง เนื้อที่ ๗๖๕-๓-๓๕.๑๐ ไร่ วงเงินจำนวน ๕๒,๓๔๐,๙๑๘.๗๕ บาท ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอ
และให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรให้กรมชลประทานปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณจากโครงการที่หมดความจำเป็นแล้วหรือคาดว่าดำเนินการได้ไม่ทันในปีงบประมาณและขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
กรมชลประทานควรเร่งรัดแก้ไขปัญหาและจ่ายค่าทดแทนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายให้ถูกต้อง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535 เกี่ยวกับการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน | ทส. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘
กันยายน ๒๕๓๕ (เรื่อง การปรับปรุงภารกิจและโครงสร้างของกรมป่าไม้ และร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ....) เฉพาะในส่วนของการปลูกต้นไม้ในเขตป่าสงวนเสื่อมโทรมที่มีผู้ครอบครองอยู่แล้ว
ที่ขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓
เป็นการอนุมัติให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชนให้ระงับการพิจารณา
เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขครบทั้ง ๕ ประการ
รวมทั้งเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓ (เรื่อง
การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้)
เฉพาะในส่วนของการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน
และเห็นชอบให้ภาคเอกชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่า
ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไปได้
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมีมาตรการรองรับการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยเฉพาะการตรวจสอบสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคเอกชนรายใหญ่สามารถซื้อหรือสวมสิทธิ์ของเกษตรกรรายย่อย
การควบคุมไม่ให้มีการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการกำหนดเขตพื้นที่ในการเข้าทำประโยชน์ให้ชัดเจน
และคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศจากการปลูกสร้างสวนป่าใกล้บริเวณพื้นที่ที่มีระบบนิเวศเปราะบางและพื้นที่ป่าอนุรักษ์
โดยดำเนินมาตรการดังกล่าวให้รัดกุมเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจฐานรากในประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำการกระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับไปพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมประกอบการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้
เพื่อการปลูกสวนป่าภาคเอกชน โดยส่งเสริมให้เอกชนปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
๕๘ ชนิดด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | แนวทางการดำเนินการสำหรับผู้ลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ | กค. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบแนวทางการดำเนินการสำหรับผู้ลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้
และมอบหมายกระทรวงมหาดไทยให้ความร่วมมือในการดำเนินการรับรองกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้
ตลอดจนดำเนินการใด ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทย
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
เพื่อให้ได้จำนวนผู้ลงทะเบียนที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์
ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างครบถ้วน อันจะเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการแห่งรัฐอย่างครบวงจร
สามารถบรรเทาความเดือนร้อน
และเกิดผลสัมฤทธิ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน
และเกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินโครงการฯ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒. ให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. .... | คค. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นการเฉพาะ
เพื่อสนับสนุนการใช้พลังานไฟฟ้าในระบบการขนส่งทางเรือ
ซึ่งจะนำไปสู่ระบบคมนาคมที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับพัฒนาการเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงพลังงาน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่า
ควรพิจารณากำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับเรือที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
และควรเร่งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และพิจารณากำหนดมาตรฐานก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำทางลำน้ำที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) | กก. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2565 | นร.11 สศช | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] | สกพอ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] โดย กพอ.
มีมติเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน
๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
อนุมัติร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
๗ แห่ง พื้นที่รวมประมาณ ๗,๙๘๖ ไร่ ซึ่ง กพอ. มีมติเห็นชอบแล้ว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าเช่าสำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน
รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป (หากมี)
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ๔.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรส่งเสริมการดำเนินงานด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ควรพิจารณาอย่างรอบคอบไม่ให้กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนโดยรอบ
และพิจารณาถึงพื้นที่ที่สามารถรองรับการขยายการลงทุนรวมถึงการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ด้วย
ควรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีมาดำเนินการในโอกาสแรก
หากไม่เพียงให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้
หากมีภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
และกำกับดูแลและบูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |