ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือทางดิจิทัล เพื่อกำหนดอนาคตร่วมกัน (Ministerial Declaration on Digital Cooperation for Shaping Our Common Future) | ดศ. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางดิจิทัลเพื่อกำหนดอนาคตร่วมกัน(Ministerial Declaration on Digital Cooperation for
Shaping Our Common Future) ซึ่งจะมีการรับรองในการประชุม Asia-Pacific
Digital Ministerial Conference 2022 ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ
กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ
โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงความตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลและคุณค่าของการพัฒนาอย่างครอบคลุมและยั่งยืน
ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการสร้างชุมชนดิจิทัลและการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ
รวมทั้งความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรนำผลการหารือจากการประชุม
Asia-Pacific Digital Ministerial Conference 2022 โดยเฉพาะในส่วนของสถานะ
ความท้าทาย
และเส้นทางสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเสริมสร้างความร่วมมือดิจิทัลระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดทำแผนระดับที่
๓
ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาดิจิทัลของประเทศต่าง
ๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรีในการเสนอเรื่องนี้)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนท่าแซะ-เนินสันติ จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... | มท. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนท่าแซะ-เนินสันติ
จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลทรัพย์อนันต์ ตำบลคุริง และตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยกำหนดให้เป็นชุมชนศูนย์กลางที่มีบทบาทในด้านการค้า
การบริการ
และพาณิชยกรรมและศูนย์กลางบริการด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม
และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือขนส่งการสาธารณูปโภค
บริการสาธารณสามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมโดยมีนโยบายการอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติของผังเมืองรวมให้เป็นกลไกชี้นำแนวทางได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมให้เป็นกลไกชี้นำแนวทางได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๕๕
และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องตามนัยสรุปประเด็นสำคัญสำหรับการติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
เพื่อนำไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) การสร้างประชาคมอาเซียน เช่น
การสนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาตามหัวข้อหลัก “ASEAN
A.C.T. : Addressing Challenges Together” และการเตรียมความพร้อมความร่วมมือกับประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่
และการรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม จำนวน ๑๑ ฉบับ (๒)
ประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในเมียนมาและช่องแคบไต้หวัน
และ (๓) ความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอก เช่น
ไทยได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC
โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รวม ๖ ฉบับ)
โดยในส่วนของยูเครนยังมิได้มีการลงนามตราสารฯ เนื่องจากเมียนมายังดำเนินกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เช่น ควรดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรมีการยกระดับการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็นการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ
ขยะมูลฝอย และขยะพลาสติก
และประเด็นความมั่นคงในบางกรอบการประชุมอาเซียนที่ไม่ได้มอบหมายให้มีการติดตาม
อาทิ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งสำนักงานฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | แนวทางการควบคุมสารโซเดียมไซยาไนด์ สารเบนซิลคลอไรด์ และสารเบนซิลไซยาไนด์ที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด | ยธ. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการควบคุมสารโซเดียมไซยาไนด์ สารเบนซิลคลอไรด์
และสารเบนซิลไซยาไนด์ที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด
เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง
ซึ่งผลการประชุมมีสาระสำคัญเพื่อระงับการส่งออก และชะลอการนำเข้าสารโซเดียมไซยาไนด์
และสารเบนซิลไซยาไนด์ไว้ก่อน เพื่อปรับปรุงวิธีการพิจารณาการอนุญาตการนำเข้า
และส่งออก โดยจะอนุญาตให้นำเข้าและส่งออกตามปริมาณการใช้จริง และกรมโรงงานอุตสาหกรรม
จะดำเนินการควบคุมการใช้สารโซเดียมไซยาไนด์ และเบนซิลไซยาไนด์
โดยกำหนดให้ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก
และผู้ซื้อ (End User) ต้องยืนยันตัวตนโดยการลงทะเบียน
เพื่อควบคุมปริมาณและการติดตามการใช้สารดังกล่าว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 เรื่อง ขออนุมัติโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก | สกพอ. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(สกพอ.) ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) เสนอ ดังนี้ ๑.๑ รับทราบมติ กพอ. ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕
ในการให้กองทัพเรือเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ (Implementing
Agency) สำหรับโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ ๒
(โครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒)
โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (โครงการสนามบินอู่ตะเภา)
ทั้งนี้ ทางวิ่งและทางขับที่ ๒ เป็นทรัพย์สินราชพัสดุ
เมื่อกองทัพเรือดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ให้ส่งมอบสิทธิการใช้ประโยชน์ให้กับ
สกพอ. เพื่อดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุนต่อไป
โดยหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น
ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบตามมติ กพอ. ๑.๒ พิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ เรื่อง ขออนุมัติโครงการสนามบินอู่ตะเภา จากเดิม
“อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน ๑๗,๗๖๘ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการสนามบินอู่ตะเภา
และให้กองทัพเรือดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณต่อไป” เป็น
“อนุมัติกรอบวงเงินจำนวน ๑๗,๗๖๘ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการสนามบินอู่ตะเภา
และให้กองทัพเรือดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณต่อไป ทั้งนี้
สำหรับแหล่งเงินเพื่อการดำเนินงานการก่อสร้างโครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒
โครงการสนามบินอู่ตะเภา อนุมัติให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้ตามมาตรา ๒๒
แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ในกรอบวงเงิน ๑๖,๒๑๐ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือ
โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสมทบในอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังตกลงกับแหล่งเงินกู้ ๒. ให้
สกพอ. ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของ กพอ. และกองทัพเรือรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
ให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในกรอบวงเงิน ๑๖,๒๑๐.๙๐ ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือ
(๒) ให้กองทัพเรือ และ สกพอ. จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามเงื่อนไขในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ของแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ
และ (๓) ให้กองทัพเรือจัดเตรียมงบประมาณสำหรับโครงการทางวิ่งและทางขับที่ ๒
รวมทั้งจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินในแต่ละปีส่งให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | ขอผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน-บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล | มท. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผ่อนผันยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
ท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านเขาจีน-บ้านโคกพยอม ตำบลคลองขุด
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓
กรกฎาคม ๒๕๓๔ (เรื่อง
รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม
๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง
การแก้ปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้กระทรวงมหาดไทย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล)
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ (เรื่อง
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน ประเทศไทย) ด้วย ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล)
รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรให้หน่วยงานดำเนินการตามมาตรา ๖๒ “ห้ามมิให้ผู้ใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ให้ผิดไปจากสภาพที่เป็นอยู่เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่”
เพื่อให้การพัฒนาโครงการถูกต้องตามบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
หากมีการดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบทะเล
หรือบนชายหาดของทะเลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขอให้ปฏิบัติตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรให้เทศบาลตำบลคลองขุดเร่งดำเนินโครงการฯ
ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
พร้อมทั้งจัดทำและเสนอรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ครบถ้วน อย่างเคร่งครัดต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | การปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน | นร.12 | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน ที่กำหนดโครงสร้างและองค์ประกอบ
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม อำนาจหน้าที่ การประชุม การประเมินผลงาน และการบังคับใช้
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง
ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรเพิ่มคุณสมบัติของประธานกรรมการตรวจสอบให้มาจากการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การมหาชนเพื่อให้การเสนอแนะและการให้ข้อคิดเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กรณีที่กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบต้องอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่
อาจแปลความหมายในลักษณะบทบาทเจ้าหน้าที่ประจำหรือไม่
หรือหากต้องการกำหนดชัดเจนว่าบุคคลหนึ่งห้ามเป็นคณะกรรมการตรวจสอบในองค์การมหาชนหรือคณะกรรมการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันก็ควรกำหนดให้ชัดเจนไปเลยในลักษณะเช่นเดียวกับคณะกรรมการองค์การมหาชน
สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบฯ
เห็นสมควรให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๖ ไปดำเนินการ และ/หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วนราชการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2565-2570 ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ | นร.14 | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วนราชการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริในกรอบวงเงิน
๕๓๑.๓๕๙๗ ล้านบาท ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเลื่อนระยะเวลาโครงการจากปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ เป็น
ปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำหรับการดำเนินโครงการและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
และในปีต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดินและกรมชลประทาน)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมทรัพยากรน้ำ)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมพัฒนาที่ดินและกรมชลประทาน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(กรมทรัพยากรน้ำ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการกำกับดูแลโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลให้ถูกต้องและครบถ้วนในทุกขั้นตอน
เร่งรัดการถ่ายโอนแหล่งน้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อดำเนินโครงการซ่อมแซมแล้วเสร็จ
คำนึงถึงความจำเป็นและภารกิจของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ควรวางระบบติดตามผลการดำเนินงานควบคู่ไปด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินโครงการในระยะต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. .... ของรัฐสภา | สผ. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม
พ.ศ. .... ของรัฐสภา ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สรุปได้ ดังนี้ ๑) การจัดทำคู่มือเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเผยแพร่ให้แก่ประชาชน
สำนักงานศาลยุติธรรม
ได้จัดทำเอกสารและแผนภูมิแสดงขั้นตอนการดำเนินงานของศาลเพื่อเผยแพร่ให้ผู้มาติดต่อราชการในบริเวณศาลทราบ
และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ของศาลด้วยแล้ว ๒)
หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
หากพบว่าขั้นตอนและระยะเวลาไม่เหมาะสมควรรีบปรับปรุงทันที
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ได้จัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
โดยให้มีรายงานผลการดำเนินการทุกเดือน ๓) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรเพิ่มเติมข้อมูลการตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงาน
และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความรวดเร็วก็สมควรระบุไว้ในรายงานประจำปีที่เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาด้วย
สำนักงานอัยการสูงสุด ได้จัดเก็บข้อมูลสถิติการดำเนินคดี เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของระยะเวลาในแต่ละขั้นตอน
๔)
หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรร่วมกันพัฒนาและจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานให้มีความถูกต้องครบถ้วน
นำไปสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกัน และต้องเปิดเผยแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชน สำนักงานศาลยุติธรรม
ได้ดำเนินโครงการเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลให้บริการกับหน่วยงานภายนอก เช่น
ระบบฐานข้อมูลหมายจับ ระบบฐานข้อมูลคำสั่งห้ามออกนอกประเทศ ระบบคัดถ่ายเอกสารคำพิพากษาระหว่างศาล
และระบบจัดเก็บเอกสารคำพิพากษา ๕) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรบูรณาการการดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัตินี้ร่วมกัน
โดยคำนึงถึงความสอดคล้องของงาน และระยะเวลาการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
สำนักงานอัยการสูงสุด ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)
ความร่วมมือเพื่อการอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม
และสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย ค.ศ. 2022-2025 | กต. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | ขอความเห็นชอบร่างจรรยาบรรณสำหรับกระบวนการระงับข้อพิพาทตามบทที่ 14 ของความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชิลีและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย | พณ. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | รายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย | นร.01 | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
เพื่อสรุปข้อมูลการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยให้ทั่วถึงทุกพื้นที่โดยด่วน
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้วย ๒. มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เร่งสำรวจข้อมูลความเดือดร้อนเสียหายของประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยในทุกมิติให้ถูกต้อง
ครบถ้วน ตรงตามข้อเท็จจริง และพิจารณากำหนดมาตรการ หลักเกณฑ์
และเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ
โดยให้เทียบเคียงกับแนวทางการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่ได้เคยดำเนินการไปแล้วในปี
พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อแก้ไขหรือเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายในบางกรณี พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลข่วงเปา ตำบลบ้านหลวง ตำบลจอมทอง ตำบลดอยแก้ว และตำบลสบเตี๊ยะ
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง
และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง ซึ่งกำหนดให้เป็น
“แหล่งโบราณพุทธศาสนา ล้ำค่าประเพณี สิ่งแวดล้อมดี สาธารณูปโภคพร้อม”
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๑๓
ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ
รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภทตลอดจนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึง กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์
สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 28/2565 | นร.11 สศช | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒๘/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
ที่มีมติเกี่ยวกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ กรณีโครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโรคโควิด ๑๙
และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับเตรียมความพร้อมในการรับมือและป้องกันโรคโควิด ๑๙
ของหน่วยบริการสุขภาพ
โดยเห็นควรให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขขยายระยะเวลาโครงการ
จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน ๒๕๖๕ เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๕
โดยในการจัดหายาในระยะเวลาที่เหลือของโครงการให้คำนึงถึงความสามารถในการบริหารระบบจัดการยาทั้งในส่วนของยาที่มีอยู่เดิมและที่จะจัดหาเพิ่มเติม
เพื่อไม่ให้หมดอายุก่อนหรือเสื่อมสภาพก่อน
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วน
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด
รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลโครงการ
เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2556 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560] | มท. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. ๒๕๕๖ และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
เพื่อแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) ในที่ดินบริเวณหมายเลข ๔.๒๓ หมายเลข ๔.๔๒ และหมายเลข ๔.๓๓
รวมทั้งเพิ่มข้อห้ามการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในที่ดินบริเวณดังกล่าวให้สอดคล้องกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว
ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรสาครที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
หากมีการแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) อีกในอนาคต
เห็นควรพิจารณาการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านการผังเมือง
เพื่อเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการใช้ที่ดินประเภทนี้ที่ให้ใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมสถาบันราชการ
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
พบแหล่งธรรมชาติท้องถิ่นและย่านชุมชนเก่าชุมชนตลาดน้ำบ้านแพ้ว ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมแห่งชาติ
และแหล่งศิลปกรรมที่มีอยู่เดิมด้วย
ในการพิจารณาการอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงมหาดไทย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 | นร.11 สศช | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
ที่มีมติเกี่ยวกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ อาทิ (๑) โครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาผู้ป่วยโคโรนา COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ขยายระยะเวลาโครงการ
จากเดิมสิ้นสุดเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ (๒)
โครงการภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ของกระทรวงมหาดไทย ให้จังหวัดราชบุรีเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการ จำนวน ๓
โครงการ และยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน ๑ โครงการ
และให้จังหวัดเชียงใหม่ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน ๒ โครงการ
รวมถึงให้จังหวัดเชียงใหม่ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑๐
พฤษภาคม ๒๕๖๕ (ที่ให้จังหวัดเสนอขอยกเลิกการดำเนินโครงการที่ไม่สามารถลงนามและผูกพันสัญญาได้ภายในเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๕) เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่ได้ลงนามผูกพันสัญญาเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๕
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์
อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด
รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลโครงการ
เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | การจัดทำร่างสัญญา IUCN Advisory Mission to the World Heritage property : Kaeng Krachan Forest Complex (THAILAND) | ทส. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการจัดทำร่างสัญญา
IUCN Advisory Mission to the World Heritage
property : Kaeng Krachan Forest Complex (THAILAND) โดยให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุพืช หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญา IUCN
Advisory Mission to the World Heritage property : Kaeng Krachan Forest Complex
(THAILAND) ร่วมกับผู้ประสานงานศูนย์มรดกโลกองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
(IUCN) โดยร่างสัญญาฯ จัดทำขึ้นระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ IUCN มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดขอบเขตงานตามภารกิจการให้คำปรึกษาในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก
โดยผู้เชี่ยวชาญ IUCN กลุ่มป่าแก่งกระจาน (ประเทศไทย)
ประกอบด้วย การประเมินสภาพการอนุรักษ์พื้นที่มรดกโลก
การจัดให้มีการหารือกับเจ้าหน้าที่ของประเทศไทยทั้งในระดับชาติ อำเภอ และระดับท้องถิ่น
รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ และผู้มีส่วนได้เสีย
การจัดทำรายงานข้อเสนอแนะหลังจากเสร็จสิ้นการลงพื้นที่ภาคสนาม
ตลอดจนการระบุค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญ IUCN ที่ประเทศไทยต้องรับผิดชอบ
โดยมีแนวทางการสนับสนุนให้รัฐภาคีเพิ่มกระบวนการปรึกษาและหารือร่วมกันกับ IUCN
ในการเตรียมพร้อมสำหรับการทบทวนสภาพทั่วไปของการอนุรักษ์
รวมถึงการมาปฏิบัติภารกิจของผู้เชี่ยวชาญ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างสัญญาฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด
เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับการมาปฏิบัติภารกิจในประเทศไทยของผู้เชี่ยวชาญจาก IUCN
ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง
และควรเตรียมการเพื่อรองรับการปฏิบัติภารกิจของผู้เชี่ยวชาญจาก IUCN ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาอย่างครบถ้วนเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุด
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งประสานและติดตามการดำเนินภารกิจให้คำปรึกษาในการเตรียมการทบทวนสถานภาพทั่วไปในการอนุรักษ์ของแหล่งมรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจานของผู้เชี่ยวชาญจาก
IUCN อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรายงานผลการดำเนินการดังกล่าวแก่คณะกรรมการมรดกโลกได้ทันภายในระยะที่กำหนดไว้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก - ม่วงเจ็ดต้น จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... | มท. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลบ้านม่วงเจ็ดต้น และตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ
และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ซึ่งมีนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบ้านโคก-ม่วงเจ็ดต้น
ให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง การค้าตามแนวชายแดน ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยได้มีการกำหนดแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดข้อบังคับลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึง กฎ ระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินกิจการโรงงานตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
ของผังเมืองรวมดังกล่าวให้ได้มาตรฐานอย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันผลกระทบต่อธรรมชาติ ระบบนิเวศ และสุขภาพของชุมชน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | การดำเนินการตามหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง | พน. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท
อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด จากภารกิจหลักที่ได้รับอนุมัติในคราวจัดตั้งบริษัทตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ เพื่อให้บริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด
สามารถขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจ
ภายใต้หลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนในบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ (๑) Maintenance Service Center : การให้บริการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น
ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง (๒) Parts Manufacturing การผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น
ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และ (๓) Operation Services : การให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้าซึ่งบริษัท
Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. หรือบริษัท Mitsubishi Power, Ltd. หรือบริษัท Mitsubishi Corporation ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน
(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสากิจ
(หนังสือคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๗๒๓/๑๘๓๐ ลงวันที่ ๑๒
เมษายน ๒๕๖๕) เช่น ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๕
ไปพิจารณาดำเนินการกำกับดูแล EDS ให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ให้มีแผนการลงทุนและแผนการดำเนินงานอันสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
จัดทำแผนความเสี่ยงในกรณีที่มีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้
เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินในอนาคต ควรกำกับและติดตามการประกอบกิจการของบริษัทในเครือดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนและกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจด้วย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | อว. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ร่วมรับรองร่างปฏิญญาจาการ์ตาฯ โดย (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาฯ มีสาระสำคัญเป็นการเน้นย้ำถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับรองแผนปฏิบัติการฯ
และยอมรับบทบาทของเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการช่วยสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกและสมาชิกสมทบขยายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีอวกาศ รวมถึงการประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ
เพื่อเร่งการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติให้เกิดผล ในระยะที่ ๒
โดยมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยที่สำคัญเฉพาะด้านอย่างเหมาะสม ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน (ร่าง)
ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้จัดทำแนวทางการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ
และทางเทคนิครวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชน เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนพัฒนา และประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|