ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙
สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐
เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายการดำเนินงานด้าวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
และรับทราบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ ๒. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง)
นโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีสาระสำคัญเพื่อเป็นกรอบนโยบายในการจัดสร้างหรือการบริหารจัดการดาวเทียม
และการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมของรัฐ เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานรัฐ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติที่เหมาะสมที่สุดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยให้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางประกอบการพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายและพันธกรณีต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
(๑) ให้เร่งรัดดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จ
เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป (๒) เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี
โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. .... | มท. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหันคา
ตำบลวังไก่เถื่อน และตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหันคา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ดำรงรักษาเมืองและรักษาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม
ส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม เป็นศูนย์กลางการผลิต
การซื้อขายและบริการทางการเกษตรระดับชุมชน
โดยการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
การบริการสาธารณะ และรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตผังเมืองรวมชุมชนหันคา
จังหวัดชัยนาท
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๘
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภท หรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
คำนึงถึงการควบคุมและกำกับดูแลเพื่อป้องกันการกระจายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมและคงเจตนารมณ์ของการกำหนดที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมไว้
คำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และเป็นไปตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชนให้คงอยู่ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | รายงานผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว | อก. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
เพื่อให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชน
ผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอร่วมลงทุนต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานอัยการสูงสุด และประธานกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เช่น
จะต้องกำกับการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาฉบับเดิมที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
ควรคำนึงถึงการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลด้วย
ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำกับติดตามให้คู่สัญญาตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่เสนอไว้ในรายงาน
EIA อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย ๑.๑ พิจารณาปรับแก้ร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเรือสาธารณะ
เพื่อขนถ่ายสินค้าเหลวให้ถูกต้อง สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ร่างสัญญาร่วมทุนฯ
ข้อ ๓.๑.๒)ก. เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๕ (เรื่อง
การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว)
ซึ่งเป็นการอนุมัติให้ใช้วิธีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยใช้วิธีประมูล ตามมาตรา
๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ เท่านั้น เป็นต้น ๑.๒
พิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการในกรณีที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือการถมทะเลเพื่อขยายพื้นที่สำหรับก่อสร้างถังเก็บบรรจุสินค้าเหลว
(Tank
Farm) เพิ่มเติม
เพื่อป้องกันมิให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือเป็นเหตุให้เอกชนคู่สัญญาใช้เป็นข้ออ้างในการบอกเลิกสัญญาหรือเรียกร้องค่าเสียหายในภายหลัง ๑.๓ พิจารณากำหนดมาตรการรองรับในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาใช้สิทธิตามสัญญาในการขยายระยะเวลาการก่อสร้างถังบรรจุสินค้าเหลวหรือการถมทะเล
ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าและสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้จากการให้บริการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ๒.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลพิจารณาทบทวนมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุน้ำมันหรือสารเคมีรั่วไหลลงทะเล
โดยให้พิจารณานำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ชดเชย
เยียวยาแก่ผู้ประสบภัยหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
ให้เหมาะสม ชัดเจน และเป็นรูปธรรม เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือฯ
เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และถึงมือผู้ประสบภัยฯ อย่างแท้จริง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง | คค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน
โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง (Memorandum of
Cooperation between the Ministry of Transport of the Kingdom of Thailand and
the Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism of Japan in the
field of Railways) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย
โดยร่างบันทึกความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจร่วมกันด้านนโยบาย
กฎหมายและระเบียบ
การพัฒนาและเตรียมการจัดตั้งสถาบันด้านระบบรางในราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่น
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีเฉพาะด้านที่มีความสนใจร่วมกัน
และสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมอบหมายให้กรมการขนส่งทางรางร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
(องค์การมหาชน)
พิจารณาแนวทางการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีเฉพาะด้านภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือฯ
เพื่อช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งของประเทศ
และการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้อย่างเป็นรูปธรรม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | แนวทางการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า | กค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมถอนเรื่องนี้คืนไปได้
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อเสนอแนะของกระทรวงคมนาคม
ที่เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องความพร้อมของการดำเนินการ และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบในโอกาสแรก
อันจะเป็นโอกาสในการเข้าถึงบริการแห่งรัฐอย่างครบวงจร สามารถบรรเทาความเดือดร้อน
และเกิดผลสัมฤทธิ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินโครงการฯ
ควรพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานหรือแนวปฏิบัติที่มีความชัดเจนในการดำเนินการในกรณีวงเงินคงเหลือไม่พอดีกับค่าโดยสารที่ต้องชำระ
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ Version ๒๕ รวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินการดังกล่าวให้ชัดเจนและทั่วถึงเพื่อให้ผู้มีสิทธิสามารถใช้วงเงินค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนสาธารณะได้เต็มตามสิทธิที่ควรได้รับในแต่ละเดือน
และขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหลักธรรมาภิบาล ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 30/2565 | นร.11 สศช | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติ เห็นชอบ และรับทราบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่
๓๐/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ที่มีมติเกี่ยวกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ
ราย ๓ เดือน ครั้งที่ ๕ (๑ สิงหาคม-๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕) เกี่ยวกับการอนุมัติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-๑๙
ChulaCov19 mRNA เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่สาม
และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน อนุมัติให้จังหวัด เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
เช่น ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน ๒๒ โครงการ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สระบุรี
ฉะเชิงเทรา อำนาจเจริญ และปราจีนบุรี กรอบวงเงิน ๓๕.๕๔๔๘ ล้านบาท ทั้งนี้
รวมโครงการก่อสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาแบนะ ของจังหวัดตรัง วงเงิน ๔.๓๔๔๐
ล้านบาท เนื่องจากอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมยังไม่สามารถลงนามในสัญญาได้ ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ
จำนวน ๗๘ โครงการ ของจังหวัดฉะเชิงเทราสมุทรสาคร ตรัง สิงห์บุรี กาฬสินธุ์ บึงกาฬ
พัทลุง และนครนายก กรอบวงเงิน ๑๕๒.๔๐๔๗ ล้านบาท เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๖
ซึ่งเป็นกลุ่มโครงการที่ได้ผู้รับจ้างและอยู่ระหว่างผูกพันสัญญาและลงนามสัญญาแล้ว และรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ราย ๓ เดือน ครั้งที่ ๕ (๑ สิงหาคม-๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕)
พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลังสำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนากยกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม
พ.ศ. ๒๕๖๔ ข้อ ๒ และ ๒๓
สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลื่อจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรกำกับติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
และกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
๒.
ให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา | ศธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดให้จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดกระบี่ จังหวัดตราด และจังหวัดสระแก้ว
เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นนวัตกรรมการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น การจัดทำหลักสูตรควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละจังหวัด
และควรเร่งออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อความคล่องตัวยิ่งขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 จังหวัด | ศธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดให้กรุงเทพมหานคร
จังหวัดจันทบุรี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหัวดอุบลราชธานี
เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเสนอ
และให้คณะกรรมการนโยบายการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุนและผลประโยชน์
เสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ สำหรับการจัดสรรงบประมาณให้กับนวัตกรรมการศึกษา
ควรเร่งรัดการดำเนินการที่จะช่วยลดปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกัน
อาทิ
การออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่สถานศึกษานำร่องถึงอำนาจตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๒
และการกำหนดบทบาทในการขับเคลื่อนของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาให้มีความชัดเจนมากขึ้น
สำหรับการขอรับจัดสรรงบประมาณให้นำผลประเมินผลการดำเนินงานในช่วง ๓ ปี ตามมาตรา ๔๐
มาประกอบการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
โดยคำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมของสถานศึกษาแต่ละพื้นที่ ความคุ้มค่า ความซ้ำซ้อน ความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน
รวมถึงการสร้างความรับรู้และความเข้าใจในทุกมิติถึงประโยชน์ที่ทุกภาคส่วนจะได้รับเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) | คค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ ๓ วงเงินลงทุน ๓๖,๘๒๙.๔๙๙ ล้านบาท (รวมสำรองราคาเปลี่ยนแปลงร้อยละ
๑๐ ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗ และดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง ๙๒๑.๖ ล้านบาท) ของบริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กองทัพเรือ และกรมท่าอากาศยานรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๓๙๑๑
ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าในการลงทุน
รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับคนทั้งมวลควบคู่ไปกับการดำเนินการพัฒนา
ควรหาแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารจัดการท่าอากาศยาน
การพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ การนำเทคโนโลยีมาช่วยการบริหารจัดการ การบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานต่าง
ๆ
เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นและรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นในอนาคต
ควรดำเนินการส่งแผนผังบริเวณ แบบแปลน
และรายการประกอบแบบแปลนที่ถูกต้องและเป็นไปตามกฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น
หรือประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. ๒๕๒๒ จำนวน ๒ ชุด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนทำการก่อสร้างไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ในส่วนของการออกแบบท่าอากาศยานดอนเมืองให้กระทรวงคมนาคม [บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)]
ให้ความสำคัญกับการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับอาคารผู้โดยสารหลังใหม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติด้านความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อยกระดับท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นท่าอากาศยานชั้นนำของโลก (World
Class Airport) ที่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคม [บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)] ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกบูรณาการการใช้ประโยชน์โครงข่ายท่าอากาศยานที่มีอยู่
ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง
และท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่พัฒนาแล้วและที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
เพื่อให้การกระจายตัวของเที่ยวบินและผู้โดยสารเป็นไปตามศักยภาพของแต่ละท่าอากาศยาน
ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมมาตรฐานของระดับการให้บริการ (Level of Service) ของท่าอากาศยานทุกแห่งได้อย่างเหมาะสมด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... | อก. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน
๕ ลิตร แต่ไม่เกิน ๑๒ ลิตร
หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน ๕๐ กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน
๒๐๐ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพและความปลอดภัยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | การปรับลดปริมาณงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 3 (คพส.9.3) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 1 (คพจ.1) | มท. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการปรับลดปริมาณงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า
ระยะที่ ๙ ส่วนที่ ๓ (คพส.๙.๓) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย
ระยะที่ ๑ (คพจ.๑) ในวงเงินลงทุนรวม ๑,๘๒๙.๖๐ ล้านบาท ได้แก่ ปรับลดแผนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง ๑๑๕ kV
จำนวน ๕ แห่ง วงเงินลงทุนรวม ๑,๖๙๗.๗๑ ล้านบาท
และปรับลดปริมาณงานจัดซื้อที่ดินล่วงหน้าที่มีการอนุมัติยกเลิกจัดซื้อแล้ว จำนวน
๑๐ แห่ง วงเงินลงทุนรวม ๑๓๑.๘๙ ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทย
(การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน ที่เห็นควรพิจารณาปรับลดวงเงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศเป็นอันดับแรก
และเร่งการดำเนินโครงการทั้ง ๒ โครงการ ให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้
พร้อมทั้งติดตามและประเมินความต้องการการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อรักษาประสิทธิภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศในระยะยาวต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการตอ่ไป ๒. ให้กระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการเร่งจัดทำระเบียบ
และข้อบังคับที่ชัดเจน เพื่อให้ Prosumer รายงานข้อมูลการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือขายให้แก่ลูกค้าโดยตรง
ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐมีข้อมูลในการกำกับและติดตามสถานการณ์ รวมถึงให้ทั้ง ๓
การไฟฟ้าสามารถเตรียมแผนรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบและรับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐ (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ ๒ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีดินอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ตามแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๖๐ วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผลความจำเป็นแต่ไม่เกิน
๑๘๐ วัน หากมีผู้ใดได้รับผลกระทบดังกล่าว
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
รวดเร็ว เหมาะสม ตามควรแก่กรณี โดยเป็นไปตามกฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีราษฎรถือครองทำกิน พื้นที่ที่มีศักยภาพทำการเกษตรไม่คุ้มค่า
พื้นที่หล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ และพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกันนั้น
ขอให้กันไว้ใช้ในกิจกรรมของกรมป่าไม้ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม
๒๕๓๗ ในการเสนอออกกฎหมายของหน่วยงาน
ควรพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายที่จะให้การรับรองและความคุ้มครองหน่วยงานของรัฐ
เจ้าหน้าที่รัฐ
และผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ
และควรมีการกำกับและติดตามผลการดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนที่วางไว้และเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมพัฒนาที่ดิน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดพิจารณาแนวทางการดำเนินการ
กรณีพื้นที่กันออกจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ที่ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ [เรื่อง
การจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดขอนแก่น (เฉพาะแห่ง)] ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
ถูกต้อง ตรงกัน รวมทั้งให้เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จและเป็นรูปธรรมโดยเร็วด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร) [สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565)] | นร. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | รายงานสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ณ เดือนตุลาคม 2565 | นร.11 สศช | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓
และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ เดือนตุลาคม ๒๕๖๕
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑.
การบริหารกรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ.
๒๕๖๔ โดยกรอบวงเงินกู้แผนงานด้านฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-๑๙
ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่แผนงานด้านการแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-๑๙
สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
และแผนงานด้านการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ ๒.
ภาพรวมการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินกู้ โดยพระราชกำหนดฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ วงเงินกู้
๑,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว ๙๕๐,๑๙๓.๗๒๒๕ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๗๓
และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ วงเงินกู้ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว
๔๒๗,๑๒๒.๙๗๘๙ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๔๓ ๓.
ผลการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ ได้แก่ ด้านการแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-๑๙
เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีผลการเบิกจ่าย ๖,๒๒๒.๑๓๙๕ ล้านบาท
ด้านการเยียวยาและช่วยเหลือประชาชน เช่น การบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค
(ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) มีผลการเบิกจ่าย ๗๕๓,๖๐๓.๗๐๑๙ ล้านบาท
และด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เช่น การสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรให้เข้าถึงปัจจัยการผลิต
มีผลการเบิกจ่าย ๒๓,๓๕๖.๘๘๓๖ ล้านบาท ๔.
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เช่น ความล่าช้าในการดำเนินโครงการ ๕. ผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจประเทศโดยรวม เช่น การรักษากำลังซื้อของประเทศ และการพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 18/2565 | นร.11 สศช | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
ที่มีมติเกี่ยวกับแนวทางการเตรียมแหล่งเงินรองรับกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริตของโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ กรณีโครงการภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ของกระทรวงมหาดไทย ให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการ จำนวน ๒
โครงการ และให้จังหวัดชัยนาทเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการ จำนวน ๑ โครงการ
ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน ๒ โครงการ และ ๑ กิจกรรม ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑)
ให้หน่วยงานเร่งรัดการดำเนินการแผนงาน/โครงการตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติไว้
(๒)
ให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
(๓) โครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบและส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2565 | นร.11 สศช | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ที่มีมติเกี่ยวกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ของกระทรวงมหาดไทย
ให้จังหวัดภูเก็ตเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ จำนวน ๖ โครงการ
ให้จังหวัดระนอง จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดกาฬสินธุ์
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
โดยการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปริมาณงานและรายละเอียดโครงการ จำนวน ๔ โครงการ
(จังหวัดละ ๑ โครงการ) ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่งกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑)
ให้หน่วยงานเร่งรัดการดำเนินการแผนงาน/โครงการตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติไว้
(๒)
ให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
(๓) โครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบและส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทยและญี่ปุ่น และข้อริเริ่มความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น | พน. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทยและญี่ปุ่น
และข้อริเริ่มความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว
ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม
ประเทศญี่ปุ่น (Memorandum of Cooperation on Thailand-Japan
LNG Upstream Investment and LNG Tank Cooperation Initiative between the
Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Economy,
Trade and Industry of Japan) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฯ โดยร่างบันทึกความร่วมมือฯ มีสาระสำคัญเป็นการขยายความร่วมมือด้านการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวและความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไทย
เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานระหว่างคู่ภาคีและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งคำนึงถึงแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ ๒
ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | ขอความเห็นชอบโครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming Biodiversity-based Tourism in Thailand to Support Sustainable Tourism Development) | ทส. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน | ศธ. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร | ยธ. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม
พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร
และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ.
.... ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยกระทรวงสาธารณสุขได้แก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อม
กำหนดนโยบาย แผนการปฏิบัติงาน และทำงานเชิงบูรณาการ
มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงาน เร่งรัด ส่งเสริม และสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ยา อาหาร และเครื่องสำอางที่ผลิตจากพืชกระท่อม สำนักงาน ป.ป.ส. จะประสานกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาศึกษาแนวทางการดำเนินการและวางระบบการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตแทนการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต
กำหนดเพิ่มเติมการห้ามขายให้แก่บุคคลบางกลุ่ม
กำหนดเพิ่มเติมสถานที่หรือวิธีการที่ห้ามขายใบกระท่อม ทั้งนี้ ควรให้สำนักงาน
ป.ป.ส.
เป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมหัวข้อหรือโครงการวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้การพัฒนาพืชกระท่อมให้เป็นพืชเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ สำนักงาน ป.ป.ส.
และสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกันชี้แจงและประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากใบกระท่อมและไม่นำไปใช้ในทางที่ผิด
พัฒนาระบบการออกใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมและให้สามารถขอรับใบอนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
รวมทั้งกำหนดพิกัดศุลกากรเกี่ยวกับสินค้าพืชกระท่อม
เพื่อให้รองรับกระบวนการนำเข้าและการส่งออกใบกระท่อม
ประกอบกับกระทรวงอุตสาหกรรมมีกลไกให้ความช่วยเหลือและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มธุรกิจรายย่อยและวิสาหกิจชุมชน
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|