ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 17 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 321 - 333 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
321 | หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)] (ฉบับที่ 7) | สธ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด
19 [Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)] (ฉบับที่ ๗) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขรายการซ้ำซ้อน
การแก้ไขลำดับ/รหัส/หน่วยของรายการ รวมถึงการปรับแก้อัตราค่าบริการบางรายการ
โดยเฉพาะค่าตรวจ Covid-19 Real
time และค่าห้องพัก (กรณี Hospitel)
ให้ลดลงจากเดิม เพื่อให้เป็นราคาเดียวกันกับค่าใช้จ่ายกรณี Hospitel Isolation
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปดำเนินการให้ถูกต้องเหมาะสม
เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ฯ
และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
พร้อมกับดำเนินการใหเป็นไปตามหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายของกระทรวงการคลังด้วย และการปรับลดหลักเกณฑ์ดังกล่าวควรคำนึงถึงคุณภาพ
การให้บริการเป็นสำคัญ
เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบริการและการให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลของประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-๑๙
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
322 | ขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป กระทรวงยุติธรรม | ยธ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยพิจารณาอนุมัติในหลักการให้กระทรวงยุติธรรมนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป จำนวน ๕ โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น
๗,๙๙๕,๙๘๓,๕๖๐
บาท (เจ็ดพันเก้าร้อยเก้าสิบห้าล้านเก้าแสนแปดหมื่นสามพันห้าร้อยหกสิบบาทถ้วน) เพื่อเสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑,๕๗๕,๑๓๙,๔๒๐ บาท (หนึ่งพันห้าร้อยเจ็ดสิบห้าล้านหนึ่งแสนสามหมื่นเก้าพันสี่ร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๖,๔๒๐,๘๔๔,๑๔๐ บาท
(หกพันสี่ร้อยยี่สิบล้านแปดแสนสี่หมื่นสี่พันหนึ่งร้อยสี่สิบบาทถ้วน) ตามนัยมาตรา
๒๖ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ดังนี้ ๑. โครงการก่อสร้างเรือนจำกลางลำปาง
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๖๑๔,๕๙๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันหกร้อยสิบสี่ล้านห้าแสนเก้าหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๒๒,๙๑๘,๒๐๐ บาท
(สามร้อยยี่สิบสองล้านเก้าแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสองร้อยบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๒๙๑,๖๗๒,๘๐๐ บาท
(หนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบเอ็ดล้านหกแสนเจ็ดหมื่นสองพันแปดร้อยบาทถ้วน) ๒. โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดชัยนาท
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๕๗๒,๔๘๖,๔๐๐ บาท
(หนึ่งพันห้าร้อยเจ็ดสิบสองล้านสี่แสนแปดหมื่นหกพันสี่ร้อยบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๑๔,๔๙๗,๒๐๐ บาท
(สามร้อยสิบสี่ล้านสี่แสนเก้าหมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๒๕๗,๙๘๙,๒๐๐ บาท
(หนึ่งพันสองร้อยห้าสิบเจ็ดล้านเก้าแสนแปดหมื่นเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน) ๓. โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดอุตรดิตถ์
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๖๒๗,๒๘๒,๐๐๐ บาท
(หนึ่งพันหกร้อยยี่สิบเจ็ดล้านสองแสนแปดหมื่นสองพันบาทถ้วน) เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๒๕,๔๕๖,๔๐๐ บาท
(สามร้อยยี่สิบห้าล้านสี่แสนห้าหมื่นหกพันสี่ร้อยบาทถ้วน)
ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน๑,๓๐๑,๘๒๕,๖๐๐ บาท
(หนึ่งพันสามร้อยเอ็ดล้านแปดแสนสองหมื่นห้าพันหกร้อยบาทถ้วน) ๔. โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดยโสธร
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๕๒๗,๑๙๒,๕๐๐ บาท
(หนึ่งพันห้าร้อยยี่สิบเจ็ดล้านหนึ่งแสนเก้าหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๐๕,๔๓๘,๕๐๐ บาท
(สามร้อยห้าล้านสี่แสนสามหมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน) ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๒๒๑,๗๕๔,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันสองร้อยยี่สิบเอ็ดล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน) ๕. โครงการการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกแทนการลงโทษจำคุก
จำนวน ๖๐,๐๐๐ เครื่อง วงเงินทั้งสิ้น ๑,๖๕๔,๔๓๑,๖๖๐ บาท
(หนึ่งพันหกร้อยห้าสิบสี่ล้านสี่แสนสามหมื่นหนึ่งพันหกร้อยหกสิบบาทถ้วน)
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๓๐๖,๘๒๙,๑๒๐ บาท
(สามร้อยหกล้านแปดแสนสองหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยยี่สิบบาทถ้วน) ส่วนที่เหลือผูกพันปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ - พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๑,๓๔๗,๖๐๒,๕๔๐ บาท (หนึ่งพันสามร้อยสี่สิบเจ็ดล้านหกแสนสองพันห้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
ทั้งนี้
ขอให้กระทรวงยุติธรรมจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการก่อสร้างเรือนจำ
จำนวน ๔ โครงการ ดังกล่าว โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ ประมาณการค่าก่อสร้าง
สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมตามความจำเป็นเร่งด่วน
ศักยภาพในการดำเนินการ สถานะการเงินการคลังของประเทศ
และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ สำหรับโครงการการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกแทนการลงโทษจำคุก
ขอให้กระทรวงยุติธรรมจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ในการเช่าอุปกรณ์ดังกล่าวตามจำนวนและคุณลักษณะเฉพาะที่เหมาะสม
และจำเป็นกับภารกิจและปริมาณการใช้งานของหน่วยงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ
ตลอดจนคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัดการพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเรือนจำ
และโครงการการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกแทนการลงโทษจำคุก
ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาความเหมาะสมและจำเป็น ตามวงเงินงบประมาณประจำปีต่อไป โดยให้ปรับแก้ไขชื่อโครงการก่อสร้างให้ถูกต้อง จากเดิม “โครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัดลำปาง
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ” เป็น “โครงการก่อสร้างเรือนจำกลางลำปาง
พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ” ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นว่า
ให้กระทรวงยุติธรรมควบคุม ดูแล
และกำกับการดำเนินงานโครงการก่อสร้างเรือนจำตามมาตรการที่กำหนดเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และโครงการก่อสร้างเรือนจำจังหวัด จำนวน ๔ โครงการ ไม่เข้าข่ายเป็นโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ
ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ
หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
323 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 41/2564 | นร.11 สศช | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๑๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในคราวประชุมครั้งที่ ๔๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ ดังนี้
(๑) อนุมัติให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
กรณีโครงการภายใต้แผนเร่งรัดการเข้าถึงวัคซีน COVID ๑๙ สำหรับประชาชนไทย โดยขยายระยะเวลาดำเนินงาน จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ (๒) อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาระบบสื่อสารสั่งการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับกระทรวงและระดับเขตสุขภาพเป็น
SmartEOC โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ (๓) อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ
รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (A๐๐๑) ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานจากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ (๔) อนุมัติให้มหาวิทยาลัยนเรศวร
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่
: กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID ๑๙)
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนเมษายน
๒๕๖๕ (๕) อนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา
๓๓ ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม
๒๕๖๕ (๖) อนุมัติให้กรมการพัฒนาชุมชน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่
ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” โดยระยะเวลาดำเนินงานใน ๔ กิจกรรมย่อย
(กิจกรรมที่ ๒ ๔ ๕ และ ๗) จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม
๒๕๖๕ (๗) อนุมัติให้จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดปัตตานี จังหวัดเลย จังหวัดตาก
จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ
โดยให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และ (๘)
มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่เสนอในครั้งนี้ รวมถึงรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการฯ
ไปประกอบการดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้หน่วยงานต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปฏิบัติตามข้อ
๑๙ และ ข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้อีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากคลังโดยเร็ว ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการทั้งในช่วงระหว่างดำเนินโครงการและภายหลังสิ้นสุดโครงการ
เพื่อประกอบการจัดทำรายงานตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
ตามขั้นตอนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
324 | รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2563 | ยธ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกอบด้วย สถานการณ์ยาเสพติด
ในปี ๒๕๖๓ รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผลการจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ การกระทำความผิดของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป ๒. เห็นชอบให้นำความเห็นเพิ่มเติมของกระทรวงการคลังที่เห็นว่า
รายงานดังกล่าวจะมีเนื้อหาครบถ้วน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หากในรายงานมีข้อมูลครอบคลุมถึงผลการดำเนินการกับเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ที่กระทำความผิดด้วย นอกจากนี้ การใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เป็นการใช้อำนาจพิเศษที่มีบทยกเว้น
การใช้อำนาจทั่วไปตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งอำนาจพิเศษเหล่านี้เป็นเสมือนดาบสองคม
หากนำไปใช้ในทางที่ผิด ย่อมเกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์
การป้องกันและแก้ไขปัญหาคือ
ผู้บังคับบัญชาต้องกำกับติดตามผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด
และการมอบหมายงานด้านยาเสพติดควรคำนึงถึงความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ
และการขอแต่งตั้งบุคคลใดเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ควรดูพฤติกรรมและความประพฤติซึ่งเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของการขอแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ด้วย และข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี
ที่มีข้อสังเกตว่า ในช่วงที่สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน”
กำลังแพร่ระบาดในขณะนี้ การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
นอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ (Work From Home) นั้น
ยังคงเป็นมาตรการหนึ่งของการทำงานของภาครัฐระบบดิจิทัสซึ่งสนับสนุนหลักการเพิ่มระยะห่างทางสังคม
(Social Distancing) ที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น การกำหนดรูปแบบแนวทางการปฏิบัติงานควรมีความยืดหยุ่น มีความคล่องตัว
และเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย ซึ่งขณะนี้สำนักงาน ป. ป.ส. ได้มีมาตรการการกำกับ
ติดตามการรายงานอย่างเข้มงวด โดยเพิ่มช่องทางการรายงานการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส. ในลักษณะของการรายงานผ่านเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ส. การมีแอปพลิเคชันไลน์บนโทรศัพท์มือถือ
เพื่อแจ้งเตือนการต่ออายุบัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. และมีการรายงานการปฏิบัติหน้าที่ได้ทันทีขณะอยู่ในที่เกิดเหตุ
ซึ่งส่งผลให้สามารถกำกับ ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เป็นการอำนวยความสะดวกอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์เช่นนี้
อันจะนำไปสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Transformation) ที่มีการทำงานแบบอัจฉริยะและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
มีความทันสมัย เกิดคุณค่าสาธารณะ และตอบสนองกับการพัฒนาของเทคโนโลยียุคใหม่ได้ต่อไป
ตลอดจนพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ครอบคลุมการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
325 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 | นร.11 สศช | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ประกอบด้วย (๑) อนุมัติให้กรมควบคุมโรค
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ดังนี้ (๑)
โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) สำหรับบริการประชาชนในประเทศไทย
เพิ่มเติม จำนวน ๒๐,๐๐๑,๑๕๐ โดส (Pfizer) โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงิน จากเดิม
สิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๕ และ (๒)
โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด ๑๙ (COVID-๑๙) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย
เพิ่มเติม จำนวน ๙,๙๙๘,๘๒๐ โดส (Pfizer) โดยขยายระยะเวลาดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงิน จากเดิม
สิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจรับวัคซีน
และรวบรวมเอกสารสำหรับประกอบการเบิกจ่าย
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้
เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดให้กรมควบคุมโรค เร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ขอขยายอย่างเคร่งครัด รวมถึงดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการฯ
ในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการฯ
โดยเร็วต่อไป และ (๒) อนุมัติให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ
SMEs โดยปรับปรุงเงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการฯ ในเดือนธันวาคม
๒๕๖๔-มกราคม ๒๕๖๕
ภายใต้เงื่อนไขการลงทะเบียนและนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์
(ระบบ e-Service)
เพื่อให้กลุ่มนายจ้างเป้าหมายของโครงการฯ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด
๑๙ ได้รับความช่วยเหลือตามโครงการฯ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
ทั้งนี้ เห็นควรให้กรมการจัดหางานเร่งดำเนินโครงการฯ ให้แล้วเสร็จในกรอบระยะเวลาที่กำหนด
และเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ แล้ว
ให้กรมการจัดหางานเร่งปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดโครงการฯ ในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการฯ โดยเร็ว ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กระทรวงต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วน
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม
พ.ศ. ๒๕๖๔ เร่งดำเนินการและเบิกจ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
และในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้
เห็นควรให้เร่งเสนอยกเลิกโครงการต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนของข้อ ๑๙
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้การบริหารเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
326 | วันป่าชุมชนแห่งชาติ | ทส. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้วันที่
๒๔ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันป่าชุมชนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน หน่วยงานราชการ
และภาคธุรกิจเอกชนทราบและเข้าใจในเจตนารมณ์ของการจัดให้มีวันป่าชุมชนแห่งชาติอย่างทั่วถึงต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
327 | การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูล โครงการบริหารจัดการ ท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว | อก. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้ใช้วิธีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูล
โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวม ทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เช่น ให้การสนับสนุนการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจเพื่อขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายหลักของรัฐบาลในการดำเนินธุรกิจด้านปิโตรเคมีในโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก
(EEC)
มอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการร่วมลงทุน
โดยเฉพาะโครงการที่มีระยะเวลาของสัญญาใกล้จะสิ้นสุดลง ปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรา ๔๙
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ อย่างเคร่งครัด
และกำกับการดำเนินการคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จ
สอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาฉบับเดิมที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการให้บริการและป้องกันไม่ให้เกิดกรณีที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอาจจะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ
ควรคำนึงถึงการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลด้วย
ควรดำเนินการตามขั้นตอน กระบวนการ กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพย์สินที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่รัฐ
โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการรื้อถอนทรัพย์สินของผู้รับสัมปทาน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) พิจารณากำหนดเงื่อนไขในสัญญาร่วมลงทุนให้เอกชนดูแลและบำรุงรักษาถังเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเหลวรวมทั้งอุปกรณ์ต่าง
ๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย
เป็นไปตามมาตรฐานสากลและให้นำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้กับโครงการนี้
รวมทั้งให้ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
ในคราวประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ ต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
328 | กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ | อว. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๑๔,๖๓๔.๗๖๘๒ ล้านบาท และกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๒๙,๑๐๐ ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ และให้สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับข้อเสนอของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรพิจารณาถึงข้อกำหนดทางด้านการคลังของประเทศในระยะต่อไป
และควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการร่วมลงทุนจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น
ควรกำหนดบทเฉพาะกาลประเด็นที่มีความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและกำหนดหลักเกณฑ์
และรูปแบบการดำเนินงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้มีความชัดเจน และควรมีการจัดทำแนวทางการพัฒนา
(Roadmap) การพัฒนาวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมขั้นแนวหน้า (Frontier) เพื่อสร้างความชัดเจนในการส่งเสริมภาคเอกชนในการร่วมลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
329 | การเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 | ทส. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๔๖ และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำ
(ร่าง) ข้อเสนอโครงการ รายละเอียดแผนงานและกิจกรรม
และประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจัดส่งให้ศูนย์มรดกโลก
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรคำนึงถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำข้อมูลผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อแสดงความคุ้มค่าในการเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมดังกล่าว
รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความประหยัด และประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมและควรมีการติดตามประเมินผลหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับความคุ้มค่าในการดำเนินการจัดประชุมระดับนานาชาติลักษณะเดียวกันในครั้งต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
330 | ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | สธ. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง
อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดจะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ
หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ
หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ
องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ
หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวม ๒ ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรแก้ไขบทอาศัยอำนาจและรายการแนบท้ายร่างประกาศ รวม ๒ ฉบับดังกล่าว ให้ถูกต้องตามแนวทางการร่างกฎหมาย
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เช่น พิจารณาทบทวนอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดโดยพิจารณาต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงควบคู่กันและควรมีการชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน
พิจารณาความเหมาะสมและสอดคล้องกับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
มีช่องทางการติดตามรับฟังความคิดเห็น เพื่อพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
อัตราค่าใช้จ่ายตามร่างประกาศควรกำหนดในอัตราที่ไม่สูง เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
331 | ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | คค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน
ครั้งที่ ๒๗ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
ผ่านระบบการประชุมทางไกล
โดยกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม
สรุปได้ ดังนี้ (๑) การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน
ครั้งที่ ๒๗
ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นที่สำคัญ เช่น ด้านการขนส่งทางอากาศ
ได้รับทราบข้อสรุปของการจัดพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ ๑๒
ของบริการขนส่งทางอากาศ ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการเปิดเสรีบริการเสริมด้านการขนส่งทางอากาศของอาเซียน
ด้านการอำนวยความสะดวกการขนส่งได้ให้สัตยาบันพิธีสาร ๒ (ด่านพรมแดนที่กำหนด)
ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนครบถ้วน
และมีผลใช้บังคับแล้ว การเร่งรัดเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลเพื่อการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคที่มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น
รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนได้แลกเปลี่ยนความเห็น เช่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย
ได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งของไทยระยะ ๒๐ ปี
และโครงการด้านการขนส่งที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของอินโดนีเซีย ได้เน้นย้ำความสำคัญของการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ
รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ และ (๒) การประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-จีน ครั้งที่ ๒๐
ที่ประชุมยืนยันความสำคัญของการจัดทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศระหว่างอาเซียน-จีน
และพิธีสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางอากาศระหว่างกัน
และการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ ๑๙
ญี่ปุ่นสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งกัวลาลัมเปอร์ ปี
๒๕๕๙-๒๕๖๘ (แผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาเซียน)
เป็นต้น ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
332 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 20/2564 | นร.11 สศช | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่
๒๐/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๔
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน ๑๐,๔๖๘,๑๐๐ โดส (AstraZeneca) ของกรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงิน ๑,๔๑๖.๕๔๓๒ ล้านบาท
โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการ กลุ่มที่ ๑ ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้สามารถจัดหาวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมควบคุมโรค เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ
และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
สามารถจัดหาเงินกู้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ ๑๕
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน
เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม
พ.ศ. ๒๕๖๔ พ.ศ. ๒๕๖๔ อย่างเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป ๒. มอบหมายให้กรมควบคุมโรค
ดำเนินการปรับแผนการใช้จ่ายเงินโครงการฯ ให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อไป และจัดทำแผนบริหารจัดการและแผนการใช้วัคซีนในแต่ละประเภทสำหรับแต่ละกลุ่มประชากร
เพื่อให้การบริหารจัดการวัคซีนที่จัดหามาเกิดประโยชน์สูงสุด
รวมทั้งเร่งดำเนินการคืนเงินกู้เหลือจ่ายและจัดทำรายงานการประเมินผลการดำเนินโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม
จำนวน ๓๕ ล้านโดส ตามขั้นตอนข้อ ๑๙ และ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ ๓. อนุมัติให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ของกระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการฯ
โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จาก เดือนสิงหาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น เดือนสิงหาคม
๒๕๖๔ - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ เร่งดำเนินการเบิกจ่ายและแก้ไขข้อมูลโครงการฯ
ในระบบ eMENSCR โดยเร็วต่อไป และให้กระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค)
และหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นว่า เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้มีประสิทธิภาพ
คุ้มค่า และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
หน่วยงานรับผิดชอบโครงการควรเตรียมความพร้อมให้ทันต่อสถานการณ์
ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์อัตราค่าใช้จ่าย
และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด รวมทั้งรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการอย่างเคร่งครัด
ตลอดจนเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายและให้ความสำคัญกับระบบการติดตามและประเมินผล
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า เห็นควรมอบหมายให้กรมควบคุมโรค
และหน่วยงานรับผิดชอบภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ของกระทรวงศึกษาธิการ เร่งดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ
โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
333 | ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) พ.ศ. .... | รง. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Payment)
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายกำหนดเวลากรณีนายจ้างยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและนำส่งเงินสมทบ
โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)
ออกไปอีก ๗ วันทำการ นับแต่วันที่พ้นกำหนดวันที่ ๑๕
ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ โดยมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา ๒๔ เดือน
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าสำนักงานประกันสังคมควรเพิ่มหน่วยให้บริการรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
โดยเพิ่มจำนวนธนาคารพาณิชย์และขยายหน่วยบริการรับชำระเงิน (Non-Bank) นอกจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน
รวมทั้งเร่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และเชิญชวนให้นายจ้างและสถานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Payment) เพิ่มมากขึ้น
และควรหาแนวทาง/มาตรการอื่น ๆ ในการจัดหาผลประโยชน์ให้กองทุนประกันสังคมเพิ่มเติม
โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความมั่นคงของกองทุนเป็นหลัก ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|