ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 16 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 301 - 320 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
301 | ขออนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนและจัดหาแหล่งเงินเพิ่มเติม กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้แหล่งเงินกู้ ECP กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มงวด 27 ถึง 29 กรณีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และกรณีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรจากการนำเข้า (Import VAT & Import Duty) พร้อมทั้งขออนุมัติจัดหาแหล่งเงินรองรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต และช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน | คค. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย
(รฟท.) ปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) (โครงการฯ
สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๒,๙๑๗,๗๕๒,๑๓๗.๙๕ บาท และอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินในประเทศเพื่อให้ รฟท. กู้ต่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฯ
ช่วงบางซื่อ-รังสิต ภายใต้กรอบวงเงิน ๗,๐๗๘,๘๙๓,๙๑๑.๐๙ บาท
เพื่อชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรจากการนำเข้าต่าง ๆ ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
จำนวน ๒,๐๑๑,๔๖๓,๙๒๒.๗๐
บาท จ่ายค่างานโยธา งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟฟ้า และค่าที่ปรึกษา
เนื่องจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยน จำนวน ๔,๔๐๖,๗๔๑,๓๒๑.๑๙ บาท และชำระค่าอากรจากการนำเข้า จำนวน ๖๖๐,๖๘๘,๖๖๗.๒๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๕,๐๖๗,๔๒๙,๙๘๘.๓๙ บาท รวมทั้งอนุมัติให้ รฟท.
กู้เงินในประเทศและให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่ต้องชำระผู้รับจ้างในส่วนที่เป็นเงินเยนจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยนเนื่องจากเงินบาทแข็งค่ามากกว่าที่ประมาณการไว้
และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าของระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหารถตู้ไฟฟ้า
ของโครงการฯ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๙๐๖,๒๘๘,๒๑๕.๒๕ บาท โดยให้ รฟท. รับภาระเงินต้น ดอกเบี้ย
และค่าใช้จ่ายอื่นในการกู้เงิน และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน
วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ
ของการกู้เงินตามความเหมาะสมและจำเป็น ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร
๐๗๒๐/๑๖๒๐ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๔)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร ๑๑๐๖/๕๙๒๙ ลงวันที่ ๘
ตุลาคม ๒๕๖๔) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง ที่ควรเร่งตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงานเพิ่ม
(Variation Order) และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการจ้างที่ปรึกษาในโครงการฯ
ให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว ให้ความสำคัญกับการติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
และพิจารณาแนวทางการลงทุนในส่วนต่อขยายให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคมหารือกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณากำหนดแนวทางการบริหารโครงการลงทุนขนาดใหญ่อย่างเป็นระบบ
ครอบคลุมประเด็นการบริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนดังกล่าว
อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
302 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | สธ. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา
และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 จำนวนเงินทั้งสิ้น ๑,๐๘๔,๒๖๔,๔๗๐ บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรยึดหยุ่นในการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจให้สอดคล้องตามสถานการณ์ความรุนแรงของการแพร่ระบาด
การมีจำนวนผู้ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้นโยบายการรักษาในรูปแบบ Home Isolation และ
Community Isolation
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
303 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 | นร.11 สศช | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑)
อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการทัวร์เที่ยวไทย
โดยปรับลดจำนวนสิทธิโครงการฯ จากเดิม ๑,๐๐๐,๐๐๐ สิทธิ เป็น ๒๐๐,๐๐๐
สิทธิ ทำให้กรอบวงเงินลดลงจาก ๕,๐๐๐ ล้านบาท เป็น ๑,๐๐๐ ล้านบาท และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิม
สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เป็น สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
พิจารณากำหนดแนวทางในการบริการจัดการเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้โครงการฯ
อย่างเคร่งครัด
(๒) อนุมัติให้จังหวัดน่านและจังหวัดสตูลเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการฯ
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการพัฒนาอัตลักษณ์น่าน มุ่งสู่เมืองสร้างสรรค์ (Creative City) และโครงการการฝึกอบรมราษฎร
(ชาวเล) เกาะหลีเป๊ะ หมู่ ๗, ๘
ในการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพไลฟ์การ์ดเพื่อยกระดับความปลอดภัยเกาะหลีเป๊ะ
จากเดิม สิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เพื่อให้หน่วยงานสามารถเบิกจ่ายงบประมาณเงินกู้ของโครงการฯ
ได้แล้วเสร็จ (๓) อนุมัติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) โดยปรับลดกรอบวงเงินในกิจกรรมการพัฒนา Platform การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล จากเดิม ๒๐
ล้านบาท เป็น ๑๙,๐๒๗,๔๒๐ บาท และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิม สิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๔) อนุมัติให้กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า
และพันธุ์พืชเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า
โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น
สิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ (๕) อนุมัติให้วิทยาลัยสารพัดช่างตรังเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมการฝึกอาชีพระยะสั้นเพื่อเพิ่มทักษะและการประกอบอาชีพเสริม
ของวิทยาลัยสารพัดช่างตรัง วงเงิน ๕ ล้านบาท โดยขยายระยะเวลาโครงการฯ จากเดิม
สิ้นสุดเดือนกันยายน ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนมกราคม ๒๕๖๕ (๖)
อนุมัติให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น
เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จากเดิม
สิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๗)
อนุมัติให้จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดยโสธร จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
และจังหวัดสกลนครเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ และ (๘)
มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ (๑)-(๗) เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการฯ ให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และ ๒๐
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ พ.ศ. ๒๕๖๓
รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรกำกับ ติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด และในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ให้เร่งปฏิบัติตามขั้นตอนข้อ
๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒. ให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
304 | ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี | กต. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่
๒๕-๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ มีเนื้อหาสำคัญ คือ การปรับประกาศความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียให้เป็นปกติ
โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
ตลอดจนเห็นชอบสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการหลังฟื้นฟูความสัมพันธ์ อาทิ
การแต่งตั้งเอกอัครราชทูต และการจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคี ตามที่กระทรวงการต่างประทศเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
305 | ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. .... | ปช. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกการคุ้มครองประชาชนที่ถูกฟ้องคดีปิดปากอันเนื่องมาจากการแสดงความคิดเห็น
การให้ถ้อยคำ การแจ้งเบาะแสหรือข้อมูล หรือการจัดทำคำร้องหรือคำกล่าวหา
เกี่ยวกับการกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐหรือบุคคลใดอันเป็นที่มาของการสอบสวน
การตรวจสอบ หรือการไต่สวน ในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบเพื่อให้เกิดการบังคับใช้อย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
หน่วยงานภาครัฐ
รวมถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาด้วยว่าอาจดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ แทนการออกเป็นกฎหมายเฉพาะได้หรือไม่ และให้รับความเห็นกระทรวงยุติธรรม
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
ควรคำนึงถึงมาตรการหรือกลไกที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน
รวมทั้งต้องพิจารณากำหนดมาตรการหรือกลไกเพิ่มเติมขึ้นเป็นการเฉพาะ
เพื่อให้การป้องกันหรือคุ้มครองบุคคลที่แสดงความเห็นหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลโดยสุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
ควรปรับคำนิยาม “ประพฤติมิชอบ” ในร่างมาตร ๓ ให้ครอบคลุมถึงพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมด้วย
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
306 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 | นร.11 สศช | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๕ ดังนี้
(๑) อนุมัติให้กรมชลประทาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ
และเพิ่มพื้นที่ชลประทาน โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ (๒) อนุมัติให้กรมการข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์
ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๓)
อนุมัติให้กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็น สิ้นสุดเดือนมีนาคม
๒๕๖๕ (๔) ) มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่เสนอในครั้งนี้ รวมถึงเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ
eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
และรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการฯ
ไปประกอบการดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป และ (๕) มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการโดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ
และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ให้เร่งดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้และจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้อย่างเคร่งครัด
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ให้หน่วยงานต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปฏิบัติตามข้อ
๑๙ และ ข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้อีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากคลังโดยเร็ว
รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ให้ทันต่อสถานการณ์
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ที่ไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้
เร่งปฏิบัติตามข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
307 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 | นร.11 สศช | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่
๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ ซึ่งได้พิจารณาอนุมัติโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ระยะที่ ๔ ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรอบวงเงิน ๘,๐๗๐.๗๒๔๒ ล้านบาท
และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ ๒
กรอบวงเงิน ๑,๓๕๑.๙๘๑๒ ล้านบาท อนุมัติโครงการคนละครึ่ง
ระยะที่ ๔ ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กรอบวงเงิน ๓๔,๘๐๐ ล้านบาท และมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ดำเนินการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความเข้าใจและรับทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
พิจารณาปรับปรุงจำนวนกลุ่มเป้าหมายและวงเงินของโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ระยะที่ ๒ พิจารณากำหนดมาตรการเพิ่มเติมในการกำกับและติดตามการดำเนินโครงการ เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการดำเนินโครงการโดยมิชอบได้
รวมทั้งอนุมัติโครงการเราเที่ยวด้วยกันของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรอบวงเงิน ๙,๐๐๐ ล้านบาท โดยมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ระยะที่ ๔ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ระยะที่ ๒ และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ ๔ และให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการเราเที่ยวด้วยกัน
ดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายสัปดาห์ เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้
พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ ๑๕ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
อย่างเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ดำเนินการประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยเฉพาะในส่วนของผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีความเข้าใจและรับทราบถึงข้อมูลของโครงการอย่างชัดเจนและทั่วถึง
ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการกำกับติดตามการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าหน่วยงานรับผิดชอบโครงการควรเตรียมความพร้อมให้ทันต่อสถานการณ์
ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์อัตราค่าใช้จ่าย
และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด เร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรับรู้
ความเข้าใจ ในมาตรการที่ถูกต้องให้กับประชาชน
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลโครงการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
308 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย (ระยะที่ 10) พ.ศ. 2562 - 2566 | มท. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี
เรื่อง โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย (ระยะที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๖ ในประเด็นปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาจากนักศึกษาชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้
เป็นกลุ่มผู้ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “โครงการจัดส่งนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย”
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรถือปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
จัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลให้ทันต่อสถานการณ์
และบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลผู้สำเร็จการศึกษาและโครงการในภาพรวม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
309 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... | มท. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค
เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงบางแค
เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เพื่อขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองพระยาราชมนตรีช่วงจากคลองหนองใหญ่ถึงคลองภาษีเจริญ
เพื่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำอันเป็นกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และกระทรวงมหาดไทยควรประสานกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การบริหารจัดการการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
ลงสู่โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
310 | รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | นร.01 | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ สรุปได้ ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
ทั้ง ๗๖ คณะ/จังหวัด ได้สอดส่องและมีข้อเสนอแนะใน ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑)
แผนงาน/โครงการ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ๒) แผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจังหวัด
๓) แผนงาน/โครงการอื่น ๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ๔)
การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ
และเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัด (เรื่องร้องเรียน) (๒) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญและแนวทางการแก้ไขของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
เช่น การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
การขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และปัญหาจากการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
311 | รัฐบาลจาเมกาเสนอขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์จาเมกาประจำประเทศไทย (นางสาววรัดดา รัตนิน) | กต. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นางสาววรัดดา รัตนิน ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์จาเมกาประจำประเทศไทย สืบแทน
นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๓๑ กรกฎาคม
๒๕๖๓ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
312 | ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ | อว. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการ ๑.๑ ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๒ ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... ๑.๓ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๔ ร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม ๔ ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
โดยให้รวมทุนหมุนเวียนเพื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่
รวมทั้งแก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องกัน
ซึ่งการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็นไปเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา
และส่งเสริมการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับมติของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
และความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณ
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติ รวม ๔
ฉบับดังกล่าวเป็นร่างกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๓. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรพิจารณาความคุ้มค่า
ต้นทุนและผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ตามาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ควรกำหนดกลไกและมาตรการรวมทั้งส่งเสริมการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ
ควรพิจารณากำหนดเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่น ควรแก้ไขบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบการดำเนินงานที่ควรได้รับการจัดสรรงบประมาณให้มีความชัดเจน
และให้ความสำคัญกับการกำหนดผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดของการดำเนินงานของโครงการที่มีความท้าทาย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
313 | ขออนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย | กค. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง
จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และวงเงินงบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ
ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา
๖๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเสนอ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการฯ
ระยะทางรวม ๓.๙๘ กิโลเมตร โดยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP
Net Cost โดยภาครัฐรับผิดชอบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในขณะที่ ภาคเอกชนรับผิดชอบงานส่วนที่เหลือทั้งหมด ได้แก่
การออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้าง และการดำเนินงาน และบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) โดยเอกชนจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ลงทุนทั้งหมด ให้แก่ภาครัฐก่อนเริ่มดำเนินงานในลักษณะของ BTO
พร้อมทั้งให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายได้ค่าผ่านทางโดยมีระยะเวลาสัมปทาน
๓๕ ปี (นับจากวันที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน (Notice
to Proceed) ตามรายงานผลการศึกษาฯ
ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นชอบไว้ ๒. อนุมัติค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดในวงเงิน
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตามความจำเนและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง ๓. มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ. ๒๕๖๒ รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นว่า
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น
เหมาะสม และประหยัด ตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง และให้กระทรวงคมนาคม (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ ๑) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่เห็นว่า ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นสำคัญและเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เอกชนสามารถดำเนินโครงการได้จริงและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ก่อให้เกิดผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงขึ้นในจังหวัดภูเก็ตในอนาคต
นอกจากนี้ โครงการฯ ดังกล่าวยังมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์ที่ ๒
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สำหรับการพัฒนาโลจิสติกส์ในการเดินทางข้ามจังหวัดและการเดินทางระหว่างประเทศ
ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้อย่างเชื่อมโยงกับรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒) กระทรวงคมนาคมที่เห็นว่า
ให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ๓) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นว่า
ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าของโครงการ
ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่เสนอไว้ในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ หรือมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๑
เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ เรื่อง การทบทวนมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติกรณีรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย ๔) กระทรวงมหาดไทยที่เห็นว่า ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ๕) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
๕.๑) ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พิจารณาใช้แหล่งเงินรายได้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท เป็นลำดับแรก
หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริงต่อไป
๕.๒) ให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับจังหวัดภูเก็ตในการพิจารณาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ ให้สามารถรองรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และสนับสนุนให้เกิดการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้น ๕.๓) เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างรอบคอบ
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการ ดังนี้ ๕.๓.๑) พิจารณาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโครงการฯ
โดยเฉพาะการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยควรกำหนดอัตราค่าเวนคืนให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยสามารถส่งมอบที่ดินให้กับเอกชนได้ตามกำหนดของสัญญาและเปิดให้บริการตามแผนที่ได้กำหนดไว้
และกำหนดเงื่อนไขในการสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart
City) ๕.๓.๒) พิจารณากำหนดกลไกให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระแสเงินสดของการดำเนินโครงการฯ
อาทิ เงินลงทุน รายได้ค่าผ่านทาง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษา
เพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินโครงการระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ๕.๓.๓) ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA) ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบเมื่อวันที่
๗ มีนาคม ๒๕๖๑ อย่างเคร่งครัด
และในกรณีที่มีผลกระทบต่อประชาชนให้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว ๖) สำนักงบประมาณที่มีข้อสังเกตว่า เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้แก่หน่วยงานในพื้นที่และประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มดำเนินการ
การดำเนินการตามมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ
และประสานหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ
คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
ตลอดจนคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบในทุกมิติด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
314 | ขอความเห็นชอบในหลักการให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการกระจายเสียง ประเภทกิจการทางธุรกิจ โดยวิธีการประมูล | นร. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการกระจายเสียง
ประเภทกิจการทางธุรกิจ โดยวิธีการประมูล เนื่องจากหน่วยงานที่ถือครองคลื่นความถี่ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่
(พ.ศ. ๒๕๕๕) จะต้องคืนคลื่นความถี่ให้กับ กสทช. ภายในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๕
เพื่อทำการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
ถูกจัดอยู่ในประเภทกิจการธุรกิจที่ต้องขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ ด้วยวิธีการประมูล
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ให้บริษัท อสมท
จำกัด (มหาชน) มีการประเมินทิศทางธุรกิจในอนาคต
และกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานของธุรกิจดังกล่าวให้ชัดเจน
รวมถึงถือปฏิบัติให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๕
โดยเคร่งครัดต่อไป
จัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงทั้งในกรณีที่ไม่สามารถประมูลคลื่นความถี่ให้อยู่ครบตามจำนวนการถือครองคลื่นที่มีอยู่เดิม
และกรณีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดในเชิงรุก
ศึกษา วิจัยและพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงแนวทางการให้บริการ
โดยปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจทที่สอดคล้องและเหมาะสมตามสถานการณ์ปัจจุบัน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
315 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑)
อนุมัติให้กรมควบคุมโรค กรมอนามัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (๒) อนุมัติให้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (๓)
อนุมัติให้โรงพยาบาลตำรวจ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัดรองรับและบรรเทาภัยจากโรคติดเชื้อโควิด-๑๙
และปรับปรุงมาตรฐานด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ (๔) อนุมัติให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่
และโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔
เป็นสิ้นสุดเดือนเมษายน ๒๕๖๕ และ (๕) ) มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่เสนอในครั้งนี้
รวมถึงรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการฯ
ไปประกอบการดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพั ฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้หน่วยงานต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปฏิบัติตามข้อ
๑๙ และ ข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้อีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากคลังโดยเร็ว รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ให้ทันต่อสถานการณ์
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ที่ไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้
เร่งปฏิบัติตามข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
316 | ขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป (โครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่) | ทส. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐
ล้านบาทขึ้นไป รายการค่าก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่
ระยะที่ ๑ คลองหก ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วงเงินทั้งสิ้น ๕,๓๘๓,๘๑๗,๖๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑,๐๗๖,๗๖๓,๖๐๐ บาท ส่วนที่เหลือ จำนวน ๔,๓๐๗,๐๕๔,๐๐๐ บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๖๘ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดนำเสนอโครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๕๐ และจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการดังกล่าว
โดยมีรายละเอียดรูปแบบรายการ ประมาณการค่าก่อสร้าง
สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ
รวมถึงการดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาความเหมาะสมและจำเป็น
ตามวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรดำเนินการตามขั้นตอน
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๕๐
และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
317 | ร่างมาตรการสนับสนุนให้สตรีเป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ | พม. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นซอบในหลักการของมาตรการสนับสนุนสตรีให้เป็นพลังสำคัญทางเศรษฐกิจ
ประกอบด้วยมาตรการย่อย ๓ มาตรการ ได้แก่ จัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นำมาตรการดังกล่าวไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยให้นำความเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วยเพื่อให้ได้ข้อยุติในประเด็นต่าง
ๆ ที่ชัดเจน เหมาะสม ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ดังนี้ ๑)
กระทรวงการคลังเห็นว่า ในการพิจารณาจะต้องคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒)
กระทรวงแรงงานเห็นว่า หากจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมสิทธิการลาคลอด
ให้สามีของแรงงานสตรีสามารถลาเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ นายจ้าง
เจ้าของสถานประกอบกิจการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคธุรกิจ
เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วย ๓)
กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า เพื่อให้การแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมและครอบคลุมข้าราชการทุกประเภท
จึงเห็นควรพิจารณาในรายละเอียดด้วยความรอบคอบ ๔)
กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า ควรมีการทบทวนข้อมูลอย่างรอบด้าน
โดยคำนึงถึงหลักความเหลื่อมล้ำในกลุ่มแม่ที่ใช้สิทธิอื่น
หรือกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีบุตร เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติหรือความเป็นธรรมในการจ้างงานด้วย ๕)
สำนักงบประมาณเห็นว่า สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕
เห็นควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ
ๆ ไป
เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ๖)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีความเห็นประกอบการพิจารณาในแต่ละมาตรการ
ดังนี้ ๖.๑) การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓
ปี โดยขยายบริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กให้รับเด็กอายุ ๐ ถึง
๓ ปี และขยายเวลาเบิดและปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน นั้น
เป็นมาตรการเพื่อแบ่งเบาภาระของสตรีในการเลี้ยงดูบุตรโดยกำหนดอายุของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง
๓ ปี
แต่การกำหนดอายุขั้นต่ำของเด็กดังกล่าวหากเป็นกรณีผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นหญิงที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน
จะต้องคำนึงถึงมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
ที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๘
วัน และมาตรการที่กำหนดให้ขยายวันลาคลอดของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ซึ่งเป็นการกำหนดเพื่อให้สิทธิแก่สตรีในการใช้วันลาคลอดเพื่อเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง ๖.๒) การส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
โดยให้ข้าราชการชายสามารถลาไปช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร นั้น
ควรกำหนดให้ลูกจ้างขายสามารถลาเพื่อช่วยเหลือภรรยาดูแลบุตรได้
เพื่อให้การกำหนดมาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งจะทำให้เกิดความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ
แต่ในรายละเอียดอาจจะต้องกำหนดเพื่อไม่ให้นายจ้างได้รับผลกระทบจนเกินสมควร ๖.๓) การขยายวันลาคลอดของข้าราชการ
โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาคลอดบุตรได้
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน และเสนอให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘ วัน
สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น
ในส่วนของการแก้ไขวันลาคลอดของข้าราชการ เป็น ๙๘ วัน เป็นการกำหนดที่สอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(ILO)
ฉบับที่ ๑๘๓
ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดาซึ่งได้กำหนดให้ภาครัฐต้องดูแลผู้หญิงตั้งครรภ์
ระหว่าง และหลังคลอด และต้องให้วันหยุดมารดาหลังคลอด ๑๔ สับดาห์
ซึ่งสตรีในภาคเอกชนได้รับสิทธิดังกล่าวแล้วตามมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒
สำหรับการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ลาได้อีก ๙๐ วัน
และให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ นั้น จะต้องพิจารณาว่า การแก้ไขดังกล่าวกระทบกับการการลาบระเภทอื่นหรือไม่
ได้แก่ การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ส่วนการกำหนดให้ได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐
ของเงินเดือนปกติ จะต้องพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเดือน ได้แก่
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบด้วย ๗)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า
มาตรการส่งเสริมการลาของสามี และขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง
มีผลบังคับใช้กับกลุ่มข้าราชการเท่านั้น เพื่อให้ร่างมาตรการดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
จึงควรเร่งศึกษาแนวทางเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายสู่แรงงานกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างเอกชน
ซึ่งมีสัดส่วนถึง ๒ ใน ๕ ของผู้มีงานทำทั้งหมด ๘)
สำนักงาน ก.พ. เห็นว่า เห็นควรมอบหมายสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาปรับปรุงระเบียบฯ ดังกล่าว
และโดยที่ข้อเสนอการปรับปรุงวันลาของข้าราชการชายเพื่อช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตร
และการขยายวันลาคลอดบุตรของข้าราชการหญิง
มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา
และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น อาทิ พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ
บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายอื่นให้สอดคล้องกันต่อไปด้วย ๙)
กระทรวงมหาดไทยมีข้อเสนอแนะว่า ๙.๑) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้จัดบริการให้กับเด็กเล็กครอบคลุมช่วงอายุ ๒ - ๓ ปี ซึ่งในการขยายบริการเด็กเล็ก
โดยให้รับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๒ ปีลงไปนั้น
ควรกำหนดแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พิจารณาดำเนินการตามความพร้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รวมถึงความต้องการของชุมชนในพื้นที่โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ
อัตรากำลังครู/ผู้ดูแลเด็กในแต่ละช่วงอายุ รวมถึงการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กอย่างถูกต้องตามหลักวิซาการ ๙.๒) สำหรับการขยายเวลาเปิด -
ปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หากจะขยายเวลาเปิด - ปิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนทำงาน
ต้องคำนึงถึงความพร้อม สภาพบริบท ที่ตั้ง
การประกอบอาชีพของผู้ปกครองและความต้องการของผู้ปกครองในท้องถิ่นนั้น ๆ
รวมถึงงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในการดำเนินการดังกล่าว ๑๐)
สำนักงาน ก.พ.ร. มีข้อเสนอแนะว่า
๑๐.๑) กรณีมาตรการจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า
๓ ปี ควรกำหนดให้อายุเด็กที่จะเข้ารับบริการ จาก ๐ - ๓ ปี เป็น ตั้งแต่ ๓
เดือนขึ้นไป - ๓ ปี เนื่องจากจะสอดคล้องกับมาตรการขยายวันลาคลอดของแม่
และช่วยให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากแม่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อพัฒนาการของเด็ก
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี
สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติและสามารถให้บริการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรพิจารณาประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของบุคลากร และศักยภาพของศูนย์
พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่ง รวมทั้งต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ
ตลอดจนคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของผู้ปกครองหรือผู้รับบริการในแต่ละพื้นที่สำหรับการขยายเวลาให้บริการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่งด้วย ๑๐.๒) กรณีการส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด
ซึ่งกำหนดให้ลาได้ ๑๕ วัน โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกันนั้น
ควรพิจารณารับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำไปกำหนดรายละเอียดและกรอบระยะเวลาการลาของสามีดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ๑๐.๓) กรณีการกำหนดให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรสามารถลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน
๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ
ควรพิจารณาผลกระทบทั้งในประเด็นการปฏิบัติงานและการบริหารงานขององค์กรและภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่จะเพิ่มขึ้น
รวมทั้งคำนึงถึงความคุ้มค่าของประโยชน์โดยรวมที่สังคมและประเทศจะได้รับด้วย ๑๑)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า ๑๑.๑) มาตรการข้อ ๒
ส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด ที่เสนอว่า “...ให้ลาได้ ๑๕
วันทำการ เป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันจนครบวันลา” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน”
ไว้หน้า ๑๕ วันทำการด้วย
เพื่อให้มีความคล่องตัวในการลาและสอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
ที่กำหนดไว้ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ ๑๑.๒) มาตรการข้อ ๓
ขยายวันลาคลอดของแม่โดยได้รับค่าจ้าง ที่เสนอว่า “...โดยแก้ไขวันลาคลอดบุตรของข้าราชการจากเดิม
๙๐ วัน เป็น ๙๘ วัน” นั้น เห็นควรเพิ่มเติมคำว่า “ไม่เกิน” ไว้หน้า ๙๘ วัน ด้วยเหตุผลผลเดียวกับข้อ
๑๑.๑) แต่สำหรับการได้รับเงินเดือนระหว่างลา กฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน ได้กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน ๙๐ วัน
ในส่วนของประเด็นที่เสนอว่า “...โดยให้ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้ว ๙๘
วัน สามารถลาได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือนร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือนปกติ”
นั้น ประเด็นดังกล่าวน่าจะมีจุดมุ่งหมายในการลาเพื่อการเลี้ยงดูบุตร
ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕
ได้กำหนดให้เป็นประเภทของการลากิจสวนตัว ตามข้อ ๒๒ ที่กำหนดไว้ว่า “ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ
๑๙ แล้ว หากประสงค์จะลากิจสวนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน
๑๕๐ วันทำการ”
แต่การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรดังกล่าวกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน
กำหนดไว้ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
318 | ร่างพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. …. | พน. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
และพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
เพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีความชัดเจนและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ควรใช้ระบบอนุญาตเพียงเท่าที่จำเป็น
โดยสามารถใช้ระบบการแจ้งในเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องควบคุมเข้มงวดได้
การกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับอนุญาต
เป็นการกำจัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเท่านั้น
การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนจึงต้องกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติด้วย
ควรพิจารณาเพิ่มปรับมาตรการบังคับทางปกครองและโทษทางปกครองในกรณีผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการประกาศให้สาธารณชนทราบว่า
ผู้รับอนุญาตผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจเพื่อใช้
Reputation Risk เป็นเครื่องกำกับให้เกิดการปฏิบัติที่ดีในธุรกิจ
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
๓.
ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรให้กระทรวงพลังงาน
โดยกรมธุรกิจพลังงานดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองของพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้เป็นไปตามแผนการจัดทำกฎหมายลำดับรองภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด
เพื่อช่วยให้หน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
319 | ขออนุมัติตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกรมท่าอากาศยาน | คค. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการให้กระทรวงคมนาคมนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐
ล้านบาทขึ้นไป ของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกรมท่าอากาศยาน จำนวน ๕๒ โครงการ วงเงินทั้งสิ้น ๙๓,๙๘๐ ล้านบาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๖ ตามนัยมาตรา ๒๖ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการดังกล่าว
โดยมีรายละเอียดรูปแบบรายการ ประมาณการค่าก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
และมีสถานที่/พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีความพร้อมจะดำเนินการ
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด
ประโยชน์หรือผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการตามลำดับความจำเป็นเร่งด่วน
และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ รวมทั้งจัดส่งรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ
ตามนัยมาตรา ๒๕ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๑ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
และให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบท ประสานกับกระทรวงการคลัง
(สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ)
ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท
และกรมท่าอากาศยาน) รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรจัดลำดับความสำคัญของโครงการ โดยคำนึงถึงความจำเป็น ความคุ้มค่าของงบประมาณและความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี และ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ที่กำหนดให้ระบบขนส่งทางรางเป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้าของประเทศ
ความพร้อมในการดำเนินโครงการ
โดยเฉพาะการปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
320 | ขอความเห็นชอบโครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes | ทส. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (Project Cooperation Agreement : PCA) โครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public
and Private Sector Policy and Decision-making for
Sustainable Landscapes เพื่อเป็นการพัฒนากรอบแนวคิดและแนวทางในการนำระบบบัญชีต้นทุนธรรมชาติมาใช้ในประเทศไทย
รวมทั้งการริเริ่มการพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนธรรมชาติสำหรับภาคการท่องเที่ยวและภาคการจัดการน้ำในพื้นที่
จังหวัดกระบี่
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบูรณาการข้อมูลต้นทุนธรรมชาติในพื้นที่เข้าสู่นโยบาย
แผน งบประมาณ ระดับภูมิภาคได้ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดผลกระทบ
ฟื้นฟู และปกป้องระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ชายฝั่งและทะเลต่อไป
โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global
Environment Facility : GEF) เป็นจำนวนเงิน ๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะหน่วยงานดำเนินโครงการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมสมทบงบประมาณในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (in-kind) ในรูปแบบบุคลากร
มูลค่าทรัพยากรในการดำเนินงาน เป็นจำนวนเงิน ๖.๑๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นงบประมาณและทรัพยากรที่แต่ละหน่วยงานได้รับจัดสรรในทุกปีตามปกติ
ไม่ใช่การขอรับจัดสรรเพิ่มเติม และมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯ ร่วมกับผู้แทนโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Environment Programme : UNEP) และที่ปรึกษาโครงการ(Lead Service Provider) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงความร่วมมือ (Project
Cooperation Agreement : PCA) โครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public
and PrivateSector Policy and Decision-making for
Sustainable Landscapes ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่ นร
๑๔๐๓/๑๐๙๘๗ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔) และสำนักงานอัยการสูงสุด
(หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ด่วนที่สุด ที่ อส ๐๐๐๗/๑๙๖๔๗ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม
๒๕๖๓) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำองค์ความรู้
ประสบการณ์
และข้อมูลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการ/งานอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น
การประเมินมูลค่าต้นทุนหรือผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการ
การกำหนดให้ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไป
เป็นต้น |