ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 15 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 281 - 300 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
281 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีรายงานว่า เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ขอให้เลื่อนเรื่องนี้ไปพิจารณาในการประชุมคราวต่อไป
ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว ลงมติเห็นชอบให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ไปก่อนได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
282 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
283 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2565 | นร.11 สศช | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) เห็นชอบให้สถาบันวิทยาลัยชุมชน
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเสริมศักยภาพสมาชิกสหกรณ์ผู้ทำนาเกลือทะเล
(เกษตรกรนาเกลือ) โดยขยายเวลาดำเนินโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ (๒) เห็นชอบให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการแปลงใหญ่กระบือชลบุรีครบวงจร
โดยขยายเวลาดำเนินโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๓) เห็นชอบให้จังหวัดกระบี่
จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดลำพูน และจังหวัดตาก เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ/ยกเลิกโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ (๔) มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ
เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดของโครงการโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการฯ
ให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้.ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้กระทรวงต้นสังกัดกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
284 | การปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) | ศธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาและโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
สำหรับการขอรับจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
เห็นควรให้กระทรวงศึกษาธิการตรวจสอบสถานะจำนวนนักเรียนโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา
และอัตราการจ่ายเงินอุดหนุน ค่าจัดการเรียนการสอน
ในส่วนที่เป็นเงินสมทบเงินเดือนครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
ให้คำนวณเป็นอัตราต่อหัวนักเรียนต่อปี โดยใช้จำนวนครูหนึ่งคนต่อนักเรียน ๑๐
คนสำหรับระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา และจำนวนครูหนึ่งคนต่อนักเรียน ๑๕ คน
สำหรับระดับมัธยมศึกษา เป็นฐานในการคำนวณ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับเงินสมทบเงินเดือนครูในโรงเรียนเอกชน
ประเภทอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรมีการติดตามประเมินผลการดำเนินการและการเบิกจ่ายการสมทบเงินเดือนครูและผู้ช่วยครู
เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณของโรงเรียนเอกชนเป็นไปตามแนวทางการอุดหนุนค่าใช้จ่ายตามที่เสนอ
และควรเร่งบูรณาการฐานข้อมูลการอุดหนุนเงินนักเรียนพิการในภาพรวมทั้งประเทศ
เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการการศึกษาแก่นักเรียนพิการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
285 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 - 2580 | ศธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
(ร่าง)
แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
ปี พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๘๐ และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามยุทธศาสตร์ นำ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการฯ ไปใช้เป็นกรอบแนวทางการบริหารเชิงนโยบายให้เป็นเอกภาพ และมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศในภาพรวมอย่างเป็นระบบ
เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ประเทศไทย ๔.๐ ยุทธศาสตร์ มาตรการ ที่กำหนดขึ้น และให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
เป็นหน่วยงานประสานหลักและให้อำนาจ (authority) ในการติดตามและสั่งการ เพื่อให้หน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องดำเนินงานให้เหมาะสม ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เช่น ควรเร่งพัฒนากลไกการบริหารจัดการการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษที่ชัดเจน
และตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเข้าสู่การปฏิบัติในระบบงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคส่วนต่าง
ๆ ของประเทศต่อไปให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณแบบบูรณาการ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
286 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายโสภณ แท่งเพ็ชร์) | นร.11 สศช | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายโสภณ แท่งเพ็ชร์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
287 | ร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent : LOI) สำหรับข้อริเริ่มความต้องการใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy Demand Initiative : CEDI) ระะหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและภาคเอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกา | พน. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบต่อร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter
of Intent : LOI) สำหรับข้อริเริ่มความต้องการใช้พลังงานสะอาด (Clean
Energy Demand Initiative : CEDI) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและภาคเอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกา
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
เป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ดังกล่าว ซึ่งร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ
เป็นเอกสารที่กำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างรัฐบาลไทยโดยกระทรวงพลังงานและบริษัทเอกชนของสหรัฐอเมริกา
ในการส่งเสริมการลงทุน ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแสดงเจตจำนงสำหรับข้อริเริ่มความต้องการใช้พลังงานสะอาดระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและภาคเอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกาในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน
ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณากลไกที่จะช่วยผลักดันให้ความร่วมมือดังกล่าวเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้เงื่อนไขและข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศ
ซึ่งจะช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาภาคพลังงานของประเทศไปสู่พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
288 | (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 – 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) | พน. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๓ ที่ได้เห็นชอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่
๑/๒๕๖๓ (ครั้งที่ ๑๕๐) เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๓
ในส่วนของแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๗๘๓
ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) ที่กระทรวงพลังงานควรคำนึงถึงกรอบและวินัยการใช้จ่ายเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการใช้จ่ายเพื่อชดเชยให้กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
และควรเร่งดำเนินการศึกษาและกำหนดมาตรการในระยะยาวในการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของประเทศให้เป็นไปตามกลไกตลาดและสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบในทุกมิติ และให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พิจารณาจัดทำแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นกรอบนโยบาย
เนื่องจากมาตรา ๑๔(๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๖๒
ได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีหน้าที่ในการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกองทุน
และกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับนโยบายการบริหารกองทุนตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนดแล้ว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
289 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2555) | มท. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมปากพนัก
จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๕๕
เพื่อปรับปรุงข้อห้ามการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับโรงงานในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
รวมทั้งเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับที่ว่างตามแนวขนานริมเขตของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๑๓ ช่วงนครศรีธรรมราช-ปากพนัง และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๓ (ตอนเลี่ยงเมือง)
ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
ตลอดจนปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้เหมาะกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรใช้เนื้อความเดิมตามข้อ
๑๓ วรรคสี่
แห่งกฎกระทรวงดังกล่าวเนื่องจากมีความเหมาะสมกับทางหลวงแผ่นดินสายดังกล่าว ควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องการใช้ที่ดินด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย ประเภทหรือชนิดของโรงงานในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยส่วนใหญ่เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม คำนึงถึงจำนวนสถานประกอบกิจการต่อพื้นที่
ให้โรงงานลำดับที่ ๕๐ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
ถ่านหินหรือลิกไนต์อย่างหนึ่งอย่างใด เฉพาะ (๔)
การผสมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมเข้าด้วยกันหรือการผสมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมกับวัสดุอื่นแต่ไม่รวมถึงการผสมผลิตภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติกับวัสดุอื่นไว้ท้ายประกาศกระทรวงดังกล่าว
กรมโยธาธิการและผังเมืองควรให้เจ้าพนักงานควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อกำหนด
และให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๑ ที่ระบุถึง “บัญชีท้ายกฎกระทรวง”
เป็น “บัญชีท้ายประกาศ” ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
290 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... | ทส. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่
เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่
เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อประโยชน์
หรือสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงพลังงาน โดยเพิ่มข้อความ
“ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่การดำเนินการเพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือ”
เพื่อยกเว้นกับการใช้บังคับกับกองทัพเรือในกรณีที่มีการจำเป็นต้องดำเนินการใด ๆ
เกี่ยวกับกิจการด้านความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ
และกิจกรรมด้านพลังงานใดที่ต้องห้ามตามประกาศนี้
ถ้าได้รับอนุญาตก่อนวันประกาศนี้ให้ใช้บังคับในการดำเนินการต่อไป และการต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
โดยให้อนุญาตตามที่พื้นที่ที่ได้อนุญาตไว้เดิม ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ควรมีกระบวนการหารือกับภาคธุรกิจและภาคประชาชนในพื้นที่
เพื่อสร้างความเข้าใจและการรับรู้ร่วมกัน ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซักซ้อมความเข้าใจกับหน่วยงานในสังกัด
ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจนถึงอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ
กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
และสร้างการรับรู้ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงทั้งประชาชน ชุมชน และภาคเอกชนที่ประกอบการด้านท่องเที่ยวและประมงในพื้นที่ให้เข้าใจแนวทางปฏิบัติ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
291 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน และแขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร พ.ศ .... | มท. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน และแขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร พ.ศ
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน
และแขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อดำเนินโครงการขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองลุงหน่าง
ช่วงทางรถไฟฟ้าสายวงเวียนใหญ่ถึงมหาชัยและถึงคลองบางบอน
เพื่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำอันเป็นกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และกระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานครควรประสานกรมชลประทาน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครลงสู่โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย
อันเนื่องมาจากพระราชดำริได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
292 | ร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 รวม 3 ฉบับ | ยธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ๑.๑ ร่างกฎกระทรวงการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ
การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
และการขอรับทรัพย์สินคืนและการคืนทรัพย์สิน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ
การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
และการขอรับทรัพย์สินคืนและการคืนทรัพย์สิน
เพื่อประโยชน์ในการใช้อ้างอิงและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอยู่ในฉบับเดียวกันอย่างเป็นระบบ ๑.๒
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการกับบุคคลผู้มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากระทำความผิดฐานเสพ
หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพ และกำหนดตำแหน่งหรือระดับของเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส.
หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่จะมีหน้าที่และอำนาจดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ๑.๓
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการการขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงาน การแจ้งข้อหาในความผิดฐานสมคบ
และสนับสนุนช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๖๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุมัติ
การอนุมัติ และการรายงาน ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ รวม
๓ ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม
และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น กรณีร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๒ การตรวจสอบหรือทดสอบ
หรือเก็บปัสสาวะ ในร่างข้อ ๘ (๑) ควรเพิ่มความว่า กรณีมีความเร่งด่วน
ให้ดำเนินการเท่าที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ควรแก้ไขข้อความในร่างข้อ
๓ ของร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๓
เพื่อมิให้ขัดกับแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ
สำหรับร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๑ กรณีร่างข้อ ๓๕
เกี่ยวกับการอายัดสิทธิเรียกร้องซึ่งบุคคลภายนอกต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย
ควรกำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดยร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๑ เห็นว่า การตรวจสอบทรัพย์สินตามกฎกระทรวงนี้
ขอให้หน่วยงานที่รับคำขอความร่วมมือจากเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดซึ่งกำหนดไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้น
ๆ และร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๓ เห็นว่า
หากศาลใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้ออกหมายจับในมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แล้ว
ไม่ควรจะต้องขออนุมัติทางเลขาธิการ ป.ป.ส. อีก
เนื่องจากการออกหมายจับดังกล่าวเป็นการใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษาแล้ว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
293 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดสาขาวิชา ปริญญา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. .... | สธ. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดสาขาวิชา ปริญญา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันพระบรมราชชนก
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ
เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งสถาบันพระบรมราชชนก ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
294 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 1 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบการเพิ่มเติม “วนอุทยาน” “สวนพฤกษศาสตร์” “สวนรุกขชาติ”
ในหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙
ธันวาคม ๒๕๕๘ (เรื่อง หลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ) ๒.
เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน ๑ :
๔๐๐๐ (One Map)
และรับรองเส้นแนวเขตที่ดินของรัฐ กลุ่มจังหวัดที่ ๑ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีที่ดินของรัฐอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) โดยใช้แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วแทนแผนที่แนบท้ายกฎหมาย
และใช้เป็นแนวเขตที่ดินของรัฐตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน
โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผล ความจำเป็น
แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ รวมทั้งให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้อง
หรือให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้รวดเร็ว เหมาะสมตามแต่กรณี
โดยดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ การคุ้มครองและรับรองการดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
295 | การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) | อว. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการการมอบอำนาจให้สภานโยบายฯ
ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา
และมีคำสั่งให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาแทนคณะรัฐมนตรี
โดยให้ถือว่าการอนุมัติและความเห็นชอบดังกล่าวเป็นมติของคณะรัฐมนตรี
และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ตามนัยมาตรา ๖๙
แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ในกรณีที่เป็นการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาในเรื่องที่เป็นเชิงนโยบาย
มีความสำคัญสูง มีผลกระทบกับระบบการอุดมศึกษาในภาพรวม
หรือก่อให้เกิดภาระงบประมาณในระยะยาว ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาตินำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบเป็นกรณี
ๆ ไป ก่อนดำเนินการต่อไป ๒. ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ กำหนดมาตรการส่งเสริมเชิงนโยบายในส่วนของการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับภารกิจหน่วยงานของภาครัฐ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับเรื่องนี้ไปพิจารณาและหารือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการให้เหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
296 | ขอความเห็นชอบเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2022 (WAMSB World Championship 2022) | วธ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก
๒๐๒๒ (WAMSB World Championship 2022) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๑-๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ กรุงเทพมหานคร โดยวงเงินงบประมาณสำหรับการจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก
๒๐๒๒ (WAMSB World Championship 2022)
เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้กระทรวงวัฒนธรรม (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เช่น
ให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ภายใต้มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ มาถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
และควรมีการเตรียมความพร้อมด้านการบริหารจัดการการแข่งขันในรูปแบบอื่น ๆ
ภายใต้วิถีปกติใหม่ อาทิ รูปแบบออนไลน์ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลทำให้ไม่สามารถดำเนินการจัดกิจกรรมในรูปแบบปกติได้ในช่วงเวลาดังกล่าว
รวมทั้งให้การจัดประกวดดังกล่าวดำเนินการตามมาตรการและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคโควิด-19
ที่ภาครัฐกำหนด รวมถึง ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรควิด-19 ในประเทศไทย
โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการจัดประกวดอย่างใกล้ชิด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
297 | ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | สปสช. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ภายในวงเงิน ๒๐๔,๑๔๐,๐๒๗,๘๐๐ บาท ประกอบด้วย ค่าบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายรายหัว
ค่าบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน
ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นต้น สำหรับงบประมาณบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วงเงิน ๑,๙๕๐,๘๓๘,๙๐๐ บาท นั้น
เห็นควรให้คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ให้ตามความจำเป็นเหมาะสม
ประหยัดและสอดคล้องกับภารกิจการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
(มติคณะกรรมการควบคุมคุณภาพฯ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๔) และข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรเร่งประชาสัมพันธ์การให้บริการดังกล่าวให้แก่ประชากรไทยทุกคน
โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานอื่น เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึง
และควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของวงเงินที่เสนอขอ
โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการงบประมาณให้มีความคุ้มค่าและคำนึงถึงความจำเป็นของการใช้จ่ายงบประมาณ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
298 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... | ดศ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ในการดำเนินการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกันของหน่วยงานของรัฐ
เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำหนดให้มีแพลตฟอร์มกลางเป็นช่องทางรับแจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าอาจเป็นข่าวปลอมเพียงระบบเดียว
ให้มีการกำหนดกระบวนการ รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมายกับข่าวปลอมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ชัดเจน
ควรแก้ไข ร่างข้อ ๗ เป็น “มท.
จัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์ประจำจังหวัดขึ้น
โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด
...” ให้มีการกำหนดรายละเอียดของนิยามตามร่างระเบียบฯ
ของขั้นตอนการปฏิบัติให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาทิ คำว่า “เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม”
เพื่อลดปัญหาการตีความ และเป็นการสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติตามร่างระเบียบฯ
ดังกล่าวต่อไป และคำว่า “ข่าวปลอม” ตามข้อม ๓ ควรเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า
ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลปลอมหมายความว่าอย่างไร และอาจพิจารณาเพิ่มเติมว่า “ข้อมูลที่บิดเบือน”
เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๔ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เห็นว่าการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบและดำเนินคดีผู้เผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมควรดำเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวังมิให้เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
ร่างข้อ ๖
ควรเพิ่มข้อความให้สามารถใช้กลไกของหน่วยงานด้านสื่อประชาสัมพันธ์เดิมที่กระทรวงมีอยู่มาดำเนินการได้
ระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงความเหมาะสมแก่กรณี เร่งสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ใช้สื่อทุกคน
ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยาม ขอบเขต
และกระบวนการดำเนินงานให้เกิดความชัดเจน
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
299 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา | กษ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
จำนวน ๓๕๐ แปลง เนื้อที่ ๗๗๐-๑-๕๙ ไร่ในอัตราไร่ละ ๔๕,๐๐๐
บาท เป็นเงิน ๓๔.๖๗ ล้านบาท ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
ที่ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบโดยคณะอนุกรรมการทั้ง ๒ คณะ (คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน) โดยในส่วนของงบประมาณ กรมชลประทานจะปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ มาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าทดแทน
จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา
อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ รวม ๒๑ ราย
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธาน
เพื่อกำกับการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอ และให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
กรมชลประทานควรเร่งรัดดำเนินการจ่ายค่าทดแทน
กำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาสำหรับการสำรวจพื้นที่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบให้มีความชัดเจน
เพื่อให้ทราบงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการจ่ายค่าทดแทนที่แน่นอน
และให้กรมชลประทานปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๖๕
แล้วขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเร่งรัดสำรวจพื้นที่และจำนวนราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนาทั้งหมด
เพื่อให้สามารถจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรได้ถูกต้องครบถ้วนโดยเร็วต่อไป ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐในกรณีต่าง
ๆ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง
ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา)
ให้แล้วเสร็จและนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
300 | โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 | กค. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบการดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี
๒๕๖๕ และร่างประกาศคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการระบุตัวผู้มีรายได้น้อย
และมีข้อมูลเป็นปัจจุบัน
ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการสังคมของภาครัฐ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบกำหนดหลักเกณฑ์รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ
ได้แก่ การกำหนดแบบฟอร์มการลงทะเบียน การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ
ข้อบังคับที่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ การกำหนดวัน เวลา ในการตรวจสอบคุณสมบัติ
หรือกำหนดหน่วยตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติม การกำหนดระยะเวลาต่าง ๆ
ในการดำเนินโครงการฯ การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการดำเนินโครงการฯ ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมเสนอ และให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงบประมาณและข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรเพิ่มกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เป็นหน่วยงานตรวจสอบข้อมูลประกอบการลงทะเบียนของผู้งทะเบียนด้วย คณะกรรมการฯ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์และสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ
ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |