ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 14 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 261 - 280 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
261 | การขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค (งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) | นร.01 | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
จำนวนทั้งสิ้น ๓๙๕,๑๔๗,๐๙๘ บาท ตามนัยพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑๖ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงบประมาณ
โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และกำกับ ติดตามการใช้จ่ายเงินอุดหนุนฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด
การพิจารณาเป้าหมาย ประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์ และผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค
ไปดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
ขอให้สภาองค์กรของผู้บริโภครับข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรพิจารณาให้ความสำคัญกับแผนงานโครงการที่ส่งผลต่อการคุ้มครอง พิทักษ์สิทธิ์
ผู้บริโภค และการให้ความรู้แก่ประชาชนโดยตรงเป็นลำดับแรก และพิจารณานำเงินรายได้ของสภาองค์กรผู้บริโภคมาดำเนินการ
รวมทั้งพิจารณาความซ้ำซ้อนของกิจกรรมที่เสนอขอ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
262 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... | กษ. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน
ในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน
เพื่อดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปทำการสำรวจพื้นที่ที่จะจัดทำเป็นโครงการจัดรูปที่ดิน
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าควรเตรียมแนวทางสนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่
ความต้องการของตลาดและนโยบายสำคัญต่าง ๆ ของรัฐบาล ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
263 | ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ยธ. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยเปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และแก้ไขเพิ่มเติม เป็น
“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และจำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ....”
และเพิ่มเติมการคุ้มครองผู้ต้องหาและจำเลยที่ถูกควบคุมในชั้นสอบสวน
ขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับเงินค่าตอบแทน เงินทดแทน และค่าใช้จ่าย
รวมทั้งกำหนดให้สามารถยื่นคำขอดังกล่าวผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อในคดีอาญาให้ครอบคลุมถึงทั้งผู้เสียหาย
ผู้ต้องหา จำเลยที่ถูกควบคุมตั้งแต่ในชั้นสอบสวน จำเลยที่ถูกคุมขังในชั้นพิจารณาของศาล
ให้ได้รับการอำนวยความยุติธรรมอย่างสะดวก รวดเร็ว เท่าเทียมและเป็นธรรม
สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาในประเด็นการแก้ไขชื่อกฎหมายและความสอดคล้องกันของกฎหมายทั้งฉบับตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานศาลยุติธรรม ที่ควรกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในพระราชบัญญัติโดยชัดเจนว่า
กรณีจำเลยที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ต้องปรากฏว่าศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องเพราะเหตุใด
นอกจากนี้
ที่ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วไม่สมควรจ่ายค่าทดแทน
และค่าใช้จ่ายเนื่องจากข้อเท็จจริงในคดียังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมิเป็นผู้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดนั้น
ไม่ปรากฎขอบเขตในการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการและอาจมีผลเป็นการก้าวล่วงคำพิพากษาของศาลซึ่งกระทบต่อสิทธิในการได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของจำเลย
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
264 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... | ทส. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และกระทรวงพลังงาน เช่น ที่ควรเพิ่มเติมข้อความ ข้อ ๑ (๓)
“การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ”
ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้
และความสามารถเพิ่มขึ้น ข้อ ๓ (๑) “การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ”
เพื่อให้การลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้กับสถาบันการศึกษาเอกชน และรัฐวิสาหกิจมีความครอบคลุมยิ่งขึ้น
และเพิ่มเติมในประเด็นข้อกำหนดในข้อ ๔ (๒)
“กิจการวางโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน
กิจการวางท่อประปาเพื่อจำหน่ายให้ประชาชน
สำหรับการดำเนินการบำรุงรักษาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานหรือเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน”
ซึ่งควรกำหนดให้ครอบคลุมกิจการปิโตรเลียม ไปประกอบการพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
265 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. .... | คค. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพระบาท
และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒๗ สายทางเลี่ยงเมืองลำปาง ตอนทางเลี่ยงเมืองลำปางด้านทิศตะวันออก จังหวัดลำปาง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการก่อสร้างทางหลวงกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
ให้กรมทางหลวงดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนและได้รับความเห็นชอบรายงานฯ ก่อนลงนามในสัญญาก่อสร้าง
และให้กรมทางหลวงถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
(เรื่อง
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อก่อสร้างหรือขยายถนน)
อย่างเคร่งครัดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
266 | โครงการอาชีวะ ฝีมือชน พัฒนากำลังคนชายแดนใต้ | ศธ. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการอาชีวะ
ฝีมือชน พัฒนากำลังคนชายแดนใต้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าว
เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรแล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อมาดำเนินการเป็นลำดับแรก
ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-พ.ศ. ๒๕๖๘
เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการ
(สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ควรมีการควบคุม กำกับ ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
และควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อแนวทางการดำเนินโครงการอาชีวะฯ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
267 | การสิ้นสุดหน้าที่ของกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงคิงส์ตัน จาเมกา และการปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงคิงส์ตัน จาเมกา เป็นการชั่วคราว (นางทาเลีย เจรัลดีน ลิน) | กต. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการสิ้นสุดหน้าที่ของ นางทาเลีย เจรัลดีน ลิน (Mrs. Thalia Geraldine Lyn) กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ
กรุงคิงส์ตัน จาเมกา และการปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงคิงส์ตัน จาเมกา
เป็นการชั่วคราว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
268 | การจัดทำความตกลง Air Travel Bubble ระหว่างไทย-อินเดีย | คค. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
269 | ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 (เรื่อง รายงานผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 41) เพื่อศึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวงหมายเลข 348 เชื่อมโยงอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว - อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ | คค. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมเข้าทำการศึกษา สำรวจ
เก็บข้อมูลในเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘
เพื่อประกอบการพิจารณาทางเลือกในการขยายทางหลวงแผ่นดินเชื่อมโยงอำเภออรัญประเทศ
จังหวัดสระแก้ว กับอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
และเมื่อกระทรวงคมนาคมทำการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว
ให้เร่งแจ้งผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยงานหลัก
(Focal point) ที่รับผิดชอบด้านมรดกโลกของประเทศไทยเพื่อดำเนินการแจ้งศูนย์มรดกโลกต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เช่น
การดำเนินการของกระทรวงคมนาคมต้องเป็นการเข้าไปเพื่อทำการศึกษาและสำรวจความเป็นไปได้เท่านั้น
โดยไม่มีนัยในการอนุมัติโครงการใด ๆ กระทรวงคมนาคมควรแจ้งผลการศึกษาให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแจ้งศูนย์มรดกโลกเพื่อทราบและเสนอข้อคิดเห็น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
270 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2564 เรื่อง การให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ | สกพอ. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๔
ซึ่งได้พิจารณาและมีมติเกี่ยวกับเรื่องการให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒. เห็นชอบหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขในการกำหนดสิทธิถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิทธิถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
และเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
เพื่อกิจการพิเศษ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
เพื่อกิจการพิเศษ รวม ๖ แห่ง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้กำหนดผู้เจรจาและทำความตกลงเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในร่างประกาศนี้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่เห็นว่า (๑)
การให้สิทธิประโยชน์สำหรับโครงการสนามบินอู่ตะเภาไม่อาจดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายศุลกากรปัจจุบัน
(๒) ควรให้เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นอีกหนึ่งโครงการนำร่องด้วย
และ (๓)
ผู้เจรจาและทำความตกลงเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในร่างประกาศนี้ควรใช้รูปแบบขององค์คณะ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
271 | ขออนุมัติในหลักการจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก | สธ. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการจัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อดำเนินโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต
สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
โดยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๒๓/๑๖๐ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการคลังกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA)
เพื่อประกอบการพิจารณา
ควรศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาคเอกชนและจัดทำแผนรองรับความเสี่ยง
ควรพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์ที่ทันสมัย เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
272 | ร่างบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | พน. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑.๑
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Memorandum
of Understanding between The Government of the Kingdom of Thailand and The Government of the Lao
People’s Democratic Republic Regarding Cooperation on the Development of
Electrical Energy in the Lao People’s Democratic Republic) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขยายความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าจากปริมาณกำลังการผลิต
เดิม ๙,๐๐๐ เมกะวัตต์ เป็น ๑๐,๕๐๐ เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น ๑,๕๐๐ เมกะวัตต์ ๑.๒ อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
ดังกล่าว และขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม โดยวิธีการลงนามแบบเสมือนจริง (Virtual
Signing Ceremony) ๒.
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ต่อไป ๓.
ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานอัยการสูงสุด
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้กระทรวงพลังงานดำเนินการการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจาก
สปป.ลาว
ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับแผนการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศในแต่ละช่วงเวลา
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
273 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ พ.ศ. .... | มท. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ
ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่เห็นว่าควรแก้ไขร่างข้อความในร่างข้อ ๙ วรรค ๑ ร่างข้อ ๑๐ วรรค ๑ และร่างข้อ ๑๒
วรรค ๒ ให้ครอบคลุมถึงการป้องกันเสียง เพื่อให้สอดคล้องกับนิยาม
“วัสดุตกแต่งผิวผนังและผิวฝ้าเพดานภายใน” และ “ระบบผนังกระจก” ในร่างข้อ ๓
ที่กล่าวถึงวัสดุที่ใช้ในการป้องกันเสียง
และสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ
และผู้ก่อสร้างอาคารด้วย ไปประกอบการพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรแก้ไขร่างข้อความในร่างข้อ
๙ วรรค ๑ ร่างข้อ ๑๐ วรรค ๑ และร่างข้อ ๑๒ วรรค ๒ ให้ครอบคลุมถึงการป้องกันเสียง
เพื่อให้สอดคล้องกับนิยาม “วัสดุตกแต่งผิวผนังและผิวฝ้าเพดานภายใน” และ
“ระบบผนังกระจก” ในร่างข้อ ๓ ที่กล่าวถึงวัสดุที่ใช้ในการป้องกันเสียง
และสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ
และผู้ก่อสร้างอาคารด้วย และเมื่อร่างกฎกระทรวงฯ
ประกาศใช้บังคับแล้วพนักงานท้องถิ่นควรกำกับ ดูแล ให้เป็นตามร่างกฎกระทรวงฯ
ดังกล่าว อย่างเข้มงวดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
274 | หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] (ฉบับที่ 8) | สธ. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] (ฉบับที่ ๘) โดยมีการปรับอัตราค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในสภาวะอันตรายได้รับสิทธิที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการรักษาพยาบาล
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข อัตราที่กำหนด และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
พร้อมกับดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายของกระทรวงการคลังด้วย นอกจากนี้
การปรับลดหลักเกณฑ์ดังกล่าวควรคำนึงถึงคุณภาพการให้บริการเป็นสำคัญ
เพื่อไม่ให้กระทบต่อการรับบริการและการให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลของประชาชนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
275 | ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | สธ. | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการ ๑.๑
ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ
องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ
หรือการตรวจสอบในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ
องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ
หรือการตรวจสอบในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา ๑.๒
ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา
รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าของรายได้จากการดำเนินการภายหลังขึ้นบัญชีดังกล่าว
โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานในกำกับของรัฐ
เพื่อความเหมาะสมในการพิจารณากำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชี
และควรแก้ไขถ้อยคำในบทอาศัยอำนาจให้ตรงตามบทอาศัยอำนาจที่แท้จริง ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม
รวมทั้งรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกำหนดรายการและอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดต้องไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการเกินสมควร
โดยกระทรวงสาธารณสุขควรพิจารณากำหนดอัตราค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจริงให้มีความเหมาะสมและไม่เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการ
โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
276 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
277 | การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร | นร.12 | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ดังนี้ (๑) ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทของหน่วยงานของรัฐในการกำกับของฝ่ายบริหาร)
โดยเพิ่มประเภทขององค์การมหาชน จากเดิม ๒ ประเภท เป็น ๓ ประเภท
เพื่อรองรับหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
และมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕/๘
แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ครอบคลุมถึงหน่วยงานดังกล่าว
(๒) จำแนกให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ
และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล และ (๓)
จำแนกให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารประเภทองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงหน่วยงานที่เป็นอยู่เดิมเป็นลำดับแรกก่อน
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของภารกิจ
รวมทั้งคำนึงถึงหลักการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายของภาครัฐที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
คำนึงถึงแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
โดยอาจวางระบบ หลักเกณฑ์ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแล
และบริหารจัดการองค์กรให้ชัดเจน
และควรเร่งรัดการดำเนินการในส่วนของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารแล้วเสร็จ
เพื่อปรับรูปแบบการบริหารราชการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
278 | การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี | นร.10 | 22/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น ๖๕ อัตรา
ตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๔ ตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
279 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. 2564-2568 (Draft ASEAN Work Plan on Youth 2021-2025) | พม. | 22/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน
พ.ศ. ๒๕๖๔–๒๕๖๘ (Draft ASEAN Work Plan on Youth
2021-2025) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบงานด้านเยาวชนของประเทศไทยมีหนังสือแจ้งการรับรองร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ
ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน [ASEAN Secretariat (ASEC)] ในโอกาสแรกภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว
โดยร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ มีความสอดคล้องกับมาตรการเชิงกลยุทธ์และผลลัพธ์ของแผนงานประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
๒๐๒๕ และมีวิสัยทัศน์ คือ
มุ่งสู่เยาวชนอาเซียนที่พร้อมรับอนาคตโดยเสริมทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑
และทักษะดิจิทัล และการสร้างสถาบันกลไกของการมีส่วนร่วมของเยาวชน
รวมถึงการกำหนดนโนบายระดับภูมิภาค ซึ่งร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ ประกอบด้วย
ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย ๕ ประเด็นหลัก ๕ ผลลัพธ์ระยะสั้น ๑๓ ผลผลิต และ ๑๔ โครงการ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนทุกกลุ่มได้มีโอกาสเข้าถึง
มีส่วนร่วม และได้รับประโยชน์จากกิจกรรม/โครงการอย่างทั่วถึง
ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างของเยาวชนอาเซียน และก่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเท่าเทียมและยั่งยืน
ให้ความสำคัญในการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้ร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ
เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนสามารถบรรลุตามผลลัพธ์และผลผลิตที่กำหนดไว้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
280 | ร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... | ทส. | 22/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยกำหนดพื้นที่ในการบังคับใช้กฎหมาย กำหนดให้มีแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทุก
๕ ปี เพื่อใช้บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวมของประเทศ
กำหนดให้มีคณะกรรมการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ กำหนดให้มีการสร้างสมรรถนะและแรงจูงใจในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
กำหนดวิธีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ กำหนดกลไกในการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพรวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น
กำหนดกลไกการกำกับดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Living Modified Organisms : LMOs) กำหนดโทษทางแพ่ง
โทษทางปกครอง โทษทางอาญา และกำหนดบทเฉพาะกาล ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด
และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เช่น ควรพิจารณาความครอบคลุมของกฎหมาย
ในประเด็นการปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศจากการใช้ประโยชน์ในรูปแบบของการเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากต่างชาติ
กำหนดเพิ่มเติมในอนุบัญญัติให้บุคคลที่ไม่ได้ขออนุญาตก่อนการเข้าถึงทรัพยากรทางชีวภาพตั้งแต่แรกสามารถยื่นคำขออนุญาตก่อนการเข้าถึงและทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในภายหลังได้
ควรมีความนิยามเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการด้านเทคนิค อาทิ
รายงานการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพ (มาตรา ๔๔) บัญชีปลดปล่อยต่อสิ่งแวดล้อม
(มาตรา ๔๖) แนวทางการระมัดระวังล่วงหน้า (มาตรา ๕๑) และสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม
(มาตรา ๕๓) เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรมีระบบความเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรมที่ได้มาจากการพัฒนาขึ้นทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
และให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลเกิดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|