ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 13 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 241 - 260 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
241 | มาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป | นร.11 สศช | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการของข้อเสนอมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป
โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน
กำกับและติดตามให้หน่วยงานในสังกัดที่มีอำนาจและหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปตามข้อ
๓.๑ ตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
และธนาคารแห่งประเทศไทย
ร่วมกันพิจารณาติดตามและปรับปรุงมาตรการการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่เหมาะสมตามสถานการณ์ของราคาพลังงานในตลาดโลก
โดยคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจ
ความพร้อมและความสามารถทางการเงินของภาครัฐภายใต้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวบรวมข้อเสนอแนวทางหรือมาตรการผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปที่มีลักษณะมุ่งเป้าของกระทรวงต่าง
ๆ เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงาน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของโครงการ
วิธีการดำเนินการเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์
เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการ
รวมถึงปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน
เร่งสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
242 | การปรับปรุงวัตถุประสงค์ในการใช้เงินกู้สำหรับการกู้เงินภายใต้ Euro Commercial Paper (ECP) Programme | กค. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการปรับปรุงวัตถุประสงค์ในการใช้เงินกู้สำหรับการกู้เงินภายใต้
Euro Commercial Paper (ECP) Programme วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพื่อให้สามารถรองรับการกู้เงินภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และกฎหมายอื่นที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินตราต่างประเทศได้ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
243 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง | กษ. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง จากเดิม
๑๗ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘-พ.ศ. ๒๕๖๔) เป็น ๑๙ ปี ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘-พ.ศ.
๒๕๖๖) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม ๓,๖๗๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงวเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น การขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการโดยไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันต้องเสนอขออนุมัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดเวลาตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๗ (๒)
ควรเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
คำนึงถึงประโยชน์ ความคุ้มค่าที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
244 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. .... (แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) | คค. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก
จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย
อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน
อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
เพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
โดยให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ตรวจสอบและแก้ไขแผนที่ท้ายของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ก่อนการก่อสร้างขอให้ รฟท.
ให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการระบายน้ำไม่ทันและอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมหรือเกิดอุทกภัย
และควรเร่งดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงที่บริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเร็ว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. เห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย
โดยให้หน่วยงานของรัฐผู้เสนอร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติตรวจสอบความถูกต้องของท้องที่การปกครอง
แนวเขตการปกครองที่จำเป็นต้องระบุในเนื้อหาของร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัติและแผนที่ท้ายอันเป็นข้อเท็จจริง
และรายละเอียดเชิงพื้นที่ให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งต้องมีผลตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองจากกรมการปกครองเสนอคณะรัฐมนตรีมาพร้อมกับร่างกฎหมายหรือร่างอนุบัญญัตินั้นด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
245 | ร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. .... | ทส. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ
วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ
ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ
วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
เพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงาน หรือการอนุรักษ์ บำรุงรักษา
และฟื้นฟูอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน
สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาทบทวนอัตราการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้
ภายหลังที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับไปแล้ว ๓ ปี ควรทบทวนหลักเกณฑ์
วิธีการแบ่งเงินให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
โดยพิจารณาแหล่งกำเนิดของรายได้ว่าควรจัดสรรให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตามสัดส่วน
และพื้นที่ที่เกิดรายได้ขึ้นจริงแทนวิธีการแบ่งให้แห่งละเท่า ๆ กัน ควรมีกลไกความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
ในการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินค่าบริการและค่าตอบแทนที่แบ่งให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความเหมาะสม
มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควร ควรพิจารณาทบทวนอัตราการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้
ภายหลังที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับไปแล้ว ๓ ปี
ควรกำหนดระยะเวลาในการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้ตามมาตรา ๒๙
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ แก่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล
คำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นที่สนับสนุนภารกิจของอุทยานในลักษณะทั่วไป ควรมีกลไกความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
ในการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินค่าบริการและค่าตอบแทนที่แบ่งให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความเหมาะสม
มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
246 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาอนุมัติร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเข้าใช้ประโยชน์ พ.ศ. ....
และเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๔,๐๐๐ ล้านบาท
เพื่อเป็นค่าพัฒนาโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บริเวณตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวนประมาณ ๑๔,๖๑๙ ไร่
เพื่อการพัฒนาโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะได้ตามนัยมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓.
รับทราบว่า
ปัจจุบันมีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในบริเวณตำบลห้วยใหญ่
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ยังไม่ยินยอมให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจง
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรกลุ่มดังกล่าว
เพื่อให้สามารถเข้าใช้ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในความครอบครองของเกษตรกรกลุ่มดังกล่าว
เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะได้ต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
247 | รายงานการประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ช่วงระยะปี 2561 - 2564 และรายงานประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ | นร.14 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
248 | มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ | พน. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบแนวทางการประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
เพื่อให้หน่วยงานราชการนำไปปฏิบัติ และได้ผลประหยัดพลังงานตามเป้าหมายที่กำหนด ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะกำหนดระเบียบหรือหลักเกณฑ์อย่างชัดเจนเพื่อเป็นมาตรฐานในการให้หน่วยงานสามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ
ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศอย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งดำเนินการตามแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
ในข้อ ๑ และให้รายงานผลการดำเนินการดังกล่าวในเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงาน www.e-report.energy.go.th เป็นประจำทุกเดือน แล้วให้กระทรวงพลังงาน
(สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน)
รวบรวมข้อมูลทั้งหมดในภาพรวมเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาสต่อไป ๓. ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
249 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการการบริหารจัดการ Organizational Quarantine (OQ) สำหรับแรงงานต่างด้าว และผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน | ตช. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
250 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. .... | นร.05 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อให้ระบบการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา
สามารถเชื่อมโยงผ่านระบบดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ
ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
รวมทั้งให้สามารถตอบสนองความต้องการของหน่วยงานของรัฐและประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น
กรณีร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ ๘ และข้อ ๑๑ ซึ่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไขใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ว่า
ก่อนที่จะกำหนดควรมีการรับฟังความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย
ควรมีการกำหนดรูปแบบและวิธีการ
เพื่อความชัดเจนและเป็นมาตรฐานในการดำเนินการของหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
ให้ความสำคัญกับความหลากหลายของช่องทางการรับรู้และวิธีการเผยแพร่ที่ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก
มีรูปแบบที่เข้าใจได้โดยง่าย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
251 | ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2564 | นร.11 สศช | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม
ปี ๒๕๖๔ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสี่และภาพรวม ปี
๒๕๖๔ เช่น ภาพรวมการจ้างงาน ลดลงร้อยละ ๑.๐ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
อัตราการมีงานทำ อยู่ที่ร้อยละ ๙๘.๑ หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส ๓ ปี ๒๕๖๔ มีมูลค่า
๑๔.๓๕ ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๒ แต่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๓
ของ GDP การเจ็บป่วยในไตรมาสสี่และภาพรวม
ปี ๒๕๖๔ ลดลง แต่ยังคงเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-๑๙ ในเด็ก ผู้สูงอายุ
กลุ่มเปราะบาง (๒) สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ จำนวน ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑) โรคเสมือน
(Metaverse) กับโอกาสใหม่ของประเทศไทย ๒) คนไร้บ้าน : ต่อแนวทางการยกระดับความเป็นอยู่ให้พึ่งพาตนเองได้ในสังคม
และ ๓) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยจากมุมมองของบัญชีกระแสเงินโอนประชาชาติ
และ (๓) บทความเรื่อง “เสียง SMEs ภาคการท่องเที่ยว :
การปรับตัวและความเห็นต่อการช่วยเหลือของรัฐ” พบผลการสำรวจที่สำคัญ เช่น
รายได้ผู้ประกอบการลดลงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน
และเทคโนโลยีมีความจำเป็นต่อความอยู่รอดในการประกอบธุรกิจ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
252 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 | นร.11 สศช | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
253 | ผลการประชุมคณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม ครั้งที่ 1/2564 | นร.11 สศช | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
254 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน | ศธ. | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน
กรอบวงเงิน ๑,๘๔๘,๐๔๗,๒๒๘ บาท ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
และให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
(ตามหนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๒๑/๓๕๘๘ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแล และการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ควรพัฒนาระบบฐานข้อมูลอัตรากำลังผู้ปฏิบัติงานให้ราชการที่มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
รวมทั้งประเมินแนวโน้มความต้องการอัตรากำลังผู้ปฏิบัติงานให้ราชการมีความเหมาะสมกับภารกิจ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
255 | ขอความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย | นร.14 | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม
๒๕๖๒ (เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี)
เฉพาะในส่วนของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
เพื่อให้คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยคงปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ ๒. เห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
โดยมีรัฐมนตรีที่กำกับ ดูแล สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
256 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 | นร.11 สศช | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
257 | ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2566 สำหรับโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อติดตามประเมินผลแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 | กค. | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กระทรวงการคลัง
โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
ดำเนินโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อติดตามประเมินผลแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในลักษณะก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕-พ.ศ.
๒๕๖๖ ภายในกรอบวงเงิน ๑๙,๙๒๖,๒๐๐ บาท ตามนัยมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นกรณีเฉพาะราย
โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๓,๙๘๕,๒๐๐ บาท
ที่ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายแล้ว ส่วนที่เหลือ จำนวน ๑๕,๙๔๑,๐๐๐ บาท ให้ สบน.
เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
258 | ขออนุมัติวงเงินงบประมาณเงินอุดหนุนศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ฉบับที่ 8 (ปีงบประมาณศูนย์ซีมีโอ สปาฟา 2565/2566 ถึง 2569/2570) | ศธ. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์
ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ศูนย์ซีมีโอ สปาฟา) ตามแผนพัฒนาระยะ ๕ ปี ฉบับที่ ๗ (ปีงบประมาณศูนย์ซีมีโอ
สปาฟา ๒๕๖๐/๒๕๖๑ ถึง ๒๕๖๓/๒๕๖๔)
และอนุมัติวงเงินงบประมาณอุดหนุนเพื่อใช้ในการดำเนินงานของศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์
ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามแผนพัฒนาระยะ ๕ ปี
ฉบับที่ ๘ (ปีงบประมาณศูนย์ซีมีโอ
สปาฟา ๒๕๖๕/๒๕๖๖ ถึง ๒๕๖๙/๒๕๗๐) จำนวน ๑๒๕,๕๔๖,๑๐๐ บาท
ตามกรอบงบประมาณของสำนักงบประมาณ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรบูรณาการการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนทรัพยากรและองค์ความรู้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และควรจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของโครงการและประโยชน์ที่ภาครัฐและประชาชนจะได้รับ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
259 | หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] | สธ. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบ ๑.๑
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] ๑.๒.
ให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยก่อนวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๕ เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus
Disease 2019 (COVID-19)]
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
จนกว่าผู้ป่วยจะถูกจำหน่ายตามเกณฑ์การพิจารณาจำหน่ายผู้ป่วยของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ มีผลใช้บังคับให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ๑.๓.
ให้กระทรวงการคลัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ
เอกชน หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุขดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต และดำเนินการจ่ายค่าใช้จ่ายในอัตราตามบัญชีแนบท้ายหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019) (COVID-19)] ทั้งนี้
ในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย ให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน และกรณีค่าใช้จ่ายใดไม่ปรากฏตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ให้ใช้บัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ โดยอนุโลม ๑.๔.
ให้กองทุนของส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุข
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
[กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019) (COVID-19)] ๑.๕.
ให้สถานพยาบาลซึ่งดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาของรัฐ สภากาชาดไทย ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
[กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019) (COVID-19)] ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตราที่กำหนด และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
พร้อมกับการดำเนินการให้เป็นตามหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายของกระทรวงการคลังด้วย
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุขดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงาน
ดำเนินการจ่ายค่าใช้จ่ายในอัตราตามบัญชีแนบท้ายหลักเกณฑ์ฯ
และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
ให้เร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
[กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019) (COVID-19)]
แก่ประชาชนให้ถูกต้องและทั่วถึงมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
260 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้เงินกู้ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ออกไปจนถึงปี 2572 | คค. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้รัฐบาลรับภาระชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของเงินกู้ค่าออกแบบค่าก่อสร้าง
และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ต่อไป ตั้งแต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๒ ทั้งนี้
หากประมาณการรายได้แตกต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้มาก ทั้งกรณีสูงและต่ำกว่าประมาณการ กระทรวงคมนาคมจะพิจารณานำเสนอการรับภาระหนี้ของรัฐบาลให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามความเหมาะสม
และให้สำนักงบประมาณ พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นรายปี
จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๒ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๐/๑๒๑๒ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๔) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุดที่ นร ๑๑๐๖/๗๒๑๑
ลงวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๔) และประธานกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เช่น
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ควรประเมินผลประกอบการและฐานะทางการเงินเป็นระยะ
ๆ ควรพิจารณาปรับแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ โดยการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า
ควรเร่งจัดทำกลยุทธ์เพื่อเพิ่มรายได้ของโครงการฯ สายฉลองรัชธรรมเชิงรุก ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|