ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 12 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 221 - 240 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
221 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. .... | ดศ. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่
ให้สอดคล้องกับกิจการไปรษณีย์ในปัจจุบัน และเพื่อมิให้เกิดการขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นว่า การกำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่สามารถทำได้
และการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขกรณีส่วนลดสำหรับไปรษณียภัณฑ์เป็นการมอบอำนาจช่วงไม่อาจทำได้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย
จำกัด ควรยกระดับคุณภาพการให้บริการ
โดยอาจนำเทคโนโลยีหรือรูปแบบการบริการอื่นมาสนับสนุน และประชาสัมพันธ์การปรับอัตราค่าบริการขั้นสูงสุดและยังคงมีส่วนลดค่าบริการให้แก่ลูกค้า
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้รับความเห็นของรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอขอให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ลดอัตราค่าบริการฝากส่งสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และเกษตรกร ไปพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
222 | ขอปรับปรุงรายละเอียดของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 เรื่องมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป | นร.11 สศช | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕
เรื่องมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป
โดยปรับปรุงถ้อยคำในมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
โดยการให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน ๓๐๐ หน่วยต่อเดือน
และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบอาชีพในภาคขนส่ง
โดยการให้ส่วนลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ
(รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง) ที่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะที่จดทะเบียนเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างกับกรมการขนส่งทางบก
พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน
พิจารณาดำเนินการจัดทำรายละเอียดโครงการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และให้มีการรายงานผลการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้การดำเนินมาตรการดังกล่าวบรรลุผลสัมฤทธิ์และมีความคุ้มค่าอย่างแท้จริง
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
223 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2565 | นร.11 สศช | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
224 | การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย และการปรับสถานะสถานทำการทางกงสุล จาก สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำนครเมลเบิร์นเป็น สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย (นางเทสซา ซัลลิวัน) | กต. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางเทสซา ซัลลิวัน (Ms. Tessa
Sullivan) ให้ดำรงตำแหน่ง กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย
โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมรัฐวิกทอเรีย สืบแทน นายไซมอน แอมเฮิร์ทส์ วอลเลซ (Mr. Simon Amhurst Wallace) กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำนครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย
ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้ โดยปรับสถานะของสถานทำการทางกงสุล จาก
สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำนครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย เป็น สถานกงสุลกิตติมศักดิ์
ณ นครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของเครือรัฐออสเตรีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
225 | ปฏิญญากลาสโกว์ของผู้นำด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Glasgow Leaders' Declaration on Forests and Land Use) | ทส. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
226 | รัฐบาลสาธารณรัฐโดมินิกันเสนอขอให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโดมินิกันประจำสาธารณรัฐเกาหลีมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย | กต. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโดมินิกันประจำสาธารณรัฐเกาหลีมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
227 | ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 | พน. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า
(Transmission System Improvement
Project in Eastern Region to Enhance System Security : TIPE) (โครงการ TIPE) และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่
ระยะที่ ๓ (Independent Power Producer 3 : IPP3) (โครงการ IPP3) และอนุมัติวงเงินงบประมาณลงทุนในปี
พ.ศ. ๒๕๖๔ และปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สำหรับโครงการ TIPE และโครงการ IPP3
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๗/๑๘๙๓๙ ลงวันที่๑๕ กันยายน ๒๕๖๔)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่
สกพ ๕๕๐๑/๐๐๓๖ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔) เช่น
ควรศึกษาและพิจารณาแนวทางการดำเนินการไม่ให้มีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศ
ควรกำหนดมาตรการบริหารจัดการเงินและการลงทุนให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเร็วเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ตามแผนงานที่วางไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานกำกับการดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า
และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ระยะที่ ๓
ให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งบริหารความเสี่ยงของโครงการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการเพิ่มเติม
ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนของทั้งสองโครงการเพิ่มขึ้นในอนาคต |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
228 | การกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล | รง. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา
๑๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
สำหรับลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินวันละ ๑,๕๐๐ บาท
และสำหรับบุคคลในครอบครัวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินวันละ ๑,๑๐๐ บาท ซึ่งสิทธิสำหรับบุคคลในครอบครัวจะต้องเป็นสิทธิที่อยู่เดิม
ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐
สิงหาคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าในการดำเนินการดังกล่าวแต่ละรัฐวิสาหกิจจะต้องคำนึงถึงสถานะทางการเงิน
ผลการดำเนินงานของกิจการ ขีดความสามารถในการหารายได้
และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น
เพื่อมิให้กระทบต่อการใช้จ่ายเงินทุนสำหรับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
229 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ของรัฐสภา | สผ. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด
พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ของรัฐสภา โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาและปรับลดอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทน
รวมถึงการยกเลิกการจ่ายเงินค่าตอบแทนในหลายกรณี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่
และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓
โดยยังคงให้มีการจ่ายค่าตอบแทนเฉพาะในส่วนที่มีความจำเป็นเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสืบสวนปราบปรามเท่านั้น
ประกอบกับอัตราการจ่ายและเพดานการจ่ายในปัจจุบันมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
230 | ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ยธ. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อกำหนดให้มีเครื่องแบบปฏิบัติงานปราบปราม
และแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะและเครื่องประกอบของหมวก
เครื่องหมายแสดงสังกัดประดับปกคอเสื้อของเครื่องแบบปฏิบัติงานตามปกติ และอินทรธนู
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
231 | ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
232 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... | รง. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา ๓ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างและผู้ประกันตนจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ และให้สอดคล้องกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือตามมาตรการเร่งด่วน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
รวมทั้งวางแผนการดำเนินงานทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
และควรเร่งมาตรการรองรับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพกองทุนและลดภาระทางการคลังของภาครัฐในระยะยาว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
233 | โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 - 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 - 2570) | อว. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
234 | การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อนำไปกำหนดเป็นอัตรากำลังแทนให้แก่ส่วนราชการที่ส่งข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล | นร.54 | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖
(เรื่อง
ขออนุมัติเปิดที่ทำการสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสแห่งใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต
และขอแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสคนใหม่ประจำจังหวัดภูเก็ต)
เฉพาะในส่วนการกำหนดเขตกงสุลจากเดิมที่มีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดภูเก็ต เป็น
มีเขตกงสุลครอบคลุม ๔ จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา และระนอง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
235 | การสิ้นสุดหน้าที่ของกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำกรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู และการปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำกรุงลิมาเป็นการถาวร (นายไฮเม พาร์โด เอสคังดง) | กต. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. การสิ้นสุดหน้าที่ของ นายไฮเม
พาร์โด เอสคังดง (Mr. Jaime Pardo Escandon) กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำกรุงลิมา
สาธารณรัฐเปรู ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
๒๕๖๓ เนื่องจากไม่ประสงค์ต่ออายุการดำรงตำแหน่ง ๒. การปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำกรุงลิมาเป็นการถาวร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
236 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 | นร.11 สศช | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
237 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 | นร.11 สศช | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
238 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. .... | คค. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑
นาฬิกา ของวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๑๘ เมษายน
๒๕๖๕ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรเร่งประชาสัมพันธ์การยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
เพื่อให้ประชาชนใช้เส้นทางดังกล่าวในช่วงวันหยุดราชการต่อเนื่องได้อย่างคล่องตัว
สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
239 | การนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว - อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน | ทส. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึงและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเพิ่มเติม
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้แก่ (๑)
การดำเนินการไม่เป็นการจัดทำสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒)
ควรให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการเสนออุทยานเป็นมรดกโลกแห่งอาเซียน
(๓) ค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
เห็นควรให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
และ (๔) การรวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
และอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อาจจะมีผลกระทบต่อแผนการพัฒนาทางหลวงหมายเลข ๑๒ ให้เป็น
๔ ช่องจราจร ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
240 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565 | นร.14 | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๕,๖๑๕.๔๖๙๙ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง
ปี ๒๕๖๕ จำนวน ๒,๕๒๕ รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๘/๕๘๓๖ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๕)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรตรวจสอบความจำเป็นเร่งด่วนของแผนงานโครงการฯ
ให้สอดคล้องและครอบคลุมพื้นที่ที่คาดว่าจะประสบปัญหาภัยแล้งของประเทศ
รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนงาน/โครงการด้านการป้องกันอุทกภัยและภัยแล้งที่มีความสำคัญและได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี
๒๕๖๕ ว่ามีผลการดำเนินการแล้วเสร็จอย่างไร
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|