ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 11 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 201 - 220 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
201 | การสิ้นสุดหน้าที่ของกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำกรุงซันโตโดมิงโก และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงซันโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน (นางมาเรียโฮเซ ตูรุย มาโยล) | กต. | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบการสิ้นสุดหน้าที่ของ นายกุสตาโว เอนริเก ตูรุย ดูเบรย์ล (Mr. Gustavo Enrique Turull Du’Breil) กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำกรุงซันโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน เนื่องจากถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๙ ๒. อนุมัติแต่งตั้ง นางมาเรียโฮเซ ตูรุย มาโยล (Mrs. Mariajose Turull Mayol)
ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงซันโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน คนใหม่
โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมสาธารณรัฐโดมินิกัน
สืบแทน นายนายกุสตาโว เอนริเก ตูรุย ดูเบรย์ล ทั้งนี้
โดยคงสถานะของสถานทำการทางกงสุล เป็น สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงซันโตโดมิงโก
ไว้เช่นเดิม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
202 | รายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | นร.12 | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ขอให้มอบหมายคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
ดำเนินการเพื่อยุบเลิกหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พ.ศ. .... และการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีให้นำรายงานการประเมินความคุ้มค่า
บทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปประกอบการพิจารณาด้วย ๒.
ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย
และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและผู้ยากจนที่เข้าร่วมโครงการ
รวมทั้งบุคลากรและทรัพยากรของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ควรเข้ามาเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ปัญหาที่ดินทั้งประเทศโดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่สำนักงานในทุกจังหวัด
และไม่ควรซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการเอง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
203 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2565 | นร.11 สศช | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
204 | แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.14 | 17/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ และใช้พิจารณาในการจัดทำงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามนัยมาตรา
๑๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมภิบาลให้ถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้ง พิจารณากลั่นกรองและจัดลำดับความสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องกับกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปีต่อไปด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
205 | การเข้าร่วมถ้อยแถลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด - แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง (Statement on Indo - Pacific Economic Framework for Prosperity) | กต. | 17/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
206 | ข้อเสนอสมัชชาสตรีระดับชาติ ปี 2563 | พม. | 17/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบข้อเสนอสมัชชาสตรีระดับชาติ ปี ๒๕๖๓ เรื่อง
การพัฒนากฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ
เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการปรับปรุงกฎหมาย
และมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาดำเนินการพัฒนากฎหมายและนโยบาย
ซึ่งมีประเด็นข้อเรียกร้องจากสมัชชาสตรี ๔ ประเด็น ได้แก่ ๑) สุขภาพของผู้หญิง ๒)
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ๓) งานของผู้หญิง และ ๔) ความรุนแรงต่อผู้หญิง
โดยที่ประชุมมีข้อเสนอที่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นนโยบายยุทธศาสตร์
หรือมาตรการภายใต้ประเด็นข้อเรียกร้องดังกล่าว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ๒.
ให้กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าการขับเคลื่อนการพัฒนากฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบยังไม่บรรลุผลเท่าที่ควร
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
207 | (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2580) | นร.11 สศช | 17/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
รับทราบข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรตาม (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว
(พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐) มีประเด็นสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการไปพร้อมกันด้วย
ดังนี้ ๑.๑.
ปรับปรุงโครงสร้างระบบภาษีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่แรงงานในระบบจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะภาษีเงินได้ ๑.๒.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กองทุนสวัสดิการสังคมต่าง ๆ
ที่มีอยู่และที่อาจจะตั้งขึ้นในอนาคตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่มีเงินกองทุนเท่าเดิมหรือน้อยลงซึ่งจะส่งผลต่อภาระด้านการเงินการคลังของรัฐในระยะยาว
จึงต้องปรับปรุงระบบสวัสดิการให้เหมาะสม ๑.๓.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อการรักษาความมั่นคงของชาติในภาพรวมเนื่องจากจำนวนกำลังพลจะน้อยลง
หน่วยงานด้านความมั่นคงและกองทัพจึงต้องพัฒนาให้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ๒
เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญ ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ
และพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการมีและเลี้ยงดูบุตร (๒) การพัฒนายกระดับผลิตภาพประชากร
(๓) การยกระดับความมั่นคงทางการเงิน (๔) การสร้างเสริมสุขภาวะ
เพื่อลดการตายก่อนวัยอันควรและมีระบบดูแลระยะยาวและช่วงท้ายของชีวิต (๕)
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพกับทุกกลุ่มวัย และ (๖)
การบริหารจัดการด้านการย้ายถิ่นฐาน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดของการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ ๗
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ในประเด็นการปรับลดกำลังคนภาครัฐ
สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนางานให้มากขึ้น
ควรมุ่งเน้นประเด็นความเหมาะสมและสมดุลของโครงสร้างประชากรทุกกลุ่มวัยให้ชัดเจน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
208 | การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ 16 สาขา | รง. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง
อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ ๑๑) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
ซึ่งได้กำหนดค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ๓ กลุ่มสาขาอาชีพ ๑๖ สาขา เช่น
สาขาช่างติดตั้งยิปซัม สาขาช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ) สาขาประกอบขนมอบ
สาขาการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป
โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ ที่เห็นควรมีการพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงานให้ตรงตามความต้องการของตลาดมีการกำหนดมาตรฐานการอบรมให้ความรู้ที่เข็มข้น
มีการทดสอบฝีมือแรงงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้แรงงานได้รับค่าจ้างในอัตราที่เหมาะสมและเสมอภาค
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
209 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.)
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ
รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โรคโควิด ๑๙) (A001) ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค
สป.สธ.โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ เป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน
๒๕๖๕ (๒) อนุมัติให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการตลาดวิถีอินทรีย์โรงพยาบาลอุตรดิตถ์สู่การสร้างสุขภาวะที่ดีให้ประชาชนโดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ (๓) อนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการคนละครึ่ง โครงการคนละครึ่ง
ระยะที่ ๒ และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ ๓ โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนกันยายน ๒๕๖๕ (๔) อนุมัติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการฯ จากเดิม
สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕เป็น สิ้นสุดเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ (๕) อนุมัติให้จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดราชบุรี จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดสกลนคร จังหวัดชัยนาท
และจังหวัดสุพรรณบุรี เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญและยกเลิกโครงการภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
โดยในกลุ่มโครงการที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จแต่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ
จำนวน ๓ โครงการ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการเบิกจ่ายโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๕ และกลุ่มโครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคา ก่อสร้างหรือส่งมอบวัสดุครุภัณฑ์
จำนวน ๖๓ โครงการ
เห็นควรให้กำหนดเงื่อนไขว่าในกรณีที่จังหวัดไม่สามารถลงนามและผูกพันสัญญาได้ภายในเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๕ ให้จังหวัดเสนอขอยกเลิกการดำเนินโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน
เพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถบริหารเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓
(พระราชกำหนดฯ พ.ศ. ๒๕๖๓) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๖)
มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ ๑-.๕ เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ พ.ศ. ๒๕๖๓
(ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯพ.ศ. ๒๕๖๓ พ.ศ. ๒๕๖๓) รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป
(๗) มอบหมายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาหารือถึงแนวทางการจัดหาแหล่งเงินสำหรับรองรับการปฏิบัติตามกระบวนการตรวจสอบ/การติดตามผู้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
และวินิจฉัยการกระทำที่ผิดเงื่อนไขของโครงการ
รวมถึงโครงการใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ พ.ศ. ๒๕๖๓
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการคนละครึ่งเพื่อให้สามารถกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินการเกี่ยวกับการกู้เงินตามพระราชกำหนดฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ และ (๘) มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย กำกับให้จังหวัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ เร่งดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าของโครงการเศรษฐกิจฐานรากเหลืออีกประมาณ
๔๐๗ โครงการ
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยเคร่งครัด
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้หน่วยงานต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และ ข้อ ๒๐
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้อีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากคลังโดยเร็ว
รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ให้ทันต่อสถานการณ์
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ที่ไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้
เร่งปฏิบัติตามข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
210 | ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของคณะกรรมการประกันสังคม
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาและคณะกรรมการการแพทย์
แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการประกันสังคมมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารพนักงานและลูกจ้าง
รวมทั้งการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๙
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกันตนเกี่ยวกับสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
การให้ผู้รับบำนาญสามารถกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยเป็นการเหมาจ่าย รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราการได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ
ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ หลักเกณฑ์การรับเงินบำนาญชราภาพ
และหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงาน ก.พ. เช่น
มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ให้ความสำคัญกับประเด็นกลุ่มแรงงานนอกระบบให้ได้รับการคุ้มครองของระบบประกันสังคมเพิ่มมากขึ้น
กำหนดอายุทดแทนกรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนที่มีอายุห้าสิบปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึงหกสิบห้าปีบริบูรณ์ให้สอดคล้องกับการจ้างงาน
และควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณา
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเงินการคลังของกองทุนประกันสังคมต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงบประมาณ
และสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว ควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางรายได้ยามชราภาพของผู้ประกันตน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
211 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
212 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
(กบส.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ กบส. ครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๕ และรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอ กบส. ตามขั้นตอนต่อไป
สรุปได้ ดังนี้ (๑) ความก้าวหน้าระบบโลจิสติกส์ของไทย เช่น การพัฒนาระบบ National Single Window ซึ่งสามารถเชื่อมโยงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์กับสมาชิกอาเซียนได้ทุกประเทศ
(๒) ความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายจีนและ
สปป.ลาว เช่น การบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
การก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ (๓)
แนวทางการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟในการขนส่งสินค้า ซึ่ง กบส.
เห็นชอบในหลักการข้อเสนอการเปิดให้เอกชนดำเนินการขนส่งซึ่งไม่ใช่สินค้าของตนเองทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ
เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรถไฟมากขึ้น (๔) การชะลอการบังคับให้เรือชายฝั่งที่รับตู้สินค้าขาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังดำเนินการบรรทุกตู้สินค้าลงเรือที่ท่าเทียบเรือชายฝั่ง
(ท่าเทียบเรือ A) กบส. มีมติมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ทบทวนการขออนุญาตตามประกาศการท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้มีความชัดเจนและเหมาะสม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอ
และให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ที่ประชุมร่วมไตรภาคี
ไทย-ลาว-จีน เร่งรัดเจรจาให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม
๒๕๔๒ เรื่อง ผลกระทบจากการก่อสร้างถนนเลียบแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย บริเวณอำเภอเบตง
จังหวัดยะลา และวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ เรื่อง
การระงับการก่อสร้างถนนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์
อย่างเคร่งครัด
เร่งรัดการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
รองรับประมาณการนำเข้า ส่งออกสินค้าและการเดินทางจากการเปิดให้บริการรถไฟสายจีน
และ สปป. ลาว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
213 | การเสนอความเห็นเรื่อง การกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อนหรือนำไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมตามร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
214 | ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง | คค. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง
และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน
ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ มีสาระสำคัญเพื่อเน้นย้ำบทบาทสำคัญของการบินพลเรือนในการสร้างความเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกโดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19
นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำบทบาท ของผู้นำการบินในการสนับสนุนการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มาใช้เพื่อพัฒนาภาคการบินพลเรือนให้มีความปลอดภัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน
ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือในการรักษาประสบการณ์ของบุคลากรการบินที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ในลักษณะหลักสูตรการฝึกอบรมทบทวน (Refresher/Requalification Training) ซึ่งจะช่วยให้รักษามาตรฐานบุคลากรภาคการบินของไทยให้พร้อมในการประกอบอาชีพในระดับสากลต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
215 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว | ทส. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
เพื่อดำเนินการสร้างสวนรุกขชาติ และอนุมัติให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้แก่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรคำนึงถึงความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ รวมทั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช
ควรประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศให้พิจารณาข้อกำหนดการดำเนินงานต่าง ๆ
ไม่ขัดต่อกฎระเบียบและกฎหมายด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
ทั้งในด้านการดำเนินโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว และการใช้งบประมาณ
เพื่อให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งสองประเทศต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
216 | (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ โดยร่างแผนพัฒนาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพลิกโฉมไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า
เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” และมีเป้าหมาย เช่น
การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่
และการเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน โดยได้กำหนดหมุดหมาย จำนวน ๑๓
หมุดหมาย เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน เช่น
หมุดหมายที่ ๑ ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
หมุดหมายที่ ๗ ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง
และสามารถแข่งขันได้ เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุข เช่น คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น
ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม และฐานะทางการคลัง
มีการสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมหมุดหมาย
พิจารณากำหนดค่าเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของเป้าหมายหลักและเป้าหมายในระดับหมุดหมายเป็นรายปี
ไปพิจารณาดำเนินการ แล้วให้นำ (ร่าง) แผนแผนพัฒนาฯ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ
ก่อนกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
217 | มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 | นร.14 | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน
ปี ๒๕๖๕ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๕
และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๕ /๒๕๖๖
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการตามมาตรการดังกล่าว
โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ
พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณประจำปีที่ได้รับการจัดสรร
หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี และควรปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรเร่งติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ
ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินโครงการฯ
ให้มีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
218 | ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. | นร.09 | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการที่บทบัญญัติบางมาตรากำหนดทรัพย์สินหรือเงินที่เจ้าของไม่มาขอรับภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ตกเป็นของแผ่นดินซึ่งอาจขัดแย้งต่อมาตรา
๒๖ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เป็นประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติอันเกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว
เพื่อให้กระบวนการการกำหนดเงินค่าทดแทน
และการพิจารณาคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๓.
ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการดำเนินการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าการกำหนดการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของหน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ความโปร่งใสในการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐ และประชาชนเป็นสำคัญ และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบถึงสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
สามารถตีความบทบัญญัติ และนำไปใช้ได้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
219 | ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทย | คค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
ในกรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) ๒.
เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ยืมเงินตามนัยมาตรา ๓๙ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายใต้กรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น ๓.
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขอปรับเพิ่มเงินลงทุน
(Cost Overrun) ในอนาคต
ซึ่งอาจกระทบต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนการลงทุน รวมทั้งอาจเกิดความล่าช้าในการให้บริการและไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ๔.
ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้และจำเป็นต้องติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับแนวโน้มการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจต่าง
ๆ ในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
220 | การเพิ่มสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | พม. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||