ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. .... | กสทช. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖ โดยปรับค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือน
กำหนดเพิ่มเติมค่าเสียโอกาส และกำหนดค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการ
เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นตามกฎหมายบัญญัติ
รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยไม่กำหนดค่าเสียโอกาสไว้ในร่างพระราชกฤษฎีกา ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงบประมาณ แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
มอบหมายให้กรมบัญชีกลางรับไปพิจารณากำหนดแนวทางการปรับอัตราค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่น
ๆ ของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้การกำหนดอัตราค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือนและสิทธิประโยชน์
สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการดำเนินการและเป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ครั้งที่ 2 วงเงิน 2,039.21 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ (จำนวน 23 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท | คค. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ครั้งที่ ๒ วงเงิน
๒,๐๓๙.๒๑ ล้านบาท
ประกอบด้วย กรมทางหลวง จำนวน ๑,๕๓๖.๓๐ ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท
จำนวน ๕๐๒.๙๑ ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ
(จำนวน ๒๓ จังหวัด) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
รวมทั้งความเห็นของสำนักงบประมาณเกี่ยวกับรายการในส่วนที่เหลือ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๐/๖๖๔๘ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๕)
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และตรวจสอบรายละเอียดพื้นที่ดำเนินการให้สอดคล้องกับพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
และพื้นที่อยู่นอกเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม สามารถมายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ..................... พ.ศ. 2565 | กษ. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ....
และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา
ลาว เมียนมา และเวียดนาม
สามารถมายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
และทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
.............. พ.ศ. ๒๕๖๕ รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ดังนี้ ๒.๑ กรมประมง จัดทำทะเบียนประวัติและออกหรือต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ ๒.๒ กระทรวงสาธารณสุข
ตรวจสุขภาพซึ่งครอบคลุมถึงการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
และทำประกันสุขภาพของคนต่างด้าว ๒.๓
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดทำสัญญาจ้างซึ่งครอบคลุมการสัมภาษณ์คนต่างด้าว
โดยให้สัญญาจ้างเป็นสัญญาที่ระบุระยะเวลาการจ้างและสิ้นสุดการจ้างไว้ด้วยพร้อมตรวจสอบความถูกต้อง
และลงลายมือชื่อกำกับ ๒.๔
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่คนต่างด้าว
และจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics) ๒.๕ กรมการปกครอง
จัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ทร. ๓๘/๑)
และบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรพิจารณานำกลุ่มคนดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการทำงานตามขั้นตอนตามปกติ
ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
โดยเร็ว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และคณะในศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 | อว. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินของแผนอัตรากำลังของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและคณะในศูนย์สุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ จำนวน ๓๕๒,๔๙๘,๘๐๐ บาท
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พิจารณาทบทวนการกำหนดจำนวนอัตรากำลังภายใต้แผนฯ
ให้เหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจเท่าที่จำเป็นและประหยัด
โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้
โดยเฉพาะรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่หรือที่สามารถนำมาใช้จ่ายเป็นลำดับแรก
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกำกับเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น คณะในศูนย์สุขศาสตร์ควรพิจารณาทบทวนกรอบอัตรากำลังที่ขอรับการสนับสนุนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
พิจารณารูปแบบการจ้างงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ควรบูรณาการการทำงาน
และเชื่อมโยงฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพและข้อมูลผู้ป่วยในพื้นที่
ทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากแม่น้ำเทพา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ของกรมเจ้าท่า | คค. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากแม่น้ำเทพา
ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา วงเงิน ๙๐ ล้านบาท
และผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕-พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามนัยมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
การดำเนินการใด ๆ ในพื้นที่ป่า ให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในพื้นที่สำหรับการจัดทำแผนป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพาแล้วเสร็จ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
และปีต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชนและผู้อยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพา
ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการฯ ให้ถูกต้อง ทั่วถึง
และต่อเนื่องด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | (ร่าง) ข้อเสนอปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) ต่อที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19) | กษ. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | รายงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 | สม. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
ปี ๒๕๖๔ และรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับภาพรวมสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค
และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (๑)
ด้านสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์เฉพาะ (๒) ด้านสิทธิพลเมืองและด้านสิทธิทางการเมือง
(๓) ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (๔) ด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคล ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปรากฏในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ฯ
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด
และนำข้อเสนอแนะในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติมากขึ้น
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป ๒. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม
และสำนักงานอัยการสูงสุดไปเพื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่) | กษ. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่
จำนวน ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดปราจีนบุรี จากเดิม ๑๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๕ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๗) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๙,๐๗๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา
จังหวัดเชียงใหม่ จากเดิม ๑๑ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๖ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๗๐) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐
บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
เร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ควรรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดระยะเวลา ตามนัยข้อ ๗ (๒)
ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรพิจารณาผลกระทบสุขภาพที่เกิดขึ้นกับชุมชนที่เป็นผลมาจากการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ
ควรรายงานความคืบหน้าในการก่อสร้างเสนอคณะลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองและเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเพื่อทราบทุก
๖ เดือน ต่อไป ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างการรับรู้
และการมีส่วนร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. มอหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ประสานงานกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(องค์การมหาชน)
ศึกษาและพัฒนาเทคนิควิธีการสำรวจพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการชลประทานต่าง ๆ
ให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้มีการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการให้ครบถ้วนรอบด้านในทุกมิติ
เพื่อมิให้เกิดปัญหาการดำเนินงานล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม 4 ฉบับ | นร.09 | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม ๔ ฉบับ ที่ตรวจพิจารณาแล้ว ได้แก่ (๑)
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (๒) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... (๓) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... (๔) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนราชการหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง
กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพงานที่เปลี่ยนแปลงไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2502 เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด เพื่อให้บริษัท ขนส่ง จำกัด มีภารกิจด้านการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ | คค. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๑ ตุลาคม ๒๕๐๒ เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด จากเดิมให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
(บขส.) รับภาระเดินเฉพาะรถโดยสาร เป็นให้ บขส. มีภารกิจด้านการขนส่งผู้โดยสาร
และการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคมและบริษัท
ขนส่ง จำกัด รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
เช่น
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นภารกิจหลักขององค์กรเป็นลำดับแรก
ควรทบทวนโครงสร้างอุตสาหกรรมการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง
ควรพิจารณาความเหมาะสมและความพร้อมของ บขส.
ในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในลักษณะที่ต้องเข้าไปแข่งขันกับเอกชน
และพิจารณาความสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๕ (๔) ควรดำเนินการภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่และไม่ลงทุนเพิ่ม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
หารือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด อย่างละเอียดรอบคอบ
เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ร่วมกันอย่างเหมาะสมเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
โดยไม่เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของขอบเขตภารกิจและการลงทุน แล้วให้บริษัท ขนส่ง จำกัด
เร่งปรับปรุงแผนวิสาหกิจและแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | โครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำเรียนฟรี มีอาชีพ) | ศธ. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน
เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ)
และให้กระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
ดำเนินโครงการนำร่องในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนว ๘๘
แห่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (ระยะที่ ๑) ก่อน แล้วให้กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการฯ
(ระยะที่ ๑) อย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินโครงการฯ เสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
และประกอบการพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการขยายผลการดำเนินโครงการฯ ในระยะต่อไป
อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ ในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้กระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ให้กระทรวงศึกษาธิการ
(สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) รับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณารวบรวมข้อมูลและติดตามเยาวชนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาในลักษณะของภาคีเครือข่าย
ควรจัดทำหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคต
ควรพิจารณาความซ้ำซ้อนของสถานศึกษาอาชีวในโครงการฯ กับโครงการอาชีวพระดาบส
ทั้งด้านการก่อสร้างหอพัก และการจ้างและจ่ายค่าตอบแทนดูแลหอพัก
เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการและแบ่งปันการใช้ทรัพยากรเพื่อการดูแลผู้เรียนร่วมกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ จังหวัดสุรินทร์ | กษ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในการให้ความช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ
จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๖๔ แปลง เนื้อที่ ๕๑๒-๑-๕๖ ไร่
เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยา
และบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเป็นธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการชลประทานของรัฐ
สำหรับอัตราค่าชดเชยที่จะต้องจ่ายนั้น
เห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาตามหลักการที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นชอบไว้ในการประชุมคณะทำงานตรวจสอบพิสูจน์สิทธิย้อนหลังและแสวงหาราคาค่าทดแทน
โดยกรณีการจ่ายเงินทดแทนค่าขนย้าย (ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์)
เป็นการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาความเสียหายตามหลักมนุษยธรรม
ไม่ใช่การจ่ายเงินทดแทนค่าที่ดิน
จึงไม่สามารถจ่ายเงินชดเชยโดยใช้ราคาซื้อขายที่ดินมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคา
โดยเห็นควรใช้แนวทางการพิจารณากำหนดจำนวนเงินตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๒
เพื่อมิให้มีค่าใช้จ่ายที่เกินกว่าที่รัฐได้เคยจ่ายชดเชยสำหรับที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์
อันจะนำไปสู่กรณีกลุ่มราษฎรจะมาเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินชดเชยในลักษณะเดียวกันตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ ดังกล่าว
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม .ถูกต้อง เป็นธรรม
และสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ครอบคลุมในทุกมิติอย่างรอบคอบตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
รวมทั้งรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
เร่งดำเนินการจ่ายค่าทดแทนให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโดยเร็วและเป็นธรรม การขออนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าชดเชยให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิและจำนวนค่าชดเชย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | วันผ้าไทยแห่งชาติ | วธ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ “วันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันผ้าไทยแห่งชาติ”
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจัดกิจกรรมในการรณรงค์
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของผ้าไทยและการสร้างการรับรู้ถึงคำนิยามของผ้าไทยที่ชัดเจนอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบให้ดูทันสมัย
เหมาะกับประชาชนทุกเพศทุกวัย และไม่เป็นภาระค่าใช้จ่าย
เพื่อให้สามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้โดยยังคงสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยของแต่ละท้องถิ่น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าขนย้าย (ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี | กษ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้มีการจ่ายค่าขนย้าย
(ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ)
เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายกุมภวาปี
จังหวัดอุดรธานี ที่ยังไม่ได้รับเงินค่าขนย้าย จำนวน ๒๒๒ แปลง เนื้อที่ ๔,๔๘๓-๒-๙๗ ไร่
ตามหลักการของมติคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินเพื่อการชลประทานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ โครงการฝายกุมภวาปี
ที่กำหนดให้จ่ายเงินค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่ได้รับผลกระทบในเขตพื้นที่อ่างเก็บน้ำในอัตราราคาสูงสุดไร่ละ
๕๐,๐๐๐ บาท และราคาต่ำสุดไร่ละ ๑๐,๐๐๐
บาท สำหรับการช่วยเหลือในส่วนเพิ่มเพื่อให้เหมาะสมตามสถานะและสภาพของที่ดินนั้น
ให้ใช้แนวทางการพิจารณากำหนดจำนวนเงินตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณหรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรเป็นรายปีงบประมาณ
ตามความเหมาะสมเท่าที่จำเป็นแล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าขนย้ายตามข้อ
๑ ให้รอบคอบ ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม
๒๕๖๔ (เรื่อง
แนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล)
ที่เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามแนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยไม่ควรกำหนดให้คณะกรรมการที่จัดตั้งตามคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นทำงานปกติประจำ
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดวิธีการจ่ายเงินค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรตามหลักเกณฑ์และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าขนย้ายที่ถูกต้อง
ครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้รอบคอบและครบถ้วน
เพื่อให้การจ่ายเงินค่าขนย้ายทำได้ในครั้งเดียว และไม่เกิดปัญหาเช่นในโครงการอื่น
ๆ ที่ผ่านมา ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเชิง จังหวัดสุรินทร์ | กษ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 - 9 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ ๘-๙
ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา ๖๐๐ เมกะวัตต์ พร้อมระบบส่งไฟฟ้า
ในวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔๗,๔๗๐ ล้านบาท ๑.๒ อนุมัติงบประมาณประจำปี ๒๕๖๕ ตามแผนประมาณการเบิกจ่ายสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่
๘-๙ จำนวนเงินทั้งสิ้น ๓,๗๙๕ ล้านบาท ๒.
ให้กระทรวงพลังงานและ กฟผ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
การดำเนินโครงการฯ
ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับร่างแผนพลังงานแห่งชาติซึ่งสนับสนุนให้ไทยสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
(๒) กฟผ. ควรจัดทำรายงานการติดตามและประเมินผลการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เพื่อชี้แจงให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ (๓) กฟผ.
ควรดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าตามมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ และ (๔) กระทรวงพลังงานควรกำกับดูแลให้ กฟผ.
ดำเนินโครงการฯ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้มีการขอปรับเพิ่มเงินลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการในภายหลัง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | การดำเนินโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์”บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ โดยบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด | กค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมธนารักษ์ และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ดำเนินโครงการ
“ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์” บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ
โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล
(คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) กรอบงบลงทุนของโครงการฯ ประมาณ ๑,๓๔๕.๙๓๔ ล้านบาท และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ
บนเงื่อนไขที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดเท่านั้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามมติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่
๑ กันยายน ๒๕๖๔ (ตามหนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/ว ๕๕๙๘ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔) รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรเพิ่มกิจกรรมการจ้างงานผู้สูงอายุให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อการสร้างรายได้และพึ่งตนเอง
ควรกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้สามารถนำไปปรับแผนการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและทันต่อบริบทของสังคมผู้สูงอายุ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | ข้อเสนอหลักการกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม | ป.ย.ป. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอหลักการกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
เป็นการกำหนดให้มีหลักการกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์มซึ่งมีหลักการที่สำคัญ ได้แก่
ให้ผู้ประกอบธุรกิจแฟลตฟอร์มอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างเหมาะสมผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองสิทธิในการใช้บริการแพลตฟอร์ม
ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลมีความร่วมมือและมีแนวทางการกำกับดูแลที่สอดคล้องกัน
มีการกำหนดหน้าที่พื้นฐานของผู้ประกอบธุรกิจทุกกลุ่มที่ต้องปฏิบัติกำหนดให้มีวิธีการหรือระบบที่สามารถรับแจ้งการกระทำความผิดหรือการใช้ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย
มีการกำกับดูแลสัญญาระหว่างผู้ให้บริการสัญญาแพลตฟอร์มและผู้ใช้บริการ
รวมทั้งมีการรักษาความเป็นธรรมในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
เพื่อให้มีการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม มีการคุ้มครองผู้บริโภค
และกำหนดบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปองดองเสนอ และให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปองดองกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่องร่างกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
และดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายดังกล่าว
ตามมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.
๒๕๖๒ ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ที่เห็นว่าในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องปฏิบัติ
ควรพิจารณากำหนดการปฏิบัติที่สอดคล้องและไม่ซ้ำซ้อนกับหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจที่มีการกำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลตามกฎหมายอื่นด้วย
ควรพิจารณาถึงความเชื่อมโยงกับกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
กำหนดมาตรการและกลไกการบังคับใช้ที่เหมาะสม
และเมื่อมีการจัดทำร่างกฎหมายหรือมีการออกกฎหมายอนุบัญญัติเพื่อขยายความในกฎหมายดังกล่าวแล้ว
ควรมีการหารือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ
และเกิดความเข้าใจร่วมกัน ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเพื่อจัดทำร่างกฎหมายต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) | คค. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ได้รับการผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้นที่ ๑ เอ เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
(ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ๒. ให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ ๖/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๒
ตุลาคม ๒๕๖๓ อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟแห่งประเทศไทย) ต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
และมติคณะกรรมการชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้
การดำเนินการระยะต่อไปของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
หากมีความจำเป็นต้องขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำหรือการดำเนินการอื่นใดตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วงและเกิดประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมทางรางของประเทศต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | ขอความเห็นชอบชะลอการบริจาคเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านยาเสพติดระหว่างอาเซียนกับจีน (ASEAN and China Cooperative Operations in Response to Dangerous Drugs : ACCORD) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป | ยธ. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบชะลอการบริจาคเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านยาเสพติดระหว่างอาเซียนกับจีน
(ASEAN and China Cooperative Operations in Response to Dangerous
Drugs : ACCORD) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ |